การเลือกซื้อกล้อง
 การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล จะเลือกซื้อกล้องดิจิตอลอย่างไรดี ?   นับเป็นปัญหายอดนิยมของผู้ที่สนใจหรือกำลังจะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลมาไว้ใช้งานสักตัวหนึ่ง   ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อมากมาย ทั้งยี่ห้อเดียวกับผู้ผลิตกล้องใช้ฟิล์ม   และยี่ห้อใหม่ๆอีกนับไม่ถ้วน รวมทั้งยี่ห้อของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย นับรวมทั้งหมดแล้วเกือบๆ 200   รุ่นทีเดียว การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลสักหนึ่งตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อย โดยเฉพาะบรรดา
   มือใหม่ที่ไม่เคยรู้เรื่องกล้องดิจิตอลมาก่อน บทความนี้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของคุณ
  Topic Properties
1. งบประมาณ ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่าคุณจะตั้งงบไว้สักเท่าใด ในการหาซื้อกล้องดิจิตอลคู่ใจ เพราะ ราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำอะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตามสเปค และคุณภาพที่ดีขึ้นจนถึงหลักแสนหรือหลายๆแสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาทก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่ามาก เช่น 4-5 หมื่นบาทคงไม่ต้องนำมาพิจารณาให้ปวดหัว
2. เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคมักจะเขียนว่า Image sensor หรือ Image recording พูดง่ายๆก็ คืออุปกรณ์ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั่นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มาก (แพงกว่า) อาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว , 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว ( วัดตามแนวทแยงมุม)
3. ความลึกของส หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็ เก็บรายละเอียดของเฉดสีได้ดีมากขึ้น เช่น 10 บิต/สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่าสีธรรมชาติมี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับ ไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB นั่นก็เทียบท่ากับฟิล์มสไลด์ดีๆนี่เอง แต่ไม่รู้ว่าทำไมมีกล้องบางยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้นที่เปิดเผยว่ากล้องของตัวเองมีระดับความลึกของสีเท่าใด ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่สเปคต่ำเช่น 8 บิต/สี (อันที่จริงก็เยอะแล้ว เพราะจะได้ 24 บิตที่ RGB แสดงสีได้ 16.7 ล้านเฉดสี) แทบไม่อยากจะพูดถึงกันเลย แต่ถ้ากล้องระดับโปรมักจะโชว์ตัวเลขให้เห็นจะๆเลยว่าใครได้มากกว่ากัน การที่เฉดสีน้อยจะทำให้การแยกสีไม่ดีเท่าที่ควร เช่น กลีบดอกไม้สีแดงเข้มแดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่าก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ้าถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าใช้ฟิล์มสไลด์จะได้ใกล้เคียงกับตาที่เห็น ( สไลด์โปรจะทำได้ดีกว่า)
4. ดูความละเอียด ต้องดูที่ Effective เวลาซื้อกล้องดิจิตอลเรามักจะได้ยินคนขายบอกว่า ตัวนี้ 3 ล้าน พิกเซล ตัวนี้ 4 ล้านพิกเซล แต่ส่วนใหญ่เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น ลองดูสเปคในคู่มือหรือโบรชัวร์ หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือขนาดภาพจริงๆ ที่จะได้ เช่นโบรชัวร์บอกว่า 5.24 ล้านพิกเซล แต่ตามสเปคระบุชัดว่าขนาดภาพใหญ่สุดที่ได้คือ 2560x1920 พิกเซล ถ้าคูณดูก็จะได้ 4.9 ล้านพิกเซล
   5. Interpolate ในกล้องบางรุ่น ถ้าเราดูที่ขนาดภาพตามสเปคอาจจะแปลกใจเพราะคูณออกมาแล้ว ได้ความละเอียดมากกว่าเดิมเช่น CCD 3 ล้านพิกเซล แต่ได้ขนาดภาพถึง 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เป็นเพราะมีการใช้เทคโนโลยีบางอย่างเพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็นต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD อย่างไรก็ตามก็นับว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิมโดยช้เทคโนโลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพไปเพิ่มความละเอียดด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photoshop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่
   6. ปรับลดขนาดภาพ แม้ว่ากล้องที่มีความละเอียดจะเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องไม่ลืมว่าขนาดไฟล์ที่ได้จะ ใหญ่มากกินแมมมอรี่ในการ์ดมาก ถ้าการ์ดความจุน้อยๆ เช่น 16 MB ใช้กล้อง 3 ล้านพิกเซล ถ่ายไปไม่กี่ภาพก็เต็มแล้ว ต้องใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ บางครั้งเราต้องการเพียงแค่บันทึกเตือนความจำหรือใช้ส่งอีเมล์หรือไม่ก็ใช้ประกอบเวบไซต์ซึ่งต้องมาลดความละเอียดด้วย Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆให้เหลือแค่ 640 x 480 พิกเซล หรือเล็กกว่านั้น แต่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกขนาดภาพได้หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับงานที่จะนำไปใช้ เช่น Olympus E-20 เลือกขนาดภาพได้ 5 ระดับ เล็กสุดที่ 640 x 480 พิกเซล เป็นต้น
7. การตอบสนองหรือ Response
อันนี้กล้องดิจิตอลเกือบทั้งหมดไม่ยอมระบุไว้ในสเปคกล้องของ ตัวเอง แต่ถ้าเป็นกล้องโปรอย่าง Canon EOS-1D หรือ Nikon D1x จะถือว่าเป็นจุดเด่น เอามาคุยไว้ในโบรชัวร์กันเลย ทั้งสองรุ่นนี้การตอบสนองตั้งแต่เปิดสวิตซ์กล้องแล้วพร้อมที่จะกดซัตเตอร์ถ่ายภาพได้ ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที เกือบจะเท่ากับกล้องออโต้โฟกัส 35 มม.ที่ใช้ฟิล์มทีเดียว ( เร็วกว่ากล้องคอมแพ็ค 35 มม.) ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกว่าใช้กล้องดิจิตอลหรือใช้ฟิล์ม
8. Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มีบัฟเฟอร์หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆจะช่วยให้การถ่ายภาพ เป็นไปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว กล่าวคือ หลังจากที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพที่ผ่านอิมเมจโปรเซสซิ่งจะถูกพักเก็บไว้ก่อนที่จะบันทึกลงการ์ดต่อไป ( ขณะบันทึกมักใช้ไฟสีเขียวหรือสีแดงกระพริบเตือนให้หราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะก็จะถ่ายต่อเนื่องได้เร็วและได้หลายๆภาพติดต่อกัน เช่น สเปคกล้องระบุว่าถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพต่อวินาที ติดต่อกันรวดเดียว 10 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 10 ภาพจะกดซัตเตอร์ต่อไปไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายต่อได้อีก โดยไม่ต้องรอให้เก็บภาพลงการ์ดครบทั้ง 10 ภาพก่อน ในกล้อง Nikon D1x และ Canon EOS 1D มีบัฟเฟอร์อย่างเหลือเฟือ เมื่อกดซัตเตอร์ไปแล้วสามารถเปิดดูภาพซูมขยายดูส่วนต่างๆของภาพหรือลบภาพทิ้งได้ทันที แทบไม่ต้องรออะไรเลย แต่ในบางยี่ห้ออาจต้องรอนานเป็นนาทีก่อนจะเปิดดูภาพได
9. ไฟล์ฟอร์แมท RAW ถ้ามีก็ดี กล้องระดับไฮเอนด์มี่มีความละเอียดสูง จะมีฟอร์แมทที่เรียกว่า RAW ให้เลือกนอกเหนือจาก JPEG หรือ TIFF ทั้งนี้เพราะในฟอร์แมท RAW จะเก็บข้อมูลความลึกของสีได้ดีกว่า เช่น Nikon D1x ฟอร์แมท RAW จะได้ 12 บิต/สี แต่ถ้าเป็น JPEG จะเหลือ 8 บิต/สี เป็นต้น และยังมีไฟล์ขนาดเล็ก โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลง แต่การเปิดชมภาพต้องใช้กับซอพท์แวร์ที่มาพร้อมกับกล้องเท่านั้น นอกจากนี้ภาพในฟอร์แมท RAW ยังสามารถปรับแต่งหรือแก้ไขภาพให้ดีเหมือนกับการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง เช่นการปรับภาพให้สว่างหรือมืดลง การปรับไวท์บาลานซ์ เป็นต้น
......Serch Digital.....
 
รายละเอียดของกล้อง
Cannon (แคนนอน)
Pentax(แพนเท็ก)
ืFujiFilm(ฟูจิ)
รู้จักกล้องดิจิตอล
การเลือกซื้อกล้อง
   

   
......Serch Group.....
ลัดดาวัลย์ ไชยวานิชย์ผล
นายสุนทร เหรียญจื้อ
นางสาวอัญชุลี สมัครการ
นางสาวสุธาสินี สุปินะเจริญ
นางสาวสุกัญญา รัตนะ
นางสาวรัตนา เนื่องแก้ว
นายวารินทร์ บัวพรหม
   
งานแปล Chapter13
PowerpointChapter13
Powerpoint ดิจิตอล
ตารางเปรียบเทียบกล้อง

Copyright © 2004 degital
 
Hosted by www.Geocities.ws

1