การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน

ชุมชนบ้านคำนางปุ่ม จะมีการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • ประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งมีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านจัดร่วมกัน มีการแข่งขันบั้งไฟ  มีการฟ้อนรำ มหรสพต่างๆ
  • ประเพณีบุญข้าวจี่ จะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ชาวบ้านจะทำข้าวจี่หรือข้าวโป่งแต่เช้าเพื่อไปทำบุญตักบาตรที่วัด
  • งานทอดกฐินและผ้าป่า จะจัดขึ้นตามความเหมาะสม โดยอาจจะเป็นกลุ่มองค์กรภายนอก ชาวบ้านที่ไปทำงานที่อื่น ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้น
  • ประเพณีการไหว้ศาลปู่ตา จะจัดในวันพุธซึ่งชาวบ้านถือเป็นวันไหว้ผี เดือนเมษายนของทุกปี
  • งานอื่นๆ เช่นงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บายศรีสู่ขวัญ งานศพ เป็นต้น

กิจกรรมต่างๆเหล่านี้มักใช้สถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของชาวบ้านในชุมชน อันได้แก่ วัด  ศาลากลางบ้าน หรือบ้านของเจ้าภาพที่จัดงาน

ความขัดแย้งในชุมชน 
           หากเกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชน ชาวบ้านจะใช้การประนีประนอมต่อกัน ถ้าการความขัดแย้งยังไม่คลี่คลายก็จะให้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้านเป็นคนไกล่เกลี่ย ถ้าผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ก็จะไปให้กำนันเป็นคนไกล่เกลี่ยให้ แต่ถ้ายังไม่คลี่คลายอีกก็จะต้องไปที่สถานีตำรวจ โดยจะมีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นคนพาไปที่สถานีตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


           บ้านคำนางปุ่ม  หมู่ที่ 11  มีถนนติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ๆ ได้โดยสะดวก  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเขาสวนกวางไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 3  กิโลเมตร เป็นถนนนลาดยางและถนนคอนกรีตตลอดเส้นทาง    ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที    มีรถรับจ้างสองแถววิ่งรับส่งบริการ   ส่วนถนนภายในหมู่บ้านร้อยละ 90 เป็นถนนคอนกรีต ส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.เขาสวนกวาง


วัด
จำนวน    1       แห่ง
โรงเรียน
จำนวน    2        แห่ง
หอกระจายข่าว    
จำนวน    1        แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ     
จำนวน     1        แห่ง
โทรศัพท์เคลื่อนที่       
จำนวน   250     เครื่อง
โรงสีข้าว   
จำนวน    1        แห่ง
ประปาหมู่บ้าน   
จำนวน    1        แห่ง
ปั๊มหลอด       
จำนวน    1        แห่ง
ร้านค้า/ร้านขายของชำ   
จำนวน     3        แห่ง
ร้านปะยาง  
จำนวน     1        แห่ง
ไฟฟ้า      
จำนวน     120 ครัวเรือน
สถานีอนามัย  
จำนวน      -        แห่ง
ร้านค้าชุมชน  
จำนวน      1       แห่ง
ร้านขายอาหาร    
จำนวน      1        แห่ง

 


    
           อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านคำนางปุ่ม  หมู่ที่  11 คือ อาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะทำนาเป็นหลักในช่วงฤดูฝน โดยจะเริ่มในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี  หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะเป็นการปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และพืชผักสวนครัวตามไร่นา  ซึ่งมีทั้งการปลูกไว้สำหรับค้าขายและปลูกไว้ใช้รับประทานเองภายในครัวเรือน 

   

           นอกเหนือจากการปลูกพืชแล้ว ชาวบ้านคำนางปุ่ม ยังมีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ อันได้แก่ ปลาดุก ไก่ โคและกระบือ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่จะนิยมเลี้ยงโคเป็นหลัก ส่วนไก่และปลาดุกมักจะเลี้ยงไว้สำหรับใช้รับประทานในครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
           อาชีพเสริมอื่นๆ ได้แก่ การเพาะเห็ดของกลุ่มเห็ดขอนขาว   นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพตามหลักความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย 

 


           ชาวบ้านคำนางปุ่ม  หมู่ที่  11   มีรายได้เฉลี่ยของประชากร เฉลี่ย  63,318 บาท/คน/ปี  (ข้อมูล จปฐ. ปี 2555) รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการทำการเกษตร  ได้แก่ ทำนา ทำไร่ รองลงมาได้แก่ รับจ้างทั่วไป  โดยอาชีพต่างๆของชาวบ้านในชุมชนสามารถแจงได้ดังนี้

1) ทำการเกษตร (ทำนา ทำไร่)      
จำนวน                   97       ครัวเรือน
2) รับจ้างทั่วไป              
จำนวน                    34       ครัวเรือน
3) ค้าขาย          
จำนวน                     4        ครัวเรือน
4) รับราชการ      
จำนวน                     5        ครัวเรือน



           1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดงบัง จัดตั้งเมื่อปี 2555 มีสมาชิก 108 คน  เงินทุนหมุนเวียน 418,465 บาท มีนายวิลาส  ลันดา  เป็นประธาน  กิจกรรมของกลุ่มคือให้สมาชิกออมเงินเดือนละ 10  บาท และให้สมาชิกกู้นำไปประกอบอาชีพ
           2. กองทุนหมู่บ้าน  มีสมาชิก  96 คน เงินทุนของกลุ่ม  1,832,188.97  บาท กิจกรรมปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกนำไปประกอบอาชีพ   มีนายสวาท  สุดแสง   เป็นประธาน 
            3. กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ  จัดตั้งปี 2544  มีสมาชิก  200 คน เงินทุน  150,000 บาทนำไปจ่ายให้สมาชิกกู้ในอัตราดอกเบี้ยถูก  กิจกรรมกลุ่มคือการขายปุ๋ยให้กับสมาชิกหรือผู้สนใจทั่วไป  เพื่อเป็นทุนขอกลุ่ม มีนายวิลาส  ลันดา  เป็นประธาน
            4. กลุ่มทอเสื่อกก   มีสมาชิก  30 คน  เงินทุนของกลุ่ม 5,000  บาท  นำไปให้สมาชิกกู้ยืมหมุนเวียนในกลุ่ม  มีนางพิกุลทอง  พิกุลทอง   เป็นประธาน
            5. ร้านค้าชุมชน  จัดตั้งปี 2545  มีสมาชิก 107 ครัวเรือน  เงินทุนของกลุ่ม 44,600  บาท 
บริการขายสินค้าราคาถูก  ให้กับสมาชิกในหมู่บ้าน  มีนายวิลาส  ลันดา   เป็นประธาน

 

บ้านคำนางปุ่ม  หมู่ที่  3,11  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
           บ้านคำนางปุ่ม  หมู่ที่  3 กับหมู่ 11   มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาหมู่บ้าน   ผู้นำและประชาชนในหมู่บ้านได้ปรึกษาพูดคุยที่จะใช้แนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน   โดยใช้หลักการ  คือ 
           1. ทุนทางสังคม   คือ การใช้ภูมิปัญญาที่มีของคนในหมู่บ้านมาใช้ให้เกิดพลังและมีรายได้ เช่น    การปลูกพืชผักสวนครัว   และเลี้ยงสัตว์         
           2. การรวมกลุ่มเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง  คือ การจัดตั้งกลุ่มขึ้นในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มและเกิดการบริหารจัดการภายในชุมชน    
           3. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ   คือ   การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาใช้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้

กิจกรรมนำสู่การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้าน "อยู่เย็น เป็นสุข"
           การพัฒนาหมู่บ้าน หากจะให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนแล้ว การมีส่วนร่วมของคนชุมชนและการได้รับประโยชน์ร่วมกันเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน ได้นำแนวปฏิบัติตามแนวคิด 6X2   มาเป็นแนวทางการปฏิบัติให้เกิดผล ดังนี้ 
          1. ด้านการลดรายจ่าย  ชุมชน/ครัวเรือน ปลูกผักสวนครัว ปลูกไว้กินเองในครัวเรือนเหลือกินก็ขายเป็นรายได้   และการทำน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้ในครัวเรือน
          2. ด้านการเพิ่มรายได้ ส่งเสริมอาชีพให้สตรีในหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดขอนขาว
          3. ด้านการประหยัด  ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออมทรัพย์ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ,และกิจกรรมเครือข่าย  (ร้านค้าชุมชน)
          4. ด้านการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มีการเข้ารับการอบรมศึกษาดูงานเพิ่มเติมความรู้ให้กับตนเอง โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน 
           5. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  การปลูกต้นไม้บริเวณที่สาธารณ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับตามถนนสายหลัก และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบริเวณหมู่บ้านน่าอยู่สวยงาม
           6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเอื้ออารีย์ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของชาวบ้านคำนางปุ่มที่ทำให้หมู่บ้านเกิดความเข้มแข็ง โดยมีการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยการจัดงบจากกองทุนต่าง ๆ  ในหมู่บ้านสนับสนุน ช่วยเหลือครัวเรือนที่ด้อยโอกาสหรือยากจน  

กิจกรรมรักษาและพัฒนาความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2555
            กิจกรรมที่  1 การเรียนรู้ตนเองและกำหนดการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้แทนครอบครัวพัฒนา ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนชุมชน จำนวน 30 คน ดำเนินการ 1 วัน งบประมาณ 5,400 บาท กิจกรรมประกอบด้วย 
                  -               จัดให้มีการประเมินตรวจสภาพของหมู่บ้านตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) ผลที่ได้จากการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงสถานการณ์การพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้และเข้าใจในการเกณฑ์การประเมิน สามารถพัฒนาหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้
           -  จัดให้มีการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน ก่อนการพัฒนา  (ครั้งที่ 1) โดยการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แผนผังใยแมงมุม (spider diagram)  เป็นเครื่องมือในการประเมิน  ตามเกณฑ์การประเมิน 6 องค์ประกอบ  22  ตัวชี้วัด  และเลือกวิธีการให้คะแนนโดยการใช้มติที่ประชุม  ให้ทีประชุมช่วยกันพิจารณาร่วมกันตัดสินใจให้คะแนนในแต่ละตัวชี้วัด โดยการแลกเปลี่ยนเหตุผลให้เกิดการยอมรับเป็นฉันทามติ ในค่าคะแนนเดียว จากนั้นได้มีการประเมินซ้ำอีกรอบ โดยถามคำถามเพื่อวัดความสุขภาพรวมของชุมชน(ปรอทวัดความสุข)  โดยให้ใช้ความรู้สึกเป็นตัววัด สรุปค่าคะแนนตามมติที่ประชุม ได้คะแนน  96   คะแนน   อยู่ในระดับอยู่เย็นเป็นสุข สรุปผลการประเมินโดยใช้แผนผังใยแมงมุม และปรอทวัดความสุข มีนัยสัมพันธ์สอดคล้องกัน  ผลที่ได้จากการฝึกอบรมคณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบลและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ การประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน สามารถสร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมได้  ตลอดจนวางแผนพัฒนาร่วมกันในตัวชี้วัดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เพื่อรอรับการประเมินครั้งที่  2 ต่อไป
           - จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลของครอบครัว การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน ข้อมูลทุนชุมชน การทบทวนปรับปรุงแผนชุมชน ผลสำเร็จที่ได้จากการฝึกอบรม ครอบครัวพัฒนา แกนนำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนชุมชน สามารถวิเคราะห์/สังเคราะห์ ข้อมูล สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข ร่วมกัน และกำหนดเป็นแผนชีวิตที่จะต้องดำเนินการแก้ไข และเชื่อมโยงการพัฒนากับแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

          กิจกรรมที่ 2 สาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง    งบประมาณ 16,050 บาท ดำเนินการ 1 วัน   เป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติ กิจกรรมเพื่อสร้างทักษะการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่กำหนดไว้ในแผนชีวิต  โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันคัดเลือกกิจกรรมการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ   ผลที่ได้จากการฝึกอบรม ครอบครัวพัฒนา แกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม/องค์กร สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม   ไปขยายผลสู่ครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้าน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 

          กิจกรรมที่ 3 การจัดความรู้การดำเนินการและเตรียมการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ  งบประมาณ 5,300  บาท  ดำเนินการ  1  วัน
        

          กิจกรรมการประเมินตรวจสภาพของหมู่บ้านตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) แบบใหม่ ปี 2555       

         ผลที่ได้จากการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงสถานการณ์การพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้และเข้าใจในการเกณฑ์การประเมิน สามารถพัฒนาหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้

          บ้านคำนางปุ่ม หมู่ที่  3 กับหมู่ 11  ตำบลเขาสวนกวาง   ผ่าน  21 ตัวชี้วัด  ไม่ผ่าน  2 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดที่  3 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลัก  และตัวชี้วัดที่  23   ผลการจัดระดับอยู่ในระดับ  “อยู่ดี  กินดี            

          -  กิจกรรมการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน  (GVH) แบบมีส่วนร่วม      เป็นการประเมินหลังการพัฒนาตามกิจกรรมการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของหมู่บ้าน โดยการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แผนผังใยแมงมุม (spider diagram)  เป็นเครื่องมือในการประเมิน  ตามเกณฑ์การประเมิน 6 องค์ประกอบ  22  ตัวชี้วัด  และเลือกวิธีการให้คะแนนโดยการใช้มติที่ประชุม  ให้ทีประชุมช่วยกันพิจารณาร่วมกันตัดสินใจให้คะแนนในแต่ละตัวชี้วัด โดยการแลกเปลี่ยนเหตุผลให้เกิดการยอมรับเป็นฉันทามติ ในค่าคะแนนเดียว จากนั้นได้มีการประเมินซ้ำอีกรอบ โดยถามคำถามเพื่อวัดความสุขภาพรวมของชุมชน(ปรอทวัดความสุข)  โดยให้ใช้ความรู้สึกเป็นตัววัด สรุปค่าคะแนนตามมติที่ประชุม ได้คะแนน  96   คะแนน  อยู่ในระดับอยู่เย็นเป็นสุข สรุปผลการประเมินโดยใช้แผนผังใยแมงมุม และปรอทวัดความสุข มีนัยสัมพันธ์สอดคล้องกัน  เพราะแผนผังใยแมงมุมมีลักษณะแผ่ขยายกว้าง และระดับปรอทวัดความสุขก็สูงขึ้นกว่าการประเมินในครั้งแรก  แสดงให้เห็นว่าหมู่บ้านมีการพัฒนาในแต่ละตัวชี้วัด    ผลที่สำเร็จที่ได้จากกิจกรรม ครอบครัวพัฒนา แกนนำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม/องค์กร ได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรมการพัฒนาในด้านต่างๆ ของหมู่บ้านเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) เพื่อประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2555

 

          - กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความรู้เรื่องวิธีการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคคล พัฒนากลุ่ม พัฒนาเครือข่าย หรือกิจกรรมอื่นที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ผลสำเร็จที่ได้จากกิจกรรม ครอบครัวพัฒนา แกนนำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม/องค์กร ได้ร่วมกันวิเคราะห์รูปแบบวิธีการ 
ทำงาน/กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่ประสบผลสำเร็จ ที่สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงาน/แหล่งเรียนรู้ได้ และจัดทำเอกสารชุดองค์ความรู้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป


 
           ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้าน เกิดจากปัจจัยหลายด้าน ได้แก่
          1. การสร้างความเข้าใจกับแกนนำในการทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 
          2. การสมัครใจเข้ามาร่วมกิจกรรมโดยไม่ถูกบังคับของกลุ่มเป้าหมาย 
          3. การปรับทัศนคติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
          4. การกำหนด กฎกติกา  รวมถึงการมอบหมายงานให้รับผิดชอบ 
          5. ความตั้งใจ  มุ่งมั่นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
          6. การกำหนดขั้นตอนอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนตามแนวทางการดำเนินงาน 
ของกรมฯ 
          7.การสนับสนุนและให้การติดตามอย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

 

กิจกรรมโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันอุบัติภัยทางถนน
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสวนกวาง
อำเภอเขาสวนกวาง  จังหวัดขอนแก่น

   

 

กิจกรรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯกองทุนแม่ของแผ่นดิน 
  ณ ศาลาเอนกประสงค์   วัดบัวระพา   บ้านคำนางปุ่ม
ตำบลเขาสวนกวาง   อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น

   

 

กิจกรรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านอาวุธปืน  กองทุนแม่ของแผ่นดิน

ณ ศาลาเอนกประสงค์   วัดบัวระพา   บ้านคำนางปุ่ม
ตำบลเขาสวนกวาง   อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น

 

 

กิจกรรมเข้าเวร - ยาม
บ้านคำนางปุ่ม  ตำบลเขาสวนกวาง   
อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น

   

 

กิจกรรมจุดตรวจรวมกับอำเภอ
บ้านคำนางปุ่ม  ตำบลเขาสวนกวาง   
อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น

   

 

กิจกรรมพิธีรับ – มอบธง อำเภอเขาสวนกวางไม่ยุงเกี่ยวกับยาเสพย์ติด
ณ ศาลาเอนกประสงค์อำเภอเขาสวนกวาง
อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น

   


กิจกรรมโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 
ณ ป่าสงวนชุมชน บ้านคำนางปุ่ม
ตำบลเขาสวนกวาง   อำเภอเขาสวนกวาง   จังหวัดขอนแก่น