ถ้าจะพูดถึงปลาดึกดำบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนั้น ปลาปอด (lung fishes) ก็เป็น 1 ใน 2 ชนิด ที่กล่าวนั้น และถือเป็นฟอสซิลน้ำจืดที่ยังมีชีวิต ในขณะที่อีกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม ซึ่งชนิดนั้นก็คือ ซีลาแคนธ์ นั่นเองครับ ที่บอกว่าปลาปอด เป็นฟอสซิลน้ำจืดที่ยังมีชีวิตก็เนื่องจากว่าพวกมันเป็นปลาที่ยังต้องอาศัยการหายใจด้วยปอดอยู่ อีกทั้งบางชนิดสามารถอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานบางทีอาจจะเป็นฤดูกาลเลยก็ว่าได้ครับ
 

 
ปลาปอดนั้นถูกจัดหมวดหมู่แยกออกมาเป็นกลุ่มต่างหาก จากที่มีการจำแนกปลาทั้งหมดทั่วโลกออกเป็น 6 กลุ่ม ปลาปอดจัดอยู่ในกลุ่ม (Lobe-finned fishes) ซึ่งจะมีลักษณะเด่นคือมีพูเนื้อ (lobes) หรือ เนื้อเยื่อ (filaments) มีครีบหางเดี่ยว (heterocercal) มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ cosmoid (cosmoid scales) ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1.ปลาซีลาแคนธ์ (Coelacanthiformes - coelacanths) 2. ปลาปอดแอฟริกา และ อเมริกาใต้ (Lepidosireniformes - South American and African lungfishes) 3. ปลาปอดออสเตรเลีย (Ceratodontiformes - Australian lungfishes)

 
ปลาปอด ถือเป็นหลักฐานและร่องรอยของการวิวัฒนาการของปลาในอดีตที่พัฒนามาเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่ง
ปลาปอดมีลักษณะเป็นปลาโบราณมีรูปทรงคล้ายปลาไหล มีกำลังมาก ปลาปอดนั้นมีกระดูกครีบคู่ที่เทียบได้กับแขนขาของสัตว์ชั้นสูง มีแกนยาวและมีกล้ามเนื้อประกอบชัดเจน หางมีลักษณะเป็น Diphycercal เกล็ดเป็น Cosmoid ภายในลำไส้มีแผงเนื้อที่วางตัวเป็นเกลียวตามความยาวลำไส้ ชื่อของปลาปอดมีที่มาจากปลาชนิดนี้มีกระเพาะลมหนามาก อยู่ใกล้สันท้อง (เทียบได้กับหน้าอก) และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะ อาหาร ทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจน และกำจัดขยะ ในขณะที่ปลาทั่วไปในส่วนนี้จะทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวในขณะที่ปลาว่ายน้ำ

นอกจากนี้ปลาปอดยังมีระบบจมูกที่แตกต่างจากปลาทั่วไป คือมีท่อเชื่อมกับช่องปาก (ในคราวที่แล้วที่นำเสนอเกี่ยวกับปลาบิเชียไปนั้น ก็พบมีถุงลมที่ใช้เก็บอากาศเช่นเดียวกันเพียงแต่ว่าถุงลมของปลาบิเชียไม่สมบูรณ์เหมือนอย่างในของปลาปอด) ในปลาปอดยุคใหม่ (ปลาปอดแอฟริกา และ อเมริกาใต้) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แม้ในช่วงที่แหล่งน้ำที่มันอาศัยแห้งขอด โดยที่พวกมันจะขุดโพรงในโคลนและปิดผนึกโพรงนั้นไว้ด้วยเมือก ในระหว่างนั้น พวกมันจะหายใจเอาอากาศโดยตรงผ่านทางถุงลมและจะลดการเผลาผลาญพลังงาน (Metabolic) อย่างรวดเร็ว (แต่ถึงกระนั้นปลาปอดก็สามารถจมน้ำตายได้หากไม่สามารถขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำได้)
 

 
ปลาปอด ใช้เรียก ปลาในกลุ่ม Ceratodontidae และ Lepidosirenidae พบในแม่น้ำในอเมริกาใต้, แอฟริกา และ ออสเตรเลีย. มีครีบคล้ายพูเนื้อ (Lobefins) ปลาปอด มีความสัมพันธุ์เรียกได้ว่าเป็นบรรพบุรุษ ของพวกสัตว์สี่เท้าที่อาศัยอยู่บนบก (tetrapods).และ มีลักษณะที่สำคัญบางอย่าง ร่วมกัน ในจำพวกนี้มีรูปแบบผิวของฟัน, ปอดแยกออกจากกัน, การเรียงตัวของกระดูกกระโหลก และ การมีแขนงขนาดเท่าๆกัน 4 ข้างในตำแหน่งเดียวกับโครงสร้างของ ขาทั้ง 4 ของ Tetrapods แต่อย่างไรก็ตามยังมีการถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธุ์ ระหว่าง Sarcoptergii ปลาปอดชนิดที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ชนิดที่พบในออสเตรเลีย มีลำตัวที่แข็งแรง มีขนาดประมาณ 5 ฟุต (150 ซม.) พวกมันมีครีบ 1 คู่ ปรับให้มีขนาดสั้น การทำงานของปอดนั้นยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง . ครีบของปลาปอดชนิดอื่น จะมีครีบที่ยาวกว่า เป็นอวัยวะรับความรู้สึกได้เล็กน้อย รูปร่างโดยทั่วไปดูคล้ายปลาไหล ในชนิดที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาและ จะจำศีลใน ก้อนดินเหนียวแข็งตลอดช่วงหน้าแล้ง. มันจะจำศีลอยู่ในเยื่อเมือก และ ปรับจากการหายใจทางปากไปเป็นหายใจผ่านท่อแทน
 

 
ทำให้พวกมันสามารถอาศัยโดยปราศจากน้ำได้นานกว่า 3 ปี ในน้ำปลาปอดยุคใหม่ (แอฟริกา,อเมริกาใต้) จะหายใจผ่านเหงือก ไข่ของปลาปอดกลุ่มนี้จะไข่ในถ้ำลึกใต้หนองน้ำ และไข่จะดูแลโดยตัวผู้ . เมื่อลูกปลาปอดเกิดขึ้นมาจะมีลักษณะพิเศษคือมีเหงือกภายนอกเป็นลักษณะเนื้อเยี่อสีแดงโผล่ออกมาบริเวณ pelvic fins และเหงือกชนิดนี้จะอยู่แค่ชั่วคราวเท่านั้นเมื่อโตขึ้นเหงือกนี้จะหายไป (จะไม่พบในปลาปอดออสเตรเลีย) อาหารของปลาปอดนั้นก็ได้แก่ หอย และ พืช และจะมีการกินอาหารเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นเก็บสะสมอาหารเพื่อใช้ในระหว่างการจำศีล
 

 

เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างปลาปอดยุคใหม่ Lepidosireniformes (ปลาปอดแอฟริกาและปลาปอดอเมริกาใต้) กับ ปลาปอดยุคเก่า Ceratodontiformes (ปลาปอดออสเตรเลีย)
จะพบว่ามีความต่างกันอยู่หลายส่วน
Lepidosireniformes (ปลาปอดแอฟริกาและปลาปอดอเมริกาใต้) จะมีครีบอก (Pectoral fin) กับครีบส่วนล่าง (Pelvic fins) เป็น แผ่นเนื้อเยื่อ (filament) ไม่มีเส้นครีบ เกล็ดมีขนาดเล็ก มีถุงลม (air bladder (lung)) 1 คู่ ในปลาปอดที่ยังเล็กนั้นจะมีเหงือกอยู่ภายนอก (ส่วนนี้ก็คล้ายพวกบิเชียเหมือนกัน) ปลาปอดตัวเต็มวัยนั้นจะมีการจำศีลในช่วงฤดูแล้ง
 


 
Ceratodontiformes (ปลาปอดออสเตรเลีย) ครีบอก (Pectoral fin) กับครีบหาง (Pelvic fins) คล้ายตีนกบ (flipper) เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีถุงลม (air bladder (lung)) ไม่เป็นคู่ ในปลาปอดกลุ่มนี้เมื่อยังเล็กนั้นจะไม่มีเหงือกภายนอกเหมือน กลุ่ม Lepidosireniformes และในตัวเต็มวัยนั้นจะไม่มีการจำศีลในช่วงฤดูแล้ง
 

 
ปลาปอดออสเตรเลีย จะมีลักษณะเด่นคือ มีขนาดตัวที่ยาว ลำตัวมีขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีเกล็ดขนาดใหญ่ มีตาขนาดเล็ก ตาของปลาปอดออสเตรเลียแย่มาก ในการหาอาหารนั้นปลาปอดชนิดนี้ใช้การสัมผัส และ กลิ่น มากกว่า ใช้สายตา และมีครีบคล้ายใบพาย อยู่บริเวณครีบอก และ ครีบบริเวณเชิงกราน ครีบหลังเริ่มตั้งแต่ปลายลำตัว ยาวไปจนถึงปลายหางโดยรวมเข้าด้วยกันกับครีบหางและครีบก้น ปลาปอดออสเตรเลียมีสี เขียวมะกอก ไปจนถึง สีน้ำตาล บนบริเวณหลัง และด้านข้าง โดยที่ มีจุดสีเข้มกระจายๆทั่วลำตัว ช่วงล่างลำตัวจะมีสีที่อ่อนกว่าช่วงบนลำตัว ปลาปอดชนิดนี้จะมีปอดเดี่ยว ในระหว่างช่วงฤดูแล้ง เมื่อแหล่งน้ำเริ่มจะอยู่นิ่ง หรือเมื่อคุณภาพน้ำเปลี่ยนไป ปลาปอดจะสามารถขึ้นมาเอาอากาศบริเวณผิวน้ำได้ ปลาปอดออสเตรเลีย จะพบได้ทั่วไปในบริเวณ แหล่งน้ำไหลช้าๆ ในแถบ ตะวันออกเฉียงใต้ของควีนส์แลนด์
 

 
ปลาปอดแอฟริกา เท่าที่ทราบมีความสามารถที่จะหมกตัวอยู่ในโคลน ในช่วงฤดูแล้ง เมื่อแหล่งน้ำแห้งขอด ปลาปอดชนิดนี้จะสร้างเยื่อเมือกขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเมือกเหล่านี้จะแข็งและเปลี่ยนไปปลอกคล้ายรังไหม ซึ่งปลาปอดจะอยู่ภายในนั้นได้เป็นระยะเวลาหลายเดือน ภายในโพรงเยื่อเมือกของมัน
 

 
ซึ่งสามารถแจงแจงได้ดังนี้คือ
ปลาปอดยุคใหม่ (Lepidosireniformes - South American and African lungfishes)
สามารถจำแนกออกเป็น 2 วงศ์ คือ วงศ์ ปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosirenidae - (Aestivating lungfishes))
ปลาปอดอเมริกาใต้ (Aestivating lungfishes) พบในทวีป อเมริกาใต้, บราซิล และ ปารากวัย. ปลาปอดวงศ์นี้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและหนองน้ำที่ไหลช้าๆ มีเหงือกหลัก 5 หลัก และ 4 เหงือกย่อย มีลำตัวยาวมาก เส้นดูคล้ายครีบอก. ปลาปอดวงศ์นี้สามารถมีชีวิตรอดในที่แห้งแล้ง โดยการ aestivation (เป็นการลดการเผาผลาญพลังงาน (metabolism)) จะขุดโพรงในโคลน และ มีเนื้อเยื่อเมือกทำเป็นรังคล้ายรังไหมหุ้มห่อปลาปอดวงศ์นี้ไว้. ส่วนอีกวงศ์ได้แก่ วงศ์ ปลาปอดแอฟริกา (Protopteridae - (African lungfishes)) ปลาปอดในวงศ์นี้มีเพียง 1 ชนิด เท่านั้น คือ Lepidosiren paradoxa. พบในทวีปแอฟริกา ปลาปอดวงศ์นี้มี 6 เหงือกหลัก และ 5 เหงือกย่อย ลำตัวมีลักษณะยาวพอประมาณ ปลาปอดวงศ์นี้มีความสามารถเอาชีวิตรอดได้ในช่วงแห้งแล้ง โดยการ aestivation เช่นเดียวกับปลาปอดกลุ่มอเมริกาใต้
 

 
Lepidosiren paradoxa (Fitzinger, 1837)
ชื่อเรียกทั่วไป South American lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 125 ซม. TL
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ 24 – 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ อเมริกาใต้ : อเมซอน, ปารากวัย และ lower Paranแ River basins.
ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งมีการไหลของน้ำเพียงเล็กน้อย. ลูกปลาปอด จะกินพวกตัวอ่อนของแมลง และ หอย ขณะที่ตัวเต็มวัย เป็นพวก omnivorous (กินทั้งพืชและสัตว์) กินสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในน้ำ, พวกไม่มีกระดูกสันหลังเช่นหอยฝาเดียว หอยสองฝา และ กุ้ง รวมทั้งพืชจำพวกเห็ดรา. สามารถอยู่ในน้ำที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ โดยมันมีปอด 2 ข้าง ในระหว่างฤดูแล้ง ปลาปอดชนิดนี้จะขุดโพรงในโคลน ลึกประมาณ 30 – 50 ซม. และจะผนึกทางเข้าด้วยดินเหนียว, และจะทำการลดการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ในระหว่างช่วงการจำศีล. ช่วงนี้ปลาจะหายใจโดยอากาศ และจะหมกตัวอยู่ในนั้น ไม่ขึ้นมาบนพื้นผิวเลย จนกระทั่งถึงช่วงฤดูฝน กระบวนการทำงานก็จะเริ่มอีกครั้ง. พ่อแม่ปลาจะทำโพรง (ยาวประมาณ 1.5 เมตร) เพื่อสร้างเป็นรัง, ตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลตัวอ่อน. ตัวผู้จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในโพรง เพราะ ช่วงฤดูวางไข่ ครีบหาง จะพัฒนาให้มีเส้นเลือดบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก. เหงือกที่คล้ายโครงสร้างของขนนก ซึ่งจะทำหน้าที่ ตรงข้ามกับเหงือก คือ จะทำหน้าที่ปล่อยออกซิเจนออกจากเลือด และรับคาร์บอนไดออกไซด์, เนื้อเยื่อ หายไปหลังจากช่วงสิ้นสุดฤดูกาลวางไข่ . ช่วงที่ปลาปอดยังเล็กจะดูคล้ายกับพวกสัตว์เลื้อยคลาน อย่างพวกลูกอ๊อด มีสี่เหงือกภายนอก ระหว่างอาทิตย์แรกของชีวิต พวกมันจะหายใจผ่านทางเหงือกภายนอกอย่างเดียว. จนกระทั่งมีอายุได้ 7 สัปดาห์ จะเริ่มหายใจด้วยอากาศได้ และ เหงือกภายนอกจะเริ่มหายไป
 

 
ปลาปอดแอฟริกา พบในทวีปแอฟริกา มี 6 เหงือกหลัก และ 5 เหงือกย่อย. ลำตัวยาวพอประมาณ. โดยที่ปลาปอดวงศ์นี้ มีความสามารถอยู่รอดได้ในที่แห้งแล้ง โดยการ aestivation (เป็นการลดการเผาพลาญพลังงาน (metabolism) เช่นเดียวกับในวงศ์ปลาปอดอเมริกาใต้). ขุดโพรงอยู่ในโคลน และ จะหุ้มห่อ ด้วยเนื้อเยื่อคล้ายรังไหม. ปลาปอดกลุ่มนี้มีความยาวเต็มที่ 180 ซม. ส่วนมากจะพบเห็นได้ในตู้ปลาหรือสถานที่เลี้ยง
ปลาปอด แอฟริกา มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่
Protopterus aethiopicus aethiopicus
Protopterus aethiopicus congicus
Protopterus aethiopicus mesmaekersi
Protopterus amphibius
Protopterus annectens annectens
Protopterus annectens brieni
Protopterus dolloi

 

 
Protopterus aethiopicus aethiopicus (Heckel, 1851)
ชื่อเรียกทั่วไป Marbled lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 200 ซม. TL หนัก 17 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater ความลึก 0 – 60 เมตร
ภูมิอากาศ 25 – 30 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : แม่น้ำ Nilemt , ทะเลสาป Albert, Edward, Victoria, Nabugabo, Tanganyika, Kyoga และ No
ปลาปอดชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณริมแม่น้ำและริมทะเลสาบ, หนองน้ำ และ พื้นที่ที่น้ำท่วมถึง. ในทะเลสาป Victoria พบอยู่ในบริเวณทะเลสาปเปิด และ ริมหนองน้ำ. ในทะเลสาบ Tanganyika จะพบอยู่บริเวณเดียว ใกล้กับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ. Protopterus aethiopicus สามารถอยู่ในลำธาร และ หนองน้ำ ที่จะมีช่วงแห้งแล้งในปีปีหนึ่งเป็นระยะเวลานาน. พวกมันอดทนต่อความแห้งแล้ง ในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง โดยการ aestivating ในปลอกเมือกที่หุ้มตัวมันอยู่ จนกระทั่งถึงช่วงฤดูฝนต่อไป, หายใจเอาอากาศโดยผ่านช่องนำอากาศเข้ามาจากภายนอก. ปลาปอดชนิดนี้จะผสมพันธุ์กันในช่วงระหว่างฤดูน้ำท่วม. 1 ในตัวเมียหลายๆตัว จะวางไข่ในโพรง โดยที่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายขุดและทำความสะอาดรัง. ซึ่งต่อมาตัวผู้เหล่านี้จะทำการปกป้องดูและไข่ และตัวอ่อน. อาหารที่สำคัญของปลาปอดที่โตเต็มวัย และ กลุ่มที่อยู่ในช่วงก่อนที่จะโตเต็มวัยนั้น จะเป็นพวกหอย แต่ พวกปลาเล็กๆ และ แมลงพวกมันก็กินแต่เป็นปริมาณที่เล็กน้อย. ในช่วงที่ยังเล็ก และมีขนาดเล็กกว่า 35 ซม. TL จะกินพวก แมลงทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่
 

 
Protopterus aethiopicus congicus (Poll, 1961)
ขนาดโตเต็มที่ 100 ซม. TL หนัก 7.5 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : ลุ่มแม่น้ำ Congo จากตอนบนของ Lualaba ไปจนถึง Kinshasa
สถานภาพปัจจุบัน เริ่มมีจำนวนน้อยลงมาก
ปลาปอดชนิดนี้เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือ ลำธาร. ซึ่งเป็นแหล่งที่สงบเงียบ มีโคลนอยู่ใต้น้ำ
 

 
Protopterus aethiopicus mesmaekersi (Poll, 1961)
ขนาดโตเต็มที่ 95.3 ซม. TL
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำ Congo
ปลาปอดชนิดนี้เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือ ลำธาร. ซึ่งเป็นแหล่งที่สงบเงียบ มีโคลนอยู่ใต้น้ำ

ชนิดย่อยชนิดนี้ หารูปให้ไม่ได้นะครับ จากรูปเป็น Protopterus aethiopicus congicus
 


 
Protopterus amphibius (Peters, 1844)
ชื่อเรียกทั่วไป Gilled lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 44.3 ซม. TL
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : แถบชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา จาก Somalia และ Kenya, สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Zambesi. ปัจจุบันปลาปอดชนิดนี้พบทางใต้ของแอฟริกาด้วย แต่ต้องรอการยืนยันให้แน่นอนอีกทีหนึ่ง
ปลาปอดชนิดนี้พบใน หนองน้ำ และ บริเวณที่น้ำท่วมถึง, ปลาปอดจะสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้เป็นเดือนใต้โคลนที่แห้งของบริเวณที่น้ำท่วมถึง
  

 
Protopterus annectens annectens (Owen, 1839)
ชื่อเรียกทั่วไป West African lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 100 ซม. TL หนัก 4 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน อุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : Senegal, Niger, Gambia, Volta และลุ่มน้ำ Chad, รวมทั้งพบชั่วคราวในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำ Chari ใน Sudan ตะวันตก; Bandama และ ลุ่มน้ำ Como ใน Cote d'Ivoire และลุ่มน้ำบางแห่งของ Sierra Leone และ Guinea
พบในริมหนองน้ำและ ห้วย ของแม่น้ำและทะเลสาบ. พวกมันอยู่ร่วมกันกับต้นไม้น้ำในช่วงฤดูการสืบพันธุ์และหาอาหร ในระบบนิเวศน์ รังสร้างในพื้นที่ที่มีหญ้าหรือวัชพืช. โดยทั่วไปพวกมันจะอาศัยอยู่ในเขตน้ำท่วมถึง และ เมื่อพื้นที่นี้น้ำแห้งลงในช่วงฤดูแล้ง. มันจะขับเมือกกระจายรอบตัวมัน โดยมีลักษณะเป็นรังไหมแผ่นบางๆ. พวกมันจะดำรงชีวิตอยู่ในนั้นเป็นปีโดยเป็นลักษณะการจำศีล จากช่วงสิ้นสุดของฤดูฝนไปจนถึงช่วงเริ่มฤดูฝนถัดไป. การจำศีลสิ้นสุดลงและออกจากถุงเมือกนั้น เหงือกทำงานอีกครั้ง ซึ่งพวกมันอาจจะอยู่ลึกถึง 3 – 25 ซม. ใต้พื้นโคลน ขึ้นอยู่กับความยาวของตัวปลา. ปลาปอด จะบิดตัวไปมารอบๆ ด้วยวิธีนั้นมันจะรูปทรงของถุงเมือกพองขึ้น จากนั้นมันจะทำการพักผ่อน โดยที่ปลายจมูกจะตั้งขึ้นสูง เพื่อหายใจเอาอากาศผ่านปากของท่อของโพรงที่มันอาศัยอยู่ จากนั้นมันก็จะดำลงไปส่วนกว้างของโรงนั้น ซึ่งหลังจากนั้นน้ำจะหายไป อวัยวะช่วยหายใจจะหยุดทำงาน. ท่ออากาศของปลาปอดจะยื่นขึ้นไปยังผิวหน้าดิน. ภายใต้สภาพแวดล้อมของน้ำเช่นนี้ปลาปอดจะสามารถจะมีชีวิตอยู่รอดได้นาน 3 ปีครึ่ง ในช่วงที่แห้งแล้งเช่นนี้. ระหว่างนั้นปลาปอดจะไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับ ปลาปอดชนิด aestivating. อาหารนั้นพวกมันกินทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งรวมทั้งพวกหอย แต่บางครั้ง ก็จะกินทั้งกบ ปลา และ เมล็ดพืช
  

 
Protopterus annectens brieni (Poll, 1961)
ชื่อเรียกทั่วไป Southern lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 90 ซม. TL หนัก 4 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : ทางตอนบนของแม่น้ำ Congo (Luapula), ทางตอนกลางและทางตอนล่างของลุ่มน้ำ Zambezi ตลอดริมฝั่งตะวันออกของทางแม่น้ำทางใต้ ไปจนถึงแม่น้ำ Limpopo ตอนบนของ Cubango และ ระบบแม่น้ำ Okavango; ทะเลสาบ Rukwa. และมีการแพร่กระจายไปยังที่ตั้งของ Kruger National Park ในแอฟริกาใต้
โดยปกติจะพบในระบบแม่น้ำขนาดใหญ่ รวมถึงพื้นที่น้ำท่วมถึง หรือ บริเวณที่ไม่มีน้ำตลอดปี ลำธารสาขา ที่ไหลไปยังพื้นที่ราบ. พวกมันมีความสามารถ ที่จะใช้เหงือกและปอดในการหายใจ ในบริเวณที่ไม่มีน้ำ, เมื่อน้ำที่ท่วมลดลง พวกมันจะขุดโพรง ในบริเวณน้ำตื้น, ซึ่งจะขุดลึกเพียงพอที่ตัวมันเข้าไปอยู่ได้ และหลังจากนั้นเมื่อน้ำเหือดแห้งไป ปลาปอด จะ สร้างรังเนื้อเยื่อมาห่อหุ้ม ซึ่งทำมาจากขับเมือกและโคลน. จากนั้นจะลดการเผาผลาญพลังงานของตัวมันลง จนกระทั่งขึ้นมาท่วมอีกครั้ง. การหาอาหาร โดยหลักจะทำโดยการเคลื่อนไหวช้าๆ ใต้ที่อยู่ของมัน ซึ่งอาหารของพวกมันจะได้แก่ หอย แมลง และ ตัวหนอน แต่บางครั้งก็กินพวก ปลา และ สัตว์เลื้อยคลานด้วย
 

 
Protopterus dolloi (Boulenger, 1900)
ชื่อเรียกทั่วไป Slender lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 130 ซม. TL หนัก 11 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา : Ogowe, Kouilou-Niari, ทางตอนกลางและตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำ Congo
ปลาปอดกลุ่มนี้จะไม่ทำการลดการเผาผลาญพลังงาน (aestivating) ในรังหุ้มตัว ช่วงระหว่างฤดูร้อน, ถึงแม้ว่ามันจะมีความสามารถทำได้ก็ตาม. อย่างไรก็ดีในช่วงฤดูแล้ง ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ และ ตัวอ่อน ที่อยู่ในรัง โดยที่จะสร้างรังใน โคลนของหนองน้ำ ขณะที่ตัวเมียจะสามารถพบได้ในแหล่งน้ำเปิดในแม่น้ำ.อาหารของปลาปอดกลุ่มนี้ ได้แก่ ปลา และ แมลง แต่บางช่วงเวลาพบว่าในมูลของมันนั้นมีอาหารเป็นพวกพืชด้วย
 

 
ส่วนปลาปอดอีกกลุ่มหนึ่งคือ
กลุ่มปลาปอดยุคเก่า Ceratodontidae - (Australian lungfish) มีการแพร่กระจายใน Queensland, ออสเตรเลีย. ปลาปอดในวงศ์นี้ถูกจำกัดอยู่แต่ในทวีปออสเตรเลีย ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่ด้วยกันถึง 7 ชนิด แต่ ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ฟอสซิลที่มีการบันทึกไว้ มาจาก ทางตอนเหนือของ New South Wales ได้เผยให้รู้จักกับ ปลาปอดในสกุล Neoceratodus ที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างเหมือนกับเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว ด้วยเหตุนั้น มันเป็น 1 ในกลุ่มปลาที่มีกระดูกสันหลังที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่. ชนิดที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน อยู่ในบริเวณที่เล็กๆของทางใต้ของ Queensland . ปลาปอดออสเตรเลีย แตกต่างกับ ปลาปอดกลุ่ม อเมริกาใต้ และ แอฟริกา คือ ครีบอก (pectoral) และครีบบริเวณ pelvic มีรูปทรงคล้ายใบพาย, มีถุงลมที่ใช้ว่ายน้ำ 1 ถุง และ ไม่มีความสามารถ aestivate (มีชีวิตรอดโดยการลดอัตราการเผาผลาญพลังงานภายในเมือกที่คลุมตัวไว้) ระว่างช่วงหน้าแล้ง
 

 
Neoceratodus forsteri (Krefft, 1870)
ชื่อทั่วไป Australian lungfish
ขนาดโตเต็มที่ 170 ซม. TL หนัก 40 กิโลกรัม
สภาพแวดล้อม demersal; freshwater
ภูมิอากาศ เขตร้อน 22 – 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ Oceania: ทางใต้ของ Queensland, Australia. ในระบบแม่น้ำ Burnett และ Mary. และเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมากในทางตอนใต้ของ Queensland.
ปลาปอดออสเตรเลีย อยู่ในบัญชีการค้าขายสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ระหว่างประเทศ บัญชีที่ 2 (CITES II)
ปลาปอดชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งหรือ แหล่งน้ำที่ไหลช้าๆ, มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก. ระหว่างระยะเวลาช่วงฤดูแล้ง, พวกมันจะสามารถอยู่นิ่งๆในน้ำ โดยการฮุบอากาศบริเวณผิวน้ำ 1 – 2 ครั้ง ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามพวกมันไม่มีความสามารถในการใช้ชีวิตได้ในสภาวะที่แห้งแล้งโดยการ aestivation; พวกมันอาจจะตายหากว่าไม่สามารถขึ้นมาเอาอากาศได้. อาหารก็ได้กบ, ลูกอ๊อด, ปลา, กุ้ง, ไส้เดือน, หอย, พืชน้ำ และ ผลไม้ที่ตกลงมาจากต้นไม้. พวกมันจะจับสัญญาณไฟฟ้าเพื่อค้นหาหอย, หนอน หรือ กุ้งที่ซ่อนอยู่มากิน. พวกมันถูกคุ้มครองโดยกฎหมาย. ฟอสซิลที่มีการบันทึกไว้ ที่ถูกนำมาแสดงให้เห็นนั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมามากกว่า 100 ล้านปี. ในพฤศจิกายน 2003 Shed aquarium ใน Chicago ได้รับปลาปอดตัวเต็มวัยชนิดนี้ ในปี 1933, มันมีอายุได้นานถึง 70 กว่าปี. Steinhart Aquarium ใน San Francisco มีอยู่ 1 ตัว อายุ 1 เดือน ความยาว 1 เมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม และมีอายุมากกว่า 65 ปี
 

 
ในส่วนของเนื้อหาขอจบแต่เพียงเท่านี้
ส่วนต่อจากนี้เป็นการขยายความเข้าใจนะครับ
ปลาปอดเมื่อยังเล็กจะมีครีบภายนอกและจะหายไปเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังจะเห็นได้จากในรูปนะครับ
 

 
แหล่งอาศัยของปลาปอดจะอาศัยอยู่ใน หนองน้ำ (swamp) และ พื้นที่ที่น้ำท่วมถึง (floodplain)
 

 
เมื่อน้ำเริ่มแห้งขอดลงปลาปอดจะทำการขุดโพรงเพื่ออาศัยจนกว่าจะถึงหน้าฝนถัดไป ยกเว้นในกลุ่มปลาปอดออสเตรเลียที่ไม่มีการทำโพรงเพื่อจำศีลในช่วงหน้าแล้ง
 

 
ลักษณะเกล็ดของปลาปอดเป็นแบบ Cosmoid scales
 

 
เทียบกันให้เห็นว่า ปลาปอดออสเตรเลีย ซึ่งเป็นกลุ่มปลาปอดโบราณ กับปลาปอดดึกดำบรรพ Dipterus ยุค Devonian จะเห็นว่ามีความต่างกันเล็กน้อย ที่ส่วนหาง
 

 
เทียบกันระหว่างปลาปอดในอดีตกับปัจจุบัน
 

 
ที่หางปลาปอดยุคปัจจุบันเป็นแบบ heterocercal นั้นเมื่อดูจากลักษณะภายนอกดูเหมือนจะเป็นหางแบบสมมาตร (homocercal) มากกว่านั้น เมื่อมองดูจากโครงสร้างภายใน กระดูกสันหลังตรงหาง มีลักษณะตรง และครีบหางบนล่างสมมาตร(ซึ่งน่าจะเป็นหางแบบ homocercal) แต่จริงๆแล้ว ไม่สมมาตรครับ (heterocercal)
ส่วนครีบปลาปอดยุคโบราณนั้นจะเป็นหางแบบ ไดฟิเซอคอล ซึ่งจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้วครับ

ส่วนpelvic fins นั้น คือ ครีบคู่ (ครีบที่พบบนตัวปลาสองครีบลักษณะอยู่เป็นคู่เหมือนกัน) ซึ่งถัดจากครีบ อก ซึ่งเป็นครีบคู่ ชุดแรก ปลาทั่วไปจะมีครีบ คู่สองชุด คือ ครีบอกและครีบท้อง ยกเว้น ซีลาแคนท์ มีมากกว่าสองคู่
 

 
ดูกันชัดๆอีกทีหนึ่งนะครับ รูปกลางเป็นหางของปลาปอดจะเห็นได้ว่า หางมันไม่สมมาตรกันนะครับ
 

 
จากภาพแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของปลาปอด ที่คะแนนที่ 0 คือรูปแบบของปลาในยุคแรกๆ , 100 คือ ปลาที่มีการพัฒนาอย่างมาก จะเห็นได้ว่า ณ ที่คะแนนที่ 100 ปลาปอดได้หยุดวิวัฒนาการ ในช่วงไม่นานนี้เอง

Credit :
ไทยโพสท์
ไทยรัฐ
http://mama.essortment.com/lungfish_rank.htm
http://www.ucmp.berkeley.edu/vertebrates/sarco/dipnoi.html
http://www.whozoo.org/Anlife99/lashawn/africanlungfishindex4.htm
http://www.aquariacentral.com/fishinfo/fresh/lungfish.htm
http://www.encyclopedia.com
http://encarta.msn.com
http://www.amonline.net.au

  Top
Hosted by www.Geocities.ws

1