ความสำคัญของเขาแผงม้า

 

                    พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง   (เขาแผงม้า)   แปลงปลูกป่ารหัส  52   ตำบลวังน้ำเขียว  อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา
 
มีเนื้อที่รวม 11,250 ไร่   สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันเป็นเทือกยาว  มีรูปลักษณ์เมื่อมองดูไกลๆ   คล้ายสันคอม้า ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า      เขาแผงม้า
มีสภาพเป็นเ  ขาหัวโล้น   เนื่องจากผ่านการสัมปทานไม  ของบริษัทเอกชนในอดีต   รวมทั้งการเข้าใช้ประโยชน์  จับจองที่ทำกิน   ทำให้ผืนป่าที่อุดม
สมบูรณ์เสื่อมสภาพลง   ไม่หลงเหลือไม้ยืนต้นขนาดใหญ         มีเพียงหญ้าคาปกคลุม   และในฤดูแล้งจะเกิด  ไฟป่าขึ้นเสมอ    ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า
ภูเขาไฟ

                    ในอดีต     เขาแผงม้า   เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์    เป็นป่าผืนเดียวกับ   ผืนป่าดงพญาไฟ     ที่ทอดยาวมาจาก      จังหวัดสระบุรี
 ด้วยลักษณะทางกายภาพที่เป็นเขาสูงชันและทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่ติดกับ   อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   และอยู่ทางทิศ
ตะวันออกของ   อุทยานแห่งชาติทับลาน   ประกอบกับเป็น   แหล่งกำเนิดของแม่น้ำมูล   คือ  มีลำห้วยย่อยถึง 6 สาย   ได้แก่  คลองหนึ่ง   คลองบง
คลองอีแผ่ว   คลองทุเรียน   คลองเสมา   คลองทราย     ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชน 23 หมู่บ้าน    ในเขตตำบลวังน้ำเขียว   ตำบลวังหม   ี ตำบลระเริง
ไหลรวมกัน   เป็นลำน้ำลำพระเพลิง     แล้วจึงไหลลงสู่แม่น้ำมูล      อันเป็นสายน้ำสำคัญ     ที่หล่อเลี้ยง ชุมชนภาคอีสานตอนใต้    ทำให้เขาแผงม้า
เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำชั้น 1
A    และเป็นป่าอนุรักษ์     ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2535

                    นอกจากจะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร     พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาภูหลวง   ในอดีตยังเป็น   แหล่งอาศัยและหากินของสัตว์ป่านานาชนิด
 เช่น  ไก่ป่า หมูป่า เม่น หมี หมาไน ชะมด อีเห็น กระทิง ฯลฯ    รวมเป็นความหลากหลายของพรรณพืชและพันธุ์สัตว์  ในพื้นที่แห่งนี้

          การเข้ามาดำเนินงานของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ณ เขาแผงม้า

                    ในปี 2530 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณหมู่บ้านรอบป่าเขาใหญ่
(
Khao Yai Buffer Zone Development Project)   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ลดปัญหาการเข้าป่าล่าสัตว์ ตัดไม้  และเก็บหาของป่า   ด้วยการ
ส่งเสริมอาชีพวนเกษตร   เพื่อให้ราษฎรมีรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูป่าบริเวณ   รอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติ
เขาใหญ่  ให้เป็นแนวทางกันชนของป่าอนุรักษ์ที่สำคัญแห่งนี้   พื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ฯ ได้แก่   หมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ใน
2 อำเภอ คือ   อำเภอนาดี  จังหวัดปราจีนบุรี   และกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว (ขณะนั้น) จังหวัดนครราชสีมา    ซึ่งรวมทั้งบ้านเขาแผงม้าด้วย

                    จากการคลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่   ่โครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ฯ    มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ    ได้ตระหนักในความสำคัญ
และปัญหาความเสื่อมโทรมของป่าเขาแผงม้า    ดังนั้นเมื่อกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์    ได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ    เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่   50   ในปีพ.ศ. 2537
        มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ   จึงได้เข้าร่วมโครงการฯ
 ขออนุญาตจากกรมป่าไม้    ้เข้าดำเนินงานปลูกป่าในพื้นที่เขาแผงม้า เพื่อถวายเป็นราชสักการะ

 

          การดำเนินงานโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ

 

                    มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ    ดำเนินงานปลูกป่า  โดยยึดหลักตามแนวทางที่  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานว่า การปลูกป่า
จะไม่ทำการตัดฟันถากถางไม้ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม   รวมทั้งไม่มีการเก็บริบสุมเผา    และจะปลูกต้นไม้  ให้มีความหลากหลายให้มากที่สุด โดยจะปลูกต้นไม้
อย่างน้อย 15 ชนิด   ไร่ละ250 ต้น    ในพื้นที่ที่เป็นเขาสูงชัน  จะปลูกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ   ไม้ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่น  ที่มีขึ้นอยู่เดิม นอกจากการปลูก
ไม้ยืนต้นแล้ว    ยังได้ปลูกเสริมต้นไม้ที่  เป็นพืชอาหารของสัตว์ป่าในพื้นที่ด้วย      เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารให้กับสัตว์ป่า   และเพิ่มความหลากหลายของ
ชนิดพันธุ์พืช เช่น กล้วยป่า หว้า ไทร ตะขบ หม่อน กระท้อนป่า ฯลฯ

 

การป้องกันไฟป่า ปัจจัยสำคัญของการฟื้นฟูป่า

 

             นอกจากการปลูกป่า    การป้องกันไฟป่า  เป็นอีกปัญหาที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ   ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น    โดยดำเนินการต่างๆ  คือ
     1   จัดให้มีหน่วยรณรงค์ป้องกันไฟป่า   เป็นหน่วยเคลื่อนที่  ที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจในเรื่อง    ผลเสียของไฟป่าให้  ชุมชน  รอบพื้นที่โครงการฯ
อย่างต่อเนื่อง   เพื่อให้ร่วมมือกันป้องกันไฟป่า

     2
  จัดให้มีการฝึกอบรม  เรื่องการป้องกันไฟป่า  เพื่อให้เจ้าหน้าที่โครงการ   คนงาน  และอาสาสมัครที่เป็น   เยาวชนในชุมชนรอบพื้นที่     มีความรู้
และมีทักษะในการป้องกันไฟป่า

     3  
จัดตั้งศูนย์ควบคุมไฟป่า  ณ จุดที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า รวม 5 หน่วย    เพื่อเฝ้าระวังไฟป่าตลอด  24 ชั่วโมง  ในฤดูแล้ง
     4
  จัดให้มีหน่วยลาดตระเวน  ทั้งเดินเท้า และเคลื่อนที่เร็ว    เพื่อออกตรวจพื้นที่ในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่ามากที่สุด
     5  ชิงเผา*   ในกรณีที่ชาวบ้านมีความจำเป็น ต้องจุดไฟเผาวัชพืช  เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก   เจ้าหน้าที่โครงการฯ   จะร่วมกับเจ้าของไร่ที่มีพื้นที่
ทำกิน  ติดกับพื้นที่โครงการฯ    ทำการชิงเผา   เพื่อควบคุมไม่ให้ไฟไหม้ลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่า

* การเผาทำลายเชื้อเพลิง โดยมีการควบคุมไม่ให้ไฟไหม้ลุกลาม *

 

การป้องกันไฟป่า  จะเน้นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ    ด้วยการทำความเข้าใจกับ    ชุมชนที่อยู่รอบพื้นที่  ซึ่งได้รับการตอบรับและความร่วมมือ
จากชุมชนรอบข้าง  เป็นอย่างดี   ทำให้ปัญหาไฟป่า   ที่เกิดจากมนุษย์  ที่เคยเกิดเป็นประจำ   ไม่เกิดขึ้นเลย    ตลอดระยะเวลา การดำเนินงานโครงการ
 คงมีเพียง  ปัญหาไฟป่า  ที่เกิดจากธรรมชาติ   คือ ไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า    แต่ก็สามารถควบคุมไม่ให้ลุกลามได้ทัน  แล้วปลูกซ่อมต้นไม้ที่ถูกไฟเผา จนเต็ม
พื้นที่ตามเดิม

 

ชุมชนมีส่วนร่วม

      ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ  ในการฟื้นฟูป่าอีกประการหนึ่ง    ได้แก่   ความร่วมมือของ  ประชาชนในชุมชน  รอบพื้นที่โครงการฯ
 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ       ได้มุ่งเน้นการทำความเข้าใจ   กับประชาชนและชุมชน   ในเรื่องจุดมุ่งหมาย    และวิธีการดำเนินงานปลูกป่า
 รวมทั้ง  การปลูกฝังจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ   และการมีส่วนร่วมรักษาทรัพยากรท้องถิ่น    โดยเฉพาะบทบาทขององค์กรท้องถิ่น
ในอันที่จะ   ช่วยดูแลรักษาทรัพยากรของชุมชน มีความยั่งยืน   สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่ชุมชน  ได้อย่างถาวร

 

การฟื้นคืนสภาพ  สู่ความอุดมสมบูรณ์ของเขาแผงม้า   ประกอบกับการกลับคืนมาของสัตว์ป่า ทำให้ประชาชนและองค์กรท้องถิ่นภาคภูมิใจ
เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้ความสำคัญในแง่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งยังมีประชาชน
ทั่วไปเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมต่างๆอยู่เสมอ เขาแผงม้า   จึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้เรื่อง  การฟื้นฟูป่าและการอนุรักษ์สัตว์ป่า  ที่มีผู้มาเยือน
เป็นจำนวนมาก

รางวัลแห่งความสำเร็จ

                  ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณ จากแหล่งทุนต่างๆ อาทิ  บริษัทตรีเพชรอีซูซุ (ประเทศไทย) จำกัด   บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม
จำกัด (มหาชน)   บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอสจีสินเอเซีย จำกัด (มหาชน)   และจากการสนับสนุนของประชาชนทั่วไป เมื่อรวมเข้ากับความร่วมมือจาก
ภาครัฐ  องค์กรท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น
   ได้ช่วยให้การปลูกป่าในพื้นที่
FPT 52 (เขาแผงม้า)  ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ี ต้นไม้ที่ปลูกมี อัตราการรอดตายสูงถึงร้อยละ 97 และเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมพื้นที่  ร่วมกับพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมเป็นผืนป่าเขียวขจี เขาแผงม้าจึงเริ่มมี
ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาอีกครั้ง

                             ผลแห่งความมุ่งมั่น   ในการดูแลและเอาใจใส่ต่อการฟื้นฟู   ูป่าต้นน้ำลำธาร   ทำให้มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ     ได้รับรางวัลหลายครั้ง ดังนี้
                           1.    ได้รับรางวัลชมเชย  พื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่      วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537     จากคณะกรรมการบริหารโครงการปลูกป่าถาวร
              เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ    เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50
                     2.   รางวัลชนะเลิศ กิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ ประเภทพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม  แปลงขนาดตั้งแต่ 1,001 ไร่ ขึ้นไป
              ประจำปี 2538 ให้ไว้ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2539 จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                      3.   รางวัลการสนับสนุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ  ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                     4.     รางวัลรองชนะเลิศ กิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ (ป่าบก)   แปลงปลูกปี พ.ศ. 2537     ประเภท พื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม
              เนื้อที่บำรุงป่าตั้งแต่ 1,001-2,000 ไร่  ประจำปี พ.ศ. 2539   ให้ไว้  ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2540   ในโอกาสครบ 3 ปี  ี แห่งการรณรงค์ให้ประชาชน
              ร่วมปลูกป่า  ตามโครงการปลูกป่าฯ

ดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จ: พรรณไม้ สายน้ำ และสัตว์ป่า

 

              การดำเนินงานของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ   ไม่ใช่เป็นเพียงการ เพิ่มเนื้อที่ป่าเท่านั้น  แต่เป็นการฟื้นฟู คุณภาพของพื้นที่ ที่เคยมีมาในอดีต
ให้กลับคืน สู่สภาพการเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร 
โดยให้ความสำคัญ กับทุกองค์ประกอบในระบบนิเวศ  และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
โดยรอบ    ความสำเร็จของโครงการฯ  จึงมิได้มีเพียงรางวัลต่างๆเป็นเครื่องยืนยังเท่านั้น   แต่ยังมีเครื่องบ่งชี้ความสำเร็จ อีกหลายประการ    ได้แก่
่ ลำห้วย ที่เคยแห้งเหือด ในยามแล้ง   เมื่อก่อนเริ่มดำเนินการ   ในปี พ.ศ. 2537   ปัจจุบันลำน้ำสายต่างๆ  ได้แก่ คลองหนึ่ง  คลองบง   คลองอีแผ่ว
 คลองทุเรียน   คลองเสมา   และคลองทราย  ซึ่งไหลลงสู่ลำพระเพลิง กลับยังคงมีน้ำไหลอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี     แสดงให้เห็นว่า    พื้นที่ป่า
  เขาแผงม้า    ได้กลับคืน    สู่สภาพป่าต้นน้ำลำธารได้อีกครั้ง

 

            นอกจากนั้น การปลูกป่าที่ได้เสริมพันธุ์ไม้ท้องถิ่น   รวมทั้งพันธุ์ไม้   ที่เป็นพืชอาหารของสัตว์ป่า   เช่น กล้วยป่า   หว้า   ไทร   ตะขบ   ซึ่งมีการ
แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว     ส่งผลให้สัตว์   ที่เคยอพยพจากพื้นที่   ได้กลับเข้ามา   ใช้ชีวิตในพื้นที่   เขาแผงม้าอีกครั้ง เช่น หมูป่า กระต่าย   ไก่ป่า  งู
 และนกชนิดต่างๆ   รวมถึงสัตว์ป่าขนาดใหญ่   อันได้แก่ กระทิง


กระทิงเขาแผงม้า

          กระทิง  เป็นสัตว์ป่าขนาดใหญ่    ที่ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนักในธรรมชาติ     ปัจจุบัน  กระทิง  ได้ปรากฎให้เห็นเป็นประจำ   ในพื้นที่ป่า
เขาแผงม้า  โดยเข้ามาหากินตามทุ่งหญ้า รวมกันเป็นฝูงใหญ่    ทั้งยังมีลูกอ่อนเกิดใหม่   ให้พบเห็นเสมอๆ   การเพิ่มจำนวนประชากรกระทิงในพื้นที่
จึงเป็นดัชนีบ่งชี้อีกประการหนึ่ง  ที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์    ของพืชอาหาร  และความปลอดภัย   ของพื้นที่    การกลับมาของฝูงกระทิงนี้
เป็นสิ่งที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ   ถือว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ความสำเร็จ  ที่ชัดเจนยิ่ง

 

          จนกระทั่งปัจจุบัน   ฝูงกระทิงในพื้นที่โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ   เขาแผงม้า   มีจำนวน   เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยสำรวจพบ
ครั้งแรก ในปี 2537   จำนวนประมาณ 4
– 10 ตัว   มาเป็นจำนวน 37 ตัว ในปี 2542    ทั้งนี้รวมไปถึงลูกกระทิงที่เกิดใหม่ทุกปี อย่างน้อยปีละ
ประมาณ  4
– 6 ตัว  ซึ่งหมายความว่า  มีการขยายพันธุ์   เพิ่มจำนวน  กระทิงในพื้นที่   โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ   เขาแผงม้า
ประมาณ 20 ตัว   เป็นอย่างน้อย

              การติดตามศึกษาพฤติกรรมฝูงกระทิง 

          นอกจากการดูแลรักษาพื้นที่   ปกป้องป่า  เขาแผงม้า     ที่เริ่มฟื้นตัว มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ  ยังได้ติดตามศึกษาฝูงกระทิงป่าอย่างต่อเนื่อง
 ทำให้ได้ทราบข้อมูลต่างๆ  เช่น   จำนวน   เพศ  วัย   พฤติกรรมการหาอาหาร    การรวมฝูง  การพักผ่อน เส้นทางการเคลื่อนย้ายหากินในแต่ละช่วง
ฤดูกาล เป็นต้น

 

          พืชอาหารของกระทิง  ได้แก่  กล้วยป่า  ไผ่ป่า  และหญ้าชนิดต่างๆ  พืชที่กระทิงชอบมาก  ได้แก่ เครืออีเฒ่า  หนามคณฑา

 

            แหล่งน้ำ เนื่องจากลำห้วยและแหล่งน้ำในป่า เ ขาแผงม้า    ที่เคยเหือดแห้งในฤดูแล้ง  ได้ค่อยกลับชุ่มชื้นและมีน้ำไหลหล่อเลี้ยงอีกครั้ง
ฝูงกระทิงจึงมีน้ำดื่มกินตลอดทั้งปี  อย่างไรก็ตาม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ได้เสริมแหล่งน้ำให้แก่สัตว์ป่าเพิ่มขึ้น โดยกั้นลำห้วยต่างๆ ณ ตำแหน่ง
ที่เป็นหุบเขา เพื่อเก็บกักน้ำไว้เป็นแหล่งน้ำให้แก่สัตว์ป่าได้อย่างเพียงพอ

 

            แหล่งดินโป่ง  ในพื้นที่เขาแผงม้า ไม่พบว่ามีแหล่งดินโป่งตามธรรมชาติ ดังนั้นมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จึงได้จัดทำโป่งเทียมขึ้น 2 แห่ง
 เพื่อให้ฝูงกระทิงได้อาศัยดินโป่งกินเสริมธาตุอาหารให้แก่ร่างกาย

 

            พฤติกรรมการรวมกลุ่มหากิน  กระทิงป่าเขาแผงม้ามีการรวมกลุ่มออกหากินเป็นฝูง พบได้ตั้งแต่ 2 – 14 ตัว มีทั้งตัวผู้ ตัวเมีย
 และลูกกระทิง ซึ่งมักจะเดินตามคลอเคลียแม่กระทิงอย่างใกล้ชิด และยังมีกระทิงในวัยรุ่น วัยหนุ่ม ออกหากินรวมกันด้วย แต่บางครั้ง พบกระทิง
ตัวผู้ออกหากินโดยลำพัง

 

            ระยะเวลาการออกหากิน  ฝูงกระทิงจะเริ่มออกหากินตั้งแต่เช้ามืดจนถึงเวลาประมาณ 7.00 น. พอตอนสายจะหลบแดดไปซ่อนตัว
อยู่ตามดงกล้วยป่า พุ่มไม้ หรือใต้ต้นไม้ขนาดใหญ่ ตอนกลางวันที่มีอากาศร้อน ฝูงกระทิงมักจะหลบพักผ่อนตามแหล่งน้ำและจะออกหากินอีกครั้ง
ในตอนเย็น ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น.  จนถึงค่ำ  บางวันที่แดดไม่ร้อนจัดหรือมีฝนตกจะพบฝูงกระทิงออกหากินในเวลากลางวันด้วย
 ส่วนในเวลากลางวันคืนฝูงกระทิงจะออกหากินบ้างเล็กน้อยสลับกับการนอนหลับพักผ่อน

 

            แหล่งหากิน  กระทิงป่าเขาแผงม้าจะออกหากินอาหารตามหุบเขา ร่องห้วย ที่ราบเชิงเขา ไหล่เขาและบนเนินเขาตั้งแต่ความสูงประมาณ
580
– 820 เมตร จากระดับน้ำทะเล

         
การเคลื่อนย้ายหากินในฤดูต่าง   ในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน) ฝูงกระทิงจะเคลื่อนย้ายหากินไปทั่วพื้นที่
เนื่องจากมีพืชอาหารและน้ำกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง ส่วนในฤดูแล้ง (เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน) ฝูงกระทิงจะจำกัดพื้นที่เคลื่อนย้ายหากินแคบ
ลงมาเฉพาะบริเวณที่ที่มีพืชอาหารและแหล่งน้ำ เช่น หุบเขา และร่องห้วย

 

            จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ากระทิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขาแผงม้า มีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
 โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อกับเขาแผงม้าทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ และไม่พบว่าฝูงกระทิงออกไปหากินนอกเขตพื้นที่โครงการปลูกป่าเขา
แผงม้าทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าพื้นที่นอกแปลงปลูกป่าด้านดังกล่าวนั้นมีสภาพเป็นไร่ข้าวโพดและไร่มัน
สำปะหลังของชาวบ้าน

             การดูแลรักษาพื้นที่ต่อเนื่อง

          เมื่อได้ดำเนินงานปลูกป่าครบกำหนด ระยะเวลาโครงการฯ  ในปี พ.ศ. 2540     มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ    ได้ขออนุมัติต่อกรมป่าไม้
ขอขยายระยะเวลาดูแลรักษาพื้นที่ป่า เขาแผงม้าออกไป  ซึ่งกรมป่าไม้  ได้อนุมัติให้ดูแลต่อเนื่องได้อีก 5 ปี   จนถึงปี พ.ศ. 2545  อย่างไรก็ตาม
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ  พิจารณาเห็นว่าแม้พื้นที่ป่าเขาแผงม้า จ ะมีศักยภาพในการฟื้นตัวสู่สภาพป่าต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ แต่ก็ต้องมีการ
ดูแลรักษาอย่างเข้มแข็งจริงจัง เพราะยังคงมีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มุ่งหวังเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะ
ฝูงกระทิงป่าจำนวนมากเหล่านี้

             ความคาดหวังในอนาคต

          แม้อาจกล่าวได้ว่ามูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ   ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานฟื้นฟูป่า  แต่เขาแผงม้า  กลับยังคงต้องการการคุ้มครอง
ดูแลอย่างต่อเนื่อง    ด้วยยังคงมีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ที่มุ่งหวังเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะฝูงกระทิงป่า
จำนวนมากเหล่านี้   มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ  จึงหวังที่จะได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้ดูแลรักษาเขาแผงม้า  และฝูงกระทิงป่าต่อไปอีกเพื่อช่วยให้
การดำเนินงาน  ที่เริ่มต้นได้ดีแล้วนี้   มุ่งไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง  โดยไม่ขาดช่วงหรือชะงักงัน

 

ภารกิจหลัก 4 ประการ

 

          การดูแลรักษาพื้นที่ป่าเขาแผงม้าในปัจจุบัน ประกอบด้วยภารกิจหลัก 4 ประการ คือ

1.       การปกป้องคุ้มครองพื้นที่ ทั้งการดูแลรักษาป่าให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และการป้องกันการล่าสัตว์ป่า เพื่อให้เขาแผงม้า
ป็นแหล่งพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแบบอย่างในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำธาร

2.       การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชในกระบวนการฟื้นตัวของพื้นที่
 ชนิดและพฤติกรรมของสัตว์ป่า ชนิดและบทบาทหน้าที่ของพรรณไม้ต่างๆที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของป่า ฯลฯ

3.       การใช้ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยประสานงานกับองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมนันทนาการที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์

4.       การจัดตั้งศูนย์สื่อความหมายธรรมชาติ เพื่อให้เขาแผงม้าเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้าน
การเป็นตัวอย่างของการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร และเป็นแบบอย่างในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ประชาชนมีส่วนร่วม

            สภาพปัญหาในปัจจุบันและข้อสังเกต

1.การดูแลรักษาพื้นที่ป่าเขาแผงม้าหลังจากปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ต้องได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่เป็นที่มั่นใจได้ว่า
 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปได้

2.การดูแลรักษาพื้นที่ป่าขาแผงม้ามีค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆแล้ว
แต่ยังขาดงบประมาณอีกเป็นจำนวนมาก

3.มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ยังขาดงบประมาณในการศึกษาเรื่องระบบนิเวศป่าไม้และสัตว์ป่าที่เขาแผงม้า โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา
พฤติกรรมของกระทิงและสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ป่าและการฟื้นตัวของป่าและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

4.การฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารเป็นกระบวนการที่ต้องการความต่อเนื่อง และต้องใช้เวลานานหลายสิบปี แต่นโยบายการฟื้นฟูป่าของรัฐไม่ม
ีความต่อเนื่องเพียงพอ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และมีข้อจำกัดทั้งแนวคิดและการปฏิบัติ

5.การฟื้นฟูป่าของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ณ เขาแผงม้า แห่งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ในพื้นที่เพียง 5,000 ไร่ ซึ่งย่อมไม่เพียงพอที่จะส่งผล
ในวงกว้างให้เป็นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารได้อย่างถาวร แต่นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่จะขยายผลให้กว้างออกไปและครอบคลุมลุ่มน้ำ
ลำพระเพลิงได้ในอนาคต

6.กิจกรรมต่อเนื่องของชาวบ้านในชุมชนรอบพื้นที่โครงการมีความจำเป็นต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารและการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ

7.การจัดให้มีการฝึกอบรมโครงการ ศิลปาชีพ ให้แก่ชาวบ้าน  จะเป็นประโยชน์ในอันที่จะสนับสนุน ให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างต่อเนื่องและ
 และมีผลต่อการดูแลรักษาทรัพยากรของท้องถิ่นได้ย่างยั่งยืน

 

                                                               กลับหน้าหลัก                              menu

Hosted by www.Geocities.ws

1