View My Stats
ความรู้เรื่องพืชจีเอ็มโอ/พืชเทคโนชีวภาพ



เรื่องที่ 1. พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพและกรอบงานแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ
เรื่องที่ 2. ประวัติ ความสำคัญและสถานการณ์การผลิตพืชเทคโนชีวภาพ
เรื่องที่ 3. ความรู้เบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
เรื่องที่ 4. การพัฒนาพันธุ์พืชและการพัฒนาพันธุ์พืชเทคโนชีวภาพรวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้พืชเทคโนชีวภาพ
เรื่องที่ 5. ความกังวลและการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากพืชเทคโนชีวภาพ
เรื่องที่ 6. การกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพในพืชเทคโนชีวภาพ
Biosafety Regulation Sourcebook, 2006
The Biosafety Regulation Sourcebook, 2006 contains a Model Biosafety Act and helpful information on development and implementation of biosafety regulations compliant with both the Cartagena Protocol and WTO agreements. The sourcebook is designed to assist developing countries that may need to introduce new administrative and legal frameworks for environmental safety with respect to the import, export and use of living modified organisms within their territories. It is based on provisions found in existing and well-functioning biosafety regulatory schemes around the world that have been amended and shaped in accordance with actual experience in the field.
The Model Act was first published in 2002 following independant peer review. This present version has been updated to ensure consistency with disciplines imposed by the World Trade Organization and its agreements.
ดาวโหลดได้ที่ http://www.agbios.com/main.php
ข้อคิดเห็น

ไบโอไทย เอ็นจีโอที่ชอบสร้างความสับสนให้กับสังคมไทย

ถ้าเข้าไปดูในเว็บของ USPTO (http://patft.uspto.gov/netahtml/PTO/srchnum.htm) และค้นหาสิทธิบัตรหมายเลข 7078586 ตามที่อ้างในข่าวเศรษฐกิจ ประจำวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2549 (http://www.thaisnews.com/news_detail.php?newsid=198884) จะพบว่า “สิ่งที่ขอจดในสิทธิบัตร คือ ลำดับนิวคลีอิกหรือยีนที่มีผลให้มะละกอต้านทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน ซึ่งยีนนี้จำแนกและแยกมาจากสายพันธุ์ไวรัสจากหลายๆ ประเทศ รวมทั้งจากประเทศไทย การจดสิทธิบัตรนี้ยังรวมไปถึงการนำไปใช้จนได้ต้นมะละกอที่ต้านทานจุดวงแหวน” ไม่ใช่จดสิทธิบัตรไวรัสสายพันธุ์ไทยที่ต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ ตามที่อ้าง ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีไวรัสไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนที่ต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวน มีแต่ไวรัสที่เป็นตัวก่อให้เกิดเชื้อโรค

ข้อความที่ระบุในการจดฯ the isolation and identification of nucleic acid sequences encoding the coat protein of papaya ringspot virus in the Kapoho (KA), Keaau (KE), Thailand (TH), Brazil (BR), Jamaica (JA), Mexico (ME), Venezuela (VE), and Oahu (OA) strains, and the uses thereof to impart viral resistance to papaya plants

และการจดสิทธิบัตรในครั้งนี้ บริษัท มูลนิธิการวิจัยของคอร์แนล เป็นผู้รับโอนสิทธิ์ในการจดทะเบียนเท่านั้น ไม่ใช่นักวิจัยสหรัฐอเมริกา ชื่อ นายเดนนิส กอนซาลเวส (Dennis Gonsalves) ได้ฉวยโอกาสจดสิทธิบัตร ดังที่กล่าวอ้าง

ข้อความที่ระบุในการจด Assignee: Cornell Research Foundation, Inc. (Ithaca, NY)

และในการจดครั้งนี้ ชื่อผู้ประดิษฐ์ ไม่ใช่มีเฉพาะนายเดนนิส กอนซาลเวสเท่านั้น แต่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นอื่นๆ จากหลายประเทศ อาทิ นางนงลักษณ์ สารินทร์ จากประเทศไทยด้วย ดังนั้นประเทศไทยย่อมจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์จากการจดสิทธิบัตรในครั้งนี้ด้วย ไม่ได้เสียประโยชน์ตามที่อ้าง

ข้อความที่ระบุในการจดฯ
Inventors: Gonsalves; Dennis (Hilo, HI), Chiang; Chu-Hui (Tainan, TW), Tennant; Paula F. (Kingston, JM), Gonsalves; Carol V. (Hilo, HI), Sarindu; Nonglak (Bangkok, TH), Souza, Jr.; Manoel Teixeira (N cleo Bandeirante, BR), Nickel; Osmar (Goncalves, BR), Fermin-Munoz; Gustavo Alberto (Hilo, HI), Saxena; Sanjay (New Delhi, IN), Cai; Wenqi (Beijing, CN)

การกล่าวอ้างว่า เกษตรกรหรือองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมะละกอ อาจถูกเรียกเก็บค่าสิทธิบัตรสูง ถึง 35% ของยอดขายนั้น เป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงและน่าจะเป็นเหตุผลเพียงเพื่อสร้างความตระหนกหรือหวาดกลัวให้สาธารณชน เนื่องจากไม่น่าจะมีเจ้าของสิทธิบัตรใดในโลกนี้สามารถเรียกร้องค่าตอบแทนสูงเช่นนี้

แน่นอน เหมือนกับการสร้างบ้าน เมื่อบ้านสร้างเสร็จ บ้านหลังนั้นก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน จะให้ผู้ใดเข้าอยู่อาศัยโดยเสียค่าเช่าหรือให้อยู่ฟรีก็ได้ เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้เข้าอยู่อาศัยกับเจ้าของบ้าน จากการกล่าวโดยไม่เข้าใจประเด็นทั้งหมดของเอกสารในสิทธิบัตร และนำมากล่าวอ้างอย่างผิดจากความเป็นจริง จัดว่าเป็นการให้ข้อมูลที่บิดเบือนความจริงอย่างร้ายแรง ตั้งใจสร้างความตระหนก ให้กับผู้อ่านข่าว และสร้างความสับสนให้กับสังคมอย่างไม่น่าให้อภัย

ข่าวพืชจีเอ็ม/พืชเทคโนชีวภาพ
(7)The Benefits of Plant Biotech: Consistent Results for Farmers Worldwide
Farmers from 8 countries share personal experiences about the specific benefits plant biotechnology has delivered to their farming operations, families, communities and the environment.
ดู VDO ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=paFfduIm_hA

(6) "What's for Lunch?"
A humorous and entertaining look at some of the issues related to the various ways food is grown prior to making it to our plates at school or elsewhere!
ดู VDO ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=8n2HO81RtiA

(5) เอกสารที่น่าสนใจจาก SEARCA

เช่น Regulation of Plant Biotechnology โดย Dr. Eufemio T. Rasco Professor, College of Mathematics, University of the Philippines Mindanao
สามารถดาวน์โหลดได้ http://www.searca.org/web/adss/2007/index.html

(4) พืชจีเอ็มหรือพืชเทคโนชีวภาพสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน

ในขณะที่ภาวะโลกร้อนกำลังอยู่ในกระแสความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามที่จะลดผลกระทบดังกล่าว
เป็นที่เข้าใจกันดีว่า การปลดปล่อยกาซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เป็นบ่อเกิดของสภาวะโลกร้อน ยิ่งลดการปลดปล่อยกาซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ยิ่งช่วยลดสภาวะโรคร้อน
ข้อมูลจาก http://www.netindia123.com/showdetails.asp?id=853834&cat=India&head= Genetically+engineered+plants+to+offset+increased+CO2+intake+closer+to+reality ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาพันธุ์พืชจีเอ็มให้มีอัตราการสังเคราะห์แสง (ซึ่งใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์) สูง แต่มีปัญหาที่เมื่อพืชมีการสะสมคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และน้ำในใบสูงจะส่งผลทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงต่ำลง นั่นคือลดการใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และเป็นผลมาจากมีการสะสมสารสังเคราะห์สูงในใบ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายผ่านท่อลำเลียงอาหารเป็นไปได้ช้า ดังนั้น ถ้าสามารถพัฒนาพืชจีเอ็มให้สามารถเคลื่อนย้ายสารสังเคราะห์ได้เร็วขึ้น กระบวนการสังเคราะห์แสงก็จะเกิดได้เร็วขึ้น คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ก็จะถูกดูดซับเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ทำให้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในบรรยากาศ ทำให้ลดสภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

ท่านคิดเห็นอย่างไรกับข่าวนี้

(3) การปลูกพืชเทคโนชีวภาพ/พืชจีเอ็มในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2550

ข้อมูลจาก http://southeastfarmpress.com/grains/121307-biotechnology-agriculture/
ชี้ให้เห็นว่าสิ้นปี 2550 ร้อยละ 90 ของถั่วเหลือง ร้อยละ 85 ของฝ้าย และร้อยละ 50 ของข้าวโพดที่ปลูกในสหรัฐฯ เป็นพืชเทคโนชีวภาพ/พืชจีเอ็ม และถ้าดูทั้งโลก จะพบว่า ร้อยละ 60 และร้อยละ 28 จะเป็นถั่วเหลืองจีเอ็มและฝ้ายจีเอ็ม ตามลำดับ
ในประเทศกำลังพัฒนาเช่น จีน อินเดียและเม็กซิโก ใช้พันธุ์พืชจีเอ็มเกือบร้อยละ 40 ของพื้นที่เพาะปลูกของแต่ละประเทศ และคาดว่าพื้นที่ปลูกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศดังกล่าวในอีก 5-10 ปี นอกจากนี้การปลูกพืชจีเอ็มทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตที่เร็วกว่าการเติบโตในสหรัฐ
(2) ตัวแทน'กรีนพีซ'จวกมติครม.เห็นชอบปลูกจีเอ็มโอ

จาก http://www.naewna.com/news.asp?ID=88565 วันที่ 26. .50

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ไฟเขียวทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรม(จีเอ็มโอ) ได้เฉพาะแปลงของราชการ ส่วนในไร่นาทั่วไปไม่อนุมัติ

น.ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวไม่เพียงแต่จะสร้างหายนะให้กับสิ่งแวดล้อม ยังส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะจะทำลายโอกาสของประเทศไทยในการเป็นผู้นำด้านการส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก

อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าว แสดงว่า เป็นการเพิกเฉยต่อความบกพร่องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอ โดยมีการทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน จ.ขอนแก่น และปล่อยให้มีการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอให้กับเกษตรกรไทยกว่า 2,669 ราย ใน 37 จังหวัดทั่วประเทศ
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ จากคำกล่าวของ น.ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล เวอร์เกินจริง?

(1) พื้นที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพหรือพืชจีเอ็มโอปี 2550 ในสหภาพยุโรป

ข้อมูลจาก http://www.gmo-compass.org/eng/agri_biotechnology/gmo_planting/191.eu_growing_area.html ชี้ให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปมีการปลูกพืชเทคโนชีวภาพเพิ่มขึ้นจาก 62,000 เฮกตาร์ ในปี 2549 เป็น 110,000 เฮกตาร์ ในปี 2550 ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดบีที

ในปี 2549 มี GM maize ปลูกอยู่ในประเทศ Spain 53,700 เฮกตาร์ France 5,000 เฮกตาร์ Czech Republic 1,290 เฮกตาร์ Portugal 1,250 เฮกตาร์ Germany 950 เฮกตาร์ และ Slovakia 30 เฮกตาร์

ในปี 2550 มี GM maize ปลูกอยู่ในประเทศ Spain 75,150 เฮกตาร์ France 21,200 เฮกตาร์ Czech Republic 5,000 เฮกตาร์ Portugal 4,500 เฮกตาร์ Germany 2,685 เฮกตาร์ และ Slovakia 900 เฮกตาร์

จะเห็นว่าทุกประเทศมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และ 1 เฮกตาร์ เท่ากับ 6.25 ไร่

พืชจีเอ็มโอหรือพืชเทคโนชีวภาพ มีส่วนช่วยในการลดการใช้สารเคมี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันกับการทำการเกษตรในรูปแบบอื่นๆ แต่มีข้อดีที่ต้านทานต่อโรด แมลงศัตรู และทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ส่งผลให้เก็บผลผลิตได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย



เผยแพร่โดย ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต นักวิชาการอิสระ
แลกแปลี่ยนข่าวสาร Email: [email protected]
มกราคม 2550
Update: Jan. 4, 2551
Hosted by www.Geocities.ws

1