<< หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links  >>

 

ตอน บินท่า ควงสว่าน (spin) แล้วแก้ไม่ออก
พ.ท.ประพันธ์ วงศ์ศรีเพ็ง

BARREL ROLL

ท่าบินผาดแผลงแบบ BARREL ROLL


การบินท่าควงสว่าน (spin) แล้วแก้ไม่ออก ท่านผู้รู้หากอ่านแล้วอาจตำหนิว่า “ เสือกโง่เอง แล้วยังจะขยายขี้เท่ออีก “ แต่บางตนอาจคิดว่า มันก็ดีเหมือนกันนี้หว่าหากเขาเจอบ้างจะได้ทำตาม “หรือบางคนอาจคิดว่า “เอลุงแก่โม้หรือเปล่าวะ” ก็ได้ แต่ผมไม่คำนึกถึงถึงใครจะติหรือชม จากประสบการณ์นี้อาจช่วยต่อชีวิตให้กับคนบางคนที่มีอาชีพเดี่ยวกันได้ โดยเฉพาะนักบินที่บินกับเครื่องบิน แบบอุลตร้าไลท์ และแบบอากาศยานเบาพิเศษซึ่งนับวันเมืองไทยเราจะมีเครื่องบินประเภทนี้มากขึ้น บริษัทผู้ผลิตย่อมแข่งขันเพื่อให้เครื่องบิน นั้นๆ มีสมรรถนะมากขึ้นจนสามารถทำให้การบินท่าบินผาดแผลงได้ ห่วงที่ว่านักการบินการฝึกไม่เข้มเท่ากับของทางราชการ เกิดมีใครของขึ้นอยากลองขึ้นมา เช่น ท่าบิน spin Loop หรือ barrel roll แล้วพลาดอย่างในกรณีของผมจะได้ผ่อนหนักเป็นเบา แต่ผมว่าถ้าอยากอยู่ดูการพัฒนาเกี่ยวกับอากาศไปนานๆ แต่ผมว่าอยาก เอาแค่ฝึกท่า
CHANDELL, LAZY EIGHT, STALL, STEEP TURN ,SLIP. FORCED LANDING ก็เพียงแล้วให้เก่งจริง อ้อ เพิ่มอีกท่าก็คือ FORMATION FLIGHT รับรองว่าหากินได้ทุกงานโดยไม่อายใคร ระหว่างปี 2503 – 2516 ผมเป็นช่างซ่อมเครื่องบินทหารบก ผมแอบชื่นชมนักบินที่แสดงการบินได้โลดโผนตื่นเต้นโดยเฉพาะเมื่อบินกับเครื่องบิน แบบ L –19 จนทำให้ผู้ชมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูงประทับใจต่างปรบมือในระหว่างการแสดงการบินมาตลอดเวลา เลือดนักกีฬาของผมวิ่งพล่านจนคิดเลยเถิดไปว่าหากมีโอกาส เป็นนักบินจะต้องหาความรู้และฝึกฝนเพื่อแสดงท่าการบินอย่างนี้ให้จงได้จงบจนกระทั้งปี 2517 ความฝันลมๆ แล้งๆ กลายเป็นความจริงเมื่อผมได้เป็นนักบินจริงๆ จากความประทับใจที่ฝั่งแน่นเป็นเวลานานผมจึงพยายามฝึกท่าบินนั้นๆเป็นประจำเมื่อมีโอกาส จนเกิดความมั่นใจ และความสามารถของผมก็อยู่ในสายตาพร้อมกับความเชื่อถือของผู้บังคัญบัญชาเมื่อมีการแสดงของนักบิน ของศูนย์การบินทหารบก ครั้งใด ผมจึงได้รับความไว้ว่างใจจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการบินแสดงสมรรถนะกับเครื่องบินแบบ L –19 เสมอ และผมจึงเลือกท่าบินที่แสดงคือ CHANDELL, LOOP, BARREL ROLL, SPIN และ FORCED LANDING เท่านั้น

ท่าบินแบบควงสว่าน

ท่าบินควงสว่าน 
หมายถึง อากาศยานทำการลดระยะสูงลงมาตามเส้นในทางดิ่งอันเกิดจากเสียอาการทรงตัวอากาศยาน ดำลงเป็นมุมใหญ่มาก ขณะที่นักบินอยู่ด้านมุมปะทะเฉลี่ยใหญ่กว่ามุมปะทะที่ให้แรงยกสูง เป็นลักษณะควงเกลียวหมุนรอบแกนทางยาวและทางตั้งของอากาศยาน  เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องแก้ไขได้ กับให้นักบินมีความรู้สึกอาการของ บ. ก่อนเกิดขณะเกิดและวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง ท่าบินควงสว่านมิใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ มีอยู่บ่อยๆ เมื่อแสดงการบินผมจะต้องเสียหน้าเพราะทำท่าควงสว่านไม่เข้า ส่วนมากเป็นการ STALL ซอกปีเสียมากกว่า พูดถึงท่าอันตรายท่าบินควงสว่านจะมีอันตรายมากว่าแต่ไม่ว่าจะเป็นควงสว่านหรือ STALL ซอกปีกหากเกิดขึ้นกับใครถ้าระยะสูงมากพอประกอบกับแก้ไขถูกวิธีคงรอดตาย แต่ถ้าระยะสูงน้อยกับการแก้ไขไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือเชื่องช้าก็คงต้องเตรียมโลง เตรียมนิมนต์พระกันได้

<< ท่าบินแบบ Spin

คราวนี้มาถึงเรื่องของผมบ้างละ จาการที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้กาแสดงบินเป็นอยู่ประจำ จำเป็นอยู่ที่ผมจะต้องตื่นตัวและฝึกซ้อมทุกๆครั้งเมื่อมีโอกาส วันนั้นถ้าจำไม่ผิด ประมาณเดือน ม.ค. หรือ ก.พ.ปี 2537 บ่ายแก่ๆ อากาศร้อนแห้งร้อนลมพัดไม่แรงนัก ผมนำ บ. แบบ L – 19 หมายเลข 1620 ขึ้นบินที่ ระยะสูง 4000 ฟุต บริเวณเหนือสนามบิน สระพรานนาค  ลพบุรี ผมเริ่มซ้อมบินจากท่า LOOP 2 วง BARREL ROLL 2 ตัว จากนั้นจึงต่อด้วยท่าบินควงสว่าน ก่อนทำ ระยะสูงยังคงอยู่ที่ 4000 ฟุต ตั้งใจจะทำเพียง 3 ดอกเท่านั้น ผมบังคับเครื่องบิน เข้าหาทิศทางลมประมาณทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพราะเป็นฤดูหนาว ค่อยๆ เบาเครื่องยนต์ลงมาที่รอบ 1300 เครื่องบิน ยังคงอยู่ในรูปบินตรงนักบิน ความเร็วเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนเกือบถึงความเร็ว STALL ผมค่อยๆ เตือนหัวเครื่องบิน ให้พ้นขอบฟ้าเพื่อเข้าสู่รูปแปะ 3 จุด รอเพียงคู่เดียว เครื่องบิน เริ่มมีอาการสั่นเล็กน้อยที่เท้า ตรงกระเดื่อง RUDDER และเริ่มยุบตัวลง ผมลดกำลังเครื่องยนต์ เป็นเบาสุด พร้อมๆกับถีบกระเดื่อง RUDDER ด้วยเท้าซ้ายจนสุด กับได้สาวคันบังคับหรือ CONTROL STICK ตรงๆ มาหลังสุดและดึงล็อไว้อย่างนั้น อาการของเครื่องบิน ส่วนหัวยุบฟาดชี้ลงไปหาพื้นดินอย่างรวดเร็ว ปีกซ้ายเอียงตะแคงกว่า 45 องศา ลักษณะเครื่องบิน ขณะที่หัวทิ่มลงหาพื้นเกือบๆ แนวดิ่งพร้อมกับเลี้ยวและหาหมุนไปด้วยรอบหรือดอกที่ 1 ผ่าน ดอกที่2 ผ่านไปเตรียมแก้ดอกที่ 3 เมื่อเหลือที่ทิศทางอีกประมาณ 90 องศา กะว่าเสร็จแล้วหัวเครื่องบิน จะตรงกับทิศทางเมื่อเริ่มทำตรงกับยอดเขาวงพระจันทร์ หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการใช้เท้าดันกระเดื่อง RUDDER ขวา จนสุดแต่อะไรที่เกิดขึ้นตอนนี้หรือครับ หัวเครื่องบิน ของผมหมุนผ่านที่หมายไปแล้วโดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดหมุนเอาเสียเลยเหมือนกับการที่เราขับรถที่มีความเร็วสูงๆ เมื่อเราต้องการชะลอหรือหยุดแตะ BRAKE หรือ BRAKE แล้วรถไม่ยอมหยุดยังไงยังงั่น เหยียบแล้ว หวามๆ ผมจึงทดลองถอนเท้าขวาออกแล้วกระแทกลงไปอย่างแรงอีกครั้ง อาการของเครื่องบิน ยังคงเหมือนเดิม คือ หมุนควั๊บๆ ใจผมเริ่มเต้นแรงขึ้นคิดว่าอาจจะต้องสังเวยชีวิตในนี้แน่ๆ แต่ยังคงพยายามแก้ไขต่อไปทดลองค่อยๆ เร่งเครื่องยนต์ เพิ่ม เครื่องบินก็ยิ่งหมุนเร็วขึ้น แบบที่เขาเรียกว่า “เข้าสว่านนอนวัน” หมายถึง เครื่องบิน เมื่อเข้าสว่านดอกแรกวงจะกว้างแต่จะเล็กลงๆ ในดอกต่อๆ ไปจนกระทั้งนอนวันสายตามองเห็นพื้นโลกชัดเจนขึ้นและใกล้เข้ามาทุกที 


<<
  หน้าต่อไป  >>

 

Suggestions: mailto:[email protected]
Copyright
 
2001 1st. Cavalry Division Aviation Company - All rights reserved

Hosted by www.Geocities.ws

1