ศาสนาได้เข้ามามีส่วนในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยมาช้านาน ประการแรกศาสนาได้ปลูกฝังความคิด  ความเชื่อ
ในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ รวมทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตของสรรพสัตว์ในโลก และอีกประการหนึ่ง  ผู้ที่ถือบวชก็ได้มีบทบาทชี้นำ
ชุมชนและสังคมให้ดำเนินกิจกรรมที่รักษาธรรมชาติ  ทางมูลนิธิฯจึงมีแนวคิดที่จะนำหลักธรรมในศาสนามาสนับสนุนการอนุรักษ์ จึงได้จัดตั้ง โครงการ
ศาสนาเพื่อการอนุรักษ์ขึ้น ตั้งแต่ปีแรกๆของการก่อตั้งมูลนิธิฯ โดยมีการดำเนินงานดังนี้
             1. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แด่พระสงฆ์ โดยการอบรม ดูงาน ประชุม และ สัมมนา  เช่น  มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ
จัดให้มีการสัมมนาพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ขึ้นในปี พ.ศ.2534  ที่วัดสวนแก้ว  จ.นนทบุรี  ซึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าขึ้นทั่ว
ประเทศ  ที่สำคัญคือเกิด พระสงฆ์กลุ่มเสขิยธรรม ขึ้นมา   มีจดหมายข่าวเสขิยธรรมและปาจารยสาร
ฉบับอนุรักษ์เป็นสื่อกลาง
            2. สนับสนุนพระสงฆ์ที่ทำงานด้านอนุรักษ์ ในด้านการช่วยประสานงาน อุปกรณ์  สื่อ
            3. สนับสนุนการจัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้เรื่องการอนุรักษ์แด่พระสงฆ์
            4. ประสานงานหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ และ องค์การพัฒนาเอกชน ในการร่วมมือทำงานกับพระสงฆ์
            5. สนับสนุนการประยุกต์พิธีกรรมเพื่อการอนุรักษ์ และเผยแพร่ให้เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้กับสังคมส่วนต่างๆได้
            6. เผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งตัวอย่างสำคัญคือการจัดพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนาเพื่อการ
อนุรักษ์ธรรมชาติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ และคณะ
            7. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพระสงฆ์กับการอนุรักษ์สัตว์ป่า
            8. จัดประชุมสัมมนากับผู้นำทางศาสนาคริสต์และอิสลาม เพื่อหาแนวทางการทำงานอนุรักษ์

พิธีกรรมบวชต้นไม้

                                                             

พิธีกรรมบวชต้นไม้

menu

Hosted by www.Geocities.ws

1