Telecommunication Engineering     วิศวกรรมโทรคมนาคม
: หน้าแรก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย : ติดต่อ @Fbบอล : ติดต่อ @Fbอัง : กระดานพูดคุย Online (XAT)
เนื้อหา (IP Address)
          ⇓ ด้านล่าง ⇓
ความหมาย (IP Address)
IPv4 (IPv4 Addressing)
การแทนค่าไอพีแอดเดรสแบบเลขฐานสองและฐานสิบ
การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส
การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting)
ลำดับชั้น 3 ระดับ (Three Levels of Hierarchy)
ซับเน็ตมาสก์
(Subnet Mask)

@เครดิตโค๊ดใช้ตกแต่ง webpage

การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส (Classful Addressing)

                   เป็นแนวคิดในการแบ่งคลาสออกเป็น 5 ชนิดโดยแต่ละคลาสที่ออกแบบมาจะรองรับความต้องการที่แตกต่างกันแล้วแต่องค์กรปัจจุบัน คลาส A และคลาส B ถูกนำมาใช้จนเต็มแล้ว เหลือแต่ คลาส C ที่ยังมีการใช้งานอยู่ คลาส D ถูกสงวนไว้สำหรับเป็นมัลติคลาสต์แอดเดรส คลาส E ถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคตจำนวนเครือข่าย

                                     สามารถคำนวณได้จาก 2NetID-2 จำนวนโฮสต์ในแต่ละเครือข่าย สามารถคำนวณได้จาก 2HostID-2



Class A


        คลาส A จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 7 บิต
- บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส A
- จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ 126 (27-2) เครือข่าย
- ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 0 (00000000) และ 127 (01111111) จะถูกสงวนไว้
- แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ถึง (224-2) โฮสต์
- สามารถนำไปใช้งานกับองค์กรหรือหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต้องมี
  โฮสต์จำนวนมาก


สามารถคำนวณหาแอดเดรสเริ่มต้นกับแอดเดรสสุดท้ายได้ดังนี้



Class B
        คลาส B จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 14 บิต
- 2 บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 10 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส B
- จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ (214-2) เครือข่าย
- ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 128 (10000000) และ 191 (10111111) จะถูกสงวนไว้
- แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ถึง (216-2) โฮสต์
- เหมาะสมกับการนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดกลาง เช่น สถาบันการศึกษา
 หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน


สามารถคำนวณหาแอดเดรสเริ่มต้นกับแอดเดรสสุดท้ายได้ดังนี้


Class C


        คลาส C จะมีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) ขนาด 21 บิต
- 3 บิตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 110 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส C
- จำนวนเครือข่ายที่สามารถมีได้ เท่ากับ (221-2) เครือข่าย
- ออคเทตแรกที่มีค่าเป็น 192 (11000000) และ 223 (11011111) จะถูกสงวนไว้
- แต่ละเครือข่ายสามารถมีจำนวนโฮสต์ได้ 254 (28-2) โฮสต์
- เหมาะสมกับการนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดเล็ก


สามารถคำนวณหาแอดเดรสเริ่มต้นกับแอดเดรสสุดท้ายได้ดังนี้


Class D
        คลาส D จะไม่มีการกำหนดหมายเลขเครือข่าย และถูกสงวนไว้สำหรับเป็นมัลติคาสต์
- 4 บิตในออคเทตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 1110 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส D
- แอดเดรสเริ่มต้น คือ 224 (11100000) และแอดเดรสสุดท้าย คือ 239 (11101111)
http://www.mx7.com/i/b42/y35i3I.jpg



Class E
คลาส E จะไม่ถูกนำมาใช้ โดยจะถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคต
- 4 บิตในออคเทตแรกจะเป็นค่าคงที่ คือ 1111 เพื่อใช้แทนว่าเป็นคลาส E
- แอดเดรสเริ่มต้น คือ 240 (11110000) และแอดเดรสสุดท้าย คือ 255 (11111111)




                                                                                      แสดงช่วงความกว้างของไอพีแอดเดรส


                                                         สรุปจำนวนเครือข่าย และจำนวนโฮสต์ของไอพีแอดเดรสคลาส A, B และ C

                  ความแตกต่างระหว่างไอพีแอดเดรสคลาส A, B และ C สามารถารุปตามเงื่อนไขพื้นฐานได้ดังนี้
Class A : มีจำนวนเครือข่ายน้อย แต่ละเครือข่ายมีโฮสต์เชื่อมต่อจำนวนมาก
Class B : มีจำนวนเครือข่ายปานกลาง แต่ละเครือข่ายมีจำนวนโฮสต์เชื่อมต่อปานกลาง
Class C : มีจำนวนเครือข่ายมาก แต่ละเครือข่ายมีจำนวนโฮสต์เชื่อมต่อน้อย


                  เนื่องจากไอพีแอดเดรสถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบกัน คือ หมายเลขเครือข่าย และหมายเลขโฮสต์ ทำให้ง่ายต่อการออกแบบระบบ โดยในการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลบนเครือข่าย เร้าเตอร์จะพิจารณาเลือกเส้นทางเฉพาะส่วนของหมายเลขเครือข่ายเท่านั้น โดย ( โฮสต์หรืออุปกรณ์ที่มีหมายเลขเครือข่ายชุดเดียวกันจะอยู่บนเครือข่ายเดียวกันหรือเรียกว่าอยู่บนเน็ตเวิร์กเดียวกัน ) ส่วนหน้าที่ของการส่งแพ็กเก็ตบนเครือข่ายเดียวกัน จะเป็นหน้าที่ของชั้นสื่อสารดาต้าลิงค์