AFTA

ความเป็นมา ในปีพ.ศ. 2535 อาเซียได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความ ตกลงว่าดด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันศำหรับเขตการค้าอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT)Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA) เพื่อจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างควาสามารถในการแข่งขันให้กับ สินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM : ASEAN Aconomic Ministers) ครั้งที่ 26 ปีพ.ศ. 2537ได้มีมติให้ร่มระยเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี และให้นำสินค้าเกษตร ไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย
เป้าหมาย ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 และยกเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษีศุลากากรใน 10 ปี (พ.ศ. 2536-2546)
ขอบเขตสินค้า ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั้นคงศิลธรรม ชีวิตและศิลปะ
หลักการดำเนินการ การลดภาษี แบ่งสินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 7 ปี (พ.ศ. 2536-2543) มี 15 สาขาสินค้าได้แก่ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟพ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ และหวาย นำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและผลิตภัณฑ์แก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจาก ทองแดง สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track)ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 10 ปี (ฑ.ศ. 2536-2546) สินค้ายกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List) ได้แก่สินค้าที่แต่ละประเทศสงวนสิทธิ์ไม่ลดภาษีชั่วคราว แต่จะทยอยนำมาลดภาษีภายใน 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539-2543 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและการเกษตรแปรรูป และทยอยนำมาลดภาษีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2546 สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ทั้งน้อัตราภาษีสุดท้ายจะลดลงร้อยละ 0-5 เช่นกัน สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) ได้แก่สินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่มีการตกลงให้เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่นๆ คือเริ่ม ลดลงตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงได้แก่ ข้าวและนำตาล ซึ่งมีมาตราการพิเศษโดยเฉพาะเช่น เริ่มลดช้ากว่าอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่าร้อยละ 0-5 เป็นต้น การลด / เลิกมาตราการที่มิใช่ภาษี ยกเลิกมาตราการจำกัดด้านปริมาณเมื่อสินค้านั้นรลดภาษีอยู่ที่ระดับร้อยละ 20 หรือตำกว่า และยกเลิกมาตราการที่ มิใช่ภาษีอื่นภายใน5 ปีต่อมา
เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์
1. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ จะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในรายการที่ลดภาษีและมีแผนการลดภาษีที่ได้รับความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) 2. ประเทศนั้นจะต้องลดภาษีของตนในสินค้าชนิดเดียวกันให้เหลือร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ การลดภาษีสินค้านั้นจากประเทศอื่นอย่างไรก็ตามในกรณีที่ยังลดภาษีลงมาไม่ถึงร้อยละ 20 ก็ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศอื่น ที่ยังลดภาษีลงมาไม่ถึงร้อยละ20 ในสินค้าเดียวกัน 3. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องเป็นตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายใน อาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 40 สำหรับสสินค้าสิ่งทอ ผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้กฎเกณฑ์การแปรรูปในสาระสำคัญ (Substantial Transformation) ก็ได้ 4. ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จะต้องกรอบแบบใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า(form D) ที่ออกโดยหน่วยงานทีร่มีอำนาจในการ ออกใบรับรองของประเทศผู้ส่งสินค้านั้น (สำหรับไทยคือกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
พันธกรณีของสมาชิกใหม่ ประเทศสามาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่เวียดนาม ลาวและพม่า จะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงต่างๆ ของอาเซียน ทุกฉบับรวมทั้งความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ CEPT Agreement ทั้งนี้ประเทศทั้งสามจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ทั้งด้านการลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีเช่นเดียวกับสมาชิกอื่นๆ แต่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลา ในการดำเนินการยาวนานกว่าเนื่องจากทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนทีหลัง จึงเริ่มดำเนินการช้ากว่า เช่น ในกรณีลดภาษีสินค้า อุตสาหกรรม และเกษตรแปรรูป เวียดนามซึ่งเข้าเป็นสมาชิกปี พ. ศ. 2538 หลังจากเริ่มดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน 3 ปี ก็มีเวลา ในการลดภาษีนานกว่าสมาชิกดั้งเดิม 3 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2549 ส่วนลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนปีพ.ศ. 2540 ก็มีเวลาลดภาษีจน ถึงปี พ.ศ. 2551 เป็นต้น
ผลการดำเนินการ ในปีพ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ตามแผนการลดดภาษีของอาเซียน มีการนำสินค้าเข้ามาลดภาษีทั้งหมด 45,762 รายการหรือ ร้อยละ 90 ของจำนวนรายการทั้งหมด ทั้งนี้อัตราภาษีของอาเซียนในปีพ.ศ. 2540 เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 6.38 ลดลงจากร้อยละ 12.76 ในปีพ.ศ. 2546 จะมีอัตราเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.55
มาตราการที่มิใช่ภาษี อาเซียน ได้ตกลงยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (surcharge) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 และกำลังดำเนินการ ยกเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษีอี่นๆ เช่น ปรับประสานมาตรฐานสินค้าให้ใกล้เคียงกัน จัดทำความตกลงการยอมรับซึ่งกันและกันในเรื่อง มาตรฐานและความสอดคล้อง ปรับประสานมาตรการด้านสุขอนามัย เป็นต้น
ไทยได้อะไรจาก AFTA 1. การเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำเข้าวัตถุถดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความ เชียวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคนโลยีที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ 2. การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดการลงทุน จากต่างประเทศและก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศ สมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม ลาว และพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาไม่สูง รนวมทั้งมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค และปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในระดับค่อนข้างสูง การเข้ารวมตัวกับอาเซียนของประเทศทั้งสาม จึงเท่ากับเป็นการสร้างศักยภาพในการขยายตัวทางการค้าการลงทุนให้กับอาเซียนโดยเฉพะประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ ทางการค้า การลงทุน ระหว่างกันมาช้านานน่าจะมีโอกาสและได้เปรียบประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ทั้งในการโยกย้ายฐาน ผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานมาก การเข้าไปลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐาน และการเป็นประตูสู่ประเทศทั้งสาม 3. การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำหนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศ สมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มข้น ทั้งสินค้าสำเร็จรูป สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทย จะมีความได้เปรียบและสามารถส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์ สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด 4. การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้วยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย


APEC
(Asia Pacific Economic Cooperation)

ความเป็นมาเอเปค (APEC) ย่อมาจาก Asia-Pacific Ecooperation หรือความร่วมมือทางเศรษฐกกิจอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจาก การประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฦศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อ
  • สนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจและทางการค้าของภูมิภาคของโลก
  • พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาสคีและสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จ
  • ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าทที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism)
  • ขยายความร่วมมือสาขาเศษฐกิจที่สนใจร่วมกัน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรีสอดคล้องกับกฏของแกตต์
    ปัจจุบันเอเปคมีจำนวนสมาชิก 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) สหรัฐฯ แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณประชาชนจีน จีนไทเป ฮ่องกง เม็กซิโก ปาปัวนิว กินี ชิลี และจะรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทส คือ เวียดนาม เปรู และรัสเซีย ในเดือนพฦศจิกายน พ.ศ. 2541
    หลักการของความร่วมมือในเอเปค
  • เป็นเวทีสำหรับการปรึกษษหาหรือ (Consultative Forum) ทีร่เกี่ยวกับประเด็นเศษฐกิจ
  • ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ในการกำเนินการใดๆ โดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก
  • ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนทรงเศษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองของ ประเทศสมาชิก
    แนวทางความร่วมมือ ในการประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฦศจิกายน พ.ศ. 2537 ณ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประะชุมได้ ประกาศปฏิญญาโบกอร์แสดงเจตนารมณ์ที่จะมีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยกำเนินเป้าหมายให้ ประเทศอุตสาหกรรม เปิดเสรีภายในปีพ.ศ. 2553 (ค.ศ.2010) และประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายใน ปีพ.ศ. 2563( ค.ศ. 2020)
    เอเปคมีแผนงานที่สำคัญ คือ การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ
    ในการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน สมาชิกเอเปคแต่ละประเทศได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานของตน (Individual Action Plan : IAP) ตามความสมัครใจเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายตามปฏิญญาโบกอร์
    นอกจากนี้ยังมีการเปิดเสรีห้เร็วขึ้นหลายสาขาตามสมัครใจ โดยในเบื้องต้นได้กำหนดไว้ 9 สาขา ประกอบด้วย สินค้สและบริ การเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปลาและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ พลังงาน ของเล่น อัญมณีและเครื่องประะดับ เคมีภัณฑ์ และการจัดทำการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม
    ในด้านการอำนวยความสะดวก เอเปคได้มีการจัดทำแผนงานร่วม (Collective Action Plans : CAPs) เพื่อให้มีการไหลเวียน ของการค้าและการลงทุนระหวว่างกันเป็นไปโดยสะดวกและปรับประสานพิธีการศุลกากร การจัดพิมพ์คู่มือกฎระเบียบด้านการลงทุนและการ ปรับประสานมาตรฐานสินค้าเป็นต้น
    ส่วนในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชากาาร เอเปคได้มีการจัดทำกิจกรรมร่วมในโครงการต่างๆมากมาย เพื่อส่งเสริมการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง
    การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจำเป็นต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ จึงอาจมองการเปิดเสรีว่าเป็นการเพิ่มโอกาศหรือ การเปิดตลาด มากกว่าจะถือว่าเป็นสิ่งที่คุกคาม
    นัยต่อประเทศ 1. ผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการบริโภคสินค้ามากชนิดและราคาถูกขณะเดียวกันผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์จากการลดต้นทุน การนำเข้าวัตถุดิบอย่างไรก็ตาม จะมีการแข็งขันกับต่างประเทศมากขึ้น จึงต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตภาคในของสาขาเศรษฐกิจ ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งแสวงประโยชน์จากตลาดที่เปิดกว้างและดึงดูดการลงทุน 2. ส่งเสริมมและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิกโดยลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากร และที่ ไม่ใช่ภาษีศุลกากร ภายใต้แผนงานด้านการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และวิชาการ 3. เสริมสร้างอำนาจในการต่อรอง เพื่อช่วยปกป้องรักษาผลประโยชน์ทางการค้าและป้องกันมิให้ถูกกดดันโดยการใช้มาตรการ ฝ่ายเดียว 4. ได้รับประโยชน์จากโครงการความร่วมมือต่างๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดเล็กและขนาดกลางและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

  • ASEM
    ( Asia - Europe Meeting )
    ความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป

    ความเป็นมาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าเอเชียจะได้เร่งขยายความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี แต่ความสัมพันธ์ของ เอเชียกับสหภาพยุโรปไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ของเอเชีย ฝ่ายเอเชียโดยสิงคโปร์ได้เสนอไปยังสหภาพยุโรปให้มีการจัดประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปขึ้นเพื่อให้ทั้งสอง ฝ่ายสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน และให้หารือกันในกรอบกว้างเพื่อเป็นการปูแนวทางความร่วมมือระหว่างยุโรป กับเอเชีย ผู้นำของประเทศเอเชียและยุโรปจึงได้พบกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการประชุมเอเชียและยุโรป ครั้งที่ 1 ( Asia - Europe Meeting : ASEM ) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อาเซ็ม เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 ณ กรุงเทพฯ
    วัตถุประสงค์การประชุมของผู้นำเอเชีย-ยุโรปมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเอเชียและยุโรป พร้อมทั้งหาลู่ทางและกระชับความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อความเจริญ รุ่งเรืองของภูมิภาคทั้งสอง ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันต่อไปในอนาคต
    ประเทศสมาชิกเอเชีย - ยุโรป
    ฝ่ายเอเชีย - อาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวม 10 ประเทศ
    ฝ่ายยุโรป - สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร
    แนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
  • ส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และสนับสนุนภูมิภาคนิยมแบบเปิด
  • ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างเอเชีย-ยุโรป
  • เพิ่มความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและเอกชนในสองภูมิภาค
    การประชุมภายใต้กรอบเอเชีย - ยุโรปด้านเศรษฐกิจ
  • การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ( Economic Minister' Meeting - EMM )
  • การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุน ( Senior Officials Meeting on Tread and Investment - SOMTI )
  • การประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ( Asia - Europe Business Forum - AEBF )
    ผลการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ
  • การจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเริมการลงทุน ( Investment Promotion Action Plan : IPAP )
  • การจัดทำแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ( Trade Facilitation Action Plan : TFAP )
  • การจัดทำกรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป ( Asia - Europe Cooperation Framework : AECF )
    ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย
  • อาเซ็มทำให้เอเชียและยุโรปรู้จักและมีความเข้าใจกันมากขึ้น เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยาย การค้าการลงทุนระหว่างกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ผู้นำอาเซ็มได้กำหนดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในอนาคตไว้ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการส่งสริมการลงทุน และแผนปฏิบัติการ อำนวยความสะดวกด้านการค้า ซึ่งจะเป็นกรอบการดำเนินการสำคัญที่มุ่งให้เกิดการขยายการค้าและการลงทุน ระหว่าง 2 ภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
  • ในขณะที่สหภาพยุโรปจะได้ขยายฐานการผลิตและการลงทุนเพิ่มขึ้นในเอเชีย ทางเอเชียก็จะได้รับประโยชน์จาก การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากสหภาพยุโรปมากขึ้นด้วย
  • หลายโครงการของอาเซ็ม เช่น โครงการเครือข่ายรถไฟข้ามเอเชีย และการตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมเอเชียในไทย จะ ส่งเสริมให้ภูมิภาคเอเชียมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต
  • ASEAN

    ( Association of South East Asian Nation)

    ความเป็นมาในปีพ.ศ. 2510 อาเซียนหรือสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South Asian Nations : ASEAN) ถูกก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีบรูไนฯ และเวียดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2527และในปีพ.ศ. 2538 ตามลำ ดับ ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมเป็น 9 ประเทศ โดยมีลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540
    วัตถุประสงค์
  • เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาทางวัฒนธรรม
  • เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
  • เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการร วิทยาศาสตร์ และการบริหารอย่างจริงจัง
    ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนประเทศสมาชิกอาเซียน มีความร่วมมือกันทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และความร่วมมือทางด้าน เศรษฐกิจ แต่ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ แต่ความร่วมมือที่สำคัญและเป็นรูปธรรม คือ ความร่วมมือทางด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมอย่างกว้างขวางหลายด้าน เช่น ทั้งด้านการค้า การอุตสาหกรรม การลงทุน และการบริการ เป็นต้น โดยมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ของอาเซียน ได้แก่
    1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA : ASEAN Free Trade Area) เป็นความร่วมมือทางการค้าที่เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันให้กับ สินค้าของอาเซียนในตลาดโลก หลักการสำคัญคือ ลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (ปี พ.ศ. 2536-2546) ยกเว้นสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว ซึ่งจะลด ภาษีระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง 1 มกราคม พ.ศ.2553 ทั้งนน้ให้มีมาตรการพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรุป อ่อนไหวสูง เช่น อัตราภาษีสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0-5 เป็นต้น รวมทั้งให้มีการยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณทันทีที่สินค้า หนึ่ง ๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรอื่นๆ ภายใน 5 ปีต่อมา ขณะนี้สมาชิก อาเซียนกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 แทนร้อยละ 0-5 ในปี พ.ศ2546 รวมทั้งเพิ่มรายการลด ภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
    2. โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (AIOC : ASEAN Industrial Cooperation Scheme) มีวัตถุ ประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียนและเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าและการ ลงทุนระหว่างอาเซียน เป็นโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแล้วส่งออกไปขายในอาเซียน โดยสินค้าที่อยู่ในโครงการจะ ได้รับการลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ทันที โดยไม่ต้องเป็นไปตามแผนการลดภาษีภายใต้อาฟตา
    3. ความร่วมมือด้านการบริการ อาเซียนได้จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (AFAS : ASEAN Framework Agreement on Services) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยในขั้นแรกประเทศสมาชิกตกลงเจรจา เปิดเสรีการค้าบริการสาขาต่างๆ ให้แก่กันและกันใน 7 สาขา ได้แก่ สาขาบริการด้านการเงินและการธนาคาร โทรคมนาคม การท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเลและทางอวกาศ การก่อสร้าง บริการธรกิจ โดยจะดำเนินการเจรจาให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี นับตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539
    4. ความร่วมมือด้านการลงทุน อาเซียนไตกลงให้จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (AIA : ASEAN Investment Area) ให้เสร็จในปี พ.ศ. 2553 โดยจะมีการจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนระหว่างกันซึ่งมีรูปแบบที่สำคัญ คือ เป็นโครงการส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน ให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติหรือสิทธิพิเศษเท่าที่จะทำได้ ให้เพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ในกิจกรรมด้านการลงทุน และส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุน
    5. พืชสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท อาเซียนได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทเพื่อใช้ระงับข้อ พิพาททางการค้าที่จะเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วยกันในอนาคต คาดว่าจะมีผลใช้บังคบในปี พ.ศ. 2540 นี้
    6. การเชื่อมโยงความร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ แนวคิดในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นของ อาเซียนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้าระดับภูมิภาคและระดับโลกให้สูงขึ้น ซึ่งอาเซียนได้เชื่อมโยง กับเข๖การค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) เป็นภูมิภาคแรก โดยมีกิจกรรมที่สำคัญภายใต้การเชื่อมโยงนี้ คือ การแลกเปลี่ยน ข้อมูลด้านมาตรฐานและศุลกากรและการพัฒนาบุคลากร ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องมาตรฐาน และการรับรองร่วมกันเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2539 และจะมีการพิจารณากิจกรรมดำเนินการที่เป็นรูปธรรมร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ยัง ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่สนร่สมมากขึ้นโดยการให้ภาคเอกชนเสนอแนวทางการค้าระหว่างสองภูมิภาคด้วย
    นอกจากนี้ อาเซียนกำลังพิจารณาดำเนินการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น EFTA SADC และ NAFTA โดยจะใช้ หลักการเดียวกับการเชื่อมโยงกับ CER ต่อไป
    7. การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียน รองนายกรัฐมนตรีของไทย (นายอำนวย วีรวรรณ) เป็นผู้เสนอแนวความคิดนี้ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียนโดยเวลาการขนส่งและค่าขนส่งให้มากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การติดต่อค้าขายระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาเซียนกำลังร่วมกันจัด ทำกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกไม่ต้องมีการเสียภาษีนำเข้า ไม่ต้องมีการ ตรวจค้นระหว่างทาง และไม่มีการเปลี่ยนยานพาหนะ
    วิสัยทัศอาเซียนปี 2020รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนด
  • EU

    สหภาพยุโรป

    ความเป็นมา
    ประชาคมยุโรปหรือสหภาพยุโรป (European Union :EU) ในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2501
    (ค.ศ. 1958) โดยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน 6 ประเทศ
    เพื่อวางรากฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
    ภายในกลุ่มให้ดีขึ้น
    ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย เบลเยี่ยม เนร์เธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก ฝรั่งเศส
    เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก กรีซ สเปน โปรตุเกส ออสเตรเลีย
    สวีเดนและฟินแลนด์
    นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน สหภาพยุโรปได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง
    ในแนวลึก ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพศุลกากรและต่อมาได้พัฒนาเป็นตลาดยุโรปเดียวในปี
    พ.ศ.2536 และปัจจุบันกำลังดำเนินการเพื่อไปสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
    ซึ่งมีเป้าหมายให้มีธนาคารกลางแห่งเดียวและใช้เงินสกุลเดียวกันภายในปี พ.ศ. 2542 เป็นอย่างช้า
    ในแนวกว้าง ได้มีการขยายความร่วมมือไปยังประเทศกลุ่มต่าง ๆ ในยุโรปโดยการจัดทำความ
    ตกลงความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อปูทางให้ประเทศเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกถาวรของ
    สหภาพยุโรปต่อไป
    นอกจากนี้ก็ยังรับประเทศที่มีความพร้อมเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหภาพยุโรปเป็นระยะๆ
    และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สหภาพยุโรปได้รับสมาชิกใหม่เพิ่ม 3 ประเทศ
    คือ ออสเตรเลีย สวีเดนและฟินแลนด์
    วัตถุประสงค์ของการรวมเป็นตลาดเดียวกัน
  • ให้ตลาดทั้ง 15 ประเทศ รวมเป็นตลาดเดียว โดยปราศจากอุปสรรคกีดกั้นระหว่างกัน
  • ให้มีการเคลื่อนย้ายประชากร สินค้า บริการ และเงินทุนอย่างเสรี โดยปรับประสานกฏหมาย
    ระเบียบ ข้อบังคับ และโครงสร้างภาษี ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
  • เสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการค้า การลงทุน และการแข่งขันภายในสหภาพยุโรป
    วัตถุประสงค์ของการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
  • ให้สมาชิกทั้ง 15 ประเทศมีการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน (Single currency)
  • ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งยุโรป (European Monetary institute : EMI) ขึ้นภายใน
    วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เพื่อเป็นการรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป
    (European Central Bank)ซึ่งจะมีหน้าที่ออกเงินตราสกุลเดียวในระยะต่อไป
  • ให้สมาชิกปรับประสานงานนโยบายเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อลดความแตกต่างในด้านค่าเงิน ของแต่ละประเทศ
    สหภาพยุโรป : ตลาดสำคัญของไทย
  • สหภาพยุโรป เป็นตลาดใหญ่ที่รองรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย เช่น
    ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สิ่งทอ อัญมณีและอาหาร เป็นต้น โดยไทยส่งออกไปสหภาพยุโรป
    ประมาณร้อยละ15.9 ของมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2539
    ผลกระทบของการเป็นตลาดเดียวและสหภาพเศรษฐกิจและการเงินต่อไทย
  • การปรับประสานกฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายในของประเทศสมาชิกไปแนวทางเดียวกัน
    จะทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดใหญ่ มีผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อสูงกว่า 420 ล้านบาท
    แต่ขณะเดียวกันหากการปรับดังกล่าวทำให้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น
    ก็จะทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดนี้ได้ยากขึ้น
  • สหภาพยุโรปจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ส่งผลให้การส่ง
    ออกของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทั้งในตลาดสหภาพยุโรป
    และในตลาดประเทศที่สาม
  • ในระยะแรกของการปรับระบบการเงินเข้าด้วยกัน ไทยอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวน
    ของอัตราแลกเปลี่ยนภายในสหภาพยุโรป แต่ในระยะยาว เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมี
    เสถีรภาพมากขึ้นจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
  • การใช้เงินตราสกุลเดียวกันทำให้ไทยลดต้นทุนการส่งออกในด้านค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยน
    เงินตราต่างประเทศ
  • ในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรปมีปัญหา การปรับตัวของระบบการเงิน
    จะกระทบต่อประเทศคู่ค้ารุนแรงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการปรับตัวของ 15 ประเทศสมาชิก
  • การรวมตัวของสหภาพยุโรปจะดึงดูดให้มีการลงทุนในสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้น ทั้งการลงทุน
    จากนักธุรกิจภายนอก และนักธุรกิจของสหภาพยุโรปเอง เนื่องจากมั่นใจในความมั่นคง
    ของระบบการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย
    ทิศทางการปรับตัวของไทย
  • ภาคราชการ
  • ศึกษา วิเคราะห์ ผลกระทบจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ด้านสินค้า บริการ การลงทุน
    และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
    ในสหภาพยุโรป
  • เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและวิธีการรับรองมาตรฐานสินค้าของไทย
    ให้เป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป
  • เพิ่มมาตรการเพื่อขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนการสนับสนุนภาคเอกชน
    ในการเข้าร่วมลงทุนกับสหภาพยุโรป
    ภาคเอกชน
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดต่างประเทศ

    G7

    ( The Group of Seven )

    เป็นการรวมตัวของประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม 7 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และแคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งสร้างสรรค์ความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก คุ้มครองสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ส่งเสริมการค้าเสรี และให้ความช่วยเหลือประเทศยากจน ตลอดจนส่งเสริมความเคารพระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศ และร่วม แก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงของโลก
    ทุกๆปีจะมีการจัดประชุมระดับสุดยอดของผู้นำพร้อมด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีการ คลังของประเทศทั้ง 7 นี้ เพื่อพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจของโลก ซึ่งแถลงการณ์ร่วมของการประชุมดังกล่าวมี ความสำคัญต่อบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลกเป็นอย่างมาก


    IMF
    ( International Monetary Fund)

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นองค์กรหนึ่งในสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UNO) เริ่มดำเนิน การในปี ค.ศ. 1947 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่ง เสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเงินทุน ประเทศสมาชิกจะต้องนำทรัพย์สินมาฝากไว้เป็นกองทุนสำรองเมื่อ มีความต้องการใช้เงินก็สามารถถอนเงินออกไปได้ การดำเนินงานเช่นนี้เป็นความร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาทาง การเงินของประเทศสมาชิก อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การขยายและการเจริญเติบโตทางการค้าระหว่าง ประเทศโดยเฉพาะแก่ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก นอกจากนี้ยังช่วยประเทศสมาชิกหาแหล่งเงินทุนและ ช่วยแก้ไขดุลการชำระเงินระหว่างประเทศบางประเทศที่มีความแตกต่างกันมากให้อยู่ในระดับลดน้อยลง ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกประมาณ 135 ประเทศ

    NATO

    ( North Atlantic Treaty Organization )

    องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 เกิดจากแนวความคิด จากเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยนั้น แต่เดิมแรกเริ่มกำเนิดขึ้นจากความพยายามของชาติ ยุโรปตะวันตกจำนวน 12 ชาติ อันได้แก่ เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ จุดมุ่งหมายในการก่อตั้งเพื่อต่อต้านการคุกคาม ทางทหารจากสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ซึ่งกำลังแผ่ขยายเข้าสู่ยุโรปตะวันออกอย่างรวดเร็วและน่ากลัวนับแต่ สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง
    องค์การนาโตประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการป้องกันยุโรปตะวันตกจากการถูกคุกคามของ สหภาพโซเวียตนานถึง 4 ศตวรรษ และกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชาติคอมมิวนิสต์ บริวารของสหภาพโซเวียต ซึ่งตั้งขึ้นมาต่อต้านกับนาโต ในภายหลังสนธิสัญญาวอร์ซอต้องล้มเลิกไปในที่สุดเมื่อ สงครามเย็นยุติลงอันเป็นผลมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ ในยุโรปตะวันออก ซึ่งนับเป็นชัยชนะขององค์การนาโตในการทำหน้าที่พิทักษ์โลกให้พ้นภัยคอมมิวนิสต์ และเป็น การพิสูจน์ว่าประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพอันเท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในโลกยุคนี้
    แต่สิ่งที่ชาวโลกกำลังจับตามององค์าการนาโตในขณะนี้คือ การแก้ปัญหาที่เป็นหนามยอกอกของชาว ยุโรปเป็นเวลายาวนานเกือบ 2 ปี ก็คือ นาโตจะจัดการอย่างไรกับปัญหาขัดแย้งในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินาที่กำลัง ต่อสู้อยู่ และท้าทายศักยภาพของนาโต พร้อมทั้งการยอมรับยุโรปตะวันออกเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนาโตหรือ ไม่ซึ่งนาโตยังบ่ายเบี่ยงเรื่องนี้อยู่
    ปัจจุบันนาโตมีประเทศสมาชิกจำนวน 15 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา เบลเยี่ยม นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ ตุรกี เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และอังกฤษ


    OPEC
    ( The Organization of the Petroleum Exporting Countries )

    โอเปกเป็นการรวมตัวของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก เพื่อสร้างอำนาจต่อรองมิให้ราคาขาย
    น้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ จัดการควบคุมและกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่ม
    ตน และใช้น้ำมันเป็นอาวุธหรืออำนาจในการต่อรองทางการเมืองกับประเทศมหาอำนาจ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960
    ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ปรเทศออสเตรีย มีประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่
    แอลจิเรีย ไนจีเรีย อิหร่าน ลิเบีย อิรัก คูเวต กาตาร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย
    เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา และกาบอง
    ปัจจุบันฐานะความสำคัญของโอเปกลดลงไปอย่างมาก เพราะไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก
    ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มได้ และไม่อาจใช้น้ำมันเป็นอาวุธบีบให้ชาติมหาอำนาจตะวันตกปฏิบัตินโยบาย
    ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ตนต้องการได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศสมาชิกต่างไม่ปฏิบัติตามกติกาที่ตกลงกันไว้
    นอกจากนี้ยังมีประเทศนอกกลุ่มที่สามารถผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากพอที่จะส่งออกได้ เช่น อังกฤษ
    บรูไน นอร์เวย์ ฯลฯเหล่านี้จึงเป็นผลทำให้บทบาทขององค์การโอเปกลดน้อยลงอย่างมาก

    GATS

    ( General Agreement on Trade in Services)

    GATSย่อมาจาก General Agreement on Trade in Services หรือ ความตก ลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ เป็นการตกลงทางการค้าระหว่างประเทศฉบับหนึ่งในกรอบขององค์การการค้า โลก (World Trade Organization-WTO) ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538
    วัตถุประสงค์ของการเจรจาจัดทำ GATS
    เพื่อให้มีกรอบว่าด้วยหลักการและกฎเกี่ยวกับการค้าบริการระหว่างประเทศสำหรับประเทศสมาชิก
    องค์การการค้าโลกถือปฏิบัติจะทำให้การค้าบริการระหว่างประเทศดำเนินไปโดยเปิดเผยและเปิด
    เสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวมและต่อการพัฒนาของ
    ประเทศกำลัง พัฒนาทั้งหลายรูปแบบของการค้าบริการระหว่างประเทศ
    การค้าบริการระหว่างประเทศสามารถกระทำได้ 4 รูปแบบ (Mode of Supply) คือ
    1. ผู้ขายบริการในประเทศหนึ่งขายบริการให้แก่ผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งบิการจากประเทศ ของตนข้ามมายังประเทศผู้ซื้อ (Cross-border Supply)
    2. ผู้ขายบริการในประเทศหนึ่งขายบริการให้แก่ผู้ซื้อจากอีกประเทศหนึ่งที่เข้าไปซื้อและใช้บริการ ในประเทศของผู้ขายโดยตรง (Consumption Abroad)
    3. ผู้ขายบริการจากปรเทศหนึ่งเข้าไปตั้งหน่วยธุรกิจในอีกประเทศหนึ่งเพื่อผลิตบริการขายให้แก่ ผู้ซื้อบริการในประเทศนั้น ๆ (Commercial Presence)
    4. บุคคลธรรมดาจากประเทศหนึ่งเข้าไปประกอบอาชีพ หรือทำงานขายบริการในอาชีหรือวิชาชีพ ในสาขาบริการต่าง ๆ ในอีกประเทศหนึ่ง (Presence of Natural Persons) เป็นการช่วคราว
    ประเภทของการค้าบริการระหว่างประเทศ
    การค้าบริการระหว่างประเทศมีการเจรจาเปิดเสรีซึ่งกันและกันภายใต้ GATS จำแนกออกได้เป็น 12 สาขา ดังนี้
    - สาขาบริการด้านธุรกิจ
    - สาขาบริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม
    - สาขาบริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง
    - สาขาบริการด้านการจำหน่าย
    - สาขาบริการด้านการศึกษา
    - สาขาบริการด้านสิ่งแวดล้อม
    - สาขาบริการด้านการเงิน
    - สาขาบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและบริการด้านสังคม
    - สาขาบริการท่องเที่ยวและการเดินทางที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
    - สาขาบริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา
    - สาขาบริการด้านการขนส่ง
    - สาขาบริการด้านพลังงานและอื่น ๆ
    บริการทั้ง 12 สาขาดังกล่าวยังแบ่งแยกออกเป็นสาขาย่อย ๆ และกิกจกรรมต่าง ๆ อีกเป็น จำนวนมาก
    โครงสร้างของ GATS
    GATS ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
    1. กรอบความตกลง เรียกว่า "ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ" บัญญัติเกี่ยวกับพันธกรณี
    และข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจะต้องถือปฏิบัติ
    2. ภาคผนวก ระบุสถานการณ์เกี่ยวกับพันธกรณีและบริการบางสาขาที่ต้องมีข้อกำหนดพิเศษ
    เพิ่มเติมจากกรอบความตกลง เช่น บริการในสาขาการเงินและการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น
    รวมทั้งเรื่อง การขอยกเว้นจากหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง
    (Most - Favoured - Nation Treatment : MFN)
    3. ตารางข้อมูลผูกพันของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก เป็นข้อสเนอผูกพันการติดตลาด
    บริการสาขาต่าง ๆ (Market Access) ระหว่างกัน รวมทั้งการเสนอผูกพันที่จะปฏิบิตัติต่อบริการหรือผู้ให้บริการที่เป็นคนชาติ
    ประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกอื่น ๆ เช่นเดียวกับปฏิบัติต่อบริการหรือผู้ให้บริการที่เป็น
    คนชาติของตนเองตามหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) รวมทั้งข้อผูกพันอื่น ๆ เป็นการ เพิ่มเติม (Additional Commitments) ถ้ามี
    พันธการภายใต้ GATS
    ประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ภายใต้ GATS โดยเสมอเหมือน
    กัน เช่น การปฎิบัการหลัการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) หรือการไม่เลือปฏิบัติกับ
    ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กฏหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ
    ที่ควบคุมการค้าบริการของตนตามหลักความโปร่งใส และการใช้กฏหมาย กฎระเบียบหล่านั้นโดยมีหลักเกณฑ์
    และไม่มีความลำเอียง เป็นต้น
    การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ
    ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจะต้องร่วมเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการสาขา
    ต่าง ๆ ให้แก่กันและกัน ในด้านการเข้าสู่ตลาดและการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ ตามหลักการเปิดเสรีแบบก้าวหน้า
    เป็นลำดับ ข้อผูกพันอันเกิดจากการเจรจากับประเทศหนึ่งประเทศใดจะต้องขยายผลผูกพันกับทุกประเทศ
    โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามหลัก MFN เว้นแต่การขอยกเว้นไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วควรให้การ
    ผ่อนปรนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการจัดทำข้อมูลผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการสาขาต่าง ๆ โดยคำนึงถึง
    วัตถุประสงค์ในด้านนโยบายและระดับการพัฒนาของประเทศนั้น ๆ
    ข้อยกเว้นจากพันธกรณีและข้อผูกพันภายใต้ GATS
    ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณี MFN ได้เป็น
    การชั่วคราว หรืออาจให้การปฏิบัติเป็นพิเศษในการเปิดเสรีการค้าบริการแก่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน
    ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจเดียวกันมากกว่าประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม หรือใน
    กรณีจัดซื้อจัดจ้างบริการโดยรัฐซึ่งรัฐบาลอาจเลือกใช้บริการของประเทศหนึ่งประเทศใดโดยเฉพาะ นอกจาก
    นี้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกยังอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตลอดจนข้อผูกพันที่
    ได้ทำไว้ ถ้ามีเหตุอันจำเป็น เช่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อปกป้อง
    สุขภาพหรือชีวิตของมนุษย์ สัตว์หรือพืช หรือเหตุผลเพื่อความมั่นคงของชาติ เป็นต้น
    ประเทศไทยกับ GATS
    ไทยเป็นสมาชิกประเทศหนึ่งขององค์การการค้าโลก ซึ่งปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ GATS
    และตามข้อผูกพันในการเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่าง ๆ รวม 10 สาขา ซึ่งจำแนกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ
    รวม 95 กิจกรรมโดยมีข้อจำกัดการเปิดเสรีในขั้นต้น ณ ระดับที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
    อนุญาตให้กระทำได้ แต่ในอนาคตประเทศไทยจะต้องเจรจากับประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะต้องผูกพันเปิดเสรีแบบ
    ก้าวหน้าเป็นลำดับ
    การเปิดเสรีการการค้าบริการสาขาต่าง ๆ ตามข้อผูกพันของไทยเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ
    เข้ามาประกอบธุรกิจหรือาชีพต่าง ๆ ในประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้
    ในด้านการจัดการตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการของไทยเร่ง
    ปรับตัวและพัฒนาประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจของตนเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการของต่างชาติ
    ทำให้ เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการโดยตรง
    ในขณะที่คนไทยก็มีโอกาสเข้าไปประกอบธุรกิจหรืออาชีพ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการในประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่น ๆ
    ที่ต้องเปิดตลาดตามข้อผูกพันภายใต้ GATS ให้กับไทยเช่นเดียวกัน


    WTO
    World Trade Organization
    องค์การค้าโลก
    กำเนิด (WTO)
    องค์การค้าโลก (World TradeOrganization:WTO)เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มี
    พัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT)
    เมื่อปี พ.ศ. 2490 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบัน จนกระทั่งประเทศสมาชิกได้ เปิดการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2529)
    และผลการเจรจาส่วนหนึ่งคือ การก่อตั้ง WTO ขึ้นเมื่อวันที่
    1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ* และมีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    วัตถุประสงค์
    เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศกำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตาม ความตกลงทางการค้า
    ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก
    หน้าที่ของ WTO
    1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO
    รวม 28 ฉบับโดยผ่านคณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการ (Committee) ต่าง ๆ ตลอดจนดูแลให้มี การปฏิบัติตามพันธกรณี
    2.เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษี
    ศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
    3. เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและหากไม่สามารถตกลงกัน
    ได้ก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
    4. ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าของสมาชิก
    อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในแนวทางการค้าเสรี
    5. ใก้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติ
    พันธ กรณีได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญ ๆ
    6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโดลกเพื่อให้นโยบาย
    เศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
    ความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO
    ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
    1. การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง)
    - ประเทศต่าง ๆ ลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 33 ภายใน 5 ปี (เริ่ม ม.ค. พ.ศ. 2538)
    - ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ หากไม่มีการเก็บอยู่แล้ว และไม่ได้แจ้งไว้
    2. สินค้าเกษตร
    - ทุกประเทศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน
    - ลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 36 และ 24 โดยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 และ 10 ในแต่ละรายการ
    สินค้าภายใน 5 ปี และ 10 ปี สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาตามลำดับ
    - ลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร ทั้งการอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก
    3. สิ่งทอและเสื้อผ้า
    ให้มีการเปิดเสรีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแทนการใช้ข้อตกลงสินค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ (IMF) โดย
    - ให้ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าภายใต้ MFA ทั้งหมดภายใน 10 ปี
    - ให้ขยายโควต้านำเข้ารายการที่ยังไม่ได้นำกลับเข้ามาอยู่ในแกตต์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538
    2. กฎระเบียบการค้า
    มีการปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ เช่น
    - ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอนุญาตให้ประเทศสมาชิก
    กำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า แต่จะต้องสอดคล้องกับ
    มาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันมิให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรฐานตามใจชอบ ซึ่งจะ
    เป็นอุปสรรคต่อการค้า
    - ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด
    กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ
    ปฏิบัติให้สอดคล้องกันเป็นการลดโอกาสที่อาจมีประเทศผู้นำเข้าใช้มาตรการต่อต้านเพื่อกีดกันการค้า อย่างไม่เป็นธรรม
    - ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน
    กำหนดประเภทของการอุดหนุนไว้อย่างชัดเจนว่า การอุดหนุนประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้อง
    ห้าม ประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ทำได้ และประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่เมื่อทำแล้วอาจถูกมาตร
    การตอบโต้ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนเพื่อการตอบโต้สินค้าเข้าที่ได้รับ
    การอุดหนุนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อให้แต่ละประเทศถือปฏิบัติ
    3. เรื่องใหม่ ๆ
    มีการจัดทำข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการในเรื่องที่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ของแกตต์กำกับ มาก่อน หรืออาจมีก็น้อยมาก ได้แก่
    - ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) กำหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครอง
    ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทที่สำคัญได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์การออกแบบ
    วงจรรวม ชื่อทางภูมิศาสตร์ และความลับทางการค้า
    - การค้าบริการ
    กำหนดกรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยค้าบริการ โดยมีหลักการสำคัญ ๆ ทำนองเดียวกับแกตต์
    เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความโปร่งไส การเปิดเสรีตามลำดับ เป็นต้น
    - มาตรการลงทุนการที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMS)
    กำหนดหลักการสำคัญ คือ ทุกประเภทต้องยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเท่ากับการกีดกัน
    การนำ เข้าโดยประเทศพัฒนาแล้วต้องยกเลิกใน 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาใน 5 ปี
    มาตรการเหล่านั้น ได้แก่ มาตรการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบในประเทศ
    ในการผลิตสินค้าหรือที่ เรียกว่า Local content requirement ไม่ว่าข้อกำหนดนี้จะเป็นข้อบังคับ
    หรือเป็นเงื่อนไขต่อการที่ผู้ผลิต ภายในจะได้รับสิทธิพิเศษใด ๆ ก็ตาม
    เช่น สิทธิในข้อยกเว้นไม่เสียภาษีตามนโยบายส่งเสริมการ ลงทุน เป็นต้น
    โครงสร้างของ WTO
    องค์กรของ WTO ที่ทำหน้าที่กำหนดนโนบายตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินงานของประเทศ
    สมชิกในเรื่องต่าง ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference)
    คณะมนตรีทั่วไป (General Council) คณะมนตรี (Council)
    และคณะกรรมการต่าง ๆ (Committee) ซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก WTO
    ทุกประเทศโดยมีฝ่ายเลขานุการช่วยด้านการบริหารงานทั่วไป
    ผลงานในช่วงที่ผ่านมา
    ความสำเร็จของ WTO ในช่วงที่ผ่านมาคือ การจัดให้ประเทศสมาชิกเจรจาทำความตกลงเปิด
    ตลาดสินค้าโทรคมนาคมและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นผลสำเร็จทั้งการเจรจาจัดทำ
    ข้อผูกพันเปิด เสรีการค้าบริการด้านการเงิน ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 2
    จากที่ได้มีการผูกพันเปิดเสรีเมื่อตอนปิดการเจรจา รอบอุรุกวัย
    นอกจากนั้น ยังได้มีบทบาทสำคัญในการยุติกรณีพิพาททางการค้าของประเทศสมาชิก* และควบคุม
    ให้มีการปฏิบัติตามความตกลงรอบอุรุกวัยทั้งหลายอย่างเคร่งครัด
    ประเทศไทยกับองค์การการค้าโลก
    ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยเป็นสมาชิกลำดับ ที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง
    ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการเปิดตลาดการค้า
    สินค้าทั้งจาการลดภาษีศุลกากรและการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกร
    ของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และจากการเปิดเสรีตลาดการค้าบริการ
    ระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการเจรจารอบอุรุกวัย นอกจากนีกฎ
    ระเบียบการค้าที่ได้รับการปรับปรุงให้ชัดเจนรัดกุมและเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการระงับ
    ข้อพิพาท ซึ่งบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศเล็ก ๆ เช่น ไทย
    ที่ไม่ถูกประเทศ ใหญ่ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจบีบบังคับแต่ข้างเดียว
    ในขณะเดียวกัน การเข้าเป็นสมาชิกก็ทำให้ไทยต้องมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
    เช่นเดียวกัน และจะต้องปรับตัวเพื่อสู้กับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น


    UN
    United Nation
    คำว่า " สหประชาชาติ" (United Nation) ปรากฏเป็นครั้งแรกในเอกสาร "คำประกาศโดยสหประชาชาติ"
    เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1942 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยผู้แทนจาก26ประเทศได้ร่วมลงนามในเอกสาร
    ดังกล่าว ปฏิญาณที่จะต่อสู้กับประเทศในกลุ่มอักษะต่อไป
    กฏบัตรสหประชาชาติถูกร่างขึ้นโดยผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 50 ประเทศ ที่ประชุมร่วมกัน
    ณ นครซานฟรานซิสโกระหว่างวันที่ 25เมษายน ถึง 26 มิถุนายน ค.ศ.1945
    โดยพิจารณาจากร่างเดิมที่เสนอโดยจีน สหภาพโซเวียตฯ อังกฤษ และสหรัฐฯ
    ในการประชุมที่คฤหาสน์ดัมบาตันโอคส์ (Dumbarton Oaks) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐฯ ระหว่าง
    เดือนสิงหาคม-ตุลาคม ค.ศ.1944 ผู้แทนทั้ง 50 ประเทศได้ร่วมลงนามในกฏบัตร สหประชาชาติ
    เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.1945 ต่อมาโปแลนด์ได้ร่วมลงนามเป็นประเทศที่ 51 ประเทศทั้ง 51 ประเทศนี้
    จึงถือว่าเป็นประเทศสมาชิก ก่อตั้ง (founding members)
    องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945
    เมื่อกฏบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ หลังจากการให้สัตยาบันโดยจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียตฯ
    อังกฤษสหรัฐฯ และประเทศส่วนใหญ่ที่ให้การลงนาม ดังนั้น วันที่ 24 ตุลาคมของทุก ๆ ปี
    จึงเป็นวันสหประชาชาติ(The United Nations Day)
    ในภาคอารัมภบท (Preamble) ของกฏบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงอุดมคติ และวัตถุประสงค์ ร่วมกันของสหประชาชาติต่าง ๆ
    ในการ จัดตั้งองค์การสหประชาชาติ ดังนี้
    เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยรุ่นหลัง
    ให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติ
    ในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และ ที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักมูล
    ในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษยบุคคลในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย
    และ ที่จะสถาปนาภาวการณ์อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งหลาย
    อันเกิดจากสนธิสัญญาและที่มาอื่น ๆ ของ กฏหมายระหว่างประเทศ และ ที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม
    และมาตรฐานแห่งชีวิตอันดียิ่งขึ้นในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น และเพื่อจุดหมายปลายทางเหล่านี้
    ที่จะปฏิบัติการผ่อนสั้นผ่อนยาว และดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันในสันติภาพเยี่ยงเพื่อนบ้านที่ดี และ
    ที่จะรวมกำลังของเราเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ และ
    ที่จะให้ความแน่นอนใจว่าจะไม่มีการใช้กำลังอาวุธ นอกจากเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
    โดยการยอมรับหลักการและวิธีการที่ตั้งขึ้น และที่จะใช้ จักรกลระหว่างประเทศ
    สำหรับส่งเสริมความรุดหน้าในทางเศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนทั้งปวง
    จึงได้ลงมติที่จะผสมผสานความพยายามของเรา ในอันที่จะให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายเหล่านี้
    โดยนัยนี้ รัฐบาลของเราโดยลำดับจึงได้ตกลงกันตามกฏบัตรสหประชาชาติฉบับปัจจุบัน
    โดยทางผู้แทนที่มาร่วมชุมนุมในนครซานฟรานซิสโก ซึ่งได้แสดงหนังสือมอบอำนาจเต็มของตนอันได้ตรวจแล้ว
    ว่าเป็นไปตามแบบที่ดี และถูกต้อง และ ณ ที่นี้จึงสถาปนาองค์การระหว่างประเทศขึ้น เรียกว่า
    สหประชาชาติ
    1. วัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
    วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ตามที่กำหนดไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติ มีดังน
    1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ และเพื่อจุดหมายปลายทางนั้นจะได้ดำเนินมาตรการร่วมกัน
    อันมีผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและการขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพเพื่อปราบปรามการกระทำการรุกราน
    หรือการละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ และนำมาซึ่งการ แก้ไข
    หรือระงับกรณีพิพาท หรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันอาจนำไปสู่การละเมิดสันติภาพ โดยสันติวิธี
    และสอดคล้องกับหลักการแห่งความยุติธรรม และกฏหมายระหว่างประเทศ
    2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยยึดการเคารพต่อหลักการ
    แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนด เจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งหลายเป็นมูลฐาน
    และจะดำเนินมาตรการอื่น ๆ อันเหมาะสมเพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล
    3. เพื่อให้บรรลุถึงการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจสังคม
    วัฒนธรรม หรือมนุษยธรรม และในการส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
    และต่ออิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกประติบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
    4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินการของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน
    ในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน เหล่านี้
    เพื่ออนุวัตตามความมุ่งประสงค์ดังกล่าว องค์การฯ และสมาชิกขององค์การฯ จะดำเนินการโดยสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้
    1. องค์การฯ ยึดหลักการแห่งความเสมอภาคในอธิปไตยของสมาชิกทั้งปวงเป็นมูลฐาน
    2. เพื่อทำความแน่ใจให้แก่สมาชิกทั้งปวงในสิทธิและผลประโยชน์อันพึงได้รับจากสมาชิกภาพสมาชิก
    ทั้งปวงจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพัน ซึ่งตนยอมรับามกฏบัตรฉบับปัจจุบันโดยสุจริตใจ
    3. สมาชิกทั้งปวงจะต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตน โดยสันติวิธี ในลักษณะการ
    เช่นที่จะไม่เป็นอันตรายแก่สันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศและความยุติธรรม
    4. ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาชิกทั้งปวงจะต้องละเว้นการคุกคาม หรือการใช้กำลัง
    ต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขต หรือเอกราช ทางการเมืองของรัฐใด ๆ
    หรือกระทำในลักษณะการอื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ
    5. สมาชิกทั้งปวงจะต้องให้ความช่วยเหลือทุกประการแก่สหประชาชาติในการกระทำใด ๆ
    ที่ดำเนินไปตามกฏบัตรฉบับปัจจุบัน และจะต้อง ละเว้นการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐใด ๆ
    ที่กำลังถูกสหประชาชาติดำเนินการป้องกัน หรือบังคับอยู่
    6. องค์การฯ จะต้องให้ความแน่นอนใจว่า รัฐที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติจะปฏิบัติโดยสอดคล้อง
    กับหลักการเหล่านี้เท่าที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
    7. ไม่มีข้อความใดในกฏบัตรฉบับปัจจุบันจะให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้าแทรกแซง
    ในเรื่องซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วตกอยู่ในเขตอำนาจ ภายในของรัฐใด ๆ หรือจะเรียกให้สมาชิกเสนอเรื่องเช่นว่า
    เพื่อการระงับตามกฏบัตรฉบับปัจจุบัน แต่หลักการนี้จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการใช้
    มาตรการบังคับตามหมวดที่ 7
    2. สมาชิกภาพ
    สมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติ เปิดให้แก่รัฐที่รักสันติภาพทั้งปวง ซึ่งยอมรับข้อผูกพัน
    ตามกฏบัตรสหประชาชาติ และในการวินิจฉัย ขององค์การเห็นว่ามีความสามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม
    ข้อผูกพันเหล่านั้น การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะต้องได้รับอนุมัติโดย
    สมัชชาสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง
    แม้กฏบัตรสหประชาชาติจะระบุไว้ว่าประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติที่ละเมิด
    กฏบัตร อยู่เป็นเนืองนิจ อาจถูกขับไล่ออกจากการเป็นสมาชิกได้โดยสมัชชาฯ
    ตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่เคยมีการ
    ขับไล่ประเทศใดเลยในประวัติการดำเนินงานขององค์การโลกแห่งนี้
    ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 179 ประเทศ (สมาชิก สุดท้ายคือ Georgia)
    3. ภาษาทางการ
    ตามกฏบัตรสหประชาชาติระบุว่าภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติคือ ภาษาจีน อังกฤษ
    ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน ต่อมาได้มีการ เพิ่มภาษาอาหรับในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติคณะมนตรีความมั่นคง
    และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
    4. องค์กรหลักของสหประชาชาติ
    องค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยองค์กรหลัก 6 องค์กรคือ
    ก. สมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly) เป็นที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมด
    โดยแต่ละประเทศมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ได้ 1 เสียง การตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ
    เช่น ในเรื่องสันติภาพและความมั่นคง การรับสมาชิกใหม่ งบประมาณ เป็นต้น ใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 เรื่อง
    อื่น ๆ ใช้คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา อำนาจหน้าที่ของสมัชชา ดังนี้
    1. มีสิทธิที่จะพิจารณา และให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ภายในขอบเขตของกฏบัตรสหประชาชาติ
    ตลอดจนพิจารณาในการกำหนดอำนาจ หน้าที่ขององค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติและทำข้อเสนอแนะ
    เพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
    2. พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักการ
    ในเรื่องการลดกำลังและข้อบังคับต่าง ๆ และอาจทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักการดังกล่าวไปยังประเทศสมาชิก
    หรือคณะมนตรีความมั่นคงหรือทั้งสองแห่งก็ได้ ทั้งนี้ โดยมีข้อยกเว้นอยู่ว่า สมัชชาจะต้องไม่ให้คำแนะนำใด ๆ
    ในขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงกำลังปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท หรือรักษาสถานการณ์ใด ๆ ตามที่ได้
    รับมอบหมายอยู่แล้ว เว้นเสียแต่คณะมนตรีความมั่นคงจะร้องขอ
    3. พิจารณารายงานขององค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติ รวมทั้งคณะมนตรีความมั่นคง
    ซึ่งต้องเสนอรายงานประจำปี และรายงานพิเศษ ต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นต่อสมัชชา
    นอกจากนี้สมัชชา ยังมีหน้าที่เลือก
    1. สมาชิกไม่ประจำจำนวน 10 ประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง
    2. สมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและ สังคม จำนวน 54 ประเทศ
    3. สมาชิกคณะมนตรีภาวะทรัสตี
    4. มีส่วนร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง แต่ลงคะแนนเสียงแยกจากกันในการเลือกตั้ง ผู้พิพากษาเข้าประจำศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
    5. สมัชชาเป็นผู้รับสมาชิกใหม่ และเป็นผู้แต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ ในเมื่อได้รับข้อเสนอแนะ จากคณะมนตรีความมั่นคง
    6. มีหน้าที่พิจารณา และรับรองงบประมาณของสหประชาชาติกำหนดส่วนเฉลี่ยค่าบำรุงของประเทศสมาชิก
    และตรวจสอบ งบประมาณของทบวงการชำนัญพิเศษ และ
    7. ภายใต้ข้อมติ " สหการเพื่อสันติภาพ" (Uniting for Peace) หากปรากฏว่าคณะมนตรีความมั่นคงไม่
    สามารถปฏิบัติหน้าที่อันเนื่องมาจากขาดคะแนนเสียงเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกประจำ
    ทั้ง 5 ในกรณีที่มีการคุกคาม หรือละเมิดสันติภาพ หรือมีการกระทำที่เป็นการรุกรานแล้ว สมัชชาอาจหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาเองได้
    โดยเรียกประชุมสมัชชาสมัยพิเศษยามฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง และอาจทำข้อเสนอแนะให้มีการใช้มาตรการร่วมกันขึ้น
    ซึ่งอาจรวมถึงการให้ใช้กำลังอาวุธด้วย ถ้าหากเป็นกรณีที่มีการละเมิดสันติภาพหรือมีการรุกราน เกิดขึ้น
    สมัชชามีการประชุมตามปกติเรียกว่า "การประชุมสมัยสามัญ" (Regular Session) ปีละครั้ง
    ปกติจะใช้เวลาการประชุม ประมาณ 13 สัปดาห์ เริ่มต้นตั้งแต่วันอังคารสัปดาห์ที่สามของเดือนกันยายนทุกปี
    ในปี ค.ศ.1992 เป็นการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 47 การประชุมสมัยสามัญนี้
    ประกอบด้วยการประชุมเต็มคณะ (Plenary Meeting) ควบคู่ไปกับการประชุมคณะกรรมการหลัก (Main Committies) 7 คณะกรรมการ
    ผลการ ประชุมในคณะกรรมการหลักแต่ละคณะกรรมการจะนำเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของที่ประชุมเต็มคณะอีกครั้งหนึ่ง
    คณะกรรมการหลัก ดังกล่าวคือ คณะกรรมการที่หนึ่ง (การเมืองและความมั่นคง) คณะกรรมการการเมืองพิเศษ คณะกรรมการสอง
    (เศรษฐกิจ และการคลัง) คณะกรรมการสาม (สังคมม นุษยธรรมและวัฒนธรรม) คณะกรรมการสี่ (การปลดปล่อยอาณานิคม)
    คณะกรรมการห้า (การบริหารและงบประมาณ) และคณะกรรมการหก (กฏหมาย)
    นอกจากนี้สมัชชายังคงสามารถจัดการประชุมสมัยพิเศษ (Special Session) และ
    การประชุมพิเศษยามฉุกเฉิน (Emergency Special Session) อีกด้วย
    ข้อมติและข้อตัดสินใจของสมัชชาไม่มีผลผูกมัดทางกฏหมายต่อประเทศสมาชิก
    เป็นลักษณะของการแสดงประชามติโลกในประเด็นปัญหา
    ระหว่างประเทศต่างๆ ในบางกรณีสมัชชาอาจจะอนุมัติร่างกฏหมายต่างๆ
    ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อประเทศสมาชิกยินยอมให้การลงนาม และให้สัตยาบัน
    ในเวลาต่อมา ตามขบวนการของกฏหมายระหว่างประเทศแล้ว
    เรื่องที่จะนำขึ้นอภิปลายในที่ประชุมสมัชชามีขอบเขตกว้างขวางทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ
    สังคม มนุษยธรรม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เรื่องเกี่ยวกับท้องทะเลและห้วงอวกาศ เป็นต้น
    ปัจจุบันการประชุมสมัชชาสมัยสามัญมีจำนวนระเบียบวาระการประชุมมากกว่า 150 เรื่อง
    ภายใต้สมัชชาสหประชาชาติ ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการอีกเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของสมัชชาในด้านต่างๆ
    ข. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในเบื้องต้น คือ การธำรงและรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ
    และความ มั่นคงระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ 5 ประเทศเป็นสมาชิกถาวร คือ จีน
    ฝรั่งเศส สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) อังกฤษ และสหรัฐฯ ส่วนสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ
    ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี สมาชิกแต่ละประเทศ
    มีสิทธิ ออกเสียง 1 เสียง ถ้าเป็นข้อตัดสินใจในเรื่องระเบียบงานธรรมดา (procedural matters)
    การลงคะแนนเสียงรับต้องได้อย่างน้อย 9 เสียง ถ้าเป็นใน เรื่องสาระสำคัญ (substantive matters)
    คะแนนเสียงรับ 9 เสียง จะต้องมีของประเทศสมาชิกถาวรทั้ง 5 รวมอยู่ด้วย ในกรณีประเทศสมาชิกถาวร
    ประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง (voto) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้นๆ
    ตกไปในทางปฏิบัติการงดเว้นออกเสียง (abstention) และการไม่เข้าร่วมประชุม (non participation) ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง
    สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกประจำ หรือไม่ก็ตาม ย่อมจะต้องงดเว้นออกเสียง
    ในเมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีอยู่ด้วย
    ตามกฎบัตรสหประชาชาติ เดิมจำนวนสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงมี 11 ประเทศ ต่อมา
    ในปี ค.ศ. 1965 ได้มีการแก้ไขกฎบัตรเพิ่มเป็น 15 ประเทศ และภายใต้หมวด 7 ของกฎบัตร
    ยังกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเสนาธิการทหาร (Military Staff Committee) ขึ้นมาชุดหนึ่ง
    ประกอบด้วย เสนาธิการทหารของประเทศสมาชิกถาวร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ
    คณะมนตรีความมั่นคงในปัญหาทั้งปวงที่เกี่ยวกับความจำเป็น ในด้านการทหาร เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ
    และความมั่นคงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้ว คณะกรรมการดังกล่าวนี้ไม่สามารถปฏิบัติงาน
    อย่างได้ผล เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกประจำ และเป็นการยากที่จะประสานแนวความคิด
    ทางทหารของประเทศมหาอำนาจที่ยังคงมี ความแตกต่างกัน
    ยุคของสงครามเย็นในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้การดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคง
    ประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้ สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ
    อำนาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง มีดังนี้
    1) ธำรงและรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
    2) สอบสวนข้อพิพาทหรือสถานการณ์ใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
    3) เสนอแนะวิธีการในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
    หรือกำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขความขัดแย้งนั้นๆ
    4) วินิจฉัยว่ามีการคุกคามต่อสันติภาพ หรือการกระทำการรุกรานเกิดขึ้นหรือไม่
    และเสนอแนะด้วยว่าควรดำเนินการเช่นใด
    5) เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติดำเนินมาตรการต่างๆ
    รวมทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และการใช้มาตรการทางทหารเพื่อ ต่อต้านการกระทำการรุกราน หรือผู้รุกราน
    6) เสนอแนะสมัชชาสหประชาชาติในการรับสมาชิกใหม่ และในการแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ
    รวมทั้งในเรื่องการเลือกตั้งผู้พิพากษา ประจำศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
    ข้อ 25 ของกฎบัตรสหประชาชาติระบุว่าสมาชิกของสหประชาชาติตกลงยอมรับ และปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
    ของคณะมนตรีความมั่นคง และ ตามหมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติยังให้อำนาจคณะมนตรีความมั่นคง
    ในการใช้มาตรการบีบบังคับ (enforcement action) ทั้งในลักษณะของการ ปิดล้อมทางทหาร
    การใช้กำลังอาวุธและปฏิบัติการทางทหารต่างๆ และการไม่ใช้กำลังทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
    คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (economic sanction) ในกรณีที่มีการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ
    และการกระทำการรุกรานเกิดขึ้น
    คณะมนตรีความมั่นคง ได้จัดตั้งขึ้นในลักษณะที่ให้สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่องกันได้ตลอดไป
    โดยผู้แทนของประเทศสมาชิกจะต้องอยู่ประจำ ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
    การประชุมของคณะมนตรีความมั่นคง อาจจะมีขึ้นในที่อื่นๆ นอกเหนือจากที่อาคารสหประชาชาติ
    ณ นครนิวยอร์กก็ได้ เมื่อเห็นว่าจำเป็น
    รัฐที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติแต่มิได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง หรือรัฐที่
    มิได้เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติก็ตาม อาจ จะเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงได้
    แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ารัฐนั้นๆ ได้รับผลกระทบหรือเป็น
    คู่กรณีในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยคณะมนตรีความมั่นคงจะกำหนดเงื่อนไขในการเข้าประชุมของรัฐ
    ที่มิได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติไว้
    เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งถูกนำขึ้นสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง
    ก่อนอื่นคณะมนตรีความมั่นคงจะเสนอแนะให้ฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้ง กันแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี
    ในบางกรณี คณะมนตรีความมั่นคงอาจจะสอบสวนข้อขัดแย้งนั้นๆ และช่วยในการเจรจาไกล่เกลี่ย
    ทั้งนี้อาจจะมอบหมายให้ ผู้แทนพิเศษ หรือขอให้เลขาธิการสหประชาชาติดำเนินการดังกล่าว
    ในบางกรณีคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะกำหนดแนวทางสันติวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นด้วย
    เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นขยายตัวออกไปจนเกิดการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน
    คณะมนตรีความมั่นคงจะพยายามทำให้ความ ขัดแย้งนั้นๆ ยุติลงโดยเร็ว ในหลายๆ กรณี คณะมนตรีความมั่นคง
    ได้ออกข้อมติให้มีการหยุดยิง (cease-fire) และส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไป
    เพื่อลดความตึงเครียดในบริเวณที่เกิดความขัดแย้งกัน หรือช่วยแยกกองกำลังที่ต่อสู้กัน
    เพื่อให้เกิดความสงบก่อนจะบรรลุถึงการแก้ไขความขัดแย้ง โดยสันติวิธี
    คณะมนตรีความมั่นคงยังสามารถใช้มาตรการบีบบังคับทั้งที่ใช้อาวุธ และไม่ใช้อาวุธดังกล่าว
    การจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพ (United Nations Peace-Keeping Forces) เป็นสิ่งที่มิได้กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ
    แต่ เป็นวิวัฒนาการการดำเนินงานของสหประชาชาติ เพื่อสนองตอบความจำเป็นในการรักษาสันติภาพ
    กองกำลังดังกล่าวนี้ จะถูกส่งไปยังบริเวณที่มีความ ขัดแย้งเกิดขึ้น เพื่อควบคุมและสกัดกั้นมิให้สถานการณ์การสู้รบ
    หรือความขัดแย้งทางอาวุธลุกลามขยายตัวออกไป ในขณะที่ความพยายามเพื่อสันติภาพ ในด้านอื่นๆ กำลังดำเนินอยู่
    หน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพในแต่ละแห่ง อาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่จะได้รับมอบหมาย
    โดยรวมถึงการสังเกตการณ์ การ รายงาน สอบสวนการละเมิดข้อหยุดยิง กำกับการถอนทหารของคู่ขัดแย้ง
    การลาดตระเวณบริเวณแนวกันชน การรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน การให้ ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม
    ควบคุมการเลือกตั้งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ตลอดจนการฟื้นฟู
    บูรณะ เพื่อนำความสงบและปกติสุขไปสู่ชุมชนที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
    เจ้าหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
    เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือน และจะได้รับการติดอาวุธเท่าที่จำเป็น เพื่อการป้องกันตนเองเท่านั้น
    การดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพ ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ แต่การดำเนินงานของ
    กองกำลังดังกล่าวนี้ แตกต่างไปจากการใช้มาตรการบีบบังคับทางทหารตามหมวด 7
    ของกฎบัตรสหประชาชาติ เพราะภาระกิจการดำเนินงานที่แตกต่าง กัน
    และประเทศสมาชิกที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ ก็กระทำด้วยความสมัครใจ
    มิได้เป็นไปตามพันธกรณีตามกฎบัตรสหประชาชาติ
    ค. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social council) เป็นองค์กรหลักทำหน้าที่ในการประสานงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ขององค์การสหประชาชาติ
    กับทบวงการชำนัญพิเศษและสถาบันอื่นๆ ในระบบสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
    สมาชิกแต่ละประเทศมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 1 เสียง การผ่านข้อวินิจฉัยต่างๆ ใช้เสียงข้างมาก
    ธรรมดา ง.คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trustecship Council) มีหน้าที่ควบคุมดูแลดินแดนในภาวะทรัสตี และ
    ส่งเสริมการดำเนินงานทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของประชาชนในดินแดนดังกล่าว
    เพื่อนำไปสู่การปกครองตนเอง
    จ.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติองค์กรเดียว ที่ไม่มีสำกนักงานอยู่ในสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ
    ณ นครนิวยอร์ก
    ฉ.สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ทำหน้าที่ให้บริการองค์กรอื่นๆของสหประชาชาติรวมทั้งการดำเนินงานตามนโยบาย
    และบริหารโครงการตามที่องค์กรอื่นๆของสหประชาชาติกำหนดไว้


    UNESCO
    (United Nations Educationific and Cultural Organization)
    องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
    วัตถุประสงค์ ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงโดยการทนุบำรุงให้มีการร่วมมือกัน
    ในระหว่างนานาชาติในทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมให้มีความเคารพต่อ
    ความยุติธรรม ข้อบังคับแห่งกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพโดยหลักมูล โดยจำแนก
    เชื้อชาติเพศ ภาษา หรือศาสนา ซึ่งได้รับการยืนยันสำหรับประชากรของโลก โดยกฏบัตร
    สหประชาชาติองค์การนี้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2489
    เพื่อบรรลุถึงจุดหมายนี้ องค์การฯ ได้ร่วมมือในกิจการอันจะส่งเสริมความรู้และการเข้าใจ
    ระหว่างกันของประชาชน โดยทางคมนาคมทุกวิถีอย่างกว้างขวางกระตุ้นเตือนให้เกิดความสนใจ
    ในการศึกษาทั่วไปและในการเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสอนและวิชาความรู้
    ในวิทยาการต่าง ๆ
    วัตถุประสงค์ขององค์การนี้ ก็เพื่อจะส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น
    โดยให้มนุษย์ได้รับการศึกษาและวัฒนธรรมได้สะดวกยิ่งขึ้น การรวมความเพียรพยายามของ
    นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน อาจารย์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความ
    คิดอ่านอย่างเสรี กิจการส่วนใหญ่ควบคุมเป็นมูลฐานการศึกษาการสอนเรื่องสหประชาชาติ
    และสิทธิมนุษยชน การศึกษาโดยบังคับและยกมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้นการแลกเปลี่ยนบุคคล
    และการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ และการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกเมื่อได้รับการ
    ขอร้ององค์การนี้ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 เมื่อประเทศ 20 ประเทศ
    ซึ่งได้ลงนามในธรรมนูญได้มอบสารตกลงรับแก่รัฐบาลแห่งราชอาณจักร
    องค์การได้รับประโยชน์มาก ทั้งนี้จะเห็นว่าในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้ส่งดนตรี ศิลปิน
    ไปแสดงแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศมากขึ้น แม้ว่าประเทศทั้งสองจะมีการ
    ปกครองที่แตกต่างกันก็ตาม
    กลไกขององค์การศึกษา ที่ประชุมทั่วไปประกอบด้วยผู้แทนจากสมาชิกประเทศต่าง ๆ
    องค์การนี้มีการประชุม 2 ปี ต่อครั้ง วางหลักนโยบายและโครงการขององค์การ คณะกรรมการ
    บริหาร (executive board) ประกอบด้วยสมาชิก 35 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมทั่วไป
    คณะกรรมการบริหารมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีการรับผิดชอบในการดำเนิน
    โครงการตามที่ประชุมได้วางไว้ สำนักเลขาธิการประกอบด้วยผู้อำนวยการหนึ่งคน และพนักงาน
    ระหว่างประเทศ โครงการต่าง ๆ คณะกรรมการแห่งชาติในประเทศและสมาชิกเป็นผู้ดำเนินงาน
    สำนักงานใหญ่ 7 e Place de Fontenoy, Paris C. France
    การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
    เป็นงานขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESGO
    สำนักงานใหญ่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ใกล้ ๆ หอไอเฟล
    ผู้อำนวยการองค์การนี้เคยเป็นคนฝรั่งเศสมาแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้มีจำนวนประมาณ
    3,800 คน ประกอบด้วยผู้ชำนาญในด้านต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ FAO ยังมากกว่า 5,000 คน ในปี ค.ศ. 1974
    UNESCO มีสมาชิกประมาณ 136 คน ตัวแทนมาจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ตัวแทนประเภทกึ่งรัฐบาล
    และเอกชนก็มี แต่อย่างไรก็ตาม UNESCO ได้ติดต่อประสานงานกับองค์การที่มิใช่รัฐบาลมากกว่า
    295หน่วย ส่วนมากอยู่ในลาติน อเมริกา และยุโรป และหน่วยระหว่างประเทศ ทั้งที่ได้คำปรึกษา
    และด้านอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน องค์การที่มิใช่รัฐบาลเรียกว่า
    Nongovernmental Organization-NGOS
    ในปี ค.ศ. 1974 UNESCO ตั้งงบประมาณไว้เป็นเงิน 142 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งเงินช่วย
    เหลือด้วย ซึ่งเปรียบกับทบวงชำนัญอื่น ๆ มากที่สุด ยกเว้นองค์การโครงการพัฒนาของ
    สหประชาชาติ(UNDP) และธนาคารโลก ซึ่งเป็นต้นตอของงบประมาณ อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับ
    โครงการพิเศษอื่น ๆ แล้วUNDP และ UNICEF จะต้องได้รับอนุมัตจากธนาคารโลกทุกครั้งก่อน
    UNESCO ทำงานในสาขาใหญ่ 4 สาขา โดยมีคณะกรรมาธิการและสมาชิกสมทบระหว่าง
    รัฐบาลเป็นผู้วางนโยบาย สาขาสำคัญมีในด้าน
    1. การศึกษา
    2. วิทยาศาสตร์
    3. วัฒนธรรม
    4. สื่อสารมวลชน
    การจัดตั้งองค์การนี้ได้กระทำอย่างรวดเร็วภายหลังจากได้ร่างกฏบัตรสหประชาชาติแล้ว
    ภายในไม่กี่สัปดาห์ จำนวนสมาชิกมี 44 ประเทศก็ไปประชุมกันที่กรุงลอนดอนจากการเชื้อเชิญ
    ของรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เพื่อจะร่างธรรมนูญและว่าภายหลังจากการสูญเสีย
    ชีวิตทรัพย์สินในสงครามโลกครั้งที่ 2มาแล้ว ทำให้การเข้าใจกันกับการสื่อสารมวลชน
    วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมต้องสูญเสียอีกด้วย เราจะต้องสร้างใหม่เพื่อให้โลกได้เข้าใจกัน
    ผู้แทนที่ไปประชุม ณ กรุงลอนดอนได้ยอมรับที่สหประชาชาติ จะสถาปนาการจัดระเบียบใหม่
    ของโลก ขจัดลัทธิชาตินิยมอันเป็นเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกไปโดยเร็ว
    ธรรมนุญ UNESCO ได้ร่างและมีผู้แทนให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1946 โดยมีมาตรา
    ที่ 1 กล่าวว่าเพื่อสถาปนาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยจะส่งเสริมการศึกษา
    วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมไปทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เป็นไปตามกฎหมายระหว่าง
    ประเทศ สิทธิมนุษยชนและลัทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน อิสรภาพ 4 ประการของประชากรทั่วโลก
    โดยปราศจากความแตกต่างของผิวเพศ ภาษา และศาสนา ตามกฏบัติสหประชาชาติ
    UNESCO กับงานด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยธรรมจะเป็นสะพานฯ เชื่อมช่องว่างระหว่าง
    องค์กรต่าง ๆ อันจำเป็นของมนุษย์พื้นฐานได้แก่ อาหารและสุขภาพ อันเกี่ยวกับการค้าและ
    การพัฒนาเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับองค์การอื่น ๆ UNESCO อยู่ภายใต้เลขาธิการ และก็อยู่ภายใต้
    คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิกทุกประเทศประชุมกันทุก 2 ปี เพื่อพิจารณา
    นโยบาย อนุมัติงบประมาณและคัดเลือกสภาบริหาร 34 ประเทศ เพื่อทำงานในระหว่างช่องว่าง
    UNESCO มีการจัด 2 แผนก คือ
    1. แผนกโครงการถาวร ทำงานให้ทุกประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เทคนิค
    ทางวัฒนธรรมการช่วยเหลือองค์กรที่มิใช่รัฐบาล รวมทั้งลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ
    2. แผนกปฏิบัติงานพิเศษ ทำงานตามที่รัฐบาลประเทศสมาชิกขอร้องในด้านการศึกษา
    วิทยาศาสตร์ สังคมและมนุษย์วิทยา วัฒนธรรม สื่อมวลชน และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
    การดำเนินงานของ UNESCO ไม่เพียงแต่นำไปสู่บั้นปลาย (endresults) คือจุดหมายเท่านั้น
    แต่ว่ามีอะไรที่ยังตกค้างที่จะต้องกระทำคู่กันไปเพื่อให้ทั้งหมดไปสู่จดหมายปลายทางพร้อม ๆ กัน
    ในทางสันติด้วย ทั้งนี้จะเห็นจากอรัมภบทของ UNESCO ว่า....." นับตั้งแต่สงครามโลกได้เริ่มอุบัต
    ิในจิตใจของมนุษย์ แต่ในจิตใจของมนุษย์ขณะเดียวกันก็จะต้องให้บังเกิดสันติภาพขึ้นด้วย....."
    ด้านการศึกษา
    ไม่มีใครปฏิเสธคำพูดนี้ "การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต" ประการหนึ่ง แต่ทุกวันนี้เรา
    - ท่านคงพบปัญหาว่า การศึกษาที่ว่านี้คืออะไร?
    การศึกษาเป็นกรรมวิธีของการเรียนรู้ นับตั้งแต่เกิดเป็นทารกมาก็เรียนเดิน เรียนพูด รู้จักกิน
    ทั้งหมดนี้รวมเป็นขบวนการเรียกว่า การเรียนรู้ ทางองค์การยูเนสโก (UNESCO) เรียกการศึกษาว่า
    เป็นการได้มาซึ่งความรู้
    แล้วก็มีคำถามต่อไปว่า ความรู้ที่ว่าคืออะไร? ดังนั้น ความรู้ทางการศึกษาจึงรวมถึงการศึกษา
    ของประชาชนในทุกส่วนของโลกที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเขาเองทั้งสิ้น
    แต่ดูแล้วดูเล่า การพัฒนาทางด้านการศึกษาก็ไม่ดีเท่าที่ควร และแต่ละประเทศก็จัดการศึกษา
    ไปอย่างเชื่องช้า ดังนั้น ต่อ ๆ มาจึงได้มีคำว่า "ปฏิวัติการศึกษา" คือควรจะกำหนดเป็นเป้าหมาย
    ได้เสียเลย ทำเดี๋ยวนี้ทำทันที
    ผลงานขององค์การยูเนสโกในด้านการศึกษาจะหันไปในทางช่วยประเทศต่าง ๆ ในการ
    พัฒนาการศึกษา โดยกำหนดแผนงานและโครงการช่วยเหลือ จะมีเจ้าหน้าที่แนะนำไปในส่วนต่าง ๆ
    ของโลก โดยยูเนสโกได้มีวิธีช่วยประเทศต่าง ๆ เป็นโครงการ 5 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973-1978
    มาแล้ว คือ:-
    1. การช่วยเหลือทางการเงิน
    2. การให้การศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน (ไม่เลือกเพศ ชั้น วรรณะ)
    3. วิธีสอน วัสดุ และเทคนิค
    4. หลักสูตรและโครงสร้าง
    5. ให้การศึกษาถึงขั้นก่อนเข้าในมหาวิทยาลัย (ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
    6. การศึกษาผู้ใหญ่
    7. การศึกษาผู้ไม่รู้หนังสือ
    8. การศึกษาในเขตพัฒนาชนบท
    ด้านวิทยาศาสตร์
    ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจคำว่า "วิทยาศาสตร์" ในที่นี้คืออะไร? ในภาษาของยูเนสโก
    ให้ความหมายของคำวิทยาศาสตร์เป็น 2 นัย
    นัยแรก หมายถึง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
    นัยที่สอง ได้แก่ สังคมและมานุษย์ วิทยาศาสตร์
    วิทยาศาสตร์ธรรมชาติประกอบด้วย ผลบังเกิดของฟิสิกส์ของโลกและทรัพยากรมหาสมุทร
    อากาศ โครงสร้างของร่างกายมนุษย์และความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ที่ออกมาในรูปวิศวกรรม เคมี
    นิเวศน์วิทยา ในด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ
    ส่วนสังคมและมานุษย์ศาสตร์นั้น เป็นผลจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวข้อง ท่าที
    ความเก่งกล้ามากกว่าทางเทคโนโลยี เรียกว่าเป็นมานุษย์วิทยา ปรัชยา จิตวิทยา และการศึกษา
    สังคมศาสตร์
    สำหรับในการจัดในองค์กรของยูเนสโกนั้น ได้แบ่งงานออกเป็น 4 แผนกคือ
    แผนก การศึกษา
    แผนก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, สังคมศาสตร์
    แผนก มานุษย์ศาสตร์และวัฒนธรรม
    แผนก สื่อสารมวลชน
    แต่ละแผนกนั้นมีผู้ช่วยอำนวยการรับผิดชอบ โดยเฉพาะแผนกวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่
    ยูเนสโกได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ทำงานกว้างขวางไกลออกไปจนถึงขั้นอวกาศโดยได้เสนอแนะ
    ประเทศที่เกี่ยวข้องให้ขยายกิจกรรมออกไปในการค้นคว้าเรื่อง มนุษย์และชีววิทยาอวกาศ
    (Man and the Biosphere - MAB)โครงการนี้ให้ศึกษาทางนิเวศน์วิทยาภาวะแวดล้อมให้ทุกชาติ
    ร่วมมือกันที่จะรักษาภาวะแวดล้อมที่ดีของโลกไว้
    โครงการนี้ได้ผลอย่างไม่คาดคิด เพราะเมื่อต้นปี 1974 โดยที่นายลิโอนิดเบรชเนฟแห่ง
    โซเวียตและประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐฯ ก็ได้ประชุมพบปะกันที่กรุงมอสโก ได้ตกลงแลก
    เปลี่ยนในความรับผิดชอบทางนิเวศน์วิทยาโลก คือกำหนดเขตรับผิดชอบตามโครงการ "MAB"
    ของยูเนสโกอาจจะกล่าวได้ว่าในระยะเวลานั้น มีชาติต่าง ๆ 65 ชาติ ได้ร่วมมือกับโครงการนี้
    งานทางด้านวิทยาศาสตร์โลกธรณี (Earth Science) ซึ่งทางยูเนสโกก็ได้ร่วมมือกัน สหพันธ์
    วิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์ (Geological Science) เรียกว่า (International Geological Correlation
    Programw) มีโครงการระหว่างชาติมาก อาทิ โครงการศึกษาอายุของดินของโลก ปีปฏิทินโลก
    มนุษย์และบ้านช่อง สภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรแร่ธาตุรวมไปถึงภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว
    ภูเขาไฟระเบิดแผ่นดินถล่ม ฯลฯ
    งานด้าน อุทกศาสตร์ (Water Science) ศึกษาเกี่ยวกับน้ำ บริเวณน้ำจืดเพื่อมนุษย์ชาติ
    งานด้าน สมุทรศาสตร์ (Marine Science) ในงานด้านนี้ได้มีคณะกรรมาธิการด้าน
    มหาสมุทรระหว่างรัฐบาลเรียกว่า The Intergovernmental Oceanographic ซึ่งยูเนสโกเป็นผู้ให้การ
    อุปถัมภ์ที่จะขยายโครงการงานความรู้ทางทะเลและระบบต่าง ๆ ดังเช่น ความรู้พื้นฐาน ที่จะจัดการ
    งานด้านมหาสมุทรนับตั้งแต่โครงการอาหารทะเลตามชายฝั่งหรือการออกกฎหมายทะเล ยูเนสโก
    ยังสนับสนุนงานด้านติดตามโครงการท้องมหาสมุทรการใช้ดาวเทียมสำรวจทะเลและการจัดตั้ง
    สถาบันทดลอง
    ดังนั้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 ทางยูเนสโกจึงได้จัดเป็นปีแห่งวิทยาศาสตร์ในด้านความก้าวหน้าทาง
    วิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่ได้ใช้ระเบิดปรมาณูทำลายโลกมาแล้วทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ทาง
    วิทยาศาสตร์มากเหมือนกัน
    ด้านวัฒนธรรม
    งานด้านวัฒนธรรม อยู่ในแผนที่ 3 ของยูเนสโก ทำงานไปในทางการประชุม
    การประชาสัมพันธ์ในด้านการร่วมมือกับองค์การและที่มิใช่ของรัฐบาล ทั้งยังช่วยรัฐสมาชิกในทาง
    ส่วนตัวหรือทางภูมิภาค
    ความหมายในด้านวัฒนธรรมนั้น หมายถึงการยอมรับความเชื่อ ตลอดจนวิทยาศาสตร์
    เทคโนโลยีของหน่วยแรงงานมนุษย์ ยอมรับมาตรฐานแห่งการครองชีพเอกลักษณ์ของแต่ละชาติ
    ถ้าหากเกิดการขัดแย้งกันก็พยายามจัดการแก้ปัญหากันให้เรียบร้อยหรือจัดการโยกย้ายไปอยู่ในทาง
    ี่ที่เหมาะสม ดังนั้น ยูเนสโกจึงส่งเสริม สนับสนุนสิทธิมนุษยชน การกีดกันผิว ปัญหาเชื้อชาติ
    การศึกษาประชากร การค้นคว้า คุณภาพของสิ่งแวดล้อม ป้องกันยาเสพติด งานด้านวัฒนธรรม
    ส่งเสริมวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย ป้องกันการแบ่งแยกพวกฝ่าย ส่งเสริมศิลปนานาชาติ รักษาไว้
    ้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมและประการสุดท้ายยูเนสโกไม่เห็นด้วยกับโครงการที่ประเทศอียิปต์ ์
    จะขุดลอกคลองตามลำแม่น้ำไนล์เพื่อสร้างเขื่อนอัสวัล เพราะจะทำให้วัตถุ ปราสาท
    โบราณของโลกสูญหายไปขอให้แก้ไขเสียใหม่
    ยูเนสโกส่งเสริมให้ซ่อมแซมวิหารโบโรบูโด ในประเทศอินโดนีเซียให้ดีขึ้น นอกจากนั้น
    จะต้องส่งเสริมซ่อมแซมเมืองเวนิชในอิตาลีให้ดีดังเดิม
    งานด้านศิลปะ ทางยูเนสโกจะส่งเสริมและรักษาไว้ให้แต่ละชาติ ทำให้มนุษย์ชนรุ่นหลัง ๆ
    รู้ถึงความเป็นมา ความเจริญแห่งอารยะธรรมโลก นับตั้งแต่มนุษย์อยู่ในถ้ำจนมาอยู่บนตึกระฟ้า
    สูงตระหง่าน นับเป็นงานที่ดีเด่นส่วนหนึ่งของยูเนสโก
    งานด้านสื่อสารมวลชน
    งานด้านสื่อสารมวลชนในปัจจุบันได้เจริญรุดหน้าไม่น้อย ยูเนสโกได้มีส่วนในการส่งเสริม
    สื่อสารมวลชนไปสู่ประชาชน ดังเช่น ทีวี ซึ่งส่งทางดาวเทียม การศึกษาในมหาวิทยาลัยทางวิทยุ
    ข่าวสดรอบโลก การส่งข่าวทางไมโครเวป การโทรศัพท์ได้ทั่วทุกมุมโลก
    เมื่อยูเนสโกได้ร่างธรรมนูญที่จะส่งเสริมความรู้ และความเข้าใจทางสื่อสารมวลชน
    ทำให้ประชาชนของแต่ละประเทศได้สนทนาติดต่อใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้โลกเข้าใจกัน
    สู้เผชิญกับความจริง การสื่อสารได้ทำให้โลกก้าวหน้า ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 1974
    ยูเนสโกได้ร่วมมือกับคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศรอบนอกทางสันติในการประชุม
    พบปะเพื่อจัดให้มีการประชุมเรื่อง "การศึกษาระบบการกระจายเสียงทางดาวเทียม"
    "Satellite Broadcasting System's for Education" ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ชี้
    ให้เห็นถึงความก้าวหน้าการใช้วิทยุกระจายเสียงทางดาวเทียม ด้านการศึกษาอย่างได้ผลของ
    สหรัฐฯ (ตัวอย่าง)และว่าในอนาคตระบบนี้จะช่วยโลกได้มาก ขณะได้มีประเทศต่าง ๆ
    นำไปใช้ได้ผลมาก อาทิ ประเทศอินเดียฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ โดยในกลุ่มประเทศแอฟริกากลาง
    ที่พูดภาษาฝรั่งเศสก่อนอย่างได้ผล การดำเนินงานแบบนี้อาจจะใช้ได้สำหรับประเทศที่ร่ำรวย
    ถ้าหากมีเงินเสียอย่างก็น่าจะนำมาใช้ในบางจังหวัดของภาคใต้ของประเทศไทย
    ซึ่งรับฟังวิทยุและทีวีไม่ได้ ถ้ายูเนสโกจะช่วยเหลือในด้านนี้ต่อประเทศไทยจะดีมาก
    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการติดต่อสื่อสารมวลชนได้เจริญรุดหน้าไปไกล ทำให้การติดต่อไปมา
    การเรียนรู้ได้รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางสังคมหนึ่งไปสู่สังคมหนึ่งก็เร็วขึ้น ยิ่งในทาง
    ชักชวน ยั่วยุสิ่งไม่ดีแล้ว ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมาก ผิดกับเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมา ดังเช่น
    ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ยังแพร่ได้เร็วมาก จากการสำรวจปรากฎว่าประเทศใหญ่ ๆ
    เช่น สหรัฐฯ มีสถานีวิทยุ ภาษาต่าง ๆ ส่งไปยังต่างประเทศ 115 ชาติ (ปี ค.ศ. 1972)
    ประเทศสหภาพโซเวียตก็มี เรียกว่า "Bonanga" เหมือนกัน
    กล่าวกันว่าเพลงบางเพลง เช่น "รอค" (Rock) ซึ่งฮิตขณะนี้ถ้าจะแพร่ไปมากซึ่งอาจจะทำให้
    เยาวชนร่างกายพิการได้ อาทิ นักร้องเพลงรอคมักจะเป็นคนดื่มจัด ยกเคล้าโคลงไปมา
    ทำให้ผู้ดูมีอารมณ์อ่อนไหว คล้อยตาม บางคนเด็กหนุ่มไปเข้าโรงเต้นรำดื่มมากขึ้น
    จากสถิติของยูเนสโกรายงานคราวประชุมที่นครปารีส ปรากฎว่าเด็กหนุ่มในเยอรมันตะวันตก
    ไปฟังเพลงติดเหล้ามากขึ้น ในสหรัฐฯ ปรากฎว่าผู้ติดเหล้าและยาเสพติดในปี 1968
    คิดเป็นเงินราคา 78 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มเป็น 729 ล้านดอลลาร์ บางคนไปเต้นรำทำให้
    กระดูกข้อเท้าแพลง หัก บางคนฟังแต่เพลงดัง ๆ ทำให้หนวกหู บางรายสมองพิการไปก็มี
    ไม่น้อย มีหลายประเทศห้ามนำเพลงบางเพลงเข้าประเทศ ดังได้กล่าวมาแล้ว
    อันเป็นข้อเสียของระบบสื่อสารมวลชน ซึ่งมียูเนสโกอุปถัมภ์ไปก็มี
    ทั้งนี้ก็แล้วแต่การนำไปใช้ ของดีมีประโยชน์ถ้าไม่รู้จักระวังรักษานำไปใช้ทางที่ผิดก็มีโทษ เช่น
    ประเทศ 2 ประเทศไม่ถูกกันทางลัทธิได้ใช้สถานีวิทยุโฆษณาชวนเชื่อด่ากัน ก็ใช้ไม่ได้ ฯลฯ
    องค์การยูเนสโกยังคงสนับสนุนเสรีภาพในการแถลงข่าวสารซึ่งก็จะต้องรับผิดชอบในขอบเขต
    ของตนอีกด้วย

    Hosted by www.Geocities.ws

    1