<< หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links  >>

 


วิเคราะห์อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของ กองทัพบก และกองทัพอากาศ

บทนำ

ในช่วง ปีที่มีการใช้อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง และใช้พื้นที่ในการนำอากาศยานขึ้นลงน้อย ( Vertical and short take off and landing VSTOL.) ทั้งทางด้านทหารและพลเรือนเป็นจำนวนมาก ในจำนวน VSTOL ทั้งหมด เฮลิคอปเตอร์ มีความได้เปรียบ ในด้านการขึ้นลงแนวดิ่ง การลอยตัวอยู่กับที่ และประสิทธิภาพในการบินได้หลายทิศทาง

กองทัพก็มีความจำเป็น ในการปฏิบัติภารกิจที่ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ เป็นจำนวนมากยิ่งขึ้น เช่นกัน โดยเฉพาะกองทัพบก ซึ่งภารกิจด้านการบินส่วนใหญ่ เป็นการบินระยะสั่น ความสูงไม่มาก และยุทธศาตร์กองทัพบก สอดคล้องกับประสิทธิภาพของอากาศยาน ที่ต้องใช้พื้นที่ในการขึ้นลงน้อย ส่วนกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ก็มีความจำเป็นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในภารกิจสนับสนุนการรบ และทางธุรการเช่นกัน
ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มจำนวนการใช้เฮลิคอปเตอร์ อุบัติการณ์ของอากาศยาน ย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ด้านอุบัติเหตุจากเฮลิคอปเตอร์ ทั้งจากกองทัพบก และกองทัพอากาศ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้จากอดีต นำมาวิเคราะห์วิจัย โดยมุ่งเน้นไปในด้านการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ว่ามีความสำพันธ์กันอย่างไร กับลักษณะของอุบัติเหตุ ลักษณะอุปกรณ์ป้องกันตัว การช่วยเหลือ ความสำพันธ์อื่นๆ เพื่อผลในความมุ่งหมายของคำว่า นิรภัยการบิน ต่อไปในอนาคต

วัตถุและวิธีการ

ศึกษาจากการรวบรวมรายงานอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ ทั้งหมดในรอบ ๕ ปี ( พ.ศ.๒๕๓๐–๒๕๓๔ ) ของกองทัพบก และกองทัพอากาศ โดยแยกนำมาศึกษาเฉพาะกรณีอุบัติเหตุใหญ่ ( ไม่นับรวมอุบัติการณ์ ) สามารถรวบรวมได้ ๒๙ รายงาน ทั้งรายงานทางด้านกองทัพบก ( ข้อมูลรายละเอียดบางประการไม่สามารถรวบรวมได้ โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ ) และข้อมูลทางด้านกองทัพอากาศ และข้อมูลทางการแพทย์ โดยมีขบวนการดังนี้
รวบรวมข้อมูลจากรายงาน อากาศยานอุบัติเหตุของแผนกนิรภัยการบินศูนย์การบินทหารบก พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๔
รวบรวมข้อมูลจากรายงาน อากาศยานอุบัติเหตุของกองนิรภัยการบิน กรมจเรทหารอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๔
รวบรวมข้อมูลจากรายงาน อากาศยานอุบัติเหตุทางการแพทย์ แผนกนิรภัยการบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ
ศึกษารายละเอียดการบาดเจ็บและการเสียชีวิต ของผู้เกี่ยวข้องทุกคนเท่าที่ค้นได้

ข้อมูลแบบของเฮลิคอปเตอร์ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

กองทัพบก
ฮ.ท.๑ , ฮ.ท.๒๑๒ , ฮ.ฝ.๓๐๐
กองทัพอากาศ
ฮ.๖ , ฮ.๔ ก

นิยามความเสียหาย
๑.เสียหายขั้นจำหน่าย
๒.เสียหายขั้นเสียหายมาก

ขั้นการบาดเจ็บ
ตามระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วย นิรภัยการบิน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้กำหนดขั้นการบาดเจ็บ ออกเป็น ๔ ขั้น ดังนี้
๑.เสียชีวิต หมายถึงการบาดเจ็บของนักบิน หรือผู้เกี่ยวข้องกับอากาศยานอุบัติเหตุ ยังผลให้เสียชีวิตทันที หรือในเวลาต่อมา
๒.บาดเจ็บสาหัส หมายถึง การบาดเจ็บที่ได้รับนั้น จะต้องเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานเกินกว่า ๒๑ วัน หรือทุพพลภาพและพิการ เช่น กระดูกหัก บาดเจ็บ ฉีกขาด ช่องท้องหรือทรวงอกทะลุ อวัยวะภายในบอบช้ำมาก ผิวหนังไหม้เป็นพื้นที่มากกว่า ๕ เปอร์เซ็นต์
๓.บาดเจ็บเล็กน้อย หมายถึง การบาดเจ็บที่ได้รับนั้น เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานเกินกว่า ๒๑ วัน และเป็นบาดเจ็บธรรมดา
๔.ปลอดภัย หมายถึงนักบินหรือผู้เกี่ยวข้องกับอากาศยานอุบัติเหตุนั้นๆ ไม่ได้รับการบาดเจ็บเลย

ผล
ข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิต ในอุบัติเหตุที่รวบรวมได้ เปรียบเทียบระหว่างขั้นการบาดเจ็บ แยกในแต่ละปี 
( พ.ศ.๒๕๓๐– ๒๕๓๔ ) ของกองทัพบกและกองทัพอากาศ มีดังนี้

ตารางที่๑ จำนวนผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ กองทัพบก ปี พ.ศ.๒๕๓๐–๒๕๓๔

ปี พ.ศ.

เสียชีวิต

บาดเจ็บสาหัส

บาดเจ็บเล็กน้อย

พ.ศ.๒๕๓๐
พ.ศ.๒๕๓๑
พ.ศ.๒๕๓๒
พ.ศ.๒๕๓๓
พ.ศ.๒๕๓๔
รวม

๑๔



๑๖
๔๔

๑๔

-


๒๘

๑๐

-


๒๖

ตารางที่๒ จำนวนผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ กองทัพอากาศ ปี พ.ศ.๒๕๓๐–๒๕๓๔

ปี พ.ศ.

เสียชีวิต

บาดเจ็บสาหัส

บาดเจ็บเล็กน้อย

ปลอดภัย

พ.ศ.๒๕๓๐
พ.ศ.๒๕๓๑
พ.ศ.๒๕๓๒
พ.ศ.๒๕๓๓
พ.ศ.๒๕๓๔
รวม


-


-
๑๒

-
-


-
๑๐

-
-

-


-



๒๖

ตารางที่๓ ความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บกับความเสียหายของอากาศยาน ปี พ.ศ.๒๕๓๐ –๒๕๓๔

ปี พ.ศ.

อากาศยานเสียหายขั้นจำหน่าย

อากาศยานเสียหายมาก

เสียชีวิต

บาดเจ็บ

เสียชีวิต

บาดเจ็บ

พ.ศ.๒๕๓๐
พ.ศ.๒๕๓๑
พ.ศ.๒๕๓๒
พ.ศ.๒๕๓๓
พ.ศ.๒๕๓๔
รวม

๑๙

๑๑

๑๖
๕๓

๒๑
-
-
๑๐
๑๒
๓๑


-
-

-



-

-
๑๕


รายงานการบาดเจ็บและเสียชีวิต
จากข้อมูลที่หาได้ สามารถแยกการบาดเจ็บ กับตำแหน่งการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
การบาดเจ็บที่ศรีษะ พบประมาณ ๘๕ เปอร์เซ็นต์
การบาดเจ็บบริเวณทรวงอก พบประมาณ ๗๑ เปอร์เซ็นต์
การบาดเจ็บบริเวณแขน พบประมาณ ๕๗ เปอร์เซ็นต์
การบาดเจ็บบริเวณขา พบประมาณ ๕๗ เปอร์เซ็นต์
การบาดเจ็บบริเวณหลัง พบประมาณ ๒๘ เปอร์เซ็นต์
 

<< ย้อนกลับ หน้าต่อไป >>

 
         

Suggestions: mailto:[email protected]
Copyright
 
2001 1st. Cavalry Division Aviation Company - All rights reserved

Hosted by www.Geocities.ws

1