บทที่ 3

ความสัมพันธ์ของปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ

 

1.   กล่าวทั่วไป

ความสำคัญของความมั่นคงของชาติ    อยู่ที่เมื่อชาติมั่นคง   ชนในชาติจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  ปลอดภัย  มีศักดิ์ศรี  มีอิสระเสรีในการดำเนินชีวิต  มีความหวัง  สามารถจะมั่นใจในอนาคตของตนเองและลูกหลานได้ ความมั่นคงของชาติจึงมีผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความปกติสุขของทุกคนในชาติ  

แต่การที่จะทำให้ชาติมั่นคง  และรักษาความมั่นคงไว้ให้มีอย่างถาวรนั้นมิใช่เรื่องง่าย  อีกทั้งยังยากต่อการทำความเข้าใจ   ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก   ปัญหาความมั่นคงเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับทุกผู้คนภายในชาติ   เกี่ยวเนื่องในทุกกิจกรรม  และทุกด้านของสังคม  ทั้งในด้านการเมืองภายในประเทศ  การเมืองระหว่างประเทศ  เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา  การทหาร  วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  หรือแม้แต่ในปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ตาม  ดังนั้นการทำความเข้าใจในแง่มุมของปัญหาความมั่นคงนั้น   จะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ในทุกด้านทุกมุม

นอกจากความเกี่ยวพันของปัญหาความมั่นคงในทุกด้านตามที่กล่าวไป  ผลกระทบต่อกันของแต่ละระดับของความมั่นคง  หรือความมั่นคงของคนแต่ละกลุ่ม  แต่ละขนาด  ยังส่งผลให้การศึกษาด้านความมั่นคงมีความยุ่งยากสับสนเพิ่มมากขึ้น  อีกทั้งสภาพของสังคมมนุษย์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง  มีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic)  จึงทำให้ปัญหาความมั่นคงมีความเป็นพลวัตรตามไปด้วย  

สำหรับความเป็นพลวัตรของความมั่นคง   กิจกรรมในแต่ละด้าน หรือองค์ประกอบของความมั่นคง    รวมทั้งระดับของความมั่นคง  เราได้ศึกษากันไปแล้วในสองบทที่ผ่านมา  ในบทนี้  เราจะได้ศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบ  และมีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับความมั่นคง  ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาด้านความมั่นคง สามารถที่จะมีความเข้าใจในปัญหาความมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว                      และกระจ่างขึ้น  และเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ  ดังกล่าว   เข้ากับความมั่นคงแห่งชาติ  เพื่อการวิเคราะห์  และศึกษาต่อไป

ปัจจัยสำคัญที่เราจะได้ทำการศึกษาก็คือ  ภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ  ซึ่งเป็นปัจจัย หรือสิ่งที่ส่งผลให้ชาติเกิดความไม่มั่นคง

นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญอีกประการที่เราต้องศึกษาก็คือ  ยุทธศาสตร์ชาติ  โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติในส่วนที่ตอบสนองต่อความมั่นคงแห่งชาติ 

สำหรับอีกปัจจัยสำคัญนั้นคือ  พลังอำนาจแห่งชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะลืมไปไม่ได้  

ทั้งสามปัจจัยที่เราจะทำการศึกษา    ถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว    ก็อาจกล่าวได้ว่า  ภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ  ก็คือปัญหา (Threats) ที่เราจะต้องแก้ไข  ในขณะที่ยุทธศาสตร์ชาติในส่วนที่ตอบสนองต่อความมั่นคงก็คือ  แนวทาง  หรือหนทางปฏิบัติ (Ways)  ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว      และการแก้ไขปัญหา  ก็ต้องการเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งนั่นก็คือ  พลังอำนาจแห่งชาติ (Means) นั่นเอง    ในขณะที่ปลายทางที่เราพยายามจะไปให้ถึงในการแก้ปัญหาดังกล่าว  ก็คือ  ความมั่นคง (Ends) 

นอกเหนือจากนี้ในช่วงท้ายของบท  เราจะได้พิจารณากันถึงปัญหาความเกี่ยวพันกันระหว่างความมั่นคงแห่งชาติ  กับความมั่นคงในแต่ละระดับของสังคม  เพื่อให้เราได้มีหลักยึดในการวิเคราะห์ปัญหาความมั่นคงในแต่ละระดับ  โดยไม่นำมาปะปนกันจนยากที่จะแยกแยะและวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง

 

2.   ภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ

เมื่อเราจะทำการศึกษากันในเรื่องความมั่นคง   เราก็คงต้องพิจารณาปัจจัยหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงควบคู่กันไปด้วย   ซึ่งก็คือการศึกษาถึงลักษณะของความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลกนี้ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง  ทั้งนี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบันดำรงอยู่ในสภาวการณ์ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก และสลับซับซ้อนกันมากขึ้น แม้กระทั่งในห้วงระยะเวลาที่ประเทศชาติพ้นจากสภาพของการสงครามเต็มรูปแบบแล้วก็ตาม แต่ก็ยังประสบกับปัญหาในเรื่องความปลอดภัยหรือความไม่มั่นคงนานับประการ ในอดีตหากประเทศใดไม่ต้องการเผชิญกับการสงคราม   หรือเมื่อสงครามได้ยุติลงแล้ว   ประเทศนั้นก็จะมีสันติภาพและความปลอดภัยควบคู่กันไป   แต่ในปัจจุบัน   สภาพการณ์กลับตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ แม้ว่าประเทศต่าง ๆ จะไม่มีการสงครามหรือการสู้รบกันก็ตาม แต่ประเทศเหล่านั้นอาจไม่มีความมั่นคงปลอดภัยก็ได้ ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุสองประการด้วยกัน ดังที่ พล.. พจน์  พงศ์สุวรรณ  ได้กล่าวไว้ในหนังสือหลักยุทธศาสตร์  คือ[51]

1.    ความไม่มั่นคงปลอดภัย อาจเกิดขึ้นจากประเทศที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ของชาติ (National lnterests)   ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าก็คือ  ภัยคุกคามจากภายนอกนั่นเอง 

2.    ความไม่มั่นคงปลอดภัย อาจเกิดจากปัญหาการคุกคาม (Threats) จากภายใน 

ในขณะที่  สุรชาติ  บำรุงสุข  กลับแบ่งภัยคุกคามด้านความมั่นคงออกมาเป็น  ปัญหาด้านการทหาร  กับปัญหาที่มิใช่การทหาร   และยังมีสถาบัน  หรือนักวิชาการด้านความมั่นคงอีกหลายท่านแบ่งภัยคุกคามดังกล่าวนี้  โดยใช้กรอบของสังคม   หรือกรอบของพลังอำนาจแห่งชาติมาเป็นปัจจัยหลักในการแบ่งเช่นที่ สถาบัน Asia – Pacific Center for Security Studies   แบ่งเป็น  ภัยคุกคามด้านการเมือง  ภัยคุกคามด้านเศรษฐกิจ  ภัยคุกคามด้านสังคมจิตวิทยา  และภัยคุกคามด้านการทหาร  หรือบางท่านอาจพุ่งประเด็นปัญหาความมั่นคงไปที่ปัญานั้น ๆ เลย  โดยมิได้มีกรอบใหญ่จัดกลุ่มให้ยุ่งยาก  เช่น  แบ่งปัญหาความมั่นคงออกเป็น   ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน  ปัญหาการก่อความไม่สงบ  ปัญหาการก่อการร้าย  ปัญหาองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ  ปัญหาการแพร่กระจายของอาวุธทำลายร้ายแรง  ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรคร้ายแรง  ปัญหาโจรสลัด  และอาชญากรรมทางทะเล  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมาย  ปัญหาการเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อม  ปัญหาภัยธรรมชาติร้ายแรง  ปัญหาการคอรัปชั่น  และอีกหลาย ๆ ปัญหา  เป็นต้น  และเช่นเดียวกัน  ก็ได้มีการจัดกรอบการพิจารณาปัญหาความมั่นคง  ออกเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติที่มีมาจากในระดับโลก  ระดับภูมิภาค  หรือจากภายในประเทศเอง 

เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน  และสามารถศึกษาถึงปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงให้ครบถ้วนในทุกด้าน  เอกสารนี้  จะได้ใช้กรอบในการพิจารณาภัยคุกคามต่อความมั่นคงในรูปของ  ปัญหาภัยคุกคามจากภายนอก  และปัญหาภัยคุกคามภายใน  โดยปัญหาภัยคุกคามจากภายนอกนั้น  จะได้แยกย่อยออกไปอีกเป็นภัยคุกคามที่มีมาจากในระดับโลก  ระดับภูมิภาค  และระดับประเทศรอบบ้าน  ในขณะที่  ในแต่ละปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคง  ไม่ว่าจะเป็นจากภายนอก  หรือจากภายใน  จะได้จัดแบ่งกลุ่มออกเป็น ภัยคุกคามทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา  และการทหารอีกด้วย  นอกจากนี้แล้วเพื่อยกประเด็น  หรือนำปัญหาใหม่ ๆ ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน   จึงได้เพิ่มภัยคุกคามในด้านอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากสี่ด้านที่กล่าวไป  อีกทั้งประเด็นปัญหาความมั่นคงต่าง ๆ อาจมีความสัมพันธ์ของปัญหาที่จัดอยู่ในกลุ่มหลายกลุ่ม ก็จะได้แยกแยะให้เห็นในแต่ละกลุ่มไป  และเพื่อให้มีความกระจ่างชัดขึ้น   จะได้สรุปประเด็นปัญหาในช่วงท้ายของการกล่าวถึงภัยคุกคามไว้ในเรื่องของประเด็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน

2.1         ปัญหาจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ 

ในการพิจารณาปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ  ที่มีมาจากภายนอกนั้น  เป็นการสำรวจหรือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านยุทธศาสตร์ของโลก  ภูมิภาค  และประเทศรอบบ้าน  ว่าในปัจจุบันนั้นเป็นเช่นไร  มีแนวโน้มอย่างไรในระยะสั้น  และระยะยาว  ทั้งนี้เป็นการพิจารณาไปให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน  และ  สอดคล้องกับการแก้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต   ซึ่งก็คือ การกำหนดยุทธศาสตร์  นโยบายด้านความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อดำเนินการในปัจจุบัน  และแผนการในอนาคตนั่นเอง เช่น  ถ้าเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ในระยะยาวในห้วงสิบปีขึ้นไป  การสำรวจสภาพแวดล้อมภายนอกก็จะต้องสำรวจสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน    และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดในห้วงสิบปีต่อไปด้วย   ทั้งนี้ก็เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาความมั่นคงในระยะยาว   มุ่งต่อการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจริง ๆ อีกทั้งเราจะต้องพิจารณากำหนดความเบี่ยงเบน ที่จะเกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต  และเกณฑ์การยอมรับได้ที่จะใช้ยุทธศาสตร์เดิมต่อไป  โดยทำแค่การปรับแก้เท่านั้น   ซึ่งถ้าความเบี่ยงเบนเกินเกณฑ์ดังกล่าวนี้  เราก็จะต้องสำรวจ  และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความมั่นคงกันใหม่

2.1.1        ผลกระทบที่มาจากในระดับโลก  เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อม  และวิเคราะห์ผลกระทบด้านความมั่นคงในระดับโลก   ด้วยการพิจารณาตัวแสดงหลัก ๆ   ซึ่งก็คือ  องค์กรในระดับโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ, องค์กรด้านการเมือง  องค์กรด้านเศรษฐกิจ  และองค์กรสังคมจิตวิทยา  หรือองค์กรด้านสื่อสารมวลชนที่มีศักยภาพ  และส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้ได้, ประเทศอภิมหาอำนาจ และประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ในสังคมโลก, องค์กรเอกชน  และองค์กรธุรกิจข้ามชาติที่มีผลกระทบโดยทั่วไป  เป็นต้น   นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึง   เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมโลก   ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติด้วย    

ในการศึกษาพิจารณา  และวิเคราะห์องค์กร  และเหตุการณ์ในระดับโลกที่กล่าวไปนี้  ก็เช่นเดียวกับที่ได้เกริ่นนำไว้   กล่าวคือ  จะต้องสำรวจผลกระทบของบทบาท  และการกระทำขององค์กร  และประเด็นปัญหาสำคัญ  ว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติในปัจจุบันอย่างไรบ้าง  นอกจากนั้นยังจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ออกมาว่า  ด้วยบทบาทดังกล่าวนี้  และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้  มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาความมั่นคงแห่งชาติต่อไปในอนาคตอย่างไรบ้าง  ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้กำหนดทั้งยุทธศาสตร์ระยะสั้นในปัจจุบัน   และยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความมั่นคงในอนาคตไว้ด้วย

และเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการสำรวจ วิเคราะห์  จึงได้ควรมีการจัดแบ่งกลุ่มออกไปเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงในแต่ละด้าน

-    ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านการเมือง  เป็นการสำรวจ  ตรวจสอบนโยบาย  และการดำเนินการด้านการเมืองขององค์กร  และประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจ  หลังจากนั้นเป็นการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ   ว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวก  หรือเชิงลบเป็นประการใดบ้าง   เช่นในปัจจุบันมีองค์การสหประชาชาติ  เป็นองค์กรหลักทางด้านการเมืองของสังคมโลก  มีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ  มีประเทศจีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีศักยภาพสูงต่อไปในอนาคต  ประเทศในกลุ่ม EU  เป็นประเทศมหาอำนาจรอง ๆ ลงมา  ประเทศญี่ปุ่น  และออสเตรเลียก็เป็นอีกประเทศที่อาจมีบทบาทสูงอยู่ในระดับโลกได้เช่นกัน     ในขณะเดียวกัน   องค์กรเอกชน   และสื่อสารมวลชน  เช่น  CNN  ก็เป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสูงในสังคมระดับโลก  และอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาความมั่นคงด้านการเมืองได้  ดังนั้นในการสำรวจ  และวิเคราะห์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงควรจะได้ออกมาในรูป

ž      นโยบายด้านการเมืองขององค์การสหประชาชาติเป็นเช่นไร  เช่น  กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ ในสังคมโลก  จะต้องมีความเป็นเสรีประชาธิปไตย  ประชาชนจะต้องมีสิทธิ  และเสรีในการเลือก  และดำรงชีวิตของตนเอง  เป็นต้น  และจะต้องวิเคราะห์ออกมาว่า  ด้วยนโยบายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อความมั่นด้านการเมืองของชาติอย่างไร  ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว  นอกจากนี้แล้วจะต้องพิจารณาถึงการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ  ที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการเมืองของประเทศด้วย  เช่น  นโยบายในการเข้าไปแทรกแซง  และจัดระเบียบสังคมโลก  จะมีผลกระทบหรือไม่อย่างไร  เป็นต้น

ž      นโยบาย  และการดำเนินการด้านการเมือง  ของประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  เป็นเช่นไร   และจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างไรบ้างทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว

ž      องค์กรเอกชน  และองค์กรด้านสื่อสารมวลชน  มีนโยบาย  แนวทางการดำเนินการเป็นเช่นไร  และจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านการเมืองของชาติอย่างไรบ้าง 

-    ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ  เป็นการสำรวจ  ตรวจสอบนโยบายด้านเศรษฐกิจขององค์กร  ประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจ  หลังจากนั้นเป็นการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ   ว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวก  หรือเชิงลบเป็นประการใดบ้าง   เช่น ในปัจจุบันมีองค์กรด้านเศรษฐกิจ  เช่น  IMF, WTO, APEC  และองค์กรด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ ของโลก  มีประเทศสหรัฐอเมริกา  ประเทศญี่ปุ่น  และกลุ่ม EU เป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ มีประเทศจีนที่กำลังพัฒนาขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต   ในขณะเดียวกันก็มี    องค์กรเอกชน  องค์กรการค้าข้ามชาติ  และสื่อสารมวลชน  เช่น  CNN  ที่เป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสูง  และอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาความมั่นคงด้านการเศรษฐกิจของประเทศได้  ดังนั้นในการสำรวจ  และวิเคราะห์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงควรจะได้ออกมาในรูป

ž      นโยบาย  และการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจขององค์กรด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของโลกเป็นเช่นไร  เช่น  กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ ในสังคมโลก  จะต้องมีความเป็นเสรีด้านการค้า  สินค้าต่าง ๆ ของโลกที่ผลิตมาจะต้องไม่มีการลอกแบบ  โดยต้องยึดกฎหมายลิขสิทธิ์  สินค้าจะต้องได้มาตราฐานกำหนด ISO เป็นต้น  เราจะต้องวิเคราะห์ออกมาว่า  ด้วยนโยบายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อความมั่นด้านเศรษฐกิจของชาติอย่างไร  ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว  

ž      นโยบาย  และการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ  และการค้า  ของประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  เป็นเช่นไร  และจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติทางด้านเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง  ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว

ž      องค์กรเอกชน  องค์กรการค้าข้ามชาติ   และองค์กรด้านสื่อสารมวลชน  มีนโยบาย  และแนวทางการดำเนินการเป็นเช่นไร  และจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของชาติอย่างไรบ้าง   เช่น  การใช้สื่อสารมวลชน ในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าและโฆษณาข้ามชาติ   ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนในชาติ  ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาความมั่นคงด้านเศรษฐกิจต่อไป  เป็นต้น

-    ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา  เป็นการสำรวจ  ตรวจสอบนโยบาย  และการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจ  ในสังคมโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา  ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต   วัฒนธรรมประเพณีของคนในชาติได้   โดยเป็นการวิเคราะห์ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวก  และเชิงลบ     เช่นในปัจจุบันมีองค์กรด้านศาสนา  สื่อสารมวลชน  องค์กรด้านธุรกิจบันเทิงต่าง ๆ   เป็นองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านสังคมจิตวิทยาของชนในชาติได้  อีกทั้งยังมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาในสังคมโลก  แล้วจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านนี้อีกมากมาย  เช่น  ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในกระแสโลกาภิวัตน์  ที่จะเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชาติไปจากเดิม  ประเด็นปัญหายาเสพติดของโลกที่ส่งผลกระทบต่อสังคม  ประเด็นการอพยพของประชากรโลก  เป็นต้น  นอกจากนี้แล้วประเทศบางประเทศ  เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน  ประเทศในกลุ่ม EU   ประเทศญี่ปุ่น  และออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่มีอิทธพล  และอาจส่งผลทางด้านสังคมจิตวิทยาต่อประเทศเล็ก ๆ ได้เช่นกัน   ดังนั้นในการสำรวจ  และวิเคราะห์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงควรจะได้ออกมาในรูป

ž      นโยบายในการดำเนินการขององค์กรศาสนา  องค์กรด้านการสื่อสารมวลชน  องค์กรธุรกิจการบันเทิง  เป็นเช่นไร  และจะส่งผลกระทบต่อความมั่นด้านการสังคมจิตวิทยาของชาติอย่างไร  ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว  

ž      นโยบาย  และการดำเนินการด้านสังคมจิตวิทยาของประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  เป็นเช่นไร  และจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านสังคมจิตวิทยา  หรือไม่  อย่างไร   ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว

ž      ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์  จะทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร  และจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยาหรือไม่อย่างไร

ž      ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก  เช่น  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาผู้อพยพ  ปัญหาอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา หรือไม่อย่างไร  เป็นต้น 

-    ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านการทหาร  เป็นการสำรวจ  ตรวจสอบนโยบายด้านการทหารขององค์กร  ประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจ  หลังจากนั้นเป็นการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ   ว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวก  หรือเชิงลบเป็นประการใดบ้าง    สำหรับในการสำรวจ  และวิเคราะห์ควรจะได้มีรูปแบบออกมา  เช่น

ž      นโยบายด้านการทหารขององค์การสหประชาชาติเป็นเช่นไร  เช่น  การจัดกำลังในการรักษาสันติภาพ  การจัดกำลังเข้าไปแทรกแซงในบางประเทศ  เป็นเช่นไร  และจะต้องวิเคราะห์ออกมาว่า  ด้วยนโยบายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการทหารของชาติอย่างไร  ทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว  

ž      นโยบาย  และการดำเนินการด้านการทหาร  ของประเทศอภิมหาอำนาจ  และประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  เป็นเช่นไร  มีแนวโน้มของการรุกรานด้านการทหารหรือไม่  และจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างไรบ้างทั้งในระยะสั้น  และระยะยาว

ž      องค์กรเอกชน  และองค์กรด้านสื่อสารมวลชน  มีนโยบาย  แนวทางการดำเนินการเป็นเช่นไร  และจะส่งผลต่อกิจการด้านการทหาร  และความมั่นคงด้านการทหารของชาติหรือไม่  อย่างไร  

-    ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านอื่น ๆ   เป็นการสำรวจ  ตรวจสอบประเด็นปัญหาด้านอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสี่ด้านที่กล่าวไปแล้ว      ซึ่งอาจมีประเด็นปัญหาสำคัญในแต่ละช่วงที่เด่นขึ้นมา   และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวก  หรือเชิงลบ  ก็ตาม   เช่นในปัจจุบันมีประเด็นปัญหา  การเสื่อมสลายของสภาวะแวดล้อมของโลก  ที่นำไปสู่การเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรง  ปัญหาสภาพเรือนกระจกของโลก  ที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำในโลกสูงขึ้น  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติด้วยเช่นกัน    ในการสำรวจ  และวิเคราะห์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงควรจะได้ออกมาในรูป  ประเด็นปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้น  กับผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ  ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

2.1.2        ผลกระทบที่มาจากระดับภูมิภาค   เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อม  และวิเคราะห์ผลกระทบด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาค   แนวทางในการพิจารณายังคงคล้ายคลึงกับในระดับโลก     กล่าวคือ ดำเนินการด้วยการพิจารณาตัวแสดงหลัก ๆ   ซึ่งก็คือ  องค์กรในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN, องค์กรด้านการเมือง  องค์กรด้านเศรษฐกิจ  และองค์กรด้านสังคมจิตวิทยา  หรือองค์กรด้านสื่อสารมวลชนในระดับภูมิภาคที่มีศักยภาพ  และส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค, ประเทศอภิมหาอำนาจ ประเทศมหาอำนาจ  หรือประเทศสำคัญ ๆ  ที่ส่งผลกระทบโดยตรงในระดับภูมิภาค,  องค์กรเอกชน   และองค์กรธุรกิจข้ามชาติที่มีผลโดยทั่วไป  เป็นต้น   นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติด้วย    

ในการศึกษาพิจารณา  และวิเคราะห์องค์กร  และเหตุการณ์ในระดับภูมิภาค  ก็เช่นเดียวกับระดับโลก   กล่าวคือ  จะต้องสำรวจผลกระทบของบทบาท  และการกระทำขององค์กร  และประเด็นปัญหาสำคัญ  ว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติในปัจจุบันอย่างไรบ้าง  นอกจากนั้นยังจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ออกมาว่า  ด้วยบทบาทดังกล่าวนี้  และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้  มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาความมั่นคงแห่งชาติใดต่อไปในอนาคตบ้าง  ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้กำหนดทั้งยุทธศาสตร์ระยะสั้นในปัจจุบัน   และยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความมั่นคงในอนาคตไว้ได้   และเนื่องจากมีแนวทางพิจารณาเช่นเดียวกับในระดับโลก  จึงขอละการกล่าวถึงในรายละเอียดไว้ในที่นี้

2.1.3   ผลกระทบที่มาจากประเทศรอบบ้าน  เป็นการพิจารณาสภาพของภัยคุกคาม หรือปัญหาความมั่นคงที่สำคัญ  ทั้งนี้ก็เนืองมาจากประเทศรอบบ้านนั้น   ถึงอย่างไรก็จะยังคงมีอาณาเขต  บริเวณที่ติดต่อกันอยู่เสมอ  หรือที่หลายท่านกล่าวว่าไม่สามารถยกประเทศหนีไปที่ไหนได้  และเช่นเดียวกัน  เมื่อมีอาณาเขตของประเทศติดต่อกัน  ก็ย่อมต้องมีการกระทบกันเป็นธรรมดา  ดังนั้นการพิจารณาปัญหาภัยคุกคามที่อาจมาจากประเทศรอบบ้างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

ในการสำรวจ  และวิเคราะห์นั้น  เราก็ควรที่จะได้แยกแยะออกมาเป็นประเทศในแต่ละด้าน  ว่ามีนโยบายในภาพรวมเช่นไร  มีนโยบายโดยตรงต่อประเทศของเราอย่างไร  มีการดำเนินการที่ผ่านมา  และจะดำเนินการเป็นเช่นไร  และจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติของเราในแต่ละด้านเช่นไรบ้าง  รวมทั้งควรจะได้มีการแยกออกมาเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา การทหาร และด้านอื่น ๆ     เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในหัวข้อระดับโลก 

ตัวอย่างเช่น   มีการสำรวจ และวิเคราะห์  ประเทศพม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงค์โปร์ และอินโดนีเซีย  ว่ามีนโยบายโดยรวมอย่างไร  มีนโยบายต่อไทยอย่างไร  การดำเนินการที่ผ่านมาเป็นเช่นไรบ้าง  มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังคงต้องสำรวจปัญหาที่เป็นปัญหาโดยรวมของทุกชาติด้วย  เช่น  ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ  ปัญหาอาชญากรรมในทะเล  เป็นต้น

2.2         ปัญหาจากภายในที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ

เป็นการสำรวจ   และวิเคราะห์ปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้นภายในประเทศเป็นหลัก  และเช่นเดียวกัน  เพื่อให้เกิดความง่าย  และความเข้าใจตรงกัน  การจัดแบ่งกลุ่มออกเป็นปัญหาทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา  การทหาร  และอื่น ๆ  ก็จะทำให้พิจารณาปัญหาได้ง่ายขึ้น  อีกทั้งรูปแบบก็ควรเป็นในลักษณะของการสำรวจปัญหาในปัจจุบัน  วิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  กำหนดหาข้อดี และข้อเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  และผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติในแต่ละด้าน

ัวอย่างในการดำเนินการเพื่อพิจารณา  และวิเคราะห์ปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ  สามารถที่จะแสดงได้ดังนี้

2.2.1   ปัญหาทางด้านการเมือง  การปกครอง

-          ปัญหาทางด้านการเมืองการปกครองนับตั้งแต่ พ..2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข     ปรากฏว่าประชาธิปไตยของไทยล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด   ในการแก้ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยวิธีการยึดอำนาจ การปฏิวัติรัฐประหาร ครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไม่อาจนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยดังที่มุ่งหวังได้     ประโยชน์สุขก็มิได้ตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่  ตามจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตย    แต่กลับไปตกอยู่กับคนบางกลุ่มที่กุมอำนาจทางการเมือง  หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลโยงใยกับผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง เกิดความไม่เป็นธรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม    จนเป็นเงื่อนไขของความแตกแยกกันในสังคม  แบ่งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า  เป็นสี  เชื่อมต่อและผูกกันอยู่ด้วยผลประโยชน์ของตน  หรือกลุ่มตน  โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ  หรือประชาชนส่วนรวมภายในชาติแต่ประการใด   จนกระทั่งส่งผลให้สังคมถูกแทรกแซงการบริหารประเทศจากอิทธิพลจากภายนอก    อิทธิพลของกลุ่มคนบางกลุ่มที่สามารถเกาะกุมจุดอ่อนในการบริหารประเทศของรัฐบาลได้

การยึดอำนาจการปกครองเมื่อ พ..2475 นั้น     เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มิได้อยู่บนฐานของความต้องการของประชาชน   ประชาชนมิได้เรียกร้องกันขึ้นมาจากรากเง่าหรือพื้นล่าง  องค์ประกอบพื้นฐานทางการเมืองของประชาชนยังไม่พร้อม   ทำให้ในการนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้โดยมีพื้นฐานและอุดมการณ์ และความศรัทธาทางการเมืองของประชาชนที่ยังไม่ถึงขั้น   จึงส่งผลให้    ช่องทางในการปกครองกลายเป็นหนทางในการใช้เงินใช้อิทธิพลซื้อเสียงเข้าไปกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์และถอนทุนของกลุ่มนักการเมือง เกิดนักการเมืองประเภทขายตัว กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน  บ้างก็มีหลังฉากเกี่ยวข้องกับด้านยาเสพติด, บ่อนการพนัน, ตัดไม้ทำลายป่า    ล้วนแต่ทำลายประชาธิปไตย    ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายไม่ศรัทธาการเมือง เห็นการเมืองเป็นเรื่องของความสกปรก

 การเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลัง ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจ, การปฏิวัติ, รัฐประหาร สิ่งที่ปรากฏตลอดมา   ก็คือ   ผู้กระทำสำเร็จจะได้ตำแหน่งเป็นการปูนบำเหน็จแก่ผู้เข้าร่วม    พร้อมทั้งการจัดวางพวกของตนให้คุมกำลังสำคัญ ๆ  เอาไว้   เพื่อเป็นฐานอำนาจของตน เมืองไทยแม้จะมีคนดีมาก    ถ้าไม่ใช่พรรคพวกก็ต้องตกกระป๋องไป    เพราะการรวมอำนาจ การผูกขาดของผู้มีกำลัง ประเทศไทยยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง   จึงน่าจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยแต่เปลือก   และยิ่งมาถึงยุคที่ทหารเริ่มหมดอำนาจหมดความสำคัญ  ก็ได้ส่งผลให้ทหารบางส่วนเข้าไปยึดเกาะกุมกับกลุ่มนักการเมือง  เพื่อเป็นบันไดไต่เต้าไปสู่ที่สูงของตน  ซึ่งก็จะต้องแลกกันด้วยศักดิ์ศรี  ความจงรักภักดี  และการเป็นพวกที่จะร่วมกันกระทำสิ่งที่ไม่ดีต่อประเทศชาติต่อไป  สิ่งนี้ได้ส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง  กำลังพลขาดความตั้งใจในการทำงานที่แท้จริงเพราะมัวแต่แสวงหาความก้าวหน้า  ด้วยการเข้าไปเป็นคนรับใช้ผู้มีอำนาจ

 ถ้าประเทศใดมีพรรคการเมืองมากเกินไป  โดยไม่มีพรรคใดใหญ่มากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้จำต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมจากหลายพรรค การเมืองของประเทศนั้นจะขาดเสถียรภาพ     และประสิทธิภาพในการบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบาย  ประเทศไทยในปัจจุบันก็เช่นกัน ประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค แต่ละพรรคแม้จะมีนักการเมืองที่ดีร่วมอยู่ด้วย แต่ภาพสะท้อนที่ปรากฏออกมาให้เห็นภาระอันหนักของหัวหน้ารัฐบาลคือ    การต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี   การวางตัวรัฐมนตรีที่เคยปรากฏก็จะเป็นการขัดตาทัพ   ถ่วงดุลอำนาจกันภายในคณะรัฐบาลเอง  การที่รัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ให้ได้เพื่อผลดีทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์โดยส่วนรวมของชาติไว้ ก็จะต้องเป็นไปในลักษณะต่อรองและประนีประนอมกับพรรคร่วมรัฐบาล   แม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลก็จะคุมเชิงกันคอยกีดกันมิให้พรรคหนึ่งพรรคใดสร้างชื่อเสียง   สร้างความนิยมเกินหน้าได้     แต่ละพรรคยังมีปัญหาการแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี  ความไม่มีมรรยาทและไม่มีวินัยของนักการเมืองภายในพรรค สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้ได้บดบังชื่อเสียงคุณความดีและผลงานของนักการเมืองดี ๆ ในพรรคไปเสียด้วย  และยังทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายท้อแท้ไม่อยากเสียเวลาไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง  และถึงแม้ว่าการเมืองไทยจะได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งแล้วก็ตาม  แต่ภาพพจน์  และความประพฤติของนักการเมืองที่กล่าวไป  ก็ยังคงดำรงอยู่  รอเพียงวันที่จะหวนกลับคืนมา  ทั้งนี้ก็เนื่องจากนักการเมืองดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มการเมืองเดิม ๆ  นั่นเองมิได้หนีหายไปไหนมากนัก

 ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเครื่องมือที่ดีมีประสิทธิภาพของการบริหารงานของรัฐบาล ประเทศใดมีระบบบริหารราชการที่ดี มีข้าราชการที่ซื่อสัตย์และมีความสามารถเป็นที่ยอมรับของประชาชน    ก็จะได้รับความเชื่อถือศรัทธา   และความร่วมมือจากประชาชน   และทำให้ประเทศชาติสามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ทางการเมืองไปได้  แต่ในสภาวะทางการเมืองของเราปรวนแปรมาตั้งแต่เริ่มต้น   จึงเป็นผลให้อิทธิพลของนักการเมือง สามารถทำให้ข้าราชการบางคนขาดจุดยืน  มุ่งเอาดี  และเอาตัวรอด   โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องความชอบธรรม “ เส้น “, “ การเล่นพรรคเล่นพวก “,   จึงเป็นปัจจัยสำคัญของความก้าวหน้าในวงการราชการ ปรากฏอยู่เสมอที่คนดีมีความรู้ความสามารถ  กลายเป็นคนขาดความกระตือรือร้น  เสื่อมประสิทธิภาพ  และขาดกำลังใจ 

ปัจจุบันค่านิยมของคนเปลี่ยนไป หันมานิยมยกย่องคนที่มีเงินไม่คำนึงว่าจะได้มาโดยทางใด ขอให้ตนเองพึ่งพาได้ก็เป็นพอ คนทุจริตอิทธิพล คนที่กอบโกยจนมั่งมีศรีสุขก็มั่นคงขึ้นด้วยอำนาจเงิน อำนาจการค้า และอำนาจมืด พวกนี้บารมีจะยิ่งเพิ่มพูน ผู้คนจะเข้าหาห้อมล้อมเป็นบริวาร ยิ่งทำให้ผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองเพิ่มพูนขึ้น สามารถจะบีบให้ข้าราชการบางคนบางกลุ่มต้องจำใจให้ความร่วมมือ   ระบบการเมืองถ้ายังปรวนแปรไม่มีเสถียรภาพ  จะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและทางการป้องกันประเทศ    เพราะระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย และการควบคุมต่าง ๆ  อยู่ในอำนาจของการเมืองทั้งสิ้น  

-    ปัญหาเกิดจากอิทธิพลอำนาจมืด  เรื่องของอิทธิพลอำนาจมืดเป็นปัญหาสำคัญที่ทำลายความเป็นธรรมของสังคม  และบ่อนทำลายประเทศชาติอย่างยิ่ง ปัญหาใหญ่ ๆ มากมายหลายปัญหาเกิดจากอิทธิพล ซึ่งเข้าไปแฝงเร้นอยู่ใน อำนาจรัฐ ผู้มีอิทธิพลย่อมห่างไกลจากคุณธรรม มีความเห็นแก่ได้ จะใช้อำนาจและอิทธิพลในทางที่ไม่ชอบธรรม จนเกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติ ปัญหาสำคัญที่เกิดจากอิทธิพลดังกล่าวดังนี้

ž      อิทธิพลอำนาจมืดตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ  สมคบกันทำการทุจริตในเรื่องใหญ่ เช่น ยาเสพติด  การตัดไม้ทำลายป่า      ผู้ที่ตกเป็นเครื่องมือของพวกนี้คือประชาชนที่ยากจน   ผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการและผู้หลบหนีเงื้อมมือของกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็ดี พลเมืองดีหรือใครก็ตามที่บังอาจไปแตะต้องเข้า ก็จะถูกกระแสอิทธิพลทำร้าย ทำลาย ไม่บาดเจ็บล้มตายก็เสียอนาคตไปเลย  และยิ่งระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นได้เปลี่ยนแปลงไป   ก็ได้ยิ่งส่งผลให้ผู้มีอิทธิพลผูกเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น

ž      อิทธิพลทางการค้า  จากการที่เรามีเศรษฐกิจแบบทุนเสรีแบบของเราที่มีความหย่อนในการควบคุมดูแลอย่างรัดกุมโดยหน่วยงานของรัฐ  ความไม่รัดกุมและความหย่อนยานจะทวีขึ้น เมื่ออิทธิพลค้าเข้าโยงใยกับอำนาจการเมืองหรือเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองได้โดยทางหนึ่งทางใด  ลักษณะเช่นนี้จะเกิดระบบผูกขาดในวางการค้าขึ้น เมืองไทยเรานี้ไม่ว่าธุรกิจใด ๆ ก็ตาม ทั้งธุรกิจการค้า ผลิตผลทางเกษตร ธุรกิจการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดจนธุรกิจการเงิน การธนาคาร  ต่างก็จะมียักษ์ใหญ่ในวงการคุมอำนาจส่วนใหญ่ของธุรกิจแต่ละสาขาอยู่ พวกนี้เปรียบเสมือนแม่เหล็กมีแรงดึงดูด พวกพ่อค้ากลุ่มเล็ก  รายย่อย ซึ่งแม้จะมีเป็นจำนวนมากแต่ก็เปรียบเสมือนเศษเหล็กที่ถูกแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก จะหลุดพ้นไปได้ยาก จะต้องตกอยู่ในสภาวะจำยอม   ต้องคล้อยตามกลุ่มผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจการค้าเหล่านี้    พวกนี้จะสามารถรวมหัวกันกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น  สามารถจำกัดการผลิต กักตุนสินค้าปั่นตลาด และไขลานให้มีการปิด ๆ เปิด ๆ ของการอนุญาตส่งออกและนำเข้า นี่คือการเอาเปรียบสังคมและเป็นการซ้ำเติมคนยากจน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศให้ทวีความคับแค้นยิ่งขึ้น  ดังเห็นได้ว่าในปัจจุบันร้านค้ารายเล็กได้ล้มหายตายจากกันไปเป็นส่วนมาก  จะคงเหลือก็พวกซูปเปอร์มาเก็ต  ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ซึ่งมีทุนมหาศาล  โดยที่มิมีการควบคุมที่ดี  ผู้ที่มีทุนมากกว่าก็จะได้เปรียบในการค้าแบบเสรี   นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันผู้ที่เป็นนายทุนใหญ่กลับมิใช่คนไทย  กลับกลายเป็นกลุ่มธุรกิจข้ามชาติ   ที่เข้ามาเป็นนายทุนใหญ่คอยควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างภายในชาติ 

ž      อิทธิพลเงิน  สามารถใช้อำนาจเงินเพื่อให้ได้อำนาจทางการเมือง เพื่อหันทิศทาง ทางการเมือง และสามารถสร้างสถานการณ์กดดันทางการเมืองได้อีกด้วย  ใช้อำนาจเงินเพื่ออภิสิทธิ์ต่าง ๆ ทางการค้าและทางกฎหมายก็ได้อีก จึงนับเป็นบ่อเกิดของการคอรัปชั่นและทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง และทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคมนา ๆ ประการ

-    นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการเมือง  การปกครองอื่น ๆ  อีกมากมาย

2.2.2   ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ               

-    ปัญหาการตลาด   ความทุกข์ของชาวไร่ ชาวนา เกษตรกร และวงการอุตสาหกรรม ก็คือ ผลิตผลเพาะปลูก และสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาต้องประสบปัญหาการตลาด ทำให้ต้องขายผลผลิตในราคาต่ำที่ไม่คุ้ม

การที่เป็นเช่นนี้สาเหตุที่สำคัญคือ หย่อนการประสานงานระหว่างการผลิตและการตลาด ขาดการศึกษาและวิจัยความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด หรือผลิตสินค้าที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด และผู้ผลิตยังได้รับบริการทางด้านข้อมูลไม่เพียงพอ   ไม่ทราบว่ามีตลาดสินค้าที่ใดบ้าง  ราคาสินค้าเป็นอย่างไร จึงทำให้ถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบกดราคาสินค้า จะเห็นได้ว่าปัญหาราคาข้าวเปลือก ราคาอ้อย ทำให้ชาวนา ชาวไร่ต้องเดินขบวนเข้ากรุงเทพฯ  แล้วก็จะมีชาวนาชาวไร่เทียมผสมโรงอยู่เสมอ

-          ปัญหาความยากจน  เรื่องความยากจนเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวขวัญกันมาก  ว่าความจนนั้นเกิดจากอะไร   และแค่ไหนจึงจะเรียกว่าจน    ซึ่งเรามักจะเรียกว่ามีไม่กินไม่พอใช้นั่นเอง  การมีไม่พอกินไม่พอใช้ทำให้คนสร้างปัญหาอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจะนำมาพิจารณา การแก้ปัญหาความยากจนให้แก่คน ก็เท่ากับแก้ปัญหาของคนในบ้านเมืองให้แก่บ้านเมืองนั่นเอง ปัญหาที่ควรจะนำมาพิจารณาได้แก่              

ความยากจนในชนบท เป็นเพราะขาดที่ทำมาหากิน ความสะดวกในการลงทุน ลงแรง เช่น น้ำ ถนน ไฟฟ้า และเทคโนโลยี ยังเข้าไปไม่ถึง  ขาดทุนรอนและขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ   คนพวกนี้น่าเป็นห่วงมาก  เพราะถูกดึงไปเป็นเครื่องมือเป็นแนวหน้าเข้าไปทำมาหากินในป่าสงวน  พวกอิทธิพลก็ได้รวยไปกับไม้เถื่อน  ขบวนการปลูกกัญชา  ยาเสพติด  แร่เถื่อนอาวุธเถื่อน  เพราะได้คนจนเหล่านี้เป็นเครื่องมือ   และสภาวะความเดือนร้อนดิ้นรนของคนจนเหล่านี้   เมื่อไม่ได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง มิหนำซ้ำถูกกดขี่อีก จึงได้ปรากฏว่าคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับความช่วยเหลือ และการชักจูงจากองค์กรเอกชน  และองค์กรอิสระต่าง ๆ ให้เข้าร่วมและกลายเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมือง   

คนจนบางกลุ่มเมื่อหมดฤดูทำนาทำไร่ หรือในสภาพฝนแล้ง น้ำท่วม การทำนาทำไร่ไม่ได้ผลก็ต้องทิ้งไร่นา  หลั่งไหลเข้ามาแออัดอยู่ในเมืองเพื่อหางานทำ เกิดการแออัด มั่วสุม จะเห็นได้ว่าในกรุงเทพฯ    มีชุมชนแออัดที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมกว่า 500 แห่ง ประชาชนในแหล่งดังกล่าวเป็นผู้ที่ยากจน ด้อยการศึกษา มีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ และมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความยากลำบาก สภาพแวดล้อมไม่ถูกลักษณะ เสื่อมโทรมทั้งในด้านความเป็นอยู่ ร่างกายและจิตใจ เมื่อไม่มีการดิ้นรน  มีเวลาว่างก็ประพฤติตัวเป็นไทยมุง  ใครเข้าจะเดินขบวน เขาจะประท้วงกันที่ไหน  หรือมีเหตุการณ์อะไรก็จะไปผสมโรงสมทบด้วย  ด้วยความว่างเปล่า และก็มีที่รับจ้างเป็นหน้าม้าไทยมุง  รับจ้างหาเสียง  รับแจกใบปลิวเถื่อน   ส่วนมากมักจะมั่วสุมกัน  ประพฤติสิ่งที่ไม่สมควรและผิดกฎหมาย เช่น เล่นการพนัน ติดสิ่งเสพติด ลักทรัพย์ จี้ทรัพย์ ก่อปัญหาแก่สังคมอย่างมาก

ความยากจนของคนในเมือง  ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนของราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ  จนไม่สามารถจะควบคุมรายจ่ายให้เหมาะสมกับรายได้   ความเจริญทางเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น ยิ่งกระตุ้นความต้องการของคนให้มีความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ จนเกินกำลังของคน เกิดความขัดแย้งระหว่างความต้องการในชีวิตที่ดีขึ้นกับสภาพของความเป็นจริง  มีระบบผ่อนส่งซึ่งมีประโยชน์ทำให้ได้สินค้ามาก่อนแล้วผ่อนชำระ   แต่ก็เป็นตัวการทำให้คนส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพที่เป็นหนี้เป็นสิน อันเนื่องมาจากความต้องการของคน เมื่อดิ้นรนหาทางออกไม่ได้ก็หันไปทำการทุจริตต่อหน้าที่คดโกง และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา

-    ปัญหาการขาดดุลการค้า  การขาดดุลการค้านับเป็นปัญหาหลักทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยต้องเผชิญติดต่อกันมาตลอดเวลา และได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เพราะ

ž      ไทยมีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีจำกัด และไม่สามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยี จึงได้กลายเป็นปัญหารุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาอาศัยต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกขณะ กล่าวคือการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ต้องพึ่งปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ    สินค้าที่ประเทศไทยผลิตได้จะต้องอาศัยตลาดจากต่างประเทศมากขึ้น  ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกกว้าง  ในระบบการค้าเสรีโดยเทคโนโลยีของเรายังตามเขาไม่ทัน   อีกทั้งเงินทุนก็ไม่เพียงพอที่จะต่อสู้    จนบางครั้งก็ถูกโจมตีระบบการเงินเพื่อทำลายคู่แข่งทางด้านเศรษฐกิจไปก็มี

แต่ดึกดำบรรพ์สินค้าของไทยเป็นสินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าว ถั่ว มัน และที่พัฒนามาในช่วงหลังก็คือ  สินค้าการบริการ  ซึ่งสินค้าเหล่านี้เพื่อแลกกับสินค้าต่างประเทศ ปัจจุบันไทยก็ยังผลิตสินค้าเช่นเดิม เพื่อแลกกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าทันสมัย ซึ่งไทยมีความต้องการเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น ความแตกต่างของราคาของสินค้าออก  และสินค้าเข้าจึงได้ขยายตัวมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นในอนาคต เช่น ราคาการนำเข้ารถยนต์ 1 คัน เราจะต้องส่งออกซึ่งข้าวที่ชาวนาผลิตได้ไม่น้อยกว่า 100 เกวียน  หรือเราต้องซื้อแผ่นซีดีโปรแกรมลิกขสิทธิ์หนึ่งแผ่น   ด้วยการแลกกับข้าวหนึ่งเกวียน  เป็นต้น  

ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ในปัจจุบัน  เทคโนโลยีเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดในต้นทุนการผลิต ผลิตผลเกษตร เช่น ข้าวสารราคาซื้อขาย 4.50 ต่อกิโลกรัมนั้น จะเป็นค่าเทคโนโลยีเสีย 3.50 บาท  เครื่องจักร 1  เครื่อง ราคา 500,000 บาท หากยุบเป็นเศษเหล็กจะมีราคาเหลือเพียง 1,000 บาท  แสดงว่ามูลค่าทั้งหมดของเครื่องจักรนั้นก็คือ เทคโนโลยี หรือภูมิปัญญาของผู้คิดค้นออกแบบและผลิตเครื่องจักรขึ้นมา ทั้งนี้การที่พึ่งตนเองไม่ได้ทางเทคโนโลยี กล่าวคือขาดความรู้ความสามารถที่จะออกแบบและผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งซ่อมแซมเมื่อชำรุด ย่อมหมายถึงว่า  ประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินมหาศาล  เพื่อซื้อความรู้ความสามารถดังกล่าวจากต่างประเทศ   อีกทั้งสังคมโลกยังถูกบังคับด้วยระบบลิกข์สิทธิ์ที่เอื้อประโยชน์โดยรวมกับประเทศพัฒนา  แต่ส่งผลลบอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นเรา

การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนสินค้าเข้า   จึงเป็นภาระหน้าที่หนักหน่วงต่อดุลย์การค้าและดุลย์การชำระเงินของประเทศ เพราะต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามา เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ และอื่น ๆ  มากมาย 

การเจือปนสินค้าก็ดี การส่งสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงไว้ก็ดี    หรือการบรรจุหีบห่อไม่ดี ทำให้สินค้าเสียหายล้วนแต่ทำให้เกิดความเสียหายในแง่ความเชื่อถือที่มีต่อสินค้าไทย ทำให้เสียลูกค้า นอกจากเป็นการทำลายเศรษฐกิจของชาติในทางอ้อมแล้ว ยังเป็นการทำลายเกียรติและศักดิ์ศรีของคนไทยและชาติไทยอีกด้วย

ค่านิยมของคนไทย คนไทยจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกโก้เก๋ในการใช้ของที่มาจากต่างประเทศ และมีความเชื่อว่าคุณภาพสินค้าของไทยสู้ต่างประเทศไม่ได้ จึงไม่รู้ว่าไทยผลิตสินค้าอะไรได้บ้างและคุณภาพเป็นอย่างไร เพราะผู้ผลิตไปใช้ตราของต่างประเทศเสียหมด ไม่กล้าบอกว่าผลิตในประเทศไทย เพราะเกรงว่าจะขายไม่ได้เพราะคนไทยไม่นิยม มีบางกรณีที่ผู้ผลิตมีสัญญาที่ต้องผลิต เพื่อการส่งออกในนามของลูกค้าต่างประเทศ คนไทยจึงไม่รู้จักและไม่มีโอกาสได้ใช้ มีเสมอที่คนไทยไปต่างประเทศแล้วซื้อสินค้าซึ่งผลิตในประเทศไทยเข้ามา และเข้าใจว่าเป็นของต่างประเทศ

-      นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจอื่น    อีกมากมาย

2.2.3   ปัญหาทางด้านสังคมจิตวิทยา                    

-          ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันที่เป็นสถาบันที่มีบุญคุณแห่งชาติ  การที่บ้านเมืองไทยเป็นสังคมเปิด  สิ่งต่าง ๆ จากภายนอกเข้ามามีอิทธิพลให้ชีวิตความเป็นอยู่และวิธีการดำรงชีพเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่รุมล้อมอยู่ทั้งการเมืองภายในและภายนอกประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  ทำให้ประชาชนอยู่ในยุคอันสับสนชวนให้หลงทิศทางและหลงประเด็นได้ง่าย สถาบันที่เป็นองค์คุณแห่งชาติก็มีปัญหารุมล้อมอยู่หลายประการ

โดยที่เวลา  และเหตุการณ์ได้พิสูจน์แล้วว่า สถาบันแห่งชาติทั้งสามมีคุณค้ำจุนชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดมา การมุ่งทำลายสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ  อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติภูมิของสถาบัน  เป็นต้นว่า การแอบอ้าง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  เพื่อสร้างอำนาจอิทธิพลของตนในหลาย ๆ รูปแบบ หลาย ๆ วิธี การสรรเสริญพระเกียรติคุณสถาบันพระมหากษัตริย์  และการกล่าวอ้างสถาบันทั้งสามในกาลเทศะต่าง ๆ  ถ้าแสดงออกพร่ำเพรื่อ  และแสดงออกด้วยวาจามากกว่าการประพฤติปฏิบัติ  แม้ผู้สรรเสริญกล่าวอ้างจะมีความบริสุทธิ์ใจมิได้มีความประสงค์ร้ายแต่ประการใด ก็อาจนำความเสื่อมเสียมาสู่สถาบันที่เราบูชาได้    อะไรที่มากเกินไปย่อมชวนให้ชินชาและอาจถึงรำคาญได้  ถ้าไม่ระมัดระวังให้อยู่ในขอบเขตพอเหมาะพองาม ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีจะสวมรอยพลอยหนุนให้เสื่อมความนิยมได้  ศาสนิกชนทั้งหลาย  ถ้าไม่ให้การศึกษาอบรมที่ถูกต้องเข้าถึงแก่นของธรรมแก่ประชาชน จะเป็นการให้ผู้มีมิจฉาชีพ   อาศัยร่มเงาของศาสนาประกอบการใช้เดียรฉานวิชา ทำให้ภาพของศาสนากลายเป็นยาเสพติดของคนโง่ไป   การตามจับสึกพระต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่สม่ำเสมอ  การแอบติดตามพระที่กระทำผิด  และเผยแพร่อย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ก็อาจส่งผลต่อความเสื่อมศรัทธาในศาสนา  ซึ่งจะนำพามาสู่การล่มสลายของสถาบัน  และสังคมไทยได้ในที่สุด

ประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า  เพราะคนไทยยึดมั่นในสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์   ชาติไทยจึงดำรงความเป็นไทยได้ตลอดมา   สิ่งใดก็ตามที่ทำให้จิตใจของคนไทยเสื่อมถอยไปจากสถาบันที่ถือว่าเป็นองค์คุณแห่งชาติแล้ว  การดำรงความเป็นชาติจะพลอยเสื่อมถอยไปด้วย  คนไทยทุกคนจะต้องตระหนักในข้อนี้   และผนึกใจกันยึดมั่นในการดำรงรักษาและเทิดทูนสถาบันดังกล่าวไว้ให้ได้ ช่วยกันแก้ไขจุดอ่อนและข้อบกพร่องที่มีอยู่ให้หมดไป ช่วยกันให้สถาบันที่ความบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยเนื้อแท้ทั้งศาสนาและพระมหากษัตริย์

-          ปัญหายาเสพติด  กำลังเป็นปัญหาสำคัญของชาติ  และเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพของคนเสื่อมโทรม   ปรากฏว่าผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทยมีประมาณมากกว่าล้านคน ในขณะที่ผู้ที่ติดยาจากการสำรวจในปี พ.. 2542  เป็นนักเรียนนักศึกษาถึงเกือบเจ็ดแสนคน  และที่น่าตกใจก็คือ  ในจำนวนเกือบเจ็ดแสนคน  เป็นนักเรียนในระดับมัธยมต้นกว่าครึ่ง   บุคคลเหล่านี้ควรจะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญของชาติ แต่กลับมาอยู่ในสภาพที่สุขภาพและจิตใจเสื่อมโทรม เป็นภาระและเป็นปัญหาต่อสังคมอย่างมาก  สำหรับผู้ติดยาเสพติดนั้นมักจะเกิดจากผู้ที่มีปัญหาขาดที่พึ่งทางใจและจิตใจไม่เข้มแข็งมั่นคง   ถูกชักจูงได้ง่าย   จึงพึ่งยาเสพติดเพื่อหนีปัญหา แต่ในที่สุดกลับเป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง เช่น ลักทรัพย์ ปล้น จี้ มั่วสุมทางเพศ ฯลฯ

-          นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสังคมจิตวิทยาอื่น ๆ  อีกมากมาย

2.2.4   ปัญหาทางด้านการทหาร               

-    ปัญหาชายแดน   เป็นปัญหากระทบกับประเทศเพื่อนบ้านโดยทั่วไป  

-    ปัญหาการก่อความไม่สงบ  ปัญหาภายในที่สำคัญในอดีต  เช่นปัญหาการต่อสู้กันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  กับรัฐบาลหรือปัญหาความพยายามในการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างเป็นต้น

-    ปัญหาด้านการทหารอื่น ๆ

2.2.5   ปัญหาทางด้านอื่น ๆ เช่น  ปัญหาภัยธรรมชาติร้ายแรง  ไม่ว่าจะเป็นดินถล่ม  หรือน้ำท่วม  ปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ ปัญหาผู้อพยพ  ปัญหาแรงงาน  และปัญหาอื่น ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ  

2.3         ความสัมพันธ์ของปัญหา

ถ้าจะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัญหาต่าง ๆ  ของชาตินั้น  เป็นการง่ายและแคบเข้า  ถ้าเรามองเห็นความสัมพันธ์ของอวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหายใจ , ระบบทางเดินอาหาร, ระบบการสูบฉีดโลหิต, ระบบประสาท และระบบการขับถ่าย เป็นต้น อวัยวะในระบบต่าง ๆ เหล่านี้  นอกจากจะมีระบบการทำงานเป็นระเบียบแบบแผนแล้ว  ยังต้องทำหน้าที่สัมพันธ์กันอย่างดีด้วย  ร่างกายเราจึงอยู่เป็นปกติและเจ้าของร่างกายจะรู้สึกสบายดี  ถ้าระบบใดขัดข้องจะมีผลกระทบไปถึงการทำงานของระบบอื่นด้วย      เช่น   หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงทั่วร่างกาย   ถ้าเส้นเลือดตีบแข็งโลหิตไม่สามารถจะเข้าไปเลี้ยงสมองได้   อาจทำให้เป็นอัมพาตหรืออาจจะถึงตายได้

ความมั่นคงของประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ความมั่นคงทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมจิตวิทยา  ด้านการทหาร และด้านอื่น ๆ นั้น   ต่างมีส่วนสัมพันธ์และกระทบซึ่งกันและกัน และมีผลต่อความมั่นคงของชาติ เช่น เมื่อระบบการเมืองมีปัญหาย่อมส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม   ทำให้ประเทศชาติอ่อนแอ   ปัญหาแทรกซ้อนที่ตามมาคือปัญหาการก่อความไม่สงบ   เป็นต้น     ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาด้านความมั่นคงนั้น  จะต้องสำรวจและพิจารณาอย่างมีบูรณาการ    ด้วยการนำเอาปัญหาความมั่นคงที่มาจากภายนอกทั้งในระดับโลก  ระดับภูมิภาค  และภายในประเทศ  ในแต่ละด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา  การทหาร  และด้านอื่น ๆ มาพิจารณา  และวิเคราะห์ร่วมกันไป

 

3.      ยุทธศาสตร์ชาติ  กับความมั่นคงแห่งชาติ

เพื่อให้มีความเข้าใจในความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์ชาติ  และความมั่นคงแห่งชาติ  ได้อย่างแท้จริง    เราควรจะได้ศึกษาถึงพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติให้เข้าใจกระจ่างก่อน  ทั้งนี้ก็เพื่อการกำหนดความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง

3.1   พื้นฐานยุทธศาสตร์ชาติ

3.1.1   ยุทธศาสตร์ชาติ[52]  หมายถึง  “ ศิลป  และศาสตร์ในการพัฒนา  และการใช้พลังอำนาจแห่งชาติทาง  การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคมจิตวิทยา  และการทหาร  ทั้งในยามปกติ และยามสงคราม  เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์แห่งชาติ “

พื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์คือ  การพิจารณาแนวความคิด “ความมุ่งประสงค์ของชาติ” , “ผลประโยชน์แห่งชาติ”, “วัตถุประสงค์แห่งชาติ”  และ “นโยบายแห่งชาติ”  รวมทั้งรูปแบบการพัฒนายุทธศาสตร์

3.1.2    ความมุ่งประสงค์ของชาติ (National Purpose)  หมายถึง  การแสดงออกของค่านิยมที่ค่อนข้างจะคงทนถาวร  หรือไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ ซึ่งชาตินั้นมีอยู่ดั้งเดิม  หรือตั้งแต่เริ่มแรก  โดยกำหนดขึ้นมาตามค่านิยมทางวัฒนธรรม  และจริยธรรมของชาตินั้น ๆ

ค่านิยม  หรือก็คือความชอบที่เป็นพิเศษ  เป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ  โดยความชอบเป็นพิเศษหรือค่านิยมนี้จะแสดงออกมาทางทัศนคติ  และพฤติกรรม  ซึ่งจะส่งผลสะท้อนออกมาเป็นเอกลักษณ์  หรือลักษณะประจำชาติ  สำหรับค่านิยมของไทยที่สรุปไว้มีอยู่ด้วยกันสี่ประการคือ[53]   การนับถือตัวบุคคล, การรักสนุก, การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  และการยึดหลักทางสายกลาง 

ในการกำหนดหรือยึดถือค่านิยมดังกล่าวนี้   จะมีทั้งข้อดี   และข้อเสีย    ทั้งนี้อยู่ที่การนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนกลุ่มใด  หรือเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ

นอกจากการพิจารณาความมุ่งประสงค์จากค่านิยมดังกล่าวแล้ว  เราสามารถพิจารณาได้จากในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ซึ่งในบทดังกล่าวนี้มักจะเป็นการกล่าวถึงความต้องการพื้นฐานของประชาชนภายในชาติ  และความต้องการพื้นฐานดังกล่าวนี้รัฐบาลจะต้องนำไปกำหนดเป็นนโยบายของชาติ  รวมทั้งกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชาติต่อไป

สำหรับอารัมภบทของรัฐธรรมนูญไทยที่ได้เคยกำหนดมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก  และสามารถที่จะสรุปออกมาเป็นความมุ่งประสงค์ของชาติคือ

-             การธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราช  และความมั่นคงแห่งชาติ

-             การพิทักษ์รักษาศาสนาให้อยู่ต่อไปอย่างถาวร

-             การเทิดทูนพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นพระประมุข    และมิ่งขวัญของปวงชน

-             การดำรงรักษาระบอบการปกครองประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

-             การเชิดชู  และคุ้มครองรักษาสิทธิ  และเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

-             การร่วมกันสร้างความเป็นธรรม  ความเจริญ  และความผาสุขให้เกิดขึ้นแก่ปวงชนชาวไทยถ้วนหน้า

3.1.3  ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests)

ผลประโยชน์แห่งชาติ หมายถึง แนวความคิดที่ได้ตริตรองอย่างรอบคอบแล้ว จากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งประมวลขึ้นจากความต้องการที่สำคัญที่สุด ที่ชาติจะขาดมิได้ รวมทั้งการคุ้มครองป้องกันตนเอง ความมั่นคงทางทหาร เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และบรรดาความมั่งคั่งทั้งหลายที่จะพึงมี   อย่างไรก็ตามผลประโยชน์แห่งชาติที่กำหนดขึ้นนั้น ก็จะต้องสอดคล้องกับความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะขาดเสถียรภาพทางการเมือง   เพราะขาดการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่นั่นเอง

ผลประโยชน์แห่งชาติที่ค่อนข้างจะถาวร  อาจอนุมานได้จาก

-          ความมุ่งประสงค์ของชาติ (National  Purpose) ได้อารัมภบทของรัฐธรรมนูญของประเทศ หรือ

-          อนุมานจากอุดมการณ์ของชาติ  และค่านิยมอันเกิดจากจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี

อุดมการณ์  (Ideology)  ลักษณะของอุดมการณ์นั้นมีผู้กล่าวว่าเป็นค่านิยมแบบหนึ่ง  รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น  เพื่อจัดตั้งอุดมการณ์ของชาติไทยขึ้น

ดร.กระมล  ทองธรรมชาติ  แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของอุดมการณ์ชาติไทยไว้ 5 ประการ

-    เทิดทูนและดำรงไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

-    พัฒนา   สร้างสรรค์      สถาบันทางการเมืองของประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง มีความรับผิดชอบต่อประชาชนโดยแท้จริง

-    ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจผสมที่มีความมั่นคงยุติธรรมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-    ยกระดับสังคมและวัฒนธรรม ให้ประชาชนมีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัดขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม และรับผิดชอบสูงต่อสังคม

-    ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดิน        ให้เป็นประชาธิปไตยที่สะอาด     บริสุทธิ์ ยุติธรรม และรับใช้ประชาชนโดยแท้จริง

ผลประโยชน์แห่งชาติ จะครอบคลุมบรรดาผลประโยชน์แห่งชาติ เช่น ความมั่นคงและอยู่รอดปลอดภัยของชาติ ความสงบเรียบร้อยภายในชาติ สิทธิมนุษยชนหรือเสรีภาพพื้นฐาน และการพัฒนามาตรฐานการครองชีพ หรือการอยู่ดีกินดีของประชาชนเป็นส่วนรวม

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าผลประโยชน์แห่งชาติ  จะมีผลมาจากความมุ่งประสงค์ของชาติก็ตาม   แต่ก็ยังมีลักษณะที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของสถานการณ์   หรือขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้มีอำนาจตัดสินตกลงใจในขณะนั้น    ผลประโยชน์รอง ๆ ลงไป อาจอยู่ในรูปของวัตถุประสงค์แห่งชาติ (National Objectives) และรูปแบบของนโยบาย (Policies) กำหนดการหรือโครงการ (Program) และพันธกรณี (Commitment) ที่เกี่ยวข้องตามสถานการณ์ของโลกที่แปรเปลี่ยนไปทุกวัน

มีข้อที่น่าสังเกต ประการหนึ่งก็คือ หากการคุกคามเกิดขึ้นแก่ประเทศใดประเทศหนึ่งในทันทีทันใด  และเป็นที่ประจักษ์ชัดโดยแน่นอนแล้ว ประเทศนั้นก็อาจจำเป็นจะต้องส่งกำลังทหารเข้าตอบโต้     หรือเข้าเผชิญต่อการปฏิบัติการทหารใด ๆ ที่คุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติ ที่ค่อนข้างจะคงทนถาวรโดยตรง

โดยหลักการ จะไม่สามารถพัฒนายุทธศาสตร์ชาติที่ไม่มีจุดหมายคือ ไม่มีกรอบกำหนดไว้โดยความมุ่งประสงค์และผลประโยชน์แห่งชาติได้

การกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติขึ้น     โดยหลักการ   เป็นเรื่องของผู้นำในคณะรัฐบาลปัจจุบันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงข้อจำกัด  หรือความลำเอียงของตน       อย่างไรก็ตาม  ผู้นำในคณะรัฐบาลก็จะต้องมีความรู้ และความรับผิดชอบต่อการดำเนินกรรมวิธีต่าง ๆ  เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ถูกต้องและเหมาะสม กรรมวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวก็คือเรื่องการดำเนินการทางการเมืองนั่นเอง ในการดำเนินกรรมวิธีนี้จะมีการกำหนดลำดับความสำคัญหรือลำดับความเร่งด่วน (Priority) ของผลประโยชน์ขึ้น  ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะไม่ได้ประกาศออกมา แต่ก็อาจอาศัยเอกสารการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล และถ้อยแถลงของนโยบายในรูปต่าง ๆ แต่ถ้านโยบายนั้น ๆ ไม่กระจ่างชัด    ผลประโยชน์และลำดับความเร่งด่วนก็จะไม่กล่าวถึง     ดังนั้น  การที่จะดูว่าผลประโยชน์แห่งชาติและลำดับความเร่งด่วนอยู่ที่ไหน ก็อาจดูได้จากพฤติกรรมของรัฐเป็นส่วนสำคัญ   เพราะพฤติกรรมรัฐเป็นสิ่งสำคัญที่ต่อเนื่องของการเมืองภายในโดยวิธีอื่นนั่นเอง

หลักการกว้าง ๆ ในการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

-    การอยู่รอดปลอดภัย (Survival)

-    การดำรงอยู่ของประชาชนในชาติ (Preservation of the People of the Nation)

-    การอยู่ดีกินดี (Well – Being)

-    การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ให้เกื้อกูลต่อผลประโยชน์ของชาติเหล่านี้ (Creation of an International Environment Favorable to these Interests)

ผลประโยชน์แห่งชาติ     ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามแนวความคิดของผู้นำในคณะรัฐบาลและตามเป้าหมายที่ได้วางไว้   นอกจากนั้น การแบ่งมอบทรัพยากรจะเป็นการแสดงถึงเหตุผลของลำดับความเร่งด่วนของผลประโยชน์แห่งชาติด้วย

หากผลประโยชน์แห่งชาติที่มั่นคงถาวร และประชาชนส่วนใหญ่ หรือกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ยอมรับ   ก็น่าจะเป็นความมุ่งประสงค์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์แห่งชาติ

โดยสรุป ในการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจเรื่องผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง เพราะประโยชน์แห่งชาตินั้น เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ชาติจะต้องมุ่งบรรลุถึง แม้ว่าจะมีความยากลำบากในการกำหนดให้ถูกต้อง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นอันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นอันขาด ยิ่งกว่านั้นนักยุทธศาสตร์ยังจะต้องพิสูจน์หาผลประโยชน์ของชาติอื่น ทั้งฝ่ายมิตรและฝ่ายศัตรูเพราะผลประโยชน์แห่งชาตินั้น อาจมีผลกระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติของตน หรือส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติตน (ผลประโยชน์ร่วมกัน)

ตัวอย่าง  ผลประโยชน์แห่งชาติของไทยที่กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี พ..2535 ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

-    การดำรงอยู่ของรัฐอย่างมีเอกราชอธิปไตย  และบูรณภาพแห่งดินแดน

-    ความเกษมสุขสมบูรณ์ของประชาชน

-    ความเจริญก้าวหน้าโดยส่วนรวม    ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสถาบันการปกครองที่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน

-    ความมีเกียรติและศักดิ์ศรีในประชาคมระหว่างประเทศ

3.1.4  วัตถุประสงค์แห่งชาติ  (Notional Objecting)

วัตถุประสงค์แห่งชาติ  คือจุดหมายหรือเป้าหมายสำคัญของชาติที่ต้องมุ่งไปถึง ด้วยการใช้ความพยายามและขุมกำลัง หรือกำลังอำนาจแห่งชาติทั้งปวง

วัตถุประสงค์แห่งชาติ แบ่งเป็น 2 อย่างคือ

-          วัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติ  (Basic National Objectives) หมายถึง ความมุ่งประสงค์ต่าง ๆ   หรือเป้าหมายต่าง ๆ อันเป็นหลักมูลฐานของชาติ ซึ่งกว้างขวางมาก มีลักษณะมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น บางครั้งก็ยากที่จะดำเนินการให้บรรลุถึงได้ รัฐบาลจะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง  ในการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายของชาติทุกครั้ง จะยกเอาวัตถุประสงค์มูลฐานขึ้นมาเป็นหลักพิจารณาร่วมด้วยเสมอ

-          วัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติ    (Specific National Objectives) หมายถึง เป้าหมายต่าง ๆ ของชาติ  ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมั่นคงถาวรยั่งยืน และบางครั้งก็ไม่สามารถจะดำเนินการให้บรรลุถึงได้ทั้งหมด เป้าหมายเหล่านี้คงมีลักษณะเป็นการชั่วคราว ที่จะผ่านไปสนองวัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติ แต่จะต้องถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ การกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติควรสำนึกอยู่เสมอว่า เมื่อกำหนดขึ้นแล้วจะเป็นสะพานก้าวไปสู่ หรือขจัดอุปสรรคขัดขวางต่าง ๆ ในอันที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติ

จากคำจำกัดความ หรือความหมายของวัตถุประสงค์แห่งชาติข้างต้นจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์นั้น อาจนำไปใช้แทนจุดมุ่งหมาย (Aims) หรือจุดประสงค์ (Goals) หรือความมุ่งประสงค์ (Purposes)   ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนในการศึกษาเรื่องราวของยุทธศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากจะคิดว่าจุดมุ่งหมายก็ดี จุดประสงค์ก็ดีหรือความมุ่งประสงค์ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นจุดหมายปลายทาง (Ends)  ก็จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์แห่งชาติกับผลประโยชน์ของชาติ   ยังมีอยู่อย่างใกล้ชิด  และยากที่จะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด  เพราะการที่จะมีสิ่งใดก็ตามที่จะมีผลกระทบถึงความอยู่รอดของชาติ  หรือความเจริญก้าวหน้าของชาติแล้ว ย่อมอยู่ในข่ายผลประโยชน์แห่งชาติทั้งสิ้น  และเป็นการยากที่จะระบุลงไปให้ชัดแจ้ง 

แต่ความจำเป็นในการวางแผน และการปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์แห่งชาติไว้ให้ได้  ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องกำหนดที่หมาย  หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนลงไป ดังนั้นผลประโยชน์แห่งชาติ   จึงต้องแสดงออกมาในรูปของวัตถุประสงค์แห่งชาติ

วัตถุประสงค์แห่งชาติ คือจุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้นให้แน่ชัด เพื่อประโยชน์การวางแผนและปฏิบัติการ

ตัวอย่าง วัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติของไทยที่กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรปี พ..2535 ได้กำหนดไว้ดังนี้

-          ธำรงไว้ซึ่ง เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร

-          ธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และสถาบันพระมหากษัตริย์

-          ธำรงไว้ซึ่งศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย

-          เสริมสร้างสวัสดิภาพและความผาสุกของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขอย่างถาวร

-          พัฒนากำลังอำนาจของชาติ   เพื่อความมั่นคงก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศทั้งหลาย

-          การพัฒนาและเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานเพื่อความมั่นคงประชาชาติ

3.1.5  นโยบายแห่งชาติ (National Policy)

นโยบายแห่งชาติ หมายถึง หนทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ หรือเป็นข้อความแสดงแนวทางปฏิบัติ ซึ่งรัฐบาลแห่งชาติกำหนดขึ้นในอันที่จะใช้ดำเนินการ     ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งชาติ

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Policy)

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติคือ     แนวทางหรือหนทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดปลอดภัยและความเจริญก้าวหน้าของชาติ    โดยได้มีการพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม ภายใต้สถานการณ์ความจำเป็นและทรัพยากรหรือขีดความสามารถของชาติที่มีอยู่ในอันที่จะนำชาติไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นไว้

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติจึงเป็นทิศทางหลักในการแก้ไขปัญหา เพื่อผลประโยชน์และความมั่นคงระยะยาวของชาติ โดยมุ่งระดมพลังอำนาจของชาติ และผสมผสานผลประโยชน์ของชาติทุกด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การป้องกันประเทศ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ให้เป็นไปโดยสอดคล้องกัน ให้บังเกิดผลดีต่อความอยู่รอดปลอดภัย และความเจริญก้าวหน้าของชาติทุกด้านและสามารถดำรงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของชาติ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ มีความสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา   บางส่วนของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดไว้แล้วในนโยบายรัฐบาล  นโยบายความมั่นคงแห่งชาติได้นำมาระบุไว้ให้เกิดความสำคัญ   และจัดลำดับความเร่งด่วนของปัญหาสูงขึ้น   รวมทั้งการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสำหรับบางเรื่องของนโยบายความมั่นคงแห่งชาตินั้น   เป็นเรื่องที่มีระดับความลับสูง   ไม่สมควรเปิดเผยต่อสาธารณชน

คำว่า “นโยบายของรัฐ” บางครั้งก็เรียกว่า “รัฐประศาสนโยบาย” หรือ “นโยบายสาธารณะ” (Public Policy) ซึ่งในความหมายอย่างกว้าง ๆ หมายถึง “สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง” หรือในความหมายแคบ ๆ หมายถึง “แนวทางปฏิบัติของรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นที่กำหนดวัตถุประสงค์แน่นอนเพื่อให้กลุ่มบุคคล  หรือหน่วยงานดำเนินการแก้ปัญหา   ซึ่งกำลังเกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจ”

การพิจารณากำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทั่วไป จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญที่นำมาประกอบการพิจารณา ที่สำคัญได้แก่  1) วัตถุประสงค์แห่งชาติ (National Objective) อันเป็นเป้าหมายที่ชาติต้องการบรรลุถึงทั้งวัตถุประสงค์มูลฐาน และวัตถุประสงค์เฉพาะ  2) แนวนโยบายแห่งรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแนวทางกว้าง ๆ ในการบริหารประเทศสุดแต่รัฐบาลจะเลือกใช้  3) นโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งปกติแล้วย่อมกำหนดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของประเทศในระยะนั้น ๆ  4) สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตและ  5) ขีดความสามารถของชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทุนที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา การกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ต้องกำหนดขึ้น โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของชาติ และจะดำเนินภารกิจภายหลังที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะของชาติแล้ว

ในการที่จะกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติขึ้นมาได้ ก่อนอื่นเราจะต้องทราบว่าอะไรคือสิ่งที่ชาติต้องการคือสิ่งที่พึงปรารถนา  อะไรเป็นผลประโยชน์ของชาติ (National Interests) อะไรคือวัตถุประสงค์ของชาติ (National Objectives)  เป็นเป้าหมายที่ชาติจะต้องหาทางบรรลุถึง

โดยเหตุที่นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อ “ความสำเร็จ” ของการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือจะต้อง  ประเมินให้ได้ว่าอะไรเป็นภัยที่คุกคามต่อประชาชน  ต่อแผ่นดินและวัฒนธรรมของเรา ไม่ว่าจะเป็นภัยที่คุกคามเราอยู่ในวันนี้และภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในวันหน้า

ส่วนประกอบของนโยบาย  ส่วนประกอบที่สำคัญอย่างน้อยที่สุดมีดังนี้

-    เป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้น  หรือคาดว่าจะเกิดขึ้น

-    มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอน

-    มีความตั้งใจที่จะนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

3.1.6  โครงสร้าง  และการกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ชาติ

ในสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้      หากวิเคราะห์ดูให้ถ่องแท้แล้ว  ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าค่อนข้างจะสับสนมากพอสมควร  เพราะสถานการณ์ต่าง ๆ แต่ละภูมิภาคของโลกได้ผันแปร  และก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน    ฉะนั้น กรรมวิธีต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดรูปแบบของยุทธศาสตร์  ก็ค่อนข้างจะยุ่งยากและสลับซับซ้อนมาก    ยิ่งไปกว่านั้น   ลักษณะโดยทั่วไปของยุทธศาสตร์ก็เป็นเช่นเดียวกันกับลักษณะของมนุษย์อื่น ๆ ซึ่งต้องการความพยายามในการแก้ปัญหาอยู่เสมอและไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหา  จะต้องพยายามหาทางแก้ไขให้ตรงจุดและมีความเข้าใจในปัญหาเป็นอย่างดี วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม และมักนิยมใช้กันมาก ก็คือ การทำความเข้าใจในตัวปัญหาอย่างกว้าง ๆ เสียก่อน แล้วจึงศึกษาในรายละเอียดเป็นขั้นตอนต่อไป  มีสุภาษิตภาษาอังกฤษกล่าวไว้ว่า “Can’t see the forest for the trees”      ซึ่งแสดงถึง    ความหมายในวิธีดำเนินการแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดีว่า จะดำเนินการตามลำดับหรือเป็นขั้นตอนอย่างไร

การกำหนดรูปแบบของยุทธศาสตร์ขึ้น  ก็เป็นกรรมวิธีในการแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ แบบหนึ่ง (Problem-Solving Process)   โดยในขั้นแรก  นักยุทธศาสตร์จะต้องรับทราบจุดหมายปลายทาง (End)  หรือพิสูจน์ทราบจุดหมายปลายทางที่เขาประสงค์จะบรรลุถึงซึ่งก็คือ “ผลประโยชน์” (Interests)   หรือ  “วัตถุประสงค์” (Objectives)  นั่นเอง

ขั้นต่อไป นักยุทธศาสตร์จะต้องเพ่งเล็งไปยัง “ขีดความสามารถ” (Capabilities) ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ตน ขีดความสามารถดังกล่าวนี้ ก็จะมี “พลังอำนาจแห่งชาติ” (National Power) เป็นเครื่องบ่งชี้  ขีดความสามารถเหล่านี้  รวมถึง การเศรษฐกิจ การทหาร การเมือง และสังคม-จิตวิทยา ขีดความสามารถเหล่านี้คือ ขีดความสามารถทั้งสิ้นทั้งปวงที่อยู่ในรัฐชาตินั้น ซึ่งก็คือองค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาตินั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตอยู่ว่า องค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาตินั้น สามารถเป็นไปได้ทั้งบวกและทางลบ ก็คือ ข้อดี หรือข้อที่ส่งเสริมและเกื้อกูล ส่วนทางลบก็คือ ข้อเสีย หรือข้อจำกัด  นักยุทธศาสตร์จะประเมินค่าทางเลือกของตนทุกทางเลือก และเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุดขึ้น    เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทาง หากเห็นว่าทางเลือกนั้นยังมีจุดอ่อนก็จะต้องประดิษฐ์ “วิธีการ” (Methods) ขึ้น  เพื่อเสริมแต่ง หรือเพื่อเป็นหลักประกันที่จะให้บรรลุจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการต่าง ๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น จะปรากฏอยู่ในนโยบายของชาติ (National Policies) โครงการ (Program) และพันธกรณีต่าง ๆ (Commitments) และอาจกำหนดขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางของชาติอย่างดีที่สุดนั่นเอง

เมื่อพิจารณากรรมวิธีนี้โดยตลอด จะเห็นได้ว่า นักยุทธศาสตร์ได้รับอิทธิพลต่าง ๆ จากสิ่งที่เราเรียกว่า “แรงผลักดัน” (Forces) ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ทางสังคม-จิตวิทยา การจัดหน่วยงาน อุดมการณ์ และทางเทคโนโลยี เป็นต้น รูปแบบของแรงผลักดันนั้น อาจเกิดขึ้นจากในประเทศตนและจากระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักยุทธศาสตร์ยังจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องทิศทางของแรงผลักดันเหล่านั้นที่จะเคลื่อนที่เข้ามา รวมทั้งวิธีที่เข้ามาด้วยและการเคลื่อนที่เข้ามานี้ อาจเป็นผลกระทบต่อจุดหมายปลายทางของชาติ ขีดความสามารถของชาติ หรือวิธีการต่าง ๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถของชาติ เราอาจเรียกทิศทางของแรงผลักดันเหล่านี้ว่า “แนวโน้ม” (Trend)

นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว นักยุทธศาสตร์ยังอาจได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของตนเองในเรื่องเกี่ยวกับ “ภัยคุกคาม” (Threats)   ซึ่งภัยคุกคามนี้โดยปกติจะปรากฏอยู่ในรูปของการปฏิบัติการต่าง ๆ หรือการเข้าไปปฏิบัติการยุ่งเกี่ยวกับรัฐอื่น ซึ่งขัดแย้งกับจุดหมายปลายทางของเรา

โดยสรุป พึงระลึกไว้ว่า รูปแบบของยุทธศาสตร์ คือ กรรมวิธีในการแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ นั่นเอง ดังนั้น นักยุทธศาสตร์หรือนักศึกษายุทธศาสตร์ ควรจะริเริ่มกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์อย่างง่าย ๆ ขึ้น     และสร้างรูปแบบให้ตรงกับระดับความต้องการ   หรือความปรารถนาของตน   รวมทั้งเสริมแต่งให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น

หากเรายอมรับการกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ เราอาจกำหนดโครงสร้างยุทธศาสตร์ชาติขึ้นได้ดังนี้

แบบที่ 1

แบบที่ 2

ความมุ่งประสงค์ของชาติ

ผลประโยชน์ของชาติ

วัตถุประสงค์ของชาติ

นโยบายของชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ

ความมุ่งประสงค์ของชาติ

ผลประโยชน์ของชาติ

นโยบายของชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ

 

อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างของทั้งสองแบบนั้นอยู่ที่ว่า ในแบบที่ 1 ได้กำหนดให้มีวัตถุประสงค์ของชาติ เป็นเป้าหมายรองจากผลประโยชน์ของชาติไว้ ส่วนในแบบที่ 2 ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของชาติไว้คือ จากผลประโยชน์ของชาติก็ตรงมายังนโยบายของชาติ โดยถือเอาผลประโยชน์ของชาติเป็นเป้าหมายโดยตรง (เนื่องจากการกำหนดผลประโยชน์มีความชัดเจนมาก)

ได้กล่าวในตอนต้นมาแล้วว่า แนวความคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาตินั้น จะกำหนดขึ้นให้แน่ชัดลงไปไม่ได้ง่ายนัก  เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่มากมายด้วยกัน แม้จะมีหลักทั่วไปไว้ว่า   ผลประโยชน์ของชาตินั้น เป็นสิ่งที่ผู้นำในคณะรัฐบาลที่กำลังบริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่ามีรัฐบาลประเทศใด ๆ ในโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบันกำหนดผลประโยชน์ของชาติตนออกมาโดยแน่นอนหรือตรงไปตรงมา แต่เราก็อาจพิจารณาได้จากนโยบาย   หรือการตัดสินใจของรัฐบาลนั้น ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป นอกจากนั้น ถ้าหากจะวิเคราะห์กันจริง ๆ ถึงผลประโยชน์ของชาติใดแล้ว ก็มักจะอาศัยปัจจัยหรือข้อมูลจากการวางแผนการใช้งบประมาณของประเทศนั้น ๆ   ซึ่งจะมองให้เห็นความสำคัญ หรือการเน้นหนักถึงการใช้เงิน และทรัพยากร     เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ    และจะเป็นแนวทางให้เราทราบถึงผลประโยชน์ของชาติ และลำดับความเร่งด่วนของผลประโยชน์ของชาตินั้น ๆ ได้

3.1.7  การประเมินยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategic Appraisal)

การประเมินยุทธศาสตร์ชาติที่จะกล่าวต่อไปนี้  เป็นกรรมวิธีในการแก้ปัญหาแบบหนึ่ง   ทำนองเดียวกันกับการประมาณสถานการณ์ (Estimate of the Situation) ของการแก้ปัญหาทางทหาร แต่อาศัยการวิเคราะห์แนวความคิดของการใช้พลังอำนาจของชาติ (National Powers) ซึ่งเป็นเครื่องมือ หรือขีดความสามารถของชาติที่มีอยู่ และพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถเหล่านั้นให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ชาติจะต้องเผชิญในอนาคต เพื่อความมั่นคงของชาติอันเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่ชาติจะต้องดำรงรักษาไว้ให้ได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การประเมินยุทธศาสตร์ชาติก็จำเป็นต้องดำเนินการวิเคราะห์ค่าของการเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Risk-Benefit) อันเกี่ยวกับพลังอำนาจของชาติที่มีอยู่ รวมทั้งข้อจำกัด (Constraints)   เกี่ยวกับการใช้พลังอำนาจเหล่านั้น    ซึ่งมีปัจจัยจะต้องพิจารณาจากข่าวสารต่าง ๆ  จำนวนมากมาย   การดำเนินการวิเคราะห์ดังกล่าว เป็นกรรมวิธีที่มีความมุ่งหมาย 3 ประการ ที่สำคัญคือ

-          เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์วัตถุประสงค์แห่งชาติเผื่อเลือก

-          เพื่อพัฒนา และ/หรือกำหนดทางเลือกนโยบายที่น่าจะเป็นไปได้ของชาติ

-          เพื่อวิเคราะห์ขีดความสามารถของชาติอื่น ที่อาจมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของชาติตน

สำหรับขั้นตอนในการวิเคราะห์ประเมินยุทธศาสตร์ชาติมีดังนี้

ขั้นที่ 1  :  ระบุปัญหา (Problem Statement)  การระบุปัญหานับว่าเป็นกุญแจสำคัญ   ที่มุ่งไปสู่ขอบเขตของการวิเคราะห์  การระบุปัญหาเป็นการชี้ให้เห็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  ให้ผู้วิเคราะห์เสนอแนะถึงนโยบายของชาติที่ควรจะเป็น   หรือต้องการให้ผู้วิเคราะห์กำหนดขีดความสามารถของชาติ    เพื่อบรรลุเป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของชาติที่ควรจะเป็นโดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของชาติที่มีอยู่ แต่ผู้วิเคราะห์พึงระลึกไว้ว่าการระบุปัญหาในขั้นนี้ จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์ขีดความสามารถเปรียบเทียบของชาติอื่น ๆ ด้วย

ขั้นที่ 2  : พิสูจน์ทราบผลประโยชน์ของชาติ (Identify National Interests)เมื่อได้ระบุปัญหาในขั้นที่ 1  ที่แน่ชัดแล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องพิสูจน์ทราบผลประโยชน์ของชาติต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อปัญหา   กล่าวคือ   พิสูจน์ทราบผลประโยชน์  และวัตถุประสงค์ของชาติที่อาจขัดแย้ง หรือส่งเสริมขีดความสามารถของชาติตนอย่างไร ผู้วิเคราะห์ต้องระลึกไว้เสมอว่า ผลประโยชน์ชาติอื่น อาจเป็นผลเนื่องมาจากทางประวัติศาสตร์ การปฏิบัติใด ๆ ของคณะรัฐบาล หรือการแสดงประชามติออกมาก็ได้ ผลประโยชน์ของชาตินั้นย่อมหมายรวมถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ชาติมีความเกี่ยวข้องอยู่ และข้อได้เปรียบเทียบของชาตินั้น และอย่างน้อยที่สุด ก็ต้องพิสูจน์ทราบถึงความมุ่งประสงค์ของชาตินั้น เป็นการเปรียบเทียบด้วย

การประเมินยุทธศาสตร์ชาติ

  ระบุปัญหา

 
 


ขั้นที่ 1 ……………………………………..

 

  พิสูจน์ทราบผลประโยชน์ของชาติ

 
ขั้นที่ 2 …………………………

 

 


ขั้นที่ 3 …………………………….

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 3   ผังแสดงขั้นตอนการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ

 
 

 

 


ในการพิจารณาผลประโยชน์ของชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้นำทางการเมืองที่กำหนดขึ้นนั้น   ผู้วิเคราะห์ต้องพิจารณาความสำคัญของแต่ละผลประโยชน์สำคัญในปัจจุบัน  มีมากน้อยเพียงไร     และจะต้องพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

สมมติฐาน (Assumptions)  ในการวิเคราะห์ขั้นที่ 2 นี้  อาจมีปัจจัยบางประการที่จะต้องพิจารณาในการระบุปัญหา   เพื่อจำกัดขอบเขตของการวิเคราะห์  และอาจมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดสมมุติฐานขึ้นตามสถานการณ์และแนวโน้มในปัจจุบัน สมมุติฐานที่น่าจะกำหนดขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์นั้น อาจได้แก่

-       รูปแบบของรัฐบาล จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงในห้วงระยะเวลาของการวิเคราะห์

-       พลังอำนาจภายนอก จะยังคงดำรงความช่วยเหลือแก่การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

-       ระบบความมั่นคงร่วมกัน จะยังคงเป็นผลระหว่างห้วงระยะเวลาของการวิเคราะห์

อย่างไรก็ตาม   การกำหนดสมมุติฐานขึ้นนั้น   ก็จะต้องมีลักษณะของความสมจริง   ความมีเหตุผลและความเกี่ยวข้อง    กับการระบุปัญหาในขั้นที่ 1      และสอดคล้องกับผลประโยชน์ที่พิสูจน์ทราบขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ของขั้นต่อไป และสมมุติฐานนี้ต้องไม่เป็นข้อจำกัดในการที่จะแก้ปัญหาต่อไปด้วย

ในขั้นที่ 2 นี้เอง หลังจากได้ดำเนินตามขั้นตอนคือ กำหนดสมมุติฐานขึ้นแล้ว ก็อาจระบุปัญหาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (Redefine Problem) เพื่อความกระจ่างชัดในการวิเคราะห์ต่อไป

ขั้นที่ 3  :  ตรวจสอบสภาวะสิ่งแวดล้อม  (Examine International Environment)   การดำเนินการในขั้นนี้ นับว่ามีความสำคัญคือ การนำเอาผลประโยชน์ที่พิสูจน์ทราบแล้วในขั้นที่ 2  มาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง   เพื่อหาความสัมพันธ์ของผลประโยชน์เหล่านั้น ภายใต้สิ่งแวดล้อมระหว่างชาติ  การตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นทางนำมาซึ่งผลประโยชน์ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

-       ผลประโยชน์ที่ขัดกัน (Conflicting Interests)  ผลประโยชน์ในลักษณะนี้ จะเป็นอุปสรรคในการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของชาติ หรือวัตถุประสงค์เป็นส่วนรวม ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น “ภัยคุกคาม” (Threats) ผลประโยชน์ในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นได้ แม้ในประเทศที่เป็นมิตรหรือฝ่ายเดียวกันก็ตาม  ซึ่งจะเกิดเป็นอุปสรรคแก่การกำหนดวัตถุประสงค์ หรือกำหนดนโยบายของชาติได้ในการนี้จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ผลประโยชน์และนโยบายของชาติ ที่น่าจะเป็นศัตรูของชาติตน   เพื่อทราบกำลังและแนวโน้มของภัยคุกคามเหล่านั้น

-       ผลประโยชน์ที่เกื้อกูล  (Complimentary Interests) ผลประโยชน์ในลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่มีผลเกื้อกูล หรือส่งเสริมขีดความสามารถของชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ทีกำหนดไว้ ผลประโยชน์เหล่านี้เองจะเป็นผลกระทบในด้านดี หรือด้านสนับสนุนผลประโยชน์ของชาติตนซึ่งเรียกว่า “โอกาส” (Opportunities)

ในการวิเคราะห์ “โอกาส” นี้เอง ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์วัตถุประสงค์และนโยบายของมิตรประเทศของเรา เพื่อจะได้รับทราบกำลัง และแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดขึ้นด้วย

โดยสรุป สำหรับการวิเคราะห์ขั้นที่ 3 เป้าหมายของการวิเคราะห์ได้แก่ “ภัยคุกคาม” และ “โอกาส” เพื่อพิสูจน์ทราบถึงกำลัง และแนวโน้มระหว่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางบวก (เกื้อกูล) และทางลบ (ขัดกัน) ก็ตาม  ซึ่งมีปัจจัยในการพิจารณาต่าง ๆ มากมายด้วยกัน เช่น ปัจจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมจิตวิทยา การจัดองค์การระหว่างประเทศ อุดมการณ์ ฯลฯ  เป็นต้น

สุดท้ายของการวิเคราะห์ขั้นที่ 3  หากจำเป็นอาจต้องมีการทบทวนการระบุปัญหาในขั้นที่ 1  กล่าวคือ   ในระหว่างการวิเคราะห์ขั้นที่ 3 ผู้วิเคราะห์อาจพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ และผลกระทบเช่นนั้นอาจส่งผลสะท้อนถึงตัวปัญหาภายหลังจากการพิจารณาทบทวนการระบุปัญหาแล้ว อาจกำหนดปัญหาขึ้นใหม่ เพื่อให้เข้ากับแนวความคิดของผู้วิเคราะห์ต่อไป

ขั้นที่ 4  : การพัฒนาทางเลือกของวัตถุประสงค์หรือนโยบาย (Develop Alternative National Objectives or Policies Options)     การวิเคราะห์ในขั้นนี้มุ่งสู่เป้าหมายของชาติโดยตรง แม้ว่าเป้าหมายของชาติจะเป็นลักษณะของการแสดงออกทางคุณภาพอันปรารถนาก็ตาม  แต่วัตถุประสงค์อาจกำหนดขึ้นโดยเฉพาะ และมักจะอยู่ในลักษณะของการแสดงออกทางจำนวนอยู่บ่อย ๆ เพราะเหตุว่า ในลักษณะของวัตถุประสงค์นั้น เป็นจุดหมายปลายทางที่จะต้องทุ่มเทความพยายาม   รวมทั้งการใช้ทรัพยากรทั้งปวง โดยการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เหมาะสม  เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์นั้น ทางเลือกของยุทธศาสตร์ก็คือ หนทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์นั่นเอง

ความมุ่งหมายของการวิเคราะห์ขั้นนี้   ก็เพื่อจะพัฒนาทางเลือกทั้งสิ้นอย่างเต็มที่    ซึ่งทุกทางเลือกจะต้องเป็นสิ่งที่น่าจะปฏิบัติได้ในสภาพการณ์ระหว่างประเทศ  และถ้าเป็นผลสำเร็จก็จะทำให้ผลประโยชน์ที่เกื้อกูลมีค่าสูงขึ้น   ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการลดผลประโยชน์ที่ขัดกัน (ในขั้นที่ 3) ด้วยทางเลือกเหล่านี้  จะต้องระบุให้แน่ชัด  และมีลักษณะสรุปย่อในรูปของนโยบาย  รวมทั้งอำนวยการในการปฏิบัติการ  หรือจัดให้มีโครงการ (Programs) เพื่อเป็นการขยายผลการปฏิบัติขึ้นในการพัฒนาย่าน   หรือขอบเขตของทางเลือก ผู้วิเคราะห์มักจะพิจารณาหนทางปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้

-       ดำรงรักษาสถานภาพเดิม

-       ยกเลิกหรือเลิกล้มสถานภาพเดิม

-       ประนีประนอมใน ข้อ 1) และ 2) ซึ่งผู้ประนีประนอมจะต้องแสดงวิธีการแก้ปัญหา   และในขณะเดียวกันก็จะต้องหาวิธีการยอมรับวิถีทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่อปัญหานี้

ผู้พิจารณาทางเลือก มักจะกลายเป็นผู้ให้ข้อเสนอทางเลือกเสียเอง  และผู้วิเคราะห์ควรจะเลี่ยงวิธีการเช่นนี้    ถ้าหากหาทางพิสูจน์ความมีเสรีของการเลือกไม่ได้ ผลที่สุดการวิเคราะห์ก็จะมีค่าแต่เพียงเล็กน้อยสำหรับผู้มีหน้าที่ตัดสินใจเท่านั้น มันเป็นความรับผิดชอบของการวิเคราะห์ที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ หรือต่อเนื่องต่อหนทางเลือกทั้งปวง แม้ว่าบางทีอาจต้องยอมรับในหลายสิ่งหลายอย่าง รวมทั้งความแตกต่างของการเลือกเหล่านั้น

การวิเคราะห์ในขั้นนี้ เป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ที่สำคัญ ซึ่งต้องการตัดสินใจอย่างกว้าง ๆ การมองการณ์ไกล   มีจิตนาการที่สูงส่ง และการสร้างสรรค์อันเหมาะสม

ขั้นที่ 5  :  การวิเคราะห์ทางเลือก  (โดยการอาศัยการใช้พลังอำนาจ)  ขั้นต่อไปในการวิเคราะห์ก็คือ การประเมินพลังอำนาจแห่งชาติทุกองค์ประกอบ  เพื่อกำหนดทางเลือกยุทธศาสตร์สำรองถ้าหากสามารถใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ได้    ทางเลือกสำรองได้วางไว้เพื่อให้เหมาะกับองค์ประกอบของขีดความสามารถของชาติ ตามรูปการณ์ของการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ  (เพื่อทราบกรณีเสียดุลและอุปสรรค โดยพิจารณาความยอมรับได้ และความเหมาะสม)

การประเมินพลังอำนาจ ย่อมมีอิทธิพลอย่างแรงต่อสถานที่และเวลา แผนการใช้พลังอำนาจแห่งชาติ ภายใต้สภาพแวดล้อมของสถานที่ และเวลาจะช่วยกำหนดประโยชน์ของการใช้พลังอำนาจแห่งชาติโดยเฉพาะ  และความสามารถของการใช้พลังอำนาจแห่งชาติ เป็นระบบเพื่อวัตถุประสงค์แห่งชาติ   หรือเพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่เกี่ยวข้อง ความสามารถของชาติจะมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กำลังและแนวโน้มจะชัดเจนขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับพันธมิตร และรัฐบาลที่ให้ความร่วมมือในพื้นที่ซึ่ง กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารสามารถจะนำไปใช้ได้

แผนการใช้พลังอำนาจแห่งชาติ   ย่อมช่วยเหลือในการกำหนดผลประโยชน์ของชาติ   กำลังอำนาจซึ่งไม่สามารถใช้ได้ตามแผน หรือไม่มีในแผน   ก็ไม่สามารถจะนำมาใช้ได้ ที่ใดที่กำลังทหารและกำลังทางเศรษฐกิจพร้อมที่จะอำนวยให้  ปรัชญาทางการเมือง และสังคม-จิตวิทยา ก็จะมีความยุ่งยากในการใช้กำลังนอกประเทศเช่นนี้ การประเมินพลังอำนาจต้องรวมถึงการพิจารณาปัญหา และโอกาสภายในที่มีอยู่ และข้อจำกัดในการใช้พลังอำนาจ เพื่อเสริมผลประโยชน์ของชาติเหล่านั้น

ในขั้นนี้ควรจะประเมินค่าของการเสี่ยง และประโยชน์ที่ได้รับ  ทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละหนทางเลือก และควรตอบปัญหาเหล่านี้

1.    ค่าของการเสี่ยงแต่ละหนทางในรูปของ

-       ค่าการเมืองภายใน และการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การสนับสนุนของประชาชน  พันธมิตรลดค่านิยมลงไป

-       ค่าทางสังคม ในการจัดตั้งลำดับความเร่งด่วนทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเงินและกำลังพล

-       ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น หรืออุปสรรคที่ขัดขวางผลประโยชน์ทางทหาร   และทางเศรษฐกิจ

2.    ประโยชน์ที่ปรากฏขึ้นในแต่ละทางเลือก    ในรูปของผลประโยชน์จริง ๆ หรือสิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ หรือนโยบายปัจจุบัน มีอะไรบ้าง

3.    อะไรที่เกินดุล (Tradeoffs) ในรูปของค่าและ/หรือการเสี่ยงสำหรับประโยชน์ที่ควรจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์ทางเลือกนี้ จะออกมาในรูปของ “ลักษณะประจำชาติ”    (National  Style)        ที่ปรากฏชัดขึ้นทุก ๆ องค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาติ

ขั้นที่ 6  :  ข้อสรุปและข้อเสนอ  หลังจากการประเมินค่าการเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับแต่ละทางเลือกในรูปของขีดความสามารถและข้อจำกัดของชาติแล้ว ผู้วิเคราะห์ต้องพิสูจน์ทราบทางเลือกเหล่านั้นที่น่าจะยอมรับ และทางเลือกที่ไม่อาจจะยอมรับได้ ในระหว่างการวิเคราะห์ ผู้วิเคราะห์ต้องชี้ให้เห็นปัจจัยที่เด่นชัด  ที่จะนำมาสู่ความสำเร็จในแต่ละหนทางด้วย

ข้อเสนอที่ควรเตรียมจัดเสนอให้ผู้มีอำนาจตัดสินตกลงใจ ก็คือ

-       ลำดับของการเสนอทางเลือกที่ยอมรับได้ พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ

-       ข้อเสนออื่น ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม และ/หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับการพิสูจน์ทราบ   อันเป็นผลที่จะเกิดจากการวิเคราะห์

3.2   ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์ชาติ  กับความมั่นคงแห่งชาติ

การกล่าวถึงพื้นฐานยุทธศาสตร์ชาติ  คงจะทำให้เราได้เห็นภาพของยุทธศาสตร์ชาติ  ที่มีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับ  ความมุ่งประสงค์ของชาติ  ผลประโยชน์แห่งชาติ  วัตถุประสงค์แห่งชาติ  นโยบายแห่งรัฐ  โดยเฉพาะนโยบายด้านความมั่นคงแห่งชาติ  อย่างแยกกันไม่ออก   อีกทั้งการกล่าวถึงการกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ชาติ   รวมทั้งการประเมินยุทธศาสตร์ชาติ  ก็คงจะทำให้เราได้เข้าใจพื้นฐานยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างละเอียด  และลึกซึ้งขึ้น   และเช่นเดียวกันจะเห็นได้ว่า  ความมั่นคงแห่งชาติ  หรือเนื้อหาของความหมายของความมั่นคงแห่งชาติ  ได้ปรากฏแทรกอยู่ในประเด็นหลัก ๆ ของแต่ละแนวความคิด  ซึ่งก็รวมทั้งยุทธศาสตร์ชาติอยู่อย่างสม่ำเสมอ  ในที่นี้เราจะได้ลองแยกแยะเฉพาะประเด็นหลัก ๆ ของแนวความคิดยุทธศาสตร์ชาติ   ที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงแห่งชาติออกมาให้เด่นชัดขึ้น

จะเห็นได้ว่า  ยุทธศาสตร์ชาตินั้น  เป็นการพัฒนา  และใช้พลังอำนาจแห่งชาติในทุกด้าน  เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์แห่งชาติ  ประเด็นหลักในที่นี้มีสามประการคือ  “การพัฒนา และการใช้”,  “พลังอำนาจแห่งชาติ”  และ “วัตถุประสงค์แห่งชาติ”  สำหรับการพัฒนาและการใช้คงไม่ต้องกล่าวมากนัก   ส่วนพลังอำนาจแห่งชาติเราจะได้ศึกษากันต่อไป   สิ่งที่เป็นประเด็นหลักที่เราจะได้ถกแถลงกันในที่นี้ก็คือ  “วัตถุประสงค์แห่งชาติ”

วัตถุประสงค์แห่งชาติ  คือ  จุดหมาย  หรือเป้าหมายที่สำคัญที่ชาติต้องมุ่งไป   แบ่งเป็นวัตถุประสงค์มูลฐาน  กับวัตถุประสงค์เฉพาะ  โดยวัตถุประสงค์แห่งชาตินี้ก็คือ  ผลประโยชน์ชาติที่ถ่ายทอดออกมาในรูปที่ชัดแจ้ง   และกำหนดขึ้นมาเพื่อให้สามารถเป็นสะพาน  หรือขจัดอุปสรรคขัดขวางต่าง ๆ ได้  อีกทั้งวัตถุประสงค์แห่งชาตินี้เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ   วัตถุประสงค์แห่งชาติหลัก ๆ แล้วก็คือ  ความอยู่รอดของชาติ  และความเจริญก้าวหน้าของชาติ    โดยทั้งนี้ความอยู่รอดของชาติดังกล่าวก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาติประการหนึ่งนั่นเอง  ในขณะที่ความเจริญก้าวหน้าของชาติ  ก็มีผลต่อเนื่องกับความมั่นคงแห่งชาติเช่นเดียวกัน  กล่าวคือ  ถ้าประเทศชาติมีความก้าวหน้า  ก็จะทำให้เกิดเป็นพลังอำนาจแห่งชาติที่จะนำมาใช้ในการปกป้องรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้เป็นอย่างดีต่อไป  กล่าวโดยสรุปแล้ว   วัตถุประสงค์แห่งชาติที่เป็นเป้าหมาย  หรือจุดหมายสำคัญของชาติ  ก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาตินั่นเอง  ดังเราจะเห็นได้ว่าในการกำหนดวัตถุประสงค์มูลฐานของชาติไทยโดยนักศึกษา วปอ. ที่ได้กล่าวไปแล้ว   ก็ได้กำหนดไว้ถึง  การธำรงไว้ซึ่ง  เอกราช  อธิปไตย  และบูรณาภาพแห่งอาณาจักร  ซึ่งก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาติในส่วนความมั่นคงของการมีอำนาจอธิปไตยที่ได้กล่าวไว้ในเอกสารนี้หน้า 9  และในความหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ให้ไว้ในหน้า 15  การธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  และสถาบันพระมหากษัตริย์  ซึ่งก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาติ ในส่วนความมั่นคงของระบบการปกครอง  หรือรัฐบาลที่ปกครองประเทศที่ได้กล่าวไว้ในเอกสารนี้หน้า 9  และในความหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ให้ไว้ในหน้า 15 

จะเห็นได้ว่าในการกล่าวถึงวัตถุประสงค์แห่งชาติ  ก็ได้กล่าวถึงผลประโยชน์แห่งชาติในมุมที่ว่า วัตถุประสงค์แห่งชาติก็ถ่ายทอดมาจากผลประโยชน์ชาติอีกทีหนึ่ง  โดยที่วัตถุประสงค์แห่งชาติค่อนข้างจะชัดเจน  และเฉพาะเจาะจงกว่า   อีกทั้งใช้ได้ในเฉพาะกาลเฉพาะเวลา  ในขณะที่ผลประโยชน์ชาตินั้น จะเป็นการกล่าวถึงจุดหมายปลายทางของชาติที่กว้างกว่าจนไม่ชัดแจ้งนัก  แต่ก็จะค่อนข้างถาวรกว่า  โดยผลประโยชน์ชาตินั้นเป็นสิ่งที่ชาติจะขาดมิได้  จะรวมถึง  การคุ้มครองป้องกันตนเอง  ความมั่นคงทางทหาร  เสรีภาพทางเศรษฐกิจ  และความมั่งคั่ง  เราสามารถที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวพันของผลประโยชน์แห่งชาติ  ได้ในเชิงเดียวกันกับวัตถุประสงค์แห่งชาติ   กล่าวคือ  การคุ้มครองป้องกันตน  และความมั่นคงทางทหารที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาตินั้น  ก็คือความมั่นคงแห่งชาตินั่นเอง     ในขณะที่เสรีภาพทางเศรษฐกิจ  ก็คือความมั่นคงแห่งชาติในทางเศรษฐกิจที่จะมีความปลอดภัย  ไร้กังวล  ไร้การกดดันทางเศรษฐกิจ  หนึ่งในความหมายความมั่นคงแห่งชาติ  สำหรับความมั่งคั่งนั้นเป็นสิ่งที่เพิ่มหรือกำไรขึ้นมาหลังจากมีความมั่นคง   และยังสามารถตอบสนอง  หรือช่วยให้ชาติมั่นคงขึ้นได้เมื่อมีความมั่งคั่ง

และเช่นเดียวกัน  ผลประโยชน์แห่งชาติ  ก็มีที่มาหรือเป็นการอนุมานมาจากความมุ่งประสงค์แห่งชาติ  และจากอุดมการณ์แห่งชาติ   โดยความมุ่งประสงค์แห่งชาตินั้นเป็นการแสดงออกที่คงทนถาวรมิเปลี่ยนโดยง่ายของชาติ   และมักปรากฏอยู่ในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญ  สำหรับของไทยนั้นเขียนไว้ว่า  การธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราช  และความมั่นคงแห่งชาติ  ซึ่งก็ชัดเจน  และแสดงออกให้เห็นถึงจุดหมายปลายทางหรือสิ่งที่สำคัญที่สุดของชาติ  ก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาตินั่นเอง  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเอกราช  ความมั่นคง  ศาสนา  ระบบการปกครอง  สิทธิเสรีภาพประชาชน  ล้วนแต่เป็นความหมายของความมั่นคงแห่งชาติทั้งสิ้น

เมื่อเชื่อมโยงแนวความคิดวัตถุประสงค์แห่งชาติ  ผลประโยชน์แห่งชาติ  และความมุ่งประสงค์แห่งชาติเข้าด้วยกันกับ  ยุทธศาสตร์ชาติ  และความมั่นคงแห่งชาติแล้ว  ก็จะพบว่า  จุดหมายปลายทาง หรือ  End State  ของยุทธศาสตร์ชาติ  ก็คือ  ความมั่นคงแห่งชาติ  นั่นเอง  อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรละเลยแนวความคิด  หรือคำว่าความมั่งคั่ง  ซึ่งเรามักจะได้ยินเสมอของการกล่าวถึง  ความมั่นคง  และความมั่งคั่ง  โดยทั้งนี้ในจุดหมายปลายทางของชาติ  จะมีทั้งสองประการนี้ควบคู่กันไป   ทั้งสองคำนี้เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออก  ประเทศจะมั่งคั่งได้  ก็ต้องมีความมั่นคง  เพราะถ้าไม่มั่นคงถึงแม้มีแนวโน้มว่าจะมั่งคั่งก็จะอยู่ได้ไม่นานและโค่นล้มลงในที่สุดจากความไม่มั่นคง  เช่นปัญหาการโค่นล้มของเศรษฐกิจไทยเมื่อปี พ.. 2540  ทั้งที่ไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจเทียบเท่ากับสิงค์โปร์  เกาหลี  และอีกหลายประเทศ  ซึ่งสังคมกำลังเรียกเราว่า  เสือตัวที่ห้า  แต่เสือตัวนี้โจนทะยานไปโดยไม่มีความมั่นคงในตัวเองดีพอ   ผลก็คือ  ถูกโค่นลงมาจนเกิดปัญหากระทบสังคมไทยทั่วไป

ถ้าเราเปรียบความมั่นคง  กับมั่งคั่ง  กับการเดินของเด็ก  ก็สามารถเปรียบได้กับว่า  ในการที่เด็กจะพัฒนา  จะเดินไปได้นั้นจะต้องยืนให้ได้อย่างมั่นคงเสียก่อน  มิฉะนั้นแล้วก็จะล้มลุกคลุกคลานเรื่อยไป   และเช่นเดียวกันถ้าเดินได้ดี  ก็จะทำให้การยืนมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  ดังนั้นเรื่องของความมั่นคง  กับความมั่งคั่งจะเป็นของคู่กันอยู่เสมอ  และจะเป็นสิ่งที่ประเทศชาติจะต้องไปให้ถึง   ไปให้ได้  เพียงแต่ว่าในเวลาใด  ความมั่งคั่ง  กับความมั่นคง  สิ่งไหนสำคัญกว่า  และควรมั่นคงเพียงใด  หรือมั่งคั่งเพียงใด  ซึ่งเมื่อกำหนดได้สอดคล้องเหมาะสม  ก็จะทำให้ประเทศชาติ  กำหนดยุทธศาสตร์ชาติไปในทิศทางที่ถูกต้องได้

ในการกำหนดเป้าหมาย  จุดหมายปลายทาง  โดยเฉพาะน้ำหนักของความมั่งคั่ง  และความมั่นคงดังกล่าว   ก็คือ  การดำเนินการในการกำหนดนโยบายแห่งชาติ  ซึ่งส่วนหนึ่งที่ออกมาก็คือ  ในส่วนของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ   และการกำหนดนโยบายดังกล่าวนี้   แนวทางในการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนก็คือ  การประเมินยุทธศาสตร์ชาติ  และการกำหนดยุทธศาสตร์ชาตินั่นเอง

กล่าวโดยสรุปแล้ว   ยุทธศาสตร์ชาติ  ก็คือ  การพัฒนา  และใช้  หรือวิธีการดำเนินงาน  หรือหนทางปฏิบัติ (Ways)  ในการใช้พลังอำนาจแห่งชาติ (Means)  เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง  ( End) ซึ่งก็ความมั่นคงแห่งชาติโดยพื้นฐาน    และความมั่งคั่งเมื่อมีความมั่นคงดีพอที่จะมั่งคั่งได้โดยมิโค่นล้มลงมา

 

4.  พลังอำนาจของชาติ  กับความมั่นคงแห่งชาติ

คำว่า  “ พลังอำนาจ ”  หรือ  “ กำลังอำนาจ ”   นั้นมีความหมายเหมือนกัน  คือ   มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษคำเดียวกันว่า “ Power ”  โดยทั่วไปมักจะนำมาใช้แยกกัน   เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของวัตถุประสงค์ กล่าวคือ สำหรับชาติหรือประเทศเป็นส่วนรวม จะใช้คำว่า “พลังอำนาจ” ส่วนคำว่า  “กำลังอำนาจ”  จะใช้ในเมื่อกล่าวถึงองค์ประกอบของพลังอำนาจอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจ กำลังอำนาจทางสังคมจิตวิทยา กำลังอำนาจทางทหาร เป็นต้น  

และเพื่อให้เราสามารถที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ  พลังอำนาจแห่งชาติกับความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างถูกต้องชัดเจน   เราก็ควรที่จะได้เรียนรู้   พลังอำนาจแห่งชาติ  ให้กระจ่าง[54]

4.1   ความหมายของพลังอำนาจแห่งชาติ

Inis L. Claude  กล่าวว่า “พลังอำนาจ หมายถึง ความสามารถในการทำลายสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต”

รร.สธ.ทบ. สหรัฐฯ ให้ความหมายว่า    “พลังอำนาจแห่งชาติ คือ  กำลังทั้งสิ้น  หรือขีดความสามารถของชาติ ในการทำให้ผลประโยชน์ของชาติบรรลุผล”

จากความหมายข้างต้นอาจอนุมานได้ว่า “พลังอำนาจแห่งชาติ คือ กำลังหรือขีดความสามารถของชาติ”  หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า “พลังอำนาจแห่งชาติคือ ความสามารถของรัฐหนึ่ง ในอันที่จะก่อให้เกิดอิทธิพลแก่รัฐอื่น ๆ”  เพราะเหตุว่าประเทศต่าง ๆ ย่อมมีพลังอำนาจแห่งชาติไม่เท่ากัน บรรดาประเทศที่มีพลังอำนาจมาก อันได้แก่ ประเทศอภิมหาอำนาจและประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ   ย่อมจะมีอิทธิพลเหนือประเทศที่ยากจน   และมีพลังอำนาจน้อยกว่าทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อมก็ตาม  

ความหมายของพลังอำนาจแห่งชาติ หรือกำลังอำนาจแห่งชาติในสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กำหนดว่า

กำลังอำนาจแห่งชาติ หมายถึง ขีดความสามารถของชาติที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ หรือความสามารถของชาติหนึ่งที่สามารถทำให้ชาติอื่นกระทำตามที่ปรารถนา โดยมีองค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดกำลังอำนาจแห่งชาติคือ ประชากร ดินแดน ทรัพยากร ขีดความสามารถทางอุตสาหกรรม ขวัญของชาติ  การเตรียมพร้อมทางทหารและความสามารถทางการทูต     ซึ่งเมื่อผสมผสานองค์ประกอบเหล่านี้    จะแสดงกำลังอำนาจแห่งชาติใน 5 รูปแบบ   คือ  กำลังอำนาจด้านการเมือง กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจ กำลังอำนาจทางสังคมจิตวิทยา กำลังอำนาจทางทหาร และกำลังอำนาจแห่งชาติในด้านอื่น เช่น กำลังอำนาจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กำลังอำนาจแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม  และกำลังอำนาจแห่งชาติด้านข้อมูลข่าวสาร

4.2   ลักษณะกำลังอำนาจแห่งชาติในด้านต่าง ๆ

ลักษณะที่ระบุต่อไปนี้   สรุปย่อจากเอกสารวิชาวิทยาการทหารของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

4.2.1  กำลังอำนาจของชาติด้านการเมือง  เป็นลักษณะของกำลังอำนาจที่ได้จากความนิยม   และการสนับสนุนจากพลังประชาชน  ทั้งภายในและภายนอกประเทศ   โดยเราอาจพิจารณาออกเป็น

-    กำลังอำนาจในการปกครองและต่อต้านการแทรกแซง หรือการใช้อำนาจของชาติอื่น  ซึ่งได้แก่

ž      ความนิยมและการสนับสนุนของประชาชนภายในประเทศต่อระบบการปกครอง    ต่อรัฐบาล  และต่อนโยบายของประเทศ

ž      เสถียรภาพของรัฐบาล

ž      ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และความเสียสละเพื่อส่วนรวมของคนในชาติ (รักชาติ)

-    ฐานแห่งกำลังอำนาจที่จะใช้  และแทรกแซงอำนาจของรัฐอื่น ซึ่งอาจเป็นผลของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  หรือผลส่วนรวมของเรื่องต่อไปนี้

ž      เกียรติภูมิของชาติ ซึ่งสร้างความนิยมในบรรดาประชาชน หรืออาจเป็นความเจริญทางวัฒนธรรมอารยธรรมแพร่สะบัดไป

ž      การโฆษณาชวนเชื่อ ได้แก่  การดำเนินการ   เพื่อจะเปลี่ยนความเชื่อ   และท่าทีของประเทศอื่นหรือประชาชน (พลังอำนาจด้านข้อมูลข่าวสาร)

ž      การทูต เป็นฐานแห่งอำนาจที่สำคัญที่สุด  ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

เป็นลักษณะกำลังอำนาจที่สามารถจะแทรกอิทธิพลเข้าไปในประเทศอื่น จะทำได้มากน้อย  ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญดังนี้

-    การโฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพ

-    ความสามารถทางการเงิน

-    ความสามารถในการสรรหาตัวแทนทำงานให้ในต่างประเทศ

-    เจตนาทางการเมือง ที่จะแสวงประโยชน์จากการแทรกซึมเข้าไปในวงการต่าง ๆ ของต่างประเทศ

4.2.2   กำลังอำนาจของชาติด้านเศรษฐกิจ  กำลังอำนาจของชาติทางเศรษฐกิจจะมากน้อยเพียงใดพิจารณาจาก

-    ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ      เป็นสิ่งที่ใช้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละชาติโดยทั่วไป ได้แก่

ž      ผลิตภัณฑ์รวมแห่งชาติ (Gross National Product – GNP)

ž      ผลิตภัณฑ์รวมแห่งชาติคิดเป็นรายหัว (Gross National Product Per Capita)

ž      อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth Rates)

ž      การผลิตพลังงาน และวัตถุปัจจัยอุตสาหกรรมหนัก ต้องมีการคำนวณ Per Capita Consumption, การผลิตอุตสาหกรรมสำคัญตามห้วงเวลา  เช่น คอมพิวเตอร์

-    ความสามารถทางเกษตรกรรม  (ความเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ) พิจารณาได้จากผลิตภัณฑ์ภาพ (Productivity) คือ       เปรียบเทียบผลผลิต  กับเนื้อที่เพาะปลูก   แรงงานที่ใช้    และต้นทุน   และความสามารถในการปรับปรุง

-          การจัดสรรทรัพยากร

ž      ส่วนสัดของทรัพยากรที่ใช้สอย กับทรัพยากรที่สะสมไว้เป็นทุน (Capital)

ž      ส่วนสัดรายจ่ายของรัฐบาล (Government Expenditures)

ž      ส่วนสัดของทรัพยากรที่ใช้เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ จะต้องอยู่ในลักษณะพอดี

-    ลักษณะที่พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ    ไม่มีเศรษฐกิจของประเทศใด  พึ่งตนเองได้ในทุกด้าน ดังนั้นการพึ่งพาทางเศรษฐกิจที่น้อยที่สุด  โดยไม่มีปัญหาการขาดแคลน  และสามารถทนต่อความเปลี่ยนแปลงจากแรงบีบภายนอกได้   ก็จะเป็นพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่ดีได้

4.2.3   กำลังอำนาจของชาติด้านสังคมจิตวิทยา  พิจารณาจาก

-    พลังจิตร่วมเพื่อแสดงออก  (เกิดได้จากการกระตุ้น, การเห็นพ้องต้องกันตามคำบอกเล่า   และการโฆษณาชวนเชื่อ)

-    ความรู้สึกรักชาติ  ความรู้สึก  และเต็มใจของคนที่ถือว่าประโยชน์ และความมั่นคงของชาติอยู่เหนือประโยชน์และสวัสดิภาพส่วนตน

-    ทหารที่ทำสงคราม   ต้องมีนายทหารผู้นำที่ดี (ขวัญ)

-    ข้าราชการและประชาชน มีจิตใจไม่ยอมจำนน  ยอมเสียสละที่จะต่อต้านการแทรกแซง  การรุกราน  และการเข้ามาครอบงำของชาติอื่น

-    การอดทน (ต่อความขาดแคลนยามที่รัฐต้องแบ่งทรัพยากรไปใช้ในด้านอื่น)

-    ความผูกพันทางเชื้อชาติ ทางศาสนา และอุดมการณ์ทางการเมือง 

4.2.4  กำลังอำนาจของชาติด้านการทหาร      ลังอำนาจของชาติทางทหาร  ย่อมขึ้นอยู่กับบรรดาองค์ประกอบอันเป็นพื้นฐานต่าง ๆ หลายประการ เช่น ธรรมชาติ, ประชากร, เศรษฐกิจ  รวมถึง ทรัพยากรด้านเทคโนโลยี, สังคมจิตวิทยา  และด้านการเมือง 

ถ้าจะพิจารณาจากทัศนะทางทหาร โดยเฉพาะความสามารถของชาติทางทหารมีลักษณะเป็นไปตามสภาพต่อไปนี้

-    คุณสมบัติของทหารในกองทัพ

-    กองทัพประกอบด้วยคนหลายกลุ่มในประเทศ (ไม่กีดกัน  เพราะผู้ถูกกีดกันจะขาดความจงรักภักดีต่อประเทศได้)

-    ผู้นำทางทหารของกองทัพควรเป็นทหารอาชีพ (Professional Officer Corps) ที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดี  

-    หลักนิยมทางทหาร

-    ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ระหว่างทหารกับ ประชาชน พลเรือน  เป็นเงื่อนไขสำคัญของความเป็นปึกแผ่นของกองทัพกับประเทศ  ที่จะปฏิบัติการใด ๆ

-    การฝึก

-    ยุทโธปกรณ์

-    เกียรติคุณ คุณงามความดีของทหาร กองทัพที่มีชื่อเสียงในการปฏิบัติการย่อมเป็นที่เกรงขามของผู้อื่นย่อมได้ความนิยมจากประชาชนในชาติ เป็นผลทางบวกในการเพิ่มพูนกำลังอำนาจ

4.2.5   กำลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ    เป็นการเปิดแนวทางในการพิจารณาพลังอำนาจในด้านอื่น ๆ  ที่เพิ่มขึ้นมาหรือพัฒนาขึ้นมา  เช่น กำลังอำนาจแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี, กำลังอำนาจแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม  และกำลังอำนาจแห่งชาติด้านข้อมูลข่าวสาร  เป็นต้น

-    กำลังอำนาจแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี  จะพิจารณาถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีของประเทศในทุกทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม  ทั้งที่เป็นวัตถุ  และบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี

-    กำลังอำนาจแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม   จะพิจารณาถึงสภาพความเสื่อมโสม  หรือการดำรงสภาพที่ดีอยู่ของสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ  ภัยธรรมชาติ  และสุขภาพชีวิตของคนในชาติ

-    กำลังอำนาจแห่งชาติด้านข้อมูลข่าวสาร  จะพิจารณาถึง  ขีดความสามารถทางด้านข้อมูลข่าวสาร  ทั้งในการรับข้อมูลข่าวสาร  การให้ข้อมูลข่าวสาร  การนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ประโยชน์  หรือแม้แต่การต่อสู้กันทางด้านข้อมูลข่าวสารก็ตาม

4.3   ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติ

ปัจจัยเป็นคำนามหมายถึง “เหตุอันเป็นทางให้เกิดผลหรือหนทาง” (จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525)  ในที่นี้ “ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติ”  หมายถึง องค์ประกอบ     หรือที่มาของพลังอำนาจแห่งชาติด้านต่าง ๆ (การเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา การทหาร และอื่น ๆ ) นั้น   ว่ามีปัจจัยตัวใดบ้างที่ประกอบขึ้น และก่อให้เกิดพลังความสามารถทางด้านนั้น ๆ เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ภาวะประชากร  ทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะประชาชาติ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

นอกจากนั้น หากต้องการทราบว่าพลังอำนาจของชาติใดชาติหนึ่งเป็นอย่างไร ก็ต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ     ที่ประกอบขึ้นเป็นพลังอำนาจ       หรือพลังความสามารถของชาตินั้น ๆ ว่าปัจจัยแต่ละตัว       มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดผลเป็นกำลังอำนาจแห่งชาติในแต่ละด้านเพียงใด แต่ก่อนจะวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ  จำเป็นต้องทราบลักษณะหรือคุณสมบัติของปัจจัยต่าง ๆ  เหล่านั้นเป็นอย่างดีก่อน

ปัญหาที่นักวิชาการสนใจกันมากในเรื่องเกี่ยวกับกำลังอำนาจแห่งชาติก็คือ ปัญหาว่า “อะไรจะเป็นปัจจัยหรือจะเป็นสิ่งกำหนดกำลังอำนาจแห่งชาติหรือของรัฐ” คำอธิบายของนักวิชาการเหล่านั้นแตกต่างกันในส่วนที่เกี่ยวกับน้ำหนักของความเห็น และวิธีแบ่งแยกประเภทมากกว่าเนื้อหา  ทั้งนี้มีผู้จัดแบ่งปัจจัยดังกล่าวไว้ดังนี้

 

ปัจจัยกำหนดกำลังอำนาจแห่งชาติ

ผู้กำหนด

สิ่งที่กำหนดกำลังอำนาจแห่งชาติ (ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติ)

N.Spykmon

(10 ปัจจัย)

1. เนื้อที่ประเทศ  2. ลักษณะพรมแดน  3. จำนวนพลเมือง  4. วัตถุดิบ  5. ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี  6. ฐานะทางการเงินของประเทศ  7. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางชาติพันธุ์  8. ความเป็นปึกแผ่นในสังคม  9. เสถียรภาพทางการเมือง   และ  10. ลักษณะจิตใจของคนในชาติ

H.J.Mar

Genthau

(8 ปัจจัย)

1. สภาพทางภูมิศาสตร์  2. ทรัพยากรธรรมชาติ  3. ความสามารถทางอุตสาหกรรม    4. กำลังทหาร  5. พลเมือง  6. ลักษณะนิสัยคนในชาติ  7. ความเข้มแข็งของจิตใจกับคุณภาพของสังคมและของรัฐบาล  ซึ่งแยกออกเป็นความสามารถทางการทูต  และ   8. ความสามารถของรัฐบาล

Rudolf

Steinmetz

(8 ปัจจัย)

1. พลเมือง  2. เนื้อที่ประเทศ  3. เศรษฐทรัพย์  4. สถาบันทางการเมือง  5. ความสามารถในการบังคับบัญชา  6. ความสามัคคี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ     7. มิตรภาพ      และความเคารพนับถือที่ได้รับจากต่างประเทศ  และ  8. ลักษณะทางจิตใจ

วปอ.สหรัฐฯ

National

War College

1. สภาพทางภูมิศาสตร์  2. ทรัพยากร  3. พลเมือง  4. ระบบเศรษฐกิจ  5. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  6. การศึกษา  7. โครงสร้างทางการเมือง  8. ภาวะผู้นำ  และ 9. โครงสร้างทางสังคม

วิทยาลัย

อุตสาหกรรม

ทหาร สหรัฐฯ

Industrial

College of

Armed Forces

(กำลังอำนาจ แห่งชาติ  แบ่งออกเป็น 4 ทางคือ  ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรมและทางทหาร)ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติได้แก่ 1. ภูมิศาสตร์ 2. ภาวะประชากร  3.ทรัพยากรธรรมชาติ    4. ความเชื่อศาสนา   5. ลักษณะประจำชาติ    6. กำลังทหาร 7. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  8. เศรษฐกิจ 9. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต 10. ความสามารถทางวิชาการ และ 11. อุดมการณ์ของชาติและภาวะผู้นำ

วิทยาลัยป้องกัน

ราชอาณาจักร

(กำลังอำนาจแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 ทางคือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี)  ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติได้แก่ 1. ภูมิศาสตร์  2. ภาวะประชากร  3. ทรัพยากรธรรมชาติ  4. ความเชื่อศาสนา  5. ลักษณะประจำชาติ 6. กำลังทหาร  7. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  8. เศรษฐกิจ  9. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต  10. ความสามารถทางวิชาการ  11. อุดมการณ์ของชาติและภาวะผู้นำ

รูปที่ 4   ตารางแสดงปัจจัยกำหนดกำลังอำนาจแห่งชาติ

 

 

 

4.4   การวิเคราะห์ปัจจัยพลังอำนาจแห่งชาติ   การวิเคราะห์พลังอำนาจของชาตินั้น อาศัยการตั้งคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยแต่ละปัจจัย    แนวทางที่แสดงข้างล่างเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์

4.4.1     แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพ  ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นพื้นฐาน    ทำให้เกิดพลังอำนาจแก่ประเทศของตนได้  แต่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามที่จะพิจารณาต่อไปนี้จะต้องระลึกไว้เสมอว่า บางปัจจัยอาจมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ และเกี่ยวข้องกับปัจจัยของพลังอำนาจแห่งชาติอื่น ๆ ด้วย

-      ขนาดและรูปร่าง

ž      ประเทศมีพื้นที่เพียงพอที่จะดำเนินการตั้งรับทางลึกได้หรือไม่ ?  และมีความลึกพอที่จะอำนวยประโยชน์ต่อระบบการแจ้งเตือนภัยเมื่อถูกโจมตีทางอากาศ และขีปนาวุธหรือไม่ ?

ž      ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับความลึกของประเทศเป็นอย่างไร ? ทำให้ระบบทางการเมืองและทางเศรษฐกิจผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม่ ?    รูปร่างของประเทศมีผลกระทบต่อการขนส่ง  และการคมนาคมอย่างไรบ้าง  ?

-          ลักษณะภูมิประเทศ

ž      ลักษณะภมิประเทศเป็นแบบใด  ?    ลักษณะภูมิประเทศมีแนวโน้มที่จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ หรือไม่  ?                     

ž      ภูมิประเทศที่สำคัญเกื้อกูล  หรือไม่เกื้อกูลแก่ประเทศ  ?

ž      ลักษณะของพื้นภูมิประเทศตามแนวชายแดน   สามารถใช้เป็นสิ่งกีดขวางธรรมชาติในการตั้งรับได้หรือไม่  ?  หรือสร้างประโยชน์ต่อชาติหรือไม่  ?

-          ที่ตั้ง

ž      ที่ตั้งของประเทศได้รับการยอมรับนับถือจากประเทศอื่น ๆ หรือไม่ ? ประเทศเพื่อนบ้านแข็งแรงหรืออ่อนแอ ?

ž      ที่ตั้งของประเทศมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แก่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่สำคัญ ๆ  หรือไม่ ?

ž      อะไรบ้างที่มีผลกระทบต่อที่ตั้งของประเทศ ทั้งทางการเมืองและพันธมิตรทางทหาร  ทางการขนส่ง  และทางเกษตรกรรม  ?

-          ภูมิอากาศ

ž      ลมฟ้าอากาศมีผลต่อสุขภาพ       และพลานามัยของประชาชนภายในพื้นที่อย่างไร  ?  มีผลต่ออุปนิสัยใจคอประชาชนอย่างไร  ?

ž      ลมฟ้าอากาศ    อำนวยต่อการปฏิบัติงานมนุษย์ได้อย่างดีที่สุดหรือไม่  ?  ผลิตอาหารได้เพียงพอหรือไม่  ?

ž      ลมฟ้าอากาศก่อให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงานของทหารหรือไม่  ?

ž      ลมฟ้าอากาศมีผลกระทบต่อระบบการขนส่งภายในประเทศ และการเคลื่อนย้ายในภูมิประเทศหรือไม่  ?

ž      จำนวนน้ำฝน  การกระจายของฝนตามฤดูกาล และความแน่นอนของฝนอยู่ในย่านอุณหภูมิเท่าใด   ?

-          พืชและดิน

ž      ชนิดของดินที่สามารถจะทำการเกษตรมีอะไรบ้าง  ?

ž      พื้นที่มีอยู่มีผลสำคัญแก่การอยู่อาศัย หรือการคมนาคมภายในประเทศหรือไม่  ?

 

-          แร่และพลังงาน

ž      ชนิดของทรัพยากรประเภทแร่ และพลังงานที่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ หรือทางการค้ามีอะไรบ้าง  ?

ž      อะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อนของทรัพยากรเหล่านั้น  ?

ž      ทรัพยากรอะไรบ้างที่จำเป็นต้องสั่งเข้า  ? ถ้าต้องสั่งเข้าสั่งจากที่ใด ?

-          ประชาชน

ž      ประชาชนของรัฐมีจำนวนเท่าใด  ?       ประชาชนจำนวนเท่าใดทีสามารถสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ  ?

ž      อัตราการเจริญเติบโตของประชาชนมีเท่าใด ? จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานกับคนที่ใช้แรงงานเป็นเท่าใด ?  ประชาชนมีจำนวนได้สัดส่วนกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่?

ž      การอยู่อาศัยของประชาชนโดยทั่วไปเป็นแบบใด  ? ประชาชนในชนบทกับประชาชนในเมืองมีสัดส่วนกันอย่างไรบ้าง  ? อะไรบ้างที่เป็นจุดอ่อน และจุดแข็งของประชาชนในชนบท และในเมือง   ?

ž      ภาษาประจำชาติคืออะไร ? จำนวนเปอร์เซ็นต์ของประชาชนที่พูดภาษาประจำชาติได้  ? ประชาชนรู้หนังสือจำนวนเท่าใด  ?

ž      ประชาชนมีความรู้ในภาษาสากลมากน้อยเพียงใด  ?

ž      มีการกระจายการปฏิบัติงานในชนบทที่สำคัญๆ ทั่วทั้งประเทศ หรือมีการจำกัดเป็นพื้นที่ชนบทไว้บางแห่ง  ?

4.4.2   แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยทางการเมือง

-    องค์ประกอบทางการเมือง

×  แนวความคิดทางการเมือง ท่าที และค่านิยมที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายมีอะไรบ้าง  ? (ทั้งข้อจำกัด และข้อสนับสนุน)

×  เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากนโยบาย และจากแถลงการณ์ด่วนมีอะไรบ้าง  ?     ผลประโยชน์  นโยบาย  และขนบธรรมเนียมประเพณีน่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต  ?

×  กลุ่มผลประโยชน์ / กลุ่มอิทธิพลที่มีอยู่ในระบบการเมืองมีขนาดใด ?

×  การจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นอย่างไร ?  และบทบาทของพรรคการเมืองที่แสดงออกในระบบการเมืองมีอะไรบ้าง  ?

-         ความเคลื่อนไหวทางการเมือง

×       อำนาจในการตัดสินใจเป็นแบบรวมการ หรือแยกการในระบบการเมือง  ?   ศูนย์กลางของกำลังอำนาจทางการเมืองที่มีประสิทธิผลอยู่ที่ไหน  ?

×       กลุ่มผลประโยชน์ / กลุ่มอิทธิพลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย มีอะไรบ้าง  ?

×       ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการกำหนดนโยบายของผู้นำทางการเมือง ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ  วิธีการ  และทัศนะของผู้นำทางการเมืองนั้นมีอะไรบ้าง  ?

-   การพัฒนาทางการเมือง

×       ภาวะผู้นำทางการเมืองยอมรับ หรือตอบโต้ เพื่อเปลี่ยนแปลงความต้องการต่าง ๆ ในระบบการเมืองเป็นอย่างไร  ?

×       โครงสร้าง     และกฎหมายรัฐธรรมนูญของระบบมีความอ่อนตัว หรือไม่ที่จะยินยอมให้มีการแก้ไขตามความจำเป็น  ?

×       กลุ่มสังคมต่าง ๆ พอใจระบบการเมืองที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเพียงใด  ?

×       รูปแบบของรัฐบาล    และแนวทางการเมืองในปัจจุบันจะยังเป็นอยู่ในรูปเดิมต่อไป  หรือไม่  ?

-   ขีดความสามารถทางการเมือง

×       ระบบทางการเมือง ให้ความร่วมมือต่อขีดความสามารถต่อไปนี้เพียงใด  ?

-       การผสมผสานทางภูมิศาสตร์

-       การร่วมมือของประชาชน

-       ระบบอำนวยการ

-       การแก้ปัญหา และการตัดสินตกลงใจ

-       การบริหาร และธุรการ

-       การระดมสรรพกำลังทางพลเรือน

×       จุดอ่อนของขีดความสามารถข้างต้น มีผลกระทบต่อการนำเอาพลังอำนาจแห่งชาติไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด  ?

-   แนวทางการเมืองระหว่างประเทศ

×       อะไรบ้างที่จะทำให้รัฐต่าง ๆ และองค์การทางการเมืองระหว่างประเทศมีท่าที และความโน้มเอียงที่จะเป็นปฏิปักษ์ หรือให้ความร่วมมือ  หรือไม่ก็วางเฉยไม่เข้าร่วมด้วย  ?

×       รัฐอื่น ๆ และองค์การทางการเมืองระหว่างประเทศ  สามารถกำหนดและมีอิทธิพลในการดำเนินการทางเมืองได้เพียงใด  ?  สถานการณ์ของโลกเป็นปัจจัยในการดำเนินทางการเมืองได้เพียงใด  ?

4.4.3   แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

-   โครงสร้างการตัดสินตกลงใจทางเศรษฐกิจ

×       การเศรษฐกิจเป็นแบบเศรษฐกิจการตลาด หรือเป็นเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์  วางแผนโดยส่วนกลาง (แบบรวมศูนย์จะมีศักย์ระดมสรรพกำลังสูงกว่า)

×       รัฐใช้อำนาจทางเศรษฐกิจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร?

-         ศักย์ระดมสรรพกำลัง

×       ค่าใช้จ่ายของรัฐในการป้องกันประเทศ คิดเป็นมูลค่ากี่เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ( GNP )

×       การอุตสาหกรรม มีขีดความสามารถที่จะสนับสนุนการสงครามได้เพียงใด  ?  จำนวนเปอร์เซ็นต์ของฐานอุตสาหกรรมมีจำนวนกิจการเท่าใด  ?

×       แรงงานที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในทางเกษตรกรรม หัตกรรม และบริการ  เท่าใด  ?

-   โครงสร้างทางเงินทุน

×       การขนส่งของรัฐสามารถ ดำเนินการระดมสรรพกำลังได้หรือไม่? ข่ายการขนส่งมีจุดอ่อนหรือไม่  ?

×       การคมนาคมอะไรที่เป็นของรัฐ  ?

×       ระบบการเงินของรัฐมีเสถียรภาพเพียงใด  ?

-   ทรัพยากรของชาติ

×       รัฐสามารถเลี้ยงตัวเองได้หรือไม่ ?  หากเลี้ยงตัวเองไม่ได้อาศัยการส่งเข้าออกที่ใดบ้าง  ?

×       สถานภาพของการจัดการทางเกษตรกรรมเป็นอย่างไร ?  ใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร  และนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการเกษตรเป็นอย่างไร  ?

×       แร่และทรัพยากรด้านพลังงาน  ที่รัฐสามารถนำมาพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์   มีอะไรบ้าง  ?

×       รัฐจำเป็นต้องส่งทรัพยากรเข้ามา เพื่อกิจการอุตสาหกรรมหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นสั่งเข้ามาจากที่ใด  ?

×       พลังงานที่นำมาใช้ได้มาอย่างไร  ?  พลังงานที่ใช้เป็นแบบใด  ?

-   สภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป

×       ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เฉลี่ยต่อคนต่อปี   มีค่าเท่าใด  ?  ผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อคนต่ออัตราความเจริญเติบโตเป็นอย่างไร ?

×       ประชาชนประกอบอาชีพอย่างไร  ? มีเปอร์เซ็นเท่าใด  ? ประกอบอาชีพเกษตร หัตถกรรม และในโรงงานอุตสาหกรรม ประชาชนที่ว่างงานมีเท่าใด  ?

×       ประชาชนที่ใช้แรงงานมีความชำนาญระดับใด  ?

-   การค้าต่างประเทศ

×       บทบาทของเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างไร  ?

×       รัฐสามารถควบคุมการค้าระหว่างประเทศได้หรือไม่  ?

×       ประชาชนที่ใช้แรงงานมีความชำนาญระดับใด  ?

-   ฐานะทางการเงินระหว่างประเทศ

×       ดุลชำระเงินอยู่ในฐานะได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ  ?

×       รัฐมีการลงทุนเป็นแบบผู้สั่งเข้า  หรือผู้ส่งออกแต่ผู้เดียวหรือไม่  ?

×       รัฐบาลประกอบธุรกิจแบบผูกขาดตัดทอนหรือไม่  ?

×       รัฐได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศหรือไม่  ?

×       รัฐต้องขึ้นอยู่กับการช่วยเหลือขององค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือไม่  ?   ถ้าต้องขึ้นกับการช่วยเหลือ    องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้นมีบทบาทอย่างไรบ้างต่อเศรษฐกิจของประเทศ  ?

4.4.4   แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยทางเจตจำนงแห่งชาติ (National Will)   เจตจำนงแห่งชาติคือ  ผลรวมของทรัพยากรมนุษย์ภายในชาติ  ซึ่งเป็นกำลังอำนาจอันหนึ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้   แต่ก็พิจารณาได้ว่า  ก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการวิเคราะห์การกระทำได้   โดยการแยกพิจารณาออกเป็น 2 ปัจจัยด้วยกัน

-   ปัจจัยทางสังคมจิตวิทยา

×       ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของประชาชน อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่ออำนาจการตัดสินตกลงใจของรัฐ  ?

×       อะไรคือแรงจูงใจที่สำคัญของสังคม  ?

×       บทบาทของสถาบันทางสังคมของรัฐมีอย่างไร ? สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เป็นอย่างไร  ?

×       ชนกลุ่มน้อย  และชนที่มีความแตกต่างทางภาษา ก่อให้เกิดจุดอ่อนแก่สังคมหรือไม่  ?

×       สุขภาพของประชาชนเป็นอย่างไร  ? การช่วยชีวิต การป้องกัน และการรักษาโรค อาหารการกิน ความปรารถนาของสังคมเป็นอย่างไร  ?  กลุ่มชนชั้นกลางมีขนาดใหญ่หรือไม่  ?

×       รัฐมีรัฐบาลที่มีคุณภาพหรือไม่  ? ลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษา  และทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร  ?

-   ปัจจัยทางจิตวิทยา

×       บทบาททางจิตวิทยาภายในของรัฐมีอย่างไรบ้าง  ?

×       สื่อโฆษณาที่ใช้ในการติดต่อของรัฐ มีผลกระทบต่อรูปแบบ      (Formation) และลักษณะประจำชาติอย่างไร  ?

×       ลักษณะประจำชาติเหมาะสมดีหรือไม่  ?

×       ความสามัคคีของชนภายในชาติ  เพียงพอที่จะสนับสนุนนโยบายของรัฐหรือไม่  ? และจะสิ้นสุดลงเมื่อใด  ?

4.4.5   แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านการทหาร

-   ขนาดและการประกอบกำลัง 

×       กำลังรบเหล่าต่าง ๆ มีขนาดเท่าใด  ?   กำลังรบเหล่าทัพใดที่มีอิทธิพลเหนือเหล่าทัพอื่น  ?

×       กำลังกึ่งทหารมีพร้อมที่จะใช้การได้หรือไม่  ? หากมี  มีขนาดใด  ? การจัดหน่วย   และศักยภาพทางทหารเป็นอย่างไร  ?

×       ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังทหาร  และตำรวจเป็นอย่างไร ?

-   การจัดหน่วยและยุทธภัณฑ์  

×       ยุทธภัณฑ์หลักของกำลังทหารได้มาจากแหล่งใด  ?   ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มี   ใช้การได้หรือไม่  ?

×       ความสามารถทางการส่งกำลังบำรุงทางทหาร     ได้สัดส่วนกับเศรษฐกิจทางด้านพลเรือนมากน้อยเพียงใด  ?

×       สถานภาพทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นอย่างไร  ?

×       ความสามารถทางการส่งกำลังเพิ่มเติม การก่อสร้าง การขนส่ง การส่งกลับ มีเพียงใด  ?

-   ความพร้อมรบทางทหาร   

×       กำลังรบตั้งอยู่ที่ไหน  ?

×       ยุทธภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนย้ายกำลังรบ   มีใช้การได้เพียงใด  ?

-   หลักนิยมในการใช้กำลังทหาร  

×       มีหลักนิยมเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารที่เขียนไว้หรือไม่  ?

×       ในประวัติศาสตร์   ได้เคยใช้กำลังทหารอะไรมาแล้ว  ?

×       การจัดกำลังทหาร   และการจัดฝ่ายอำนวยการเป็นอย่างไร  ?

×       กำลังทหาร อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนที่มีอำนาจปกครองหรือไม่  ?

-   ศักย์ระดมสรรพกำลัง  

×       มีกำลังกองหนุนเข้าประจำการอยู่หรือไม่  ?

×       ใช้เวลานานเท่าใดในการเรียกระดมกองหนุนเข้าประจำการ  ?

×       ความสามารถของรัฐในการระดมพลขนาดใหญ่เป็นเช่นไร  ?

-   พันธมิตร  

×       พันธมิตรมีชนิดใดบ้าง  ? พันธมิตรมีประสิทธิภาพหรือไม่  ?

×       ผลประโยชน์ร่วมกันของพันธมิตรมีอะไรบ้าง  ? ผลประโยชน์ขัดกันหรือไม่  ?

×       พันธกิจทั่ว ๆ ไป ของพันธมิตรมีอะไรบ้าง  ?   พันธมิตรช่วยเหลือสมาชิกของตนอะไรบ้าง  ?

4.5    พลังอำนาจแห่งชาติ       จากการที่ได้ศึกษา   และพิจารณาเกี่ยวกับพลังอำนาจแห่งชาติมาพอสมควร อาจสรุปได้ว่าพลังอำนาจแห่งชาติ หมายรวมถึง พลังทั้งสิ้นของชาติ ทั้งที่เป็นรูปธรรม   และเป็นนามธรรม   ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบรรลุผลประโยชน์  ของชาติได้   สำหรับพลังอำนาจของชาติที่เป็นรูปธรรม  เช่นกำลังทหาร หรืออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นย่อมไม่สามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่     ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากพลังอำนาจที่เป็นนามธรรม   เช่น ขวัญ และกำลังใจ อุดมการณ์  และศรัทธาความเชื่อถือต่อภาวะผู้นำ  ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปเสียแล้ว  ก็ยากที่จะเอาชัยชนะต่อฝ่ายตรงข้าม  หรือยากที่จะรักษาความมั่นคงของชาติไว้ได้

ในการดำเนินนโยบายกับโลกภายนอกนั้น  แต่ละประเทศย่อมอาศัยพลังอำนาจแห่งชาติของตนเป็นเครื่องมือ   เพื่อทำให้นโยบายต่างประเทศที่เลือกไว้  บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ  บางประเทศสามารถใช้องค์ประกอบพลังอำนาจแห่งชาติในทุกประการไปพร้อม ๆ กันในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่บางประเทศก็สามารถใช้ได้เพียงบางองค์ประกอบ  เพราะไม่มีขีดความสามารถที่จะใช้เครื่องมือได้ทั้งหมด เครื่องมือสำคัญยิ่ง เช่น เศรษฐกิจ และการทหาร เป็นเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนอย่างมากมาย ซึ่งประเทศอภิมหาอำนาจเท่านั้นที่มีขีดความสามารถที่จะกระทำได้   และประเทศอภิมหาอำนาจในโลก คือ สหรัฐฯ ที่สามารถใช้พลังอำนาจแห่งชาติของตน  ก่อให้เกิดอิทธิพลแก่ประเทศอื่นในสถานการณ์ปัจจุบันของโลกตามที่เราประจักษ์กันอยู่ทุกวันนี้

4.6   ความสัมพันธ์ของพลังอำนาจแห่งชาติ  กับความมั่นคงแห่งชาติ  

ได้กล่าวไปแล้วว่า    พลังอำนาจแห่งชาติ  ก็คือ  เครื่องมือ (Means)    ที่จะนำมาใช้เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง  เป้าหมายปลายประสงค์  (Ends)  ของชาติ      ซึ่งในที่นี้ก็คือ  วัตถุประสงค์แห่งชาติ  ผลประโยชน์ชาติ  และความมุ่งประสงค์แห่งชาติ    ทั้งนี้โดยมีความมั่นคงเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของปลายทางดังกล่าว

ทุกชาติมิได้มีพลังอำนาจแห่งชาติที่เท่าเทียมกัน   ดังนั้น  การที่จะไปให้ถึงความมั่นคง  หรือความมั่งคั่งของประเทศที่เท่าเทียมกันนั้นคงเป็นไปไม่ได้   แต่ละชาติจะต้องประมาณตนเอง  ทราบขีดความสามารถของตน  หรือพลังอำนาจแห่งชาติของตนที่มีอยู่   เพื่อที่จะได้กำหนดขึ้นมาให้ได้ว่า    ตนต้องการที่จะไปให้ถึงในขนาดของความมั่นคงในขนาดใด     และสามารถที่จะไปถึงได้เท่าใด

ถ้าประเทศชาติมีพลังอำนาจแห่งชาติอย่างเหลือเฟือ   ก็อาจจะตั้งเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงไว้ในระดับที่สูงที่สุดสำหรับประเทศชาติของตน  และในขณะเดียวกันก็ตั้งเป้าในการพัฒนาพลังอำนาจแห่งชาติ  และสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศของตนไปด้วย  เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่ยืนได้อย่างมั่นคงดีแล้ว   มีสุขภาพแข็งแรง   ความฐานะร่ำรวย   ก็พร้อมที่จะสร้างความแข็งแรง ความร่ำรวย  ความมั่นคั่งให้กับตนยิ่งขึ้นไป

ในทางกลับกัน  ประเทศชาติที่ยังคงมีพลังอำนาจแห่งชาติอยู่ไม่มากนัก   ถึงแม้อยากที่จะทำแบบเดียวกันกับประเทศที่มีพลังอำนาจแห่งชาติมหาศาล   แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถนำพาประเทศชาติไปถึงจุดนั้นได้   ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก  ความขาดแคลนขีดความสามารถและพลังอำนาจต่าง ๆ ของตน  ดังนั้นในการวางแผนกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์  ก็คงแต่เพียงหาหนทางเพื่อให้ตนรอดพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ ก็อาจจะต้องใช้ขีดความสามารถทั้งสิ้นที่มีก็เป็นไปได้  เปรียบเสมือนกับเด็กที่กำลังหัดเดิน   ด้วยพละกำลังของเด็กที่มี  ความชำนาญ  และสมองที่สั่งการ  ถึงแม้เด็กจะอยากวิ่ง  เดิน  และทำได้เช่นผู้ใหญ่  แต่เด็กก็ไม่สามารถทำได้  อาจเพียงแค่พยุงตัวให้ยืนได้  ก็สุดความสามารถของเขาแล้ว

เช่นกันกับประเทศที่เป็นอภิมหาอำนาจ  มหาอำนาจ  ประเทศพัฒนา  ประเทศกำลังพัฒนา  และประเทศด้อยพัฒนา  การที่จะกำหนดขนาดของความมั่นคง  ด้วยพลังอำนาจแห่งชาติที่ตนมี  คงไม่สามารถที่จะกำหนดได้อย่างเท่าเทียมกันเป็นที่แน่นอน

 

5.   ความสัมพันธ์ของความมั่นคงแห่งชาติ  กับความมั่นคงระดับอื่น

เมื่อพิจารณาความมั่นคงแล้ว  จะพบว่าเมื่อกล่าวถึงความมั่นคงนั้นจะมีอยู่ด้วยกันในแต่ละระดับไป  ซึ่งอาจส่งเสริมกันหรือขัดแย้งกันก็ได้   ดังเช่น  ประภัสสร์    เทพชาตรี     ได้กล่าวไว้ใน  เอกสารเรื่อง  ความมั่นคงระหว่างประเทศ : การศึกษาเชิงโลกนโยบายศาสตร์  [55]   โดยกล่าวถึงค่ายของนักวิชาการสองกลุ่มที่มีแนวความคิดขัดแย้งกันในเรื่องของความมั่นคง   โดยในกลุ่มของ   Realist   มองความมั่นคงที่มีกรอบโดยรัฐเป็นหลัก   ในขณะที่ในกลุ่มของ   Idealist  จะมองไปที่ความมั่นคงของโลก  และความมั่นคงในรูปแบบ  Multilateralist  ที่เน้นไปที่  Comprehensive  Security  ดังมีรายละเอียดดังนี้

Multilateralist  หมายถึง  พหุภาคีนิยม  ผู้ที่สังกัดในค่ายนี้จะเน้นว่าแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศนี้ควรจะใช้เวทีพหุภาคีหรือเน้นการสร้างเวทีพหุภาคี เน้นการสร้างระบอบระหว่างประเทศ (Regime) เน้นการสร้างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ หนังสือที่สำคัญที่เป็นตัวแทนของแนวความคิดนี้ชื่อ Global  Engagement (1994)  ใช้คำใหม่ว่าเป็น “Cooperative Security” โดยเน้นถึงความมั่นคงระหว่างกันในการสร้างความมั่นคงร่วมกันในเชิง “Positive Sum Security”  คือว่า ถ้าเราร่วมมือกันจะมีทุกคนได้ ไม่มีใครเสีย ซึ่งต่างจากแนวความคิดของ Realism, Unipolarism ที่มองการเมืองระหว่างประเทศ   หรือประเด็นปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศเป็น  “Zero Sum Game”  คือไม่มีทางที่จะมีคนได้ทั้งสองฝ่าย    โดยถ้าเราได้เขาก็เสีย  มันเป็นการแข่งขันกันในเกมที่มีต้องมีคนได้และมีคนเสีย  แต่สำหรับ Mulilateralism  จะเป็น “Non – Zero Sum Game”    โดยนี่คือแนวความคิดของฝ่าย  Idealist  ที่มองตรงข้ามกับฝ่าย Realist ที่เชื่อว่า  สามารถร่วมมือกันได้โดยได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายไม่มีใครเสีย  เป็นการสร้างเวทีพหุภาคีร่วมกันโดยการสร้าง “International Regime”  หรือ  ระบอบระหว่างประเทศร่วมกัน

Multilateralist   พยายามขยายความหมายของคำว่า  “Security”  ออกไป   ขยายแนวความคิดโดยตีความให้มากกว่าความหมายดั้งเดิม  (Traditional Concept)   ที่จะเน้นเรื่องการทหารเป็นหลัก มาใช้คำว่า “Comprehensive Security”   คือ ความพยายามที่จะมองว่าปัญหาของความมั่นคงระหว่างประเทศมีทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านสิทธิมนุษยชนมาเกี่ยวข้อง   โดยกลุ่มของ Multilateralism   ก็เป็นกลุ่มของ  Idealist   ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานที่ว่าประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพ  โดยพยายามวิเคราะห์กันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่ในการเมืองระหว่างประเทศ  จากที่เราเรียกว่า   “Military  Paradigm”   มาสู่   Nonmilitary  Paradigm”   เน้นเรือง  “Transnational  Force”   หรือ  “Transnational  Relations”  พลังข้ามชาติต่าง ๆ ที่เป็นตัวแปรที่สำคัญ    สำหรับเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศในอนาคต อย่างเช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  กำลังจะเป็นมิติใหม่ของความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือไม่   ปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาในเรืองของสิ่งแวดล้อม เช่น ประเทศหนึ่งเป็นปัญหาทำให้เกิดมลพิษกับอีกประเทศหนึ่ง  ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศหรือไม่   ถ้าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่ถึงขั้นวิกฤตนั้นตรงนี้    ก็อาจแปรเปลี่ยนเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

เพราะฉะนั้นในกรอบของ  Multilateralism  นี้มักจะมองประเด็นปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศกว้างมาก   ดังเห็นได้ว่าผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาด้านความมั่นคง (National  Security  Interest)     ไปผูกเข้ากับหลายเรื่องด้วยกัน   ทั้งทางด้านสิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจระหว่างประเทศ  ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  เพราะฉะนั้น   การวิเคราะห์ถึงทรัพยากรหรือเครื่องมือที่จะนำมาดำเนินนโยบายความมั่นคงในกรอบนี้นั้น    จะมีความหลายหลายจะไม่จำกัดอยู่แค่ความมั่นคงทางการทหาร   แต่มันจะรวมไปถึงเครื่องมือการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้านเศรษฐกิจ  ทางด้านวัฒนธรรม  ด้านสังคมต่าง ๆ

แต่การมองในลักษณะนี้ทำให้เรื่อง  “National  Security”  นั้นขีดเส้นลำบาก ในการขยายแนวความคิดด้าน  “Security”  ออกไปในลักษณะที่เป็นแบบของ   “Comprehensive Security”  จะกลายเป็นว่า เราจะต้องศึกษาในทุก ๆ  เรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศึกษาในเรื่องแวดล้อม  เรื่องเศรษฐกิจ  เรื่องสิทธิมนุษยชน  ซึ่งอาจเป็นแนวโน้มอันใหม่ในยุคหลังสงครามเย็น

มีอีกประเด็นหนึ่ง การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความมั่นคง  เราจะเอาอะไรเป็นตัวคุณศัพท์ (Adjective)  โดยถือว่า  “Security”   เป็นคำนาม (Noun)  เป็น  “National  Security” หรือ “Global Security” หรือว่า  “Human Security” หรือว่า   “Social Security”  จะเอาอะไรเป็นตัวหลัก  แต่กลุ่ม  Idealist   ก็บอกว่าการจะจำกัดความของคำว่า  “Security”  แค่ในระดับชาตินั้นน้อยไป   ต้องดูในแง่ความมั่นคงของโลก (Global Security) โดยส่วนรวม  และมีอีกกลุ่มหนึ่งมองว่า “National Security” นั้นมันแคบเกินไปเป็นการมองในระดับชาติ  ดังนั้นควรมองคน (Human Security)  ว่าความมั่นคงปลอดภัยที่สมบูรณ์นั้นเริ่มจากคน    โดยชาติอาจมีความปลอดภัย แต่คนในชาติไม่มีความปลอดภัย  ถ้าตรงนั้นก็ถือว่าไม่มีความสมบูรณ์ด้านความมั่นคง ถ้าบอกว่า “Human  Security”     เป็นตัวตั้งนั้น ก็ต้องมีการจำกัดความคำว่า “Security”  นั่นคืออะไร   ดังนั้น “Security”   จะต้องมีสิทธิขั้นพื้นฐาน  มีความปลอดภัยในชีวิต  มีสิทธิขั้นพื้นฐานในแง่สิทธิมนุษยชนต่าง    ก็จะตามมา  ก็จะกลายเป็นว่ามาขัดแย้งกันในเรื่องสิทธิมนุษยชน  ตามหลักของ “Human Security”  นาย ก ก็มีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะมี  “Human  Rights”  แต่ถ้าเป็นการมองในแง่ “National  Security”  นี้นาย ก จะมีสิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐนั้น ๆ  จะคิดอย่างไร  จะให้กับนาย ก ได้มากน้อยแค่ไหน  ถ้ามองในแง่ของ  “National  Security”  จะมี  “Concept” ของอธิปไตย   (National  Sovereignty)  เข้ามาเกี่ยว  มีแนวความคิดของการไม่แทรกแซง (Noninterference)ในด้านอธิปไตยของชาติ  ว่าเรื่องของประเทศนั้น ๆ ประเทศอื่น ๆ ไม่เกี่ยว  จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ ที่มีอำนาจอธิปไตย  เหนือดินแดน เหนือประชาชนในชาติจะเป็นผู้ตัดสิน  ซึ่งประเทศที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็จะอ้างหลักการ “Noninterference” ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ยอมรับในประชาคมโลก

            ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการกล่าวถึงภาพรวมต่าง ๆ ในทางเลือก (Option)  ต่าง ๆ ในแง่ของสหรัฐอเมริกา  เรากล่าวถึงสิ่งที่เราเรียกว่าเป็น “Ideal Type”  ที่มองในแง่ว่าให้เห็นชัดว่า ดำ  ขาว  แดงนั้นเป็นอย่างไร  แต่ว่าในโลกของความเป็นจริงนั้น การกำหนดนโยบายก็เป็นการผสมผสานกันในหลาย ๆ แนวทาง  (Approach)  หลาย ๆ ทางเลือก (Option)  ขึ้นอยู่กับระดับว่าเราจะไปให้ความสำคัญตรงไหน  อย่างของคลินตันนั้นก็ยังมีปน ๆ กันอยู่  ประธานาธิบดีคลินตันเอง ก็ยังไม่สามารถละเลยในเรื่อง Realism ได้ในการเล่นเกม  “Balance of  Power”  ใช้กำลังทหารเป็นตัวกำหนดสำคัญ  การเข้ามาสร้างพันธมิตรทางการทหาร  

จากบทความดังกล่าว  สามารถที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของระดับความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างชัดเจน   ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละประเทศหรือนักวิชาการในแต่ละค่าย   อย่างไรก็ตามในเชิงปฏิบัตินั้น  มิได้มีการใช้แนวความคิดในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงลงไป  หรือใช้แบบสุดขั้ว    โดยปกติแล้วจะใช้ในลักษณะที่ประสมประสานกันไป  ทั้งนี้และทั้งนั้นมักมีผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง    

 

6.   บทสรุป

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติไทยกว่าเจ็ดร้อยปี   เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความมั่นคงถาวรของประเทศชาติ ความขัดแย้งภายในจากการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่ภายในชาติ  การต่อสู้รบพุ่งกับอาณาจักรเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน  การต่อสู้ในทุกวิถีทางเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศจากการรุกรานเข้ามายึดดินแดนเป็นอาณานิคมของประเทศทางยุโรป   การต่อสู้กันเองในรูปแบบของ สงครามตัวแทนให้กับประเทศอภิมหาอำนาจของโลกระหว่างค่ายเสรีนิยม กับค่ายคอมมิวนิสต์  การต่อสู้แย่งชิงความมั่งคั่งกันในสังคมโลกจนส่งผลทำให้ระบบเศรษฐกิจของเราต้องล้มพับลง   ล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติของไทยเราอย่างใหญ่หลวง   แต่ในที่สุดเราก็ผ่านพ้นวิกฤติต่าง ๆ นั้นได้  

การวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ชาติอย่างชาญฉลาด     ด้วยการใช้พลังอำนาจแห่งชาติที่มีอยู่    ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ความเป็นผู้นำของชาติของรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา  ความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนภายในชาติทุกหมู่เหล่า  ได้ส่งผลให้ประเทศไทยของเราผ่านพ้นช่วงเวลาที่วิกฤตินั้นมาได้

สังคมโลกปัจจุบันที่อยู่ในยุคโลกาภิวัตน์    กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสังคมมนุษย์ชาติ   การเชื่อมต่อกันของสังคมแต่ละประเทศ  การพึ่งพากันในทุก ๆ ด้านที่เกิดขึ้น  บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น   การเข้ามามีส่วนร่วมขององค์กรเอกชน  องค์กรข้ามชาติต่าง ๆ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และอินเทอร์เน็ต  ที่ทำให้เราสามารถพูดคุยได้กับคนทั้งโลกเพียงแค่เคาะไปที่แป้นพิมพ์   ได้ส่งผลทำให้ความเคยชินที่เรามีอยู่  เคยปฏิบัติอยู่  เกิดผลกระทบที่จะต้องเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล

ในช่วงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้  มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก  การเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลก  หรือสังคมประเทศก็ตาม   มักจะมีความขัดแย้ง  และปัญหาที่รุนแรงเกิดขึ้นเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างประเทศ  ระหว่างเผ่าพันธ์  ระหว่างกลุ่มศาสนา  ระหว่างกลุ่มอุดมการณ์การเมือง  สิ่งดังกล่าวนี้จะส่งผลให้ประเทศชาติขาดความมั่นคง  ประชาชนมีความเดือดร้อนในทุกพื้นที่  จนกว่าช่วงเปลี่ยนถ่ายของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะจบสิ้นลง  หรือทุกอย่างเข้าสู่สภาพปกติ  และทุกคนเคยชินกับวิถีชีวิตใหม่แล้ว

ความไม่มั่นคง  และความเดือดร้อนของประชาชนดังกล่าว  เราสามารถป้องกันได้  หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถที่จะผ่อนหนักเป็นเบาได้  ด้วยการสำรวจตรวจสอบปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง  ซึ่งก็คือภัยคุกคามต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น  หรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต  ทั้งที่เป็นภัยคุกคามที่มาจากภายนอก  หรือเกิดขึ้นภายในประเทศก็ตาม  

และเมื่อทราบปัญหาแล้ว  เราก็สามารถที่จะสำรวจความสามารถของเราเองที่มีอยู่  ซึ่งก็คือ  พลังอำนาจแห่งชาติของประเทศเรา  ว่ามีอะไรอยู่บ้าง  มากน้อยเพียงใด  พร้อม ๆ กับการคิดหาหนทางในการแก้ไขปัญหา  หรือหาหนทางในการป้องกันมิให้ปัญหาที่จะเกิดต้องเกิดขึ้น  หรือผ่อนปัญหาให้เบาบางลงไป  ซึ่งก็คือการกำหนดยุทธศาสตร์ชาตินั่นเอง 

เมื่อได้ยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาแล้ว  ก็จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  และประชาชนทุกหมู่เหล่าที่จะได้นำพา  ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวนี้ไปปฏิบัติในส่วนที่ตนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง  ในขณะที่ผู้ที่มีหน้าที่ในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ก็จะคอยวิเคราะห์สถานการณ์  และประเมินผลยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังดำเนินอยู่   ทั้งนี้ก็เพื่อการปรับแก้  หรือยกเลิกยุทธศาสตร์ดังกล่าว  และนำยุทธศาสตร์ชาติใหม่มาใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสังคมโลกและสังคมประเทศชาติต่อไป    สำหรับเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่เราจะไปนั้น ก็คือ วัตถุประสงค์แห่งชาติ  ซึ่งมีความมั่นคงแห่งชาติ  เป็นปัจจัยสำคัญหลักอยู่นั่นเอง

ถ้ามั่นใจว่าประเทศชาติมีความมั่นคงเพียงพอแล้ว  หรือมั่นใจได้ว่าสามารถกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างความมั่นคั่งไปพร้อมกับความมั่นคงได้แล้ว    นักยุทธศาสตร์ชาติ  และนักความมั่งแห่งชาติ   ก็ควรที่จะได้พัฒนาหรือกำหนดยุทธศาสตร์ชาติให้มีแนวทางของการดำเนินการเพื่อความมั่งคั่งไปพร้อมกับความมั่นคง  ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะต้องสนองซึ่งกันและกัน   และจะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาของสังคมของประเทศ  หรือนำพาประเทศชาติ  และประชาชนไปสู่ความสงบสุขต่อไปได้

“ การยืนที่มั่นคง  จะนำพาไปสู่การเดิน  และการวิ่งที่มั่นคงต่อไป  และการเดิน การวิ่ง  ก็จะสร้างเสริมพละกำลังให้กับตัวเรา  และจะทำให้เรายืน  เดิน  และวิ่งได้อย่างมั่นคง

ถ้ายืนได้ไม่มั่นคง  ในการที่เราจะเดิน  หรือวิ่งไป  เมื่อผ่านระยะทางไปไม่เท่าใด  เราก็อาจจะต้องล้มลงไป  และเมื่อต้องการจะลุกขึ้นมาอีกครั้ง  เราจะต้องใช้พลังกาย  และพลังใจเป็นอย่างมากเพื่อที่จะลุกยืนได้เช่นเดิม ”

“ ความมั่นคงก็เช่นเดียวกันกับการยืน   เมื่อประเทศชาติมีความมั่นคงแล้ว  เราก็จะสามารถนำพาประเทศชาติพัฒนาไปข้างหน้าให้มีความมั่งคั่งได้  และเมื่อเรามีความมั่นคั่ง  ความมั่งคั่งดังกล่าวก็จะส่งผลให้  ประเทศชาติมีความมั่นคงยิ่งขึ้น  และสามารถสร้างความมั่งคั่งไปพร้อมกับความมั่นคงได้

แต่ถ้าประเทศชาติยังคงไม่มีความมั่นคงในแต่ละด้านเพียงพอ  แต่เราพยายามพัฒนาและสร้างความมั่นคั่งที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความมั่นคง  เราก็จะล้มลงในที่สุด  และผลที่ตามมาก็คือ ต้องใช้ความพยายามอีกมากมายที่จะลุกขึ้นมาด้วยความมั่นคง  และพัฒนาให้มั่งคั่งไปพร้อมกับความมั่นคงได้ ”

“ ปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้นในอดีต  และท้ายที่สุดก็คือ  การล้มทางเศรษฐกิจที่ต้องการเวลาอีกยี่สิบปีสำหรับการลุกขึ้นยืนให้มั่นคง  คงจะเป็นบทเรียนให้นักยุทธศาสตร์ชาติ  และผู้ศึกษาความมั่นคง  ได้เป็นข้อเตือนใจสำหรับการคิดไปข้างหน้าต่อไป

…………………………….

 



[51]  พจน์  พงศ์สุวรรณ์, พล.., อ้างแล้ว  ในเชิงอรรถที่ 1 , หน้า  42

[52] วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, อ้างแล้ว ในเชิงอรรถที่ 6, หน้า 2 - 77

[53] วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, เพิ่งอ้าง, หน้า 2 - 77

[54] วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, อ้างแล้ว  ในเชิงอรรถที่ 6, หน้า 2 – 60 ถึง 2 - 76

[55] ประภัสสร์  เทพชาตรี, อ้างแล้วใน  7,  หน้า  59 - 62

Hosted by www.Geocities.ws

1