ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกของจินตนาการไม่รู้จบ    อัพเดทครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2547 12.12 น.




 
MENU หัวข้อหลัก         

หน้าแรก HOME
ตัวผมเอง RESUME
ข้อมูลห้อง 3/1 INFO
นิยาย NOVELS
เว็บบอร์ด WEBBOARD
สมุดเยี่ยม GUEST BOOK
อัลบั้มรูปถ่าย ALBUM
หนังสือคอม DAD'S BOOK


NEIGHBOUR เพื่อนบ้าน

โรงเรียนแสงทองวิทยา
เว็บห้องม.3/1
เว็บบอร์ดห้องม.3/1
เว็บปลาสวยงาม
เว็บบอร์ดเกมส์
งานเขียนของคุณ Pat
เว็บคอมของคุณพ่อ
เว็บดนตรีของคุณแบ็งค์
เว็บมือถือของคุณพีช
เว็บงานเขียนใบหญ้า
เว็บงานเขียนเจเจบุ้ค
สำนักพิมพ์นานมีบุ้ค
สำนักพิมพ์ประพันธ์สาน

วงโยฯแสงทอง


LINK รวมลิ้งค์            

ในหาดใหญ่
โรงเรียนแสงทองวิทยา

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย2
โรงเรียนหาดใหญ่สมบูรณ์
โรงเรียนกิตติวิทย์
โรงเรียนพลวิทยา
เทศบาลนครหาดใหญ่

ในเครือซาเลเซียน

โรงเรียนสารสิทธ์พิทยาลัย
โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก
โรงเรียนเซนต์ดอมินิกส์
โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา
โรงเรียนธิดาแม่พระ
โรงเรียนเซนต์แมร์รี่
โรงเรียนมารีอุปถัมถ์
โรงเรียนนารีวุฒิ

อื่นๆ
เว็บกระปุกดอทคอม
เว็บสนุกดอทคอม
เอ็มไทยMTHA!
เอ็มเวบประเทศไทย
เว็บบางกอกซิตี้
กระปุกมิวสิคสเตชั่น
แหล่งรวมพันธุ์ทิพย์

บริการค้นหาเว็บเพจ
YAHOO ยาฮู
Google ประเทศไทย
Thaiseek ไทยซีก
Sanook สารบัญเว็บไทย
MSN เอ็มเอสเอ็นไทย
Altavista อัลต้าวิสต้า

บริการต่างๆ
Hotmail ฮอตเมลล์
Yahoomail ยาฮูเมลล์
AOL อเมริกันออนไลน์
Thaimail ไทยเมลล์
Chaiyomail ไชโยเมลล์
Doramail โดราเมลล์
Mail.com เมลล์ดอทคอม
USA.netยูเอสเอดอทเน็ต
Geocities ชุมชนออนไลน์
Bangkokcity มหานคร
lemononline เลมอน
หาเพื่อนทางเอ็มเอสเอ็น
MTHA! เอ็มไทย
ICQThai ไอซีคิวไทย
ThaiICQไทยไอซีคิว
Thai.net ไทยดอทเน็ต


Contact US





                          -- สถานีลิ้งค์ Link Station --                         

             

ใครที่กรุณาสัญจรผ่านมาหน้านี้แล้ว โปรดอ่านด้วยนะครับ

หน้านี้คงจะเป็นหน้าที่ผมตั้งใจทำมากที่สุดแล้วนะครับ
บทความหลายบทความที่ผมเขียนขึ้นมาเอง
หรือไปรวบรวมมาตอนที่กำลังศึกษาทางด้านวรรณกรรม
ก็ได้นำมาไว้ที่นี่เกือบหมดแล้วนะครับ
ถึงแม้ผมจะไม่ได้เก่งอะไรมากมาย แต่ก็สามารถ
เขียนมันขึ้นมาได้ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าภาคภูมิใจ
โดยผมหวังว่ามันอาจจะเป็นประโยชน์
สำหรับนักเขียนมือใหม่ทุกท่านครับ
เพราะมันเหนื่อยจริงๆกว่าจะนั่งทำ นั่งเขียน
และนั่งคิดจนออกมาเป็นข้อมูลแบบนี้ได้

แต่ยังไงมันก็เป็นสิ่งที่ผมรัก อยากจะบอกกล่าว
ทำให้มีเนื้อหาเรียกได้ว่า
มหาศาล จึงจำเป็นต้องมีสถานีลิ้งค์
ไว้คอยส่งทุกท่านเข้าสู่สถานีย่อยปลายทางหลายๆสถานีครับ
อย่าลืมว่าโลกแห่งจินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการจำกัดอายุ
ไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆทั้งสิ้น เพียงแค่ขอให้มีความฝัน
ผมยอมรับว่าการเป็นนักเขียนเป็นงานหินจริงๆ
ใครที่เคยลองมาแล้วก็คงรู้ดี เขียนอาจจะง่าย
แต่การทำให้เรื่องที่เขียนนั้นเป็นที่ยอมรับ นั้นเป็นเรื่องยาก
หากไม่ดีจริงๆ ดังนั้น ต้องอาศัยความอุตสาหะ และความอดทน
เพียรพยายามอย่างแรงกล้าทีเดียว!

ฝันให้ไกล แล้วจงไปให้ถึงครับ

ยินดีรับสมัครทุกคนที่คิดว่ามีจินตนาการเป็นของตนเอง
ส่งงานเขียนมาให้ผม แล้วผมจะนำมาจัดแสดงผลงานให้ครับ
โดยเฉพาะนักเขียนที่ เป็นเยาวชนนะครับ
สามารถติดต่อผมได้โดยตรงที่นี่ครับ คลิ้กส์!
เชิญเลยนะครับ สองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวเข้ามา ค้นหาจินตนาการที่แท้จริงของตนเอง

ยอมรับไว้ว่าสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้หลายนั้นก็คือ
จินตนาการนั่นเองครับ

หากคนเราไม่เคยมีความฝันที่จะบินได้เหมือนนก
เราคงไม่มีเครื่องบินมาถึงทุกวันนี้หรอกครับ จริงมั้ยครับ!?!
นี่เป็นเรื่องจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ครับ

จงใช้จินตนาการของตัวเอง ให้คุ้มค่าที่สุด
แม้ว่ามันจะไม่ได้ดีเลิศ แต่คนที่หัวเราะจินตนาการคนอื่น
มักจะไม่ใช่คนที่ภูมิใจในตัวเองนักหรอก
จงเห็นคุณค่าของงานศิลปะ งานวรรณกรรม
และงานที่แต่งแต้มด้วยจินตนาการ
เพราะทุกสิ่งย่อมมีสิ่งดีๆในตัวของมันเอง หากเราตั้งใจจะมอง


ป.ล. ด้านล่างนี้เป็นสถานีที่จะนำพาทุกท่านไปสู่ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยสวัสดิภาพตราบใดที่ไฟฟ้าบ้านของท่านไม่ดับ !!


ขอบคุณมากครับ!




หัวข้อหลัก


ปฎมบทแห่งโฮมเพจที่ยิ่งใหญ่(เกินไป)เกริ่นนำ
สิ่งที่บ่งบอกว่าคุณมีแววจะเป็นนักเขียน
คำแนะนำสำหรับนักเขียนมือใหม่
ออกตะลุยศึกษาวรรณกรรม
หลักการเขียนนิยาย
โลกส่วนตัวของผม JimmySnitcheR
ในนี้มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับนิยายผม และขอย้ำว่า
ต้องอ่านให้ได้สำหรับ
กว่าจะมาเป็นเคปแลนด์
โดยเฉพาะนักเขียนมือใหม่ครับ
นักเขียนคนอื่นๆที่น่าสนใจ
ส่วนมากเป็นนักเขียนที่รู้จักกันในหญ้าดอทคอม
-แมงมุม นักเขียนนิยายสยองขวัญ วัย15 ที่หัวโบราณ อาทิ
จ่าขนมต้มไปจนถึงปีศาทไฮเปอร์ที่น่าเกลียดน่ากลัว

-T.man คณิตศาสตร์แมนวัย 15 ผู้ที่จะมาพร้อมกับความอลังการ
จากผลงานการกำกับ ศัตรูสีดำที่กวาดรายได้ไปมากมาย และ
Road to Quasar (คงจะมีหรอกนะ)

-Sephirotนักเขียนนิยายวัย 15ผู้มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์โลกจินตนาการ
แฟนตาซีบริสุทธ์สดชื่น จากผลงาน ดราก้อนเทียร์ (น้ำตามังกร)
หลากหลายตอน

-Ariozนักเขียนวัย 15 แฟนตาซีอีกคนหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นสร้าง
สรรค์ผลงาน แม้ว่าจะยังติดๆขัด อยู่บ้าง
แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ

หากคุณคิดว่าคุณเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ต้องการจะให้โลกรู้ถึงผลงาน
ติดต่อมาด่วน


ในโอกาสนี้ก็ต้องขอขอบคุณ คุณรุ้ง จาก www.jj-book.com ด้วยน่ะครับ
รวมถึงท่านอื่นๆด้วย ที่ช่วยสนับสนุนข้อมูล
สำหรับผู้ที่ต้องการจะ Copy ไปก็ขอให้ใส่ เครดิตไปด้วยน่ะครับ



                             -- เกริ่นนำ Prologue --                              

             
"โลกเรานั้นช่างกว้างใหญ่ไพศาลนักหากแต่มีทรงกลม เดินไปไกลถึงเพียงไร
ในไม่ช้าก็ยังต้องกลับมาสู่ที่เดิม

จนได้ทุกที่ถูกสำรวจ แทบจะไร้ความลึกลับ ไร้ความตื่นเต้น
จำเจซ้ำซากมีแต่ความเกลียดชังที่ซักสาดเข้ามาทุกทิศทาง
สงคราม ความไม่สงบสุข

ความทุกข์ยาก etc."

"โลกแห่งจินตนการไร้ขีดจำกัด ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า
มีลักษณะอย่างไร หากแต่เราสามารถเดินไปใน

จินตนการได้ไม่มีวันจบสิ้น
ข้าไปลึกเท่าไรก็ได้ พื้นที่ที่ถูกสำรวจมีเพียงน้อยนิด
ลึกลับ ซ่อนเร้น ทุกย่างก้าว เต็มไปด้วยความตื่นเต้นอัศจรรย์ใจ
ความพิศวง เราสามารถสร้างทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเราเอง

โลกที่สวยงามสงบสุข
และน่าประทับใจ ไม่มีที่สิ้นสุด
"

ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบครับ


กลับสถานีใหญ่

                  -- สิ่งที่บ่งบอกว่าคุณมีแววจะเป็นนักเขียน --                  

             

1.รักอิสระ สันโดษ ชอบอยู่คนเดียว อยู่ในโลกของตัวเอง
2. คุณมักจะชอบอ่านหนังสือ หรือดูภาพยนตร์
แล้วคิดตามอยู่เสมอๆ จนบางครั้ง คุณอยากจะมีผลงานเป็นของตนเองบ้าง
หลังจากได้ดูได้อ่านของคนอื่นมามากพอแล้ว
3. คุณชอบวาดรูป หรือแสดงจินตนาการจากสมองคุณให้ผู้อื่นได้รับรู้
4. คุณมักจะชอบไปเที่ยว หรือแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆเสมอ
5. คุณเป็นคนช่างคิด ช่างฝัน เป็นนักคิด มีจินตนาการที่สดใส
6. คุณมักจะชอบอยู่เงียบๆ ถ้าเป็นไปได้
คุณจะเอาเวลาเหล่านี้นั่งคิดไปถึงเรื่อง ต่างๆ
7. เมื่อคุณอ่านเรื่องๆหนึ่งจบ คุณสามารถบอกได้ว่า
เรื่องที่อ่านไปนั้นมีข้อผิดพลาดอย่างไร และควรจะปรับปรุงอย่างไร
8. เวลาไปที่ต่างๆคุณมักจะเอาปากกาและเศษกระดาษติดตัวไปตลอดเวลา
และหากเลือกได้คุณอยากจะไปในที่ๆสงบเงียบ
และเป็นธรรมชาติ เช่นชายทะเล หรือทุ่งหญ้า น้ำตก
9. คุณมีความสุขกับการที่ได้เขียนบางสิ่งบางอย่างที่คุณชื่นชอบ
10. คุณชอบฟังมากกว่าพูด
11. คุณชอบเขียนบรรยายความรู้สึกของคุณลงบนแผ่นกระดาษ
มากกว่าจะไปนั่งบ่นให้ใครคนอื่นเค้านั่งอดทนฟัง
12. คุณเริ่มรู้สึกว่าคุณมีความคิดเป็นของตัวเองหลายความคิด
และรักความเป็นส่วนตัวมาก จนหลายครั้งคุณโกรธเมื่อคนอื่น
เค้าแย่งความเป็นส่วนตัวของคุณ
13. เคยมีคนมากกว่าหนึ่งคนบอกคุณให้หมั่นไปหาจิตแพทย์บ้าง
(อันนี้สำหรับบางคนนะครับ!?! เพระนักเขียนบางคนจินตนาการขึ้นสมอง
จนอาจจะถึงขั้นเพี้ยน แต่ผมมั่นใจว่าประเภทมีน้อยครับ เหอๆๆ)

14. คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนที่อ่อนไหว แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะเป็นคนอ่อนแอ
จิตใจคุณอ่อนไหวต่อโลกมาก แม้ในบางครั้งคุณอาจจะคิดว่าคุณอ่อนแอ แต่คุณก็อาจจะแสดงออกว่าจิตใจคุณเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นจริง
คุณอยากจะร้องให้เมื่อดูหนังบางเรื่องที่มันซึ้ง
หรือเห็นภาพเหตุการณ์ที่ดีๆน่าประทับใจ หรือแม้แต่เห็นใครบางคนที่น่าสงสาร
ถึงแม้คุณมีใจที่อยากจะช่วย แต่คุณก็ทำไม่ได้
คุณอาจจะอยากร่วมยินดีเมื่อเพื่อนของคุณทำอะไรดีๆได้
เพียงแต่บางครั้งคุณอาจไม่ได้แสดงมันออกมา
คุณอาจจะรู้สึกถึงสิ่งต่างๆที่คนหลายคนไม่อาจรู้สึกได้ในบางสถานการณ์
พูดง่ายๆคือนักเขียนส่วนมากจะมีอารมณ์ศิลปิน หรืออารมณ์อ่อนไหว
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว
15. คุณไม่เคยปล่อยเวลาว่างของคุณให้เปล่าประโยชน์
เช่น ตอนนั่งรถคุณก็จะนั่งคิด และจมสู่โลกแห่งจิตนาการของตนเอง
แทนที่จะนั่งเฉยๆ ปล่อยให้เวลาผ่านไปกับการนั่งเฉยๆ

โดย JimmY
19/7/46


ใครที่อ่านจบแล้วรู้ตัวว่ามันตรงกับตนเองมากกว่า 75%
ก็เตรียมตัวเตรียมใจ เก็บกระเป๋าเดินทาง
เพื่อออกเดินทางค้นหาจินตนาการของตนเองได้เลยนะครับ


แม้หากใครที่ไม่ถึง 50% แต่อยากเป็นนักเขียน
ผมขอบอกตามตรงเลยนะครับ ว่าอาจจะเป็นการยากหน่อย
เพราะคุณอาจจะไม่ได้มีพรสวรรค์มาแต่กำเนิด
แต่ผมขอรับรองว่าไม่มีสิ่งใดไกลเกินเอื้มครับ
ถ้าหากเรามีความพยายามซะอย่าง




                         -- คำแนะนำสำหรับนักเขียนมือใหม่--                   

             

1. คุณต้องมีจุดมุ่งหมายของการเขียน ว่าคุณเขียนไปเพื่ออะไร
สิ่งที่สำคัญของงานเขียนอย่างหนึ่งคือ
ข้อคิดที่ผู้อ่านจะได้ไปหลังจากอ่านไปแล้ว
2. คุณต้องมีเวลาที่เพียงพอให้กับมัน เวลาที่สามารถแบ่งได้อย่างลงตัว
โดยที่คุณจะไม่เสียเวลากับส่วนนี้มากเกินไป
หลายคนบอกว่า ไม่มีเวลา เป็นคำแก้ตัวที่แสนจะ
...มากนะครับ ผมพูดจริงๆ
(ตอนแรกผมก็พูดเหมือนกันนะครับ)
เพราะหากคุณรักมันจริง เรื่องเวลาจะกลายเป็นเรื่องเล็กๆไปเลยครับ
ยิ่งคุณทุ่มเท เสียเวลาให้กับมันเท่าไร งานที่ออกมาย่อมภาคถูมิใจยิ่งขึ้นครับ
3. คุณต้องเป็นคนที่รักการอ่านอย่างมาก
และพยายามอ่านทุกเรื่องที่สามารถอ่านได้ในแนวที่คุณชอบ
4. คุณต้องเป็นคนที่ชอบแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับชีวิตอยู่เสมอๆ
มันจำเป็นมากที่นักเขียนจะต้องมีมุมมองที่กว้างไกล
5. คุณต้องเป็นคนที่ถ่อมตัวพอสมควร
ไม่โอ้อวดในผลงานที่คุณเขียน และคิดว่าเรื่องของคุณนั้นดีเลิศที่สุด
6. คุณต้องเป็นคนที่มีกระดาษและปากกาติดตัวตลอด
เพราะบางทีความคิดที่ยอดเยี่ยมบางความคิด
มักจะมาหาเราเองโดยที่เราไม่รู้ตัว
และจงจำไว้ว่าความคิดดีๆวิ่งผ่านหัวคุณตลอดเวลา
เพียงคุณตั้งใจที่จะจับมันมาไว้นั่นเอง
โดยเฉพาะเวลาฝัน หากคุณตื่นขึ้นมาจำความฝันของคุณได้
อาจจะต้องตะเกียดตะกายขึ้นไปจดไว้ก่อนที่จะลืม
แต่มันก็คุ้มค่า หากคุณคิดว่า มัน work!
7. คุณต้องพยายามมองโลกในมุมมองที่กว้าง
ถึงแม้คุณจะรักสันโดษเท่าไรคุณก็จำเป็นจะต้องเข้าสังคมบ่อยๆ
ศึกษาความเป็นอยู่ของคนในสังคม ศึกษานิสัยของคนแต่ละคน ศึกษามุมมองของแต่ละคนต่อสิ่งต่างๆในคนมากมายที่มีนิสัยต่างๆกัน
ถึงแม้บางคนจะเป็นคนที่มีนิสัยที่คุณไม่ค่อยชอบก็ตาม
เพื่อเป็นหลักในการสร้างตัวละครหลายตัว
คนที่คุณคิดว่าคนอื่นไม่ชอบรวมทั้งตัวคุณอาจจะสมมติเป็นตัวร้าย
แล้วก็มาเฉลยว่าคุณไม่ชอบเพราะอะไร เขาควรจะปรับตัวอย่างไร
ในนิยาย เพราะมีหลายคนบอกว่า ปากกาคมกว่าดาบ จริงๆนะ
อู้ยๆ!! เสียงจัง เหอๆ
8. คุณต้องมีอารมณ์ขันพอสมควร
เพราะงานที่ไร้อารมณ์ขันมักจะน่าเบื่อสำหรับเด็ก
รวมทั้งผู้ใหญ่ด้วยนั่นแหละ
9. คุณต้องพยายามหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะเขียนให้ได้มากที่สุด
เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางโครงเรื่องได้อย่างสมบูรณ์
เช่นหากคุณจะเขียนเรื่องแนววิทยาศาสตร ์
คุณต้องตั้งใจศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้มาก
และต้องพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี
และความเป็นไปได้ในอนาคตตลอดเวลา
10. คุณต้องศึกษาเนื้อเรื่องของคุณให้ดี
ให้มันสัมพันธ์กันไม่ใช่ขัดแย้งกัน

จะทำให้ผู้อ่านหมดศรัทธาในตัวของเรา
11. คุณต้องมีจินตนาการที่มีชีวิตชีวา สามารถคิดเรื่องราวที่ชวนติดตาม
พร้อมทั้งให้ข้อคิดดีๆพร้อมทั้งให้ข้อคิดดีๆไปพร้อมกันๆ
12. นอกจากรักการอ่านแล้วคุณต้องพยายามศึกษาเรื่องราวของคนอื่นๆ
ทั้งจากภาพยนตร์ และหนังสือ
13. วิชาหนึ่งที่คุณต้องสนใจให้มากๆคือภาษาศาสตร
์ เพราะภาษาเป็นตัวสำคัญในการที่คุณจะสามารถถ่ายทอดจินตนาการ
ของคุณให้ผู้อื่นได้รับรู้เห็นภาพชัดเจน
ดังนั้นหากคุณไม่หมั่นศึกษาการใช้ภาษาเรื่องราวของคุณ
อาจจะกลายเป็นเรื่องราวที่น่าเบื่อไร้อารมณ์
ถึงแม้คุณจะมีจินตนาการดีเท่าไรก็ตาม
งานเขียนที่ใช้สำนวนภาษาได้ดีๆบางเรื่องอาจจะทำให้ผู้อ่านได้คิดตาม ได้รู้สึกตามจนอาจจะมีความรู้สึกดีใจเมื่อตัวละครที่ชอบประสบความสำเร็จ หรืออาจจะมีความรู้สึกอยากร้องไห้เมื่อตัวละครที่ชื่นชอบต้องจากไป
โดยรวมคือภาษามีความสำคัญต่องานเขียนคุณมากทีเดียว
14. พยายามเปิดนิยายเรื่องอื่นๆอ่าน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแนวที่คุณชอบเสมอไป
แต่คุณจะได้เรียนรู้ศัพท์หลายอย่างมากขึ้น เรียนรู้แนวการเขียนมากขึ้น
15. ที่สำคัญคือคุณต้องมีวินัยในตนเองสูงมาก
เนื่องจากงานเขียนเป็นงานที่ไม่มีใครมาคอยเป็นเจ้านายคุณ
คุณเป็นเจ้านายของตัวเอง
ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มเบื่อเริ่มท้อก็จะไม่มีใครมาคอยไล่จี้คุณให้คุณเขียนต่อ
16. คุณต้องเป็นคนที่ละเอียดอ่อนและพิถีพิถันพอสมควร
ตรวจสองการใช้คำทุกคำ
ประโยคทุกประโยคในเรื่องของคุณให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
ถึงแม้บางทีอาจจะต้องแก้ไขนับสิบๆครั้งก็ตาม
เพราะงานเขียนที่ขาดความละเอียดอ่อนมักจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของ
นักอ่านเท่าไรนัก
17. กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญต่อนักเขียนมาก ดังนั้นหาก
คุณเขียนงานของคุณไปโดยไร้กำลังใจ หรือไม่มีคนเห็นความ
สำคัญของงานคุณ คุณก็จะต้องล้มเลิกไปในที่สุด
ถึงบางทีคุณอาจจะไม่ต้องการคำเยินยอ หรือคำชมอะไรมาก
แต่กำลังใจจากคนสักคน
ก็เป็นสิ่งที่คุณขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตามผมก็จะขอเป็นกำลังใจให้คุณเสมอ
18. คุณต้องมีความอดทนสูงมากในการที่จะเขียนเรื่องสักเรื่องหนึ่งได้
เนื่องจากมันออกจะเป็นงานที่ใช้ความพยายามสูง
และในหลายโอกาสมันก็ไม่คุ้มค่าความพยายามที่เสียไป
19. คุณต้องพร้อมที่จะยอมรับในความผิดหวัง หากตราบใดคุณยังตั้งความหวังไว้สูงเกินไป
ยอมรับในสิ่งที่ผ่านไป และเอาความผิดพลาดในอดีตมาศึกษา
เรียนรู้จากมัน และก็ปรับปรุงแก้ไขให้มันดีกว่าเดิม
20. ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องตั้งความหวังไว้สูงๆเข้าไว้
และเดินก้าวไปให้ถึงจุดหมายให้ได้
เพราะไม่มีอะไรที่จะไกลเกินหากเรามีความพยายาม

21. คุณต้องพร้อมที่จะรับคำติชมจากผู้อื่นๆอยู่ตลอด
และน้อมรับคำแนะนำนั้นอย่างเต็มใจ ถึงแม้ในบางทีคุณอาจจะคิดว่า
คำแนะนำนั้นมันช่างไม่ช่วยอะไรเลยก็ตาม แต่นักเขียนที่ไม่ฟัง
ความเห็นของคนอื่นมักจะไม่ประสบความสำเร็จ
22. หากคุณเลือกที่จะไปในสถานที่บางสถานที่ได้
นอกจากสถานที่ที่คุณคิดว่าชอบไปเมื่อไปแล้วมันจะทำให้คุณรู้สึกดี
ผมขอแนะนำให้คุณไปที่ชายทะเลตอนเย็นๆ หาที่สงบๆนั่งฟังเสียง
คลื่นลม และมองไปไกล
มันจะทำให้คุณได้ความคิดใหม่ๆขึ้นได้
โดยเฉพาะหากคุณมีงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ โรแมนติก
หรือชีวิต คุณจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจนที่สุดที่ชายทะเลนี้
และคุณจะกลับบ้านไปพร้อมความคิดที่ดีๆมากมาย
พร้อมกับได้ความรู้สึกด
ีๆกลับไปด้วย
23. อีกสถานที่หนึ่งที่คุณก็ไม่ควรพลาดคือ ไปหาที่ที่สงบๆ
ในตอนกลางคืนกลางธรรมชาติ(อย่าอยู่ในที่ที่มีต้นไม้เยอะเกินไป
ทุ่งหญ้าโล่งๆกว้างๆกำลังดี) แล้วก็นั่งมองท้องฟ้ายามราตรี
(หากฟ้าปลอดโปร่ง) ทั้งดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ
ที่นี้จะทำให้คุณมีความคิดดีๆมากมายโดยเฉพาะความคิด
เกี่ยวกับนิยายแนวโรแมนติก
หรือโลกอนาคตและ
แต่ที่สำคัญไม่ว่าคุณจะไปทะเลหรือไปที่ไหนคุณต้องพยายามคิดด้วย
หากคุณไม่คิดคุณก็อาจจะไม่ได้อะไรกลับมาเลยก็ได้
24. สถานที่สุดท้ายสำหรับนักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ที่ควรจะไป
คือนั่งบนม้านั่งใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาได้ดีในมหานครใหญ่ๆ
แล้วก็มองไปรอบๆมองไปถึงอนาคต
ที่มีการคมนาคมที่วุ่นวาย ผู้คนมากมายกำลังสัญจรไปมา
25. ในหลายโอกาสคุณควรจะแบ่งเวลาไปสนุกสนาน
กับเพื่อนฝูงเสียบ้าง
มากกว่าที่จะนั่งคิดนั่งเขียนกับนิยายคุณคนเดียว
เพื่อให้คุณไม่ต้องใช้งานสมองหนักมากเกินไป


หากคุณแน่ใจว่าคุณมีคุณสมบัติครบทุกข้อด้านบนแล้ว
คำว่านักเขียนนิยายไม่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับคุณอีกต่อไป.....


**ขอให้ทุกคนโชคดี ฝันให้ไกลและไปให้ถึง**

ผมเชื่ออยู่เสมอว่าไม่มีสิ่งใดที่ไกลเกินกว่ามนุษย์เราจะเอื้อมถึง ตราบใดที่เรายังมีความหวัง
ความเชื่อมั่นและพยายามจะไขว่คว้า...


โดย JimmY
19/7/46



อันนี้เป็นคำแนะนำสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบตัวตน
ที่แท้จริงของตนเอง เพื่อนำไปสู่การเร่งความเร็ว
ทะยานขึ้นไปสู่จุดหมายปลายความฝันของตัวเองให้สำเร็จนะครับ
ขอให้โชคดีกันถ้วนหน้านะครับ

>> เตรียมตัวเร่งเครื่อง แวะกลับไปเติมน้ำมันที่สถานีลิ้งค์



            -- ทฤษฎีการประพันธ์ Writing Theory --                  

           

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ห้องเรียนการเขียนนิยายของทุกๆท่าน
อันนี้ส่วนมากจะไปรวบรวมมานะครับ
จากเว็บต่างๆ ซึ่งส่วนมาก็จะมีคล้ายๆกันครับ
แต่ที่ไปดูมาก็ไม่เห็นมีอันไหนที่จัดเรียงแบบที่มือใหม่จะสามารถเข้าใจได้
อย่างง่ายเลยนะครับ
ผมเลยจัดเรียงแบบที่ทุกท่านจะสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
งานเขียนที่ดีควรเริ่มต้นจากการอ่าน
พูดง่ายๆก็คือนักเขียนเก่งส่วนมากจะเป็นนักอ่านตัวยงมาก่อนนั่นเองครับ
แต่อ่านอย่างไรให้ถูกวิธี และเป็นการศึกษาไปในตัว


การค้นหาตัวตนที่แท้จริง

ของตนเองนี้ก็สำคัญไม่เบา เมื่อเราศึกษา
งานเขียนของ คนอื่นมากมากมายแล้ว แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้
เราต้องออกค้นหาตัวตนเองเราเอง ด้วยตนเองครับ

ลงมือเขียน

เมื่อค้นพบตัวตนของตัวเองแล้วก็อย่ารอช้า รีบลุยเลย
เมื่อเรารู้แล้วว่าเราต้องการจะเขียนอะไร
เท่าที่เรารู้ๆอยู่ว่านวนิยายที่ดีควรมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 อย่าง
นั่นก็คือ


1. Plot
2. Character
3. Setting
4. Theme
บางคนอาจจะบอกว่ามี 5. Climax ที่อยู่ใน Plot อยู่แล้ว

มาแปลเป็นไทยตามความรู้ของผมก็คือ

1. โครงเรื่อง เป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึงแต่แรก
เหมือนการนำจินตนาการที่ลอยสะเปะสะปะ
มาจัดเรียงกันให้เป็นเรื่องราว และมีชีวิตชีวา
2. ตัวละคร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง
คงไม่มีเรื่องไหนหรอกที่ดำเนินโดยไม่มีตัวละครมาเป็นตัวโยง
เหตุการณ์ ต่างๆเข้าด้วยกัน รวมทั้งTheme ด้วย
ดังนั้นการเลือกสร้างตัวละครควรให้สมเหตุสมผล สมจริง
3. ฉาก คงไม่มีตัวละครของเรื่องไหนที่ตัวละครลอยอยู๋บน...ว่างเปล่า
เรื่องทุกเหตุการ์ต้องมีฉากมาเป็นตัวรองรับตัวครคร และองค์ประกอบต่างๆ
การเลือกฉากที่ดี และพิถีพิถันก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
4. แก่นเรื่อง จินตนาการที่ถูกจับมาเรียงร้อยกัน หากจะให้เป็นนวนิยาย
หรือเรื่องเล่าที่ดี ต้องมี แก่นเรื่อง เป็นตัวสำคัญ หรือเป้าหมาย ว่าเรื่อง
นี้ดำเนินเพราะเหตุใด
มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นถึงได้เป็นเช่นนี้
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
เป็นสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อออกมาให้ผู้อ่านได้รับรู้นั่นเอง
ถือเป็นตัวสำคัญในการรับรองคุณภาพของหนังสือ
ว่าคนอ่านๆอ่านไปแล้วได้อะไรมาบ้าง ได้ข้อคิดดีๆใส่หัวสมองไปบ้างหรือไม่
หรืออ่านแล้วไร้สาระ ได้เพียงแค่ความบันเทิง
ส่วนมากจะเป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกับ Climax
5. จุดสุดยอดของเรื่อง เป็นส่วนที่อยู่ใน Plot โดยมักจะใช้
เป็นตัวสื่อ แก่นเรื่อง ประเด็กเด่นของเรื่องออกมาให้ชัดเจน

ทุกอย่างมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
นักเขียนมือใหม่ควรศึกษา และปรับเข้ากับเรื่องของตนเอง


ศึกษา และเขียนต่อไป

เมื่ออ่านด้านบนจบ
คุณต้องเริ่มเขียนตามสิ่งที่ใจคุณเรียกร้อง
ตามใจเรียกร้องอย่าฝืนเขียนแนวที่ไม่ชอบ
เพราะงานเขียนเป็นงานที่ทำด้วยใจด้วยจิตวิญญาณของคุณเอง
บังคับกันไม่ได้ เขียนตามสิ่งที่คุณชอบไปเลย
ไม่ดีอย่างไรมาปรับแก้ไขทีหลังได้
ก่อนอื่นที่จะเริ่มต้นเขียนระบายอะไรออกไป
เรามาศึกษากันก่อนถึงเรื่องมุมมอง
ของผู้เขียนหรือลักษณะการเขียน การบรรยาย ถึงสิ่งต่างๆ
ให้ผู้อ่านได้รับรู้ ซึ่งนักเขียนแต่ละคนจะมีมุมมอง และแนวการเขียนแตกต่างกัน
เริ่มต้นโครงเรื่องอย่างไรดี
เขียนร่างคร่าวก่อน ว่าเรื่องของคุณนั้นมีเหตุการณ์
อย่างไรบ้าง มีสิ่งใดที่จะค่อยๆนำเข้าสู่ไคลแมกส์
ไคลแมกส์เล็กของแต่ละบท
เรื่องราวที่น่าติดตามให้อ่านต่อไป โดยคำนึงถึงหลัก
4ข้อที่เป็นองค์ประกอบ พยายามใส่ให้ครบ และสมบูรณ์
ถ้าคุณเริ่มต้นได้ดีก็จะมีชัยไปกว่าครึ่ง
เขียนเริ่มต้น เขียนอย่างไรให้ดี
นักเขียนหลายคนขึ้นต้นเรื่องไม่ถูกเลยไปไหนต่อไม่ได้
เมื่อเริ่มได้แล้วก็ต้องมุ่งต่อไป
ดำเนินเรื่องอย่างไรให้สนุก
ทำอย่างไรให้ผู้อ่านไม่นอนหลับขณะอ่าน
แทรกไคลแมกส์ย่อยๆ
ทำเนื้อเรื่องให้ตื่นเต้น
ให้ผู้อ่านต้องคอยลุ้นระทึก คอยคิดตาม
หรือมีฉากที่น่าประทับใจ แทรกไว้เรื่อยๆ
มาถึงขนาดนี้แล้วจงเขียนต่อไป อย่าหยุด อย่าท้อ
นักเขียนหลายคนส่วนมากจะจบเอาที่ตรงนี้
เพราะเบื่อ แล้วก็ท้อ
จงจำไว้ว่าพยายามเข้าไว้ อย่าท้อ
เราทำในสิ่งที่เรารัก
สนุกกับงานที่ทำ แต่ถ้าเขียนไม่ได้จริงก็อย่าฝืน
อ่ยาเขียนเพราะต้องการจะดัง ต้องการจะมีชื่อเสียง
จงเขียนเพราะรัก และผลงานจะออกมาดีเอง
หากไปต่อได้ก็จะเป็นการพิสูจน์ตัวเองไปในตัวด้วยครับ
อย่าลืมคำนึงเรื่องถ้อยคำสำนวนภาษาด้วยล่ะ
ระหว่างเรื่อง สำนวนที่หยาบก็ชวนให้ปิดหนังสือได้เหมือนกัน
อาจจะเป็นการยากหากจะเขียนให้ได้ภาษาดีๆน่าอ่าน
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคืออ่านให้เยอะๆเข้าไว้
เมื่องานเขียนเสร็จคุณต้องมานั่ง
ตรวจทานนี่ก็เป็นสิ่งที่หนักพอดู
คุณอาจจะต้องแก้ไขมากกว่าสิบๆครั้ง
พิมพ์มาใหม่แล้วก็แก้ พิมพ์แล้วแก้ซ้ำอยู๋อย่างนั้น
จนกว่าจะออกมาเป็นผลงานที่คุณพอใจมากที่สุด
การขัดเกลาภาษาให้ดีก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
เพราะภาษาเป็นสิงจำเป็นในการสื่อสารระหว่างคนเขียนกับคนอ่าน


เพิ่มลูกเล่นและเทคนิคให้กับงานเขียนของตัวเอง
ก็อปมาล้วนๆ -Irony
-Flashforward and Flashback
-Foreshadow
-Symbol
-Anti Climax
เมื่อแต่งเติมจนพอใจแล้ว เราก็ต้องหาแหล่งดีๆในการกระจายงานเขียน
แต่ก่อนจะ
ส่งไป เราต้องมาคำนึงถึงผู้ที่อ่าน
และผู้วิจารณ์สักหน่อยนึง เมื่อคิดว่าโอเคก็ลุย!

แหล่งที่จะสามารถติดต่อเรื่องงานเขียน
ยินดีด้วยกับความสำเร็จ และชัยชนะของคุณ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ
การเอาชนะตัวเอง

สำหรับผู้ไม่สำเร็จก็ไม่ต้องท้อครับ
ลงมือจรดปากกาเขียนใหม่นี่เป็นเพียงเส้นทาง
เริ่มต้นที่แสนจะลำบากใน ถนนนักเขียน หากเราสามารถฝ่าฟันไปได้
จุดหมายก็อยู่ไม่ไกลแล้วครับ

บทความ และถาม-ตอบ

การเป็นนักเขียนไม่ยาก
เพียงแต่ไม่ลงมือ
ความแตกต่างระหว่างนวนิยายวิทยาศาสตร์ และแฟนตาซีบริสุทธ์
ถามตอบนี้จะรวบรวมมานะครับ แต่หากใครมีคำถามสงสัยนอกเหนือจากนี้
ก็ติดต่อมาได้ครับClick!
ผมก็ไม่ได้เก่งมาจากไหนหรอกครับ เด็กเหมือนคุณนั่นแหละ
หากข้อไหนที่มีประสบการณ์มาก่อน และผมตอบได้ก็จะตอบให้นะครับ
ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนเองรักทุกคนครับ
มีอะไรแนะนำ ติชม หรืออยากพูดคุยกันก็สามารถติดต่อกันได้ที่นี่นะครับ
Contact US
ยังไงแวะเวียนผ่านมาแล้วก็ช่วยเข้าไปเซ้นสมุดเยี่ยม
เพื่อเป็นการให้กำลังใจผมหน่อยก็ดีนะครับ ขอบคุณที่แวะมาครับ


                           -- การเริ่มต้นอ่านอย่างถูกวิธี --                            

             

วิธีการอ่านนิยายแบบปกติสุข บรรยายโดย รุ้งยี้

นี่เป็นของแถมส่วนตัว คือจะเขียนวิธีการอ่านตามหลักการท
ี่ได้เขียนไปทั้งหมดแล้ว เป็นวิธีที่รุ้งใช้อยู่ทุกครั้งที่อ่านนิยาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำเน่า น้ำดี หรือวรรณกรรมธรรมดาไปจนถึงวรรณคดี นั่นก็คือ เราก็ต้องมองจากจุดที่ใหญ่ที่สุดไปในจุดที่เล็กที่สุด
ว่า ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไร นั่นเอง ง่ายๆ ^^
อธิบายแบบเป็นหลักการหน่อยก็คงจะดูตามแบบข้างล่าง นะคะ
1. ดูที่ วิธีการบรรยายเรื่องของเรื่องนั้นๆก่อน
นั่นคือสิ่งที่เราควรรู้ ควรจะถามตัวเองเสมอๆ
ว่าใครกันแน่ที่เป็นคนบรรยายเรื่องนี้ขึ้น เป็นแบบมีเสียงจากสวรรค์ลอยมาเล่าเรื่องรึเปล่า
หรือว่าตัวละครเป็นคนเล่าเรื่องนั้นๆ พอเราสรุปได้ว่าเป็นใคร ต่อมาเราก็ต้องรู้ต่อว่า
คนๆนั้นรู้และเข้าใจทุกสิ่งในเรื่องหรือคาแรกเตอร์ตัวละครจริงๆรึเปล่า
หรือรู้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น(พูดง่ายๆ
จะหาว่ามันเป็น แบบ Omniscient หรือ Limited) โดยส่วนใหญ่พวกเราจะรู้กันอยู่แล้วว่าใครเล่า ทีนี้ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือเราจะต้องรู้ว่าเจ้าคนที่มันเล่าเรื่องเนี่ย
มันเชื่อถือได้รึเปล่า พยายามตามให้ทันคนเขียน เราก็จะได้อ่านได้สนุกขึ้น
เรื่องมากขึ้น แล้วก็อ่านไปแล้วก็คิดไปว่า เราฉลาด(ว่ะ) ที่ตามทัน หุหุ

2. ดูที่พล็อตเรื่อง หรือโครงสร้างของเรื่อง
นั่นก็คือการที่ดูว่าตัวละครทำอะไร และทำอย่างไร
มีปฏิกริยาอะไรต่อเรื่องที่เกิดขึ้นมาในชีวิตเขา การกระทำของตัวละครก็คือการสร้างโครงเรื่อง
ถ้าตัวละครไม่ทำอะไรเรื่องก็ไม่เกิด แล้วถ้าตัวละครทำอะไรที่เป็นประจำเหมือนทุกวัน
เรื่องก็ไม่เกิด เรื่องจะเกิดก็ต่อเมื่อ ตัวละครทำอะไรที่ไม่เหมือนเดิม
ตัวละครต้องเผชิญกะปัญหา อุปสรรค และสิ่งต่างๆ
เพื่อได้ซึ่งการเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น ถ้าเมราสเชื่อฟังพ่อแม่
ไม่หาเรื่องใส่ตัว จะมีเรื่องศึกจอมขมังเวทย์ไหม ก็ไม่มี
อาจจะมีเรื่องราชาตอริกจอมพลัง หรือ เรื่อง 3 เมืองสงบสุข
หรือ เรื่องเฟย์ราจอมพลังแทน อะไรประมาณนั้น
แต่เมื่อเมราสขบถต่อแนวคิดที่พ่อมดยึดถือกันมานาน
ก็เลยเป็นเรื่องศึกจอมขมังเวทย์ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นก็เริ่ม Beginning Force ที่พูดๆมาก็คือเราต้องตามให้ทันเรื่องว่าเรื่องนั้นไปในทิศทางไหน
อย่างสมมติว่าถ้าคนเขียนคนหนึ่งเขียนเรื่องแบบว่า
เริ่มเรื่องก็บรรยายปกติ อยู่ๆก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
แบบว่าตื่นเต้นมาก เสร็จแล้วแทนที่เหตุการณ์จะค่อยไต่ขึ้นไป
กลับไต่ลงมาให้ราบเรียบเหมือนเดิม แล้วจู่ๆ ก็ตื่นเต้นอีกแล้ว
แล้วก็สงบอีก อันนี้คนอ่านต้องรู้ว่ามีอะไรที่ผิดพลาดแล้ว
อาจจะสามารถบอกกับผู้เขียนได้เลยว่า เรื่องมันแปลกๆ ไม่สามารถเร้าอารมณ์คนอ่านได้นะ เช่นถ้ารุ้งเอาหมังน้อยมาเล่าใหม่แบบที่รุ้งเล่าเมื่อกี้
ก็จะเป็นเมราสก็อยู่ดีๆ แล้วจู่ๆก็มีความคิดที่ขบถขึ้น ก็หนีมา
มาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งทำไร่ไถนา แล้วก็ไปชอบผู้หญิงคนหนึ่ง
พอเสร็จแล้วผู้หญิงตาย ก็เลยมานึกได้ว่าต้องขบถ
แล้วก็พยายามไปหาทางตามแผน แล้วบังเอิญไปเจอขุมทอง
เลยไปอยู่ขุดทองซักพัก …… อะไรแบบนี้อ่ะ คือมันไม่ใช่
ถ้าต้องการจะเขียนแบบหมังน้อย ก็คือ เมราสขบถต่อสังคม แล้วก็หนีมา
เสร็จแล้วก็หาทางที่จะทำให้แผนประสบผล
แล้วก็ไปเจอเมืองๆหนึ่งที่เหมาะสม แล้วก็เข้าแทรกซึม ค่อยซึมเข้าไปเรื่อยๆ
จนเริ่มแผนแรก ไปแผน 2 ……. จะเห็นความต่างของ 2 ตัวอย่างว่า อย่างที่ 2 นั้น คนเขียนตั้งจุดหมายไว้ชัดว่าจะเดินไปในทิศทางไหน
แล้วก็เดินตรงไปตามทางเลย แต่อย่างแรกมัน -_-"
คนอ่านบางคนอ่านแล้วรู้ว่ามันประหลาด แต่ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไร
ทำให้ไม่สามารถจะแนะนำผู้เขียนได้ ซึ่งรุ้งว่าการอ่านและการเขียนน่าจะเป็น Two-way communicate
คือสามารถพัฒนาคนเขียนและคนอ่านไปพร้อมๆกันได้ค่ะ

3. ดูที่ Setting ของเรื่อง ดูที่สถานที่ เวลา
และอื่นๆที่เคยพูดไว้ด้านบนนี้ คนอ่านต้องให้ความสำคัญกับ
Setting ด้วย ถ้าเรื่องๆหนึ่งเขียนออกมาโดยไม่มี Setting
ก็เหมือนกะคนๆนั้นกำลังลอยๆอยู่เหนือพื้นโลก ตัวละครที่อ่านได้
จะรู้สึกเหมือนมันลอยๆแบบบอกไม่ถูก ยังไงมันก็ต้องมี อาจจะอยู่ในที่บ้าน ที่ร้านอาหาร
ในกรุงเทพ ในเมกา หรือในเมืองสมมติ หรืออยู่ในที่ที่ไม่ระบุ
แต่เราก็รู้เองได้ ยังไงก็ต้องมีบ้าง การเลือก Setting ที่ดี ก็เป็นส่วนช่วยอธิบายเรื่องได้ง่ายขึ้น
เราต้องระมัดระวังคนเขียนที่เขียนเรื่องที่เราอ่านแล้วชอบบรรยายแบบป๊อกเด้ง เพราะเขาก็จะบรรยายอะไรโดยมีเหตุผลแอบแฝงประมาณเขียนแค่
ประโยคเดียว ได้ 2-3 ต่อ ในเมื่อคนเขียนคนนั้นเขียนได้ละเอียดขนาดนั้น
สิ่งที่เขาต้องการก็คือการตอบสนองจากคนอ่านว่า สิ่งที่แอบใส่ไป คนอ่านอ่านเข้าใจ ^^ ส่วนเวลาก็สำคัญเหมือนกันเช่นเรื่องนี้เกิดในยุคปัจจุบัน ในอดีตหรือในอนาคต
หรือว่าสมมติขึ้นเองเลยก็ได้ ทีนี้สำหรับหัวข้อนี้ รุ้งจะให้ความใส่ใจกะเรื่องที่ดูอิงประวัติศาสตร์ หรือ เหมือนกับจะอิงประวัติศาสตร์ หรือเรื่องแฟนตาซีที่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกะ
Setting โดยตรง ถ้าคิดจะเขียนเรื่องแนวๆนี้ Setting เนี่ยซุปเปอร์สำคัญเลย และ Setting ต้องสัมพันธ์กะเรื่องที่จะเกิดหรือตัวละคร จะพูดเรื่องเรื่องที่อิงประวัติศาสตร์ก่อน ถ้าหากว่า ใส่แค่เวลาแล้วก็เล่าเรื่องที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กะสภาพสังคม
หรือว่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นเลย
รุ้งก็คิดว่าเรื่องนั้นๆไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ก็ได้
เพราะว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้ช่วยซัพพอร์ตเรื่องเลย
แต่ถ้าเราใส่แนวความคิดของสังคมนั้นลงไปหน่อย เช่น (ในเจเจมีเรื่องแนวอิงประวัติศาสตร์รึเปล่าน้า )
เอาภัทรกาลกัปละกัน ถึงไม่ใช่เรื่องแนวอิงประวัติศาสตร์โดยตรง
แต่ก็ถือว่าอยู่ในโซนเดียวกัน เขาอยู่ในยุคที่คนถูกจำกัดสิทธิ์ จำกัดเวลา
ซึ่งผู้แต่งก็บรรยายสภาพต่างๆ ของ Setting แล้วพออ่านต่อๆไปก็รู้ว่า
การที่ตัวละครไปอยู่ในที่แห่งนั้น ในช่วงเวลานั้น
มันมีผลกระทบและความคิดของตัวละครอย่างมาก อย่างเรื่องวีรบุรุษทางช้างเผือกก็ใช่
ผู้แต่งบรรยายรายละเอียดได้ดีมั่กมาก เหมือนกับว่าสถานที่แห่งนั้นๆมีอยู่จริงๆ
และตัวละครก็ต้อง Suffer สืบเนื่องมาจากสถานที่และช่วงเวลาที่พวกเขาอยู่
ถ้าไรน์ฮาร์ดไม่ได้อยู่ในช่วงสงคราม และในยุคประชาธิปไตย
พี่สาวเขาอาจจะไม่ได้ถูกจับไปเป็นเมียน้อย(ของกษัตริย์) ไรน์ฮาร์ดก็คงจะไปเรียนหนังสือ อาจจะใช้ความทะเยอทะยานของเขาในทางการค้าก็ได้ ใครจะไปรู้
หรือไม่หยาง ก็คงไม่ได้เป็นทหาร
อาจจะไปเป็นครูสอนประวัติศาสตร์ในมหาลัยก็ได้
แต่ว่าเพราะอยู่ใน Setting แบบนั้น เรื่องก็เลยเกิดขึ้น
นี่ก็คือความสำคัญของ Setting ที่มีต่อเรื่อง

4. ดูที่ตัวละคร ตัวละครนี่ก็สำคัญ เนื่องจากเป็นตัวดำเนินเรื่อง
คนเขียนมีเทคนิคมากมายในการบรรยายตัวละคร
คนอ่านก็ต้องตามทันคนเขียน ว่าเทคนิคนั้นมีอะไรบ้าง
แล้วเราสามารถจะหาคาแรกเตอร์ของตัวละครได้สบายๆ
** physical description -- ดูว่าตัวละครมีลักษณะเป็นยังไง
** dialogue -- ดูสิ่งที่ตัวละครพูด
** physical actions -- ดูสิ่งที่ตัวละครทำ
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาพูดหรือคิด)
** thoughts, or metal actions -- ความคิดของตัวละคร หรือมุมมองของตัวละคร
** judgment by others -- ดูความคิดของตัวละครตัวอื่นที่มีต่อตัวละครนั้นๆ
** the narrator's judgement -- ดูว่าผู้บรรยายได้บอกอะไรเราเกี่ยวกับตัวละคร
** the author's judgement -- ดูว่าคนเขียนมีความคิดกับตัวละครอย่างไร(บางทีก็พูดยากนะ จะรู้ได้จริงๆก็คงเป็นในช่วงสุดท้ายของเรื่อง)
ลองมาดูตัวอย่างกันนะ ^^
เมราส จากหมังน้อย
physical description ชอบหลบตาคน(ท่าจะจะเป็นปอบ)
ตรงชอบหลบตาคนนี้ก็บอกคาแรกเตอร์ของตัวละครได้
dialogue ก็ส่วนใหญ่ที่เมราสพูดก็จะโชว์ความฉลาดออกมา
ทำให้ดูออกว่าเป็นคนช่างวางแผน เลือดเย็น เหี้ยม และน่าหมั่นไส้
( อันนี้คิดเอง) เช่นตอนไหนดีอ่ะ
physical actions สืบเนื่องจากความคิดข้อข้างล่าง
+ กับคาแรกเตอร์ด้านบน ก็เลยมีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
คือหนีออกจากบ้านมาแล้วก็จัดการยุชาวบ้านให้ทำสงครามเป็นต้น
thoughts, or metal actions ก็มีความคิดที่เป็นขบถต่อสังคม
judgment by others ตัวละครตัวอื่นๆ เหรอ ต้องขอเวลาไปคิดก่อน
the author's judgement อันนี้คาดว่าคนเขียนคงจะเกลียดเมราส
ก็เลยทำให้เมราสเกิดมาบนดาวที่โชคร้าย หุหุ ไม่ใช่หรอก
ดูออกว่าคนเขียนให้ความสำคัญกะตัวละครตัวนี้มาก
เป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น แม้ว่าเฟย์ราจะดูมีบทบาทมากเหมือนกัน
แต่ตัวที่เป็นคนขับเคลื่อนเรื่องทั้งหมดก็คือเมราส

5. ดูที่ธีมของเรื่อง คือถามตัวเองแล้วสุดท้ายเราได้อะไรจากเรื่อง
หรือเรื่องมันบอกอะไรเรา นั่นจิ แล้วเราได้อะไรจากเรื่องล่ะ
ถ้าบางเรื่องเราเห็นชัด เราก็จะบอกได้โดยทันที แต่ถ้าบางเรื่องมันเห็นไม่ค่อยชัด
ก็คงต้องขุดออกมา วิธีการขุดก็มันต้องฝึกอ่ะ บอกไม่ได้ ไม่รู้จะบอกยังไงดี เอาเป็นว่า
เมื่อดูทั้งหมดทั้งมวลด้านบนเป็นนะ ก็จะดูไคล์แมกซ์เป็นละกัน (งานนี้ตัวใครตัวมันละกัน)

6. ดูที่เทคนิคปลีกย่อย คนเขียนบางคนที่เขียนเก่งๆ และมีความชำนาญ
มักจะใส่เทคนิคย่อยๆ ที่ได้เขียนไปให้อ่านแล้ว เช่น Foreshadow, Flashforward เป็นต้น เราคนอ่านก็น่าจะตอบสนองคนเขียนบ้างเล็กน้อย ถ้าอ่านแล้วเห็นก็ช่วยๆ บอกคนเขียนหน่อย เขาจะได้ดีใจว่าที่ใส่ไปไม่ได้สูญสลายหายไปกะธาตุอากาศ ^^
สรุปอีกที ที่เขียนเนี่ย ก็เพื่อที่จะแนะนำคนอ่านให้สามารถนำข้อเขียนทฤษฏีของรุ้งทั้งหมด
ไปใช้ได้ในชีวิตจริง(ฉบับ Practical Use)
และก็ไม่จำเป็นที่ผู้อ่านมาอ่านแล้ว
จะต้องทำตามทั้งหมดถ้ารู้สึกว่าอ่านแบบนี้ไม่สนุก สำหรับรุ้งแล้ว
การอ่านแบบนี้สามารถนำมารวมกับการอ่านแบบเอาฮาได้
ซึ่งจุดสำคัญคือเราต้องเลือกเรื่องที่เราอ่านด้วย ถ้าเรื่องที่เราอ่าน
คนเขียนไม่คิดอะไรด้วย คือเขาเขียนเอาฮา เราก็อ่านเอาฮา
ถ้าเขาเขียนอีกแบบหนึ่ง เราก็อ่านอีกแบบหนึ่ง ได้ 2 เด้ง
สบายแฮ แต่รุ้งก็ต้องบอกก่อนว่า การอ่านแบบนี้ต้องใช้เวลา
ไม่ใช่ว่าอ่านทฤษฏีปุ๊บก็ทำได้ปั๊บ ก็ถ้าเราชอบอ่านจริงๆ
ต่อๆไปเราก็จะทำได้แบบออโต้เลย อันนี้คือจบจริงๆแล้ว ที่เขียนต่ออีกหน่อยก็เพราะว่า รู้สึกว่าที่เขียนจบไปไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ เลยมีฉบับภาคปฏิบัติมาให้ด้วย
เขียนยากมากขอบอก ขอขอบคุณอีกทีค่ะ สำหรับคนเขียนทุกคนที่สร้างงานดีๆมาให้อ่าน
อาจจะมีบางเรื่องที่รุ้งไม่ได้ลงชื่อไว้ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ^^


                      -- โครงเรื่อง และกฏของโครงเรื่อง --                        

             

Literary Criticism for Writer and Reader

+++++++++++++++++++++++++++++++++

Elements of Plots

ในนิยายหรือเรื่องสั้นทุกเรื่องจะมีจุดร่วมเดียวกัน ก็คือโครงสร้างของเรื่อง
สิ่งที่จะพูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องวิชาการอะไรเลย
แต่เป็นธรรมชาติของ Fiction ที่มีคนสรุปออกมาให้เป็นหมวดหมู่ ดังนี้

Exposition หรือ Background
คือการเกริ่นนำถึงอะไรต่างๆที่เกียวกะตัวเรื่อง
เพื่อเป็นความรู้พิ้นฐานให้คนอ่านทำความเข้าใจกับเรื่องได้ง่ายขึ้น
อาจจะพูดถึง Setting หรือ ตัวละคร
หรืออะไรก็ตามที่คนเขียนเห็นว่าคนอ่าน
ก็น่าจะรู้เพื่อที่ชักจูงให้คนอ่านทำความเข้าใจกับเรื่อง
ต่อๆมาได้Beginning Force ก็คือการเริ่ม Conflict
หรือปัญหาของตัวละคร อาจจะเป็น Conflict แบบ

Man against Man คือตัวละครมีปัญหากะคนอื่น
Man against himself คือตัวละครมีปัญหากะตัวเอง
Man against Environment คือตัวละครมีปัญหากะสิ่งแวดล้อม
การเริ่มของปัญหาอาจจะดูง่ายๆจากการที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจาก
Exposition รึเปล่า เช่นว่าตอนเริ่มก็บอกว่าเจ้าชายคนนี้โสด เจ้าชู้
ไม่อยากแต่งงาน แต่พอเริ่ม Beginning Force เจ้าชายนั่น
อาจจะถูกบังคับให้แต่งงานเป็นต้น

Rising Action
ก็คือการที่สถานการณ์ของปัญหามันเริ่มเข้มข้นขึ้นทุกที
อาจจะมีปํญหาอย่างอื่นแทรกซ้อนเข้ามาก็ได้
เป็นช่วงที่ค่อนข้างจะเร้าคนอ่านทีเดียว

Climax ก็คือจุดที่นำอารมณ์ของคนอ่านไปอยู่สูงสุด เป็นสถานการณ์ที่ปัญหามันพุ่งทะยานถึง
ขีดสุด ตัวละครมักจะต้องตัดสินใจที่จะ
ทำหรือว่าไม่ทำอะไรกับปัญหาที่กล่าวมา
เช่น พระเอกกะนางเอกก็พ่อแง่แม่งอนกันมาตลอดเรื่อง
ช่วงที่นางเอกจะต้องรับว่ารักพระเอกทั้งๆที่มีทิฐิอยู่ในใจ
ตัดสินใจก้าวข้ามทิฐินั้น นี่ก็ถือว่าเป็น Climax
ในหนึ่งเรื่องอาจจะมีหลาย Climax ก็ได้
ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของตัวเรื่อง แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ก็จะมี
Climax ใหญ่ๆ เพียงอันเดียวเท่านั้น
เป็นสิ่งที่คนเขียนต้องการสื่อถึงคนอ่านมากที่สุด

Resolution ก็คือการคลี่คลายปัญหา เนื่องจากปัญหาดังกล่าว ได้ขึ้นไปพีกสุดที
Climax แล้ว ก็ต้องมีจุดที่ตกลงมาของอารมณ์ เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เดี๋ยวตัวอย่างลงไปดูข้างล่าง

Ending ก็เป็นตอนจบ มีหลายแบบ คือ แบบ Happy Ending, Tragedy,
หรือจบแบบคนเขียนไม่บอกอะไร ให้ไปคิดเอาเอง มีหลายแบบเยอะแยะมากมาย

ทีนี้เรามาดูว่าไอ้เจ้าพล็อตหรือ โครงสร้างด้านบนช่วยอะไรเราได้
ในมุมของนักเขียนเราก็สามารถจะกำหนดโครงเรื่องของเราได้ง่ายขึ้น เช่น
เริ่มเรื่องด้วย Exposition ว่ามีเจ้าชายอยู่เมืองนึง
หล่อมาก สาวติดตรึม แต่ไม่คิดจะสนใคร
อยู่เป็นโสดดีกว่า สบายใจ แล้วก็มีเจ้าหญิงอีกเมืองนึงเข้มแข็งไม่แพ้ผู้ชาย
ไม่คิดจะแต่งงานเพราะผู้ชายที่มาชอบ เหลาะแหละหมด ต่อมาก็มี
Beginning Force ว่า
ต่อมา เจ้าชายนี่ก็ถูกจับให้แต่งงานกะ
เจ้าหญิงเมืองนึงที่ไม่เคยเห็นหน้าข้าตา(ปัญหาก็เกิดขึ้น)
แล้วจะทำไงดี ที่ถูกจับให้แต่งงานก็เพราะเหตุผลทางการเมือง
ผ่ายเจ้าหญิงนั่นก็ไม่ยอมเหมือนกัน ถือว่าตัวเองสามารถอยู่ได้คนเดียว
ทีนี่เจ้าหญิงคิดทาง
ออกว่า ถ้าเจ้าชายนั่นสามารถเอาชนะเจ้าหญิงได้ก็จะยอมแต่ง
Rising Action
ก็เริ่มขึ้นเมื่อทั้งคู่มาเจอกัน

ดันปิ๊งป๊างๆ ชอบพอกัน แต่ก็ท่มากทั้งคู่ ลีลาเยอะ ไม่ยอมรับกัน
พอถึงวันที่สู้กัน ก็สุ้กัน อยู่ดีๆ ก็มีเสนาคิดไม่ซื่อลอบทำร้ายเจ้าหญิง เจ้าก็เข้าปกป้องจนบาดเจ็บสาหัส
Climax ก็เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหญิงตกใจ แล้วก็เสียใจมาก ยอมรับว่ารักเจ้าชาย
ไม่อยากให้เจ้าชายตาย พอถึง Resolution ก็เมื่อเจ้าหญิงร้องไห้ดังมากจนไปถึงเทพข้างบนเขาหนวกห
ู ก็เลยมาช่วงเจ้าชายให้ฟื้น
แล้วก็จบเป็น Happy Ending ว่าเจ้าชายเจ้าหญิงก็ครองรักกัน

นี่ก็เป็นสิ่งที่คร่าวๆ เข้าใจง่ายๆ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนเขียนว่าจะใส่ลูกเล่นอะไรเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มสีสัน
จะเพิ่มตัวละคร เหตุจูงใจอะไรไปอีกก็ได้ แต่แน่นอนเรื่องจะต้องมีการดำเนินไปในทิศทางนี้นะ
คนเขียนก็สบาย คนอ่านก็ไม่มึน

ทีนี้มามองมุมคนอ่านว่าได้อะไรบ้าง คนอ่านทีอาจจะชอบวิพากษ์วิจารณ์ซักหน่อยก็จะมองตรง
สิ่งที่คนเขียนพยายามจะบอกเพราะว่าคนเขียนน่ะ เวลาเขาจะใส่อะไรลงไปในเรื่อง
สิ่งที่เขาหวังก็คืออยากให้คนอ่านเข้าใจ มองเห็นในสิ่งที่เขาเขียนลงไป
เราคนอ่านเมื่อได้อ่านแล้ว ก็น่าจะตอบสนองคนเขียนซักเล็กน้อย
ถ้าคนอ่านมอง elements of plot ออก
จะทำให้อ่านเรื่องสนุกขึ้นเยอะและดีไม่ดีก็จะได้แง่คิดดีๆจากในเรื่องด้วย
บางทีคนอ่านก็รู้สึกว่าเรื่องนี้มันไม่สนุกขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว
และไม่เข้าใจว่าทำไม รุ้งว่า 80% เกิดจากการวางพล็อตไม่ดี ซึ่งจริงๆแล้ว
พล็อตเนี่ยอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการเรียงตามลำดับขั้น
หรือตรงตามขั้นตอนเป๊ะๆก็ได้
อาจจะสับที่กันเช่นเอาตอนจบมาไว้หน้าสุด หรือว่าอาจจะตัดตอนจบไป
ให้คนอ่านไปคิดเอง
เป็นต้น

กฎของโครงเรื่อง

- กฎแห่งความสมจริง กฎข้อนี้เป็นสิ่งที่น่าจะให้น้ำหนักมากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆในเชิงของวรรณกรรม แม้แต่นิยาย
หรือการ์ตูนก็ตาม และใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายธรรมดา
นิยายแนวแฟนตาซี หรือนวนิยายแนววิทยาศาสตร์
กล่าวคือเรื่องจะต้องมีความสมจริง
ซึ่งในที่นี้ “เพลินตา” เคยให้ความหมายเอาไว้ในหนังสือชุด ก.ข. งานเขียน
(รวมบทความ “โรงเรียนนักเขียน” ในนิตยสาร “ถนนหนังสือ”)
ความว่า “ความสมจริง กล่าวง่ายๆก็คือ ความน่าเชื่อถือในตัวของมันเอง
มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ ข. เมื่อเกิดเหตุการณ์ ก. ขึ้น
เป็นความสัมพันธ์ที่มีเหตุผลรองรับ” สำหรับการ์ตูนแนววิทยาศาสตร์
ถ้ามีการนำเอาทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอ้าง ก็ควรจะให้มีความสมจริงน่าจะ
เป็นไปได้ตามหลักวิทยาศาสตร์(ฟังขึ้น) ไม่ใช่อ้างอย่างไม่สมเหตุผลหรือมีหลักฐานที่เลื่อนลอย
เป็นต้น
สำหรับในกรณีของนิยายแนวแฟนตาซี อย่างเรื่อง ลอร์ด ออฟ เธอะ ริงก์
ความน่าเชื่อถือของมันได้มาจากการที่ผู้เขียนมีความรู้ความชำนาญสูง
ในวิชาภาษาศาสตร์ และมีความรู้สูงมากเกี่ยวกับ เรื่องราวปรัมปรา
ตำนาน และเทพนิยาย ต่างๆ
ของทวีปยุโรป ในภาษา และเรื่องราวเหล่านี้ มีกลิ่นอายของความเร้นลับ
ความรู้สึกถึงความโบราณเก่าแก่ และความสมจริง
เนื่องจากหลายๆเรื่องเคยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆก่อนจะ
ถูกนำมาเสริมแต่งเป็นเทพนิยาย
เมื่อโทลคีนนำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นข้อมูลในการเขียน
มนต์เสน่ห์เหล่านั้นก็ซึมซาบเข้ามาใน
นิยายอมตะชุดนี้อย่างเต็มเปี่ยม

- กฎแห่งความเหนือคาด หรือคาดไม่ถึง เรื่องราวที่ดำเนินไป
ควรมี “เซอไพรซ์” ให้กับผู้อ่าน
นิยายหลายๆเรื่องที่มีคุณภาพดีในต่างประเทศ
มักจะมีกลวิธีเดินเรื่องให้ “ต้องเดา” แล้วค่อยๆแก้ปริศนา
หรือที่มาของตัวละคร และอื่นๆไปทีละขั้น
ตัวอย่างที่ดีในการเดินเรื่องที่ใช้วิธีนี้บ่อยๆ
เช่น งานของอกาธา คริสตี งานชุดสถาบันสถาปนา และชุดหุ่นยนต์อันลือลั่น
ของไอแซค อาสิมอฟ งานรวมเรื่องสั้นชุดศพ ของคุณสรจักร
หรือบางเรื่องในเดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
ของคุณวินทร์ เลียววารินทร์ เป็นต้น

- กฎแห่งความซับซ้อน ความซับซ้อนของเรื่องหมายถึงความเป็นไปได
้ของเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านเดาไปต่างๆนาๆ จะต้องทำให้ผู้อ่าน
สงสัยว่าเรื่องจะเป็นอย่างไรในตอนท้ายที่สุด
จนต้องติดตามงานเขียนของคุณอย่างถอนตัวไม่ขึ้น
ตัวอย่างของ “ความซับซ้อน”
ก็คือ ความสัมพันธ์กันของตัวละคร เช่น เป็นญาติ
หรือเป็นเพื่อน เป็นศัตรูกัน เช่น สามก๊ก รวมทั้งปริมาณของตัวละคร หรือเป็นการเดินทางของกลุ่มตัวละครไปตามที่ต่างๆและพบเหตุการณ์ต่างๆ
ที่มีความเกี่ยวโยงกันไปเรื่อยๆตามลำดับ
เช่น นิยายชุด Lord of The Ring
ของ J.R.R.Tolkiens, ชุด Belgariad
และ Malloreon ของ David Edding,
เพชรพระอุมา ของพนมเทียน
หรือเป็นต้นว่าพล็อตเรื่องย่อยๆที่ซ้อนอยู่
ในเรื่องใหญ่จะมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร เช่น
หลายชีวิต ของคึกฤทธิ์ เป็นต้น
แต่การวางเรื่องให้มีความซับซ้อนจะต้องระวัง
เนื่องจากหากมีมากเกินไปกลับจะเริ่มทำ
ให้เรื่องน่าเบื่อและไม่น่าติดตามได้

- กฎแห่งเอกภาพ เรื่องที่ดีจะต้องมีเอกภาพ
นั่นคือความเข้ากันได้ของเหตุการณ์ในแต่ละตอน
ทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบของเรื่อง
หากมีพล็อตย่อยๆหลายๆอันมารวมเป็นพล็อตใหญ่
จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่ขัดเขิน ไม่กระโดด เรื่องเช่น
เพชรฆาตไซบอร์ก กัลลี่ และผ่าจักรวาล 2001 เป็นตัวอย่างที่ดี
ของการ์ตูนแนววิทยาศาสตร์ที่มีเอกภาพของเนื้อเรื่อง
- กฎแห่งสารัตถภาพ ความมีสารัตถภาพ(emphasis) ก็คือความสำคัญ
ความหนักแน่น และสารสาระ ของสิ่งที่นักเขียนจะเสนอให้แก่ผู้อ่าน สาระในการนำเสนอนั้นจะทำให้ผู้อ่าน
มองเห็นมุมมองแนวคิดที่ผู้เขียนนวนิยาย
มีต่อสิ่งที่เขากำลังเล่าโดยตรง และควรต้องใช้
ความละเอียดสักหน่อยในการเสนอสารัตถะ
ของเรื่อง เนื่องจากสิ่งนี้สามารถบ่งบอกได้ว่านักเขียน
มีภูมิปัญญา มากน้อยเท่าใดในการนำเสนอ
เรื่องแต่งแก่สาธารณชนในแง่ของคุณค่าของเรื่อง ในฐานะงานศิลปะ
และระดับความลุ่มลึกละเมียดละไม
ของระบบปรัชญาคิดของผู้เขียนในการมองปัญหา
และสื่อออกมาให้ผู้อ่านได้ทราบ สารัตภภาพนี้เองที่เป็นสิ่งสำคัญในการบ่งชี้คุณค่าของงานเขียนชิ้นหนึ่งๆ
งานเขียนชิ้นเอกต่างๆ พงศาวดาร ตำนาน
นวนิยายเรื่องเยี่ยมที่ได้รับความนิยมในสังคมมนุษย์มาเป็นเวลายาวนาน
(เป็นต้นว่า รามเกียรติ์
สามก๊ก อีเลียด โอเดสซีพงศาวดารพระร่วง เจ้าชายน้อย อลิซในแดนมหัศจรย์
พระอภัยมณี สเต็ปเปนวูลฟ์ โจนาธานลิฟวิงส์ตัน(นางนวล)
เมตามอร์โฟซิส ฯลฯ ฯลฯ - ดิจิตอลเดี้ยง) ต่างก็มีสารัตถภาพอยู่เปี่ยมล้น
เมื่อโทลคีนตัดสินใจที่จะเขียน "เทพนิยายในแบบของโทลคีน" ออกมาจริงๆ
สิ่งเหล่านี้จึงมีในงานเขียนของเขาด้วย ทำให้นิยายของเขามีคุณค่าในเชิงวรรณกรรม
ในระดับของเรื่องต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นเช่นกัน
[คำเตือน-น้องๆที่อยากลองอ่านงานเขียนต่างๆ
ข้างบนดูอาจพบตอนต้นๆว่ามันน่าเบื่อ เพราะของแบบนี้ต้องการเวลาย่อยสักหน่อย
มันค่อนข้างหนักกว่า โรอันดาร์ล พ่อมดอ๊อซ
ชุดคนตัวจิ๋ว ชุดโต๊ะโตะจัง แฮร์รี พอตเตอร์ พลนิกรกิมหงวน คุณพ่อขายาว
แต่พยายามอ่านไปเถอะ พอ "เข้าใจ"
แล้วก็จะสนุกเอง ถ้าเรารักเป็นนักอ่านจริงๆต้องอ่านได้หมด
....แต่เรื่องหลังๆที่พูดมานี้ก็สนุกนะ อ่านแล้วผ่อนคลายเรียกเสียงหัวเราะจากเราได้
ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ...ถ้าให้วิจารณ์ตรงๆนะ
ผมก็ชอบทั้งสองแบบนั่นแหละ
มันงดงามกันคนละอารมณ์ ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือ
ไว้ว่าอารมณ์ของคุณจะเป็นแบบ
"หัวเราะคิกคักสนุกสนาน พร้อมทั้งถุงเลย์
และกระป๋องโค้ก" หรือ "ยิ้มละไม ทำเสียง
อืมม์ ในลำคอและจิบชาไปพลาง" มันก็มีความสุขทั้งคู่ จริงไหม ผมยังรักพลนิกรกิมหงวนอยู่เลย
แม้ใครต่อใครชอบหาว่ามันไร้สาระก็เถอะ-ดิจิตอลเดี้ยง]

นอกเหนือจากการวางโครงเรื่องแล้ว การออกแบบตัวละคร(characters) และฉาก(setting)
ที่เข้ากันได้กับเรื่องมีส่วนสำคัญในความสำเร็จที่เรื่องจะได้รับเป็นอย่างมาก
การออกแบบตัวละครที่ไม่ลงตัวอาจทำให้นิยายเรื่องแรก
ของคุณน่าเบื่อจนต้องจบเรื่องลงไปภายในไม่กี่ตอน
ฉากก็จะต้องมีความเข้ากันได้กับองค์ประกอบอื่นๆภายในเรื่อง
และสนับสนุนทิศทางของการเดินเรื่อง
ในวงการภาพยนตร์ หรือละครเวที จึงต้องมีการวาด story board
เพื่อการวางแผนก่อนการถ่ายทำหรือ การแสดง โดยเฉพาะเมื่อได้ story board
และภาพสเก็ตช์ของตัวละครและฉากมาแล้ว
อาจจะต้องมีการทดลองสร้างแบบจำลองของฉาก
และตัวละครก่อนเพื่อดูความเหมาะสม
ในการเขียนนิยายก็เช่นกัน นักเขียนนิยายที่ดี ควร มีการเขียนบรรยายถึงสถานที่
่ ผู้คน สภาพสังคม ศาสนา ฯลฯ เพื่อกำหนดภาพจำลองของโลก(world)
ที่เขากำลังสรรค์สร้างขึ้นมาคร่าวๆเสียก่อนที่จะเขียนเรื่อง ที่ผมกล่าวข้างต้นโดยใช้คำว่า
ควร แต่ไม่ใช้คำว่า จะต้อง ก็เพราะว่านักเขียนแต่ละคน
อาจจะมีเทคนิคในการเขียนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะสามารถเขียนเรื่องราว
ทุกอย่างออกมาจากโลกที่อยู่ในจินตนาการของตนเองได้อย่างอิสระ
ได้ด้วยพรสวรรค์ที่มีมาเฉพาะตน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ดังนั้นเมื่อตัดสินใจได้ว่าจะใช้ไอเดียอะไรเป็นจุดต้นเรื่อง
และจุดจบของเรื่องแล้ว เพื่อให้การทำงานของเรามีแนวทางให้ยึดเป็นหลักคร่าวๆ
ควรมีการวางแผน การร่างแบบฉาก และตัวละครเอาไว้ก่อนเสมอ


                           -- เรื่องของตัวละคร --                             

             

วันนี้จะมาพูดเรื่องลักษณะของตัวละคร
ตัวละครถือว่าเป็นจุดที่สำคัญมากๆในนิยาย
เพราะสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะบอกเรา
จะถูกสื่อออกมาจากการกระทำของตัวละคร
และการที่ตัวละครจะทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องมีที่มาที่ไปและเหตุผลมารองรับ
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความสำคัญของตัวละครด้วย
ถ้าตัวละครที่มีความสำคัญมากๆต่อเรื่อง
ผู้เขียนและผู้อ่านก็ต้องเอาใจใส่กับตัวละครตัวนั้นๆมากหน่อย เช่น
Protagonist หรือตัวละครหลัก
Antagonist หรือตัวร้าย หรือตัวละครที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกะตัวเอก
แต่ถ้าสมมติว่าเป็นตัวประกอบลิ่วล้ออะไรประมาณนั้น
ก็ไม่ต้องให้ความสนใจมากนัก

ทีนี้มาดูประเภทของตัวละครกัน
จะแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งจะเป็นการแบ่งแบบดูมิติของตัวละคร คือ

1. Flat Character คือตัวละครที่ไม่มีมิติใดๆ ถ้ามันจะร้าย มันก็จะร้ายบริสุทธิ์
ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน แต่ถ้าจะดี ก็ดีเหลือเกินจนมองไม่เห็นทางร้าย
ถ้าภาษาของรุ้งเองจะเรียกมันว่า
ตัวละครแบบแบนๆ ลักษณะตัวละครประเภทนี้
มักจะเป็นลักษณะของพวกตัวประกอบ
หรือตัวร้ายๆอะไรประมาณนั้น

2. Round Character คือตัวละครที่มีมิติ รอบด้านคือ
มีความเป็นคนจริงๆค่อนข้างสูง
มีดีมีร้าย จะทำอะไรก็จะมีเหตุผลทางด้านสังคม จิตวิทยา
หรือเหตุผลอื่นๆมาสนับสนุนการกระทำของตัวละคร
ตัวละครตัวนี้ก็มักจะเป็นลักษณะของตัวละครหลัก
หรือสำคัญๆ

กลุ่มที่สองจะมองที่รูปแบบของตัวละคร
ว่ามีการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างไหม คือ

1. Static Character คือตัวละครที่ไม่เปลี่ยนเลยตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง
คือถ้ามันชั่ว
มันก็ชั่วตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้ามันดีมันก็ดีตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่มีการเรียนรู้อะไรๆ ปรากฏอยู่ในเรื่อง
ลักษณะแบบนี้มักจะเข้าคู่กับตัวละครแบบ Flat คือมีด้านเดียวแล้วก็ไม่พัฒนา
ทีนี้ที่ตัวละครมีลักษณะแบบนี้ก็อาจจะเป็น
เพราะว่าตัวละครไม่มีความสำคัญมากจน
กระทั่งต้องมาอธิบายลงลึกในรายละเอียด
หรือว่าไม่มีรายละเอียดให้ตัวละครตัวนี้ก็เลยสรุปไม่ได้ว่ามันพัฒนา
หรือไม่อย่างงั้นก็
ต้องการเน้นลักษณะนั้นของตัวละครเพื่อให้เรื่องมันดูเข้มข้นมากขึ้น เช่นตัวร้ายที่มันชั่วบริสุทธิ์จริงๆ
การนำเสนอตัวละครรูปแบบนี้ทำให้ตัวละครดูชั่วจริงๆ เร้าอารมณ์คนอ่านให้อิน
แล้วก็ด่าทอมันได้ง่ายๆ แล้วก็ให้มันตายแบบชั่วๆ
โดยไม่เรียนรู้อะไรเพื่อตอกย้ำความชั่วของมัน เป็นต้น

2. Develop or Dynamic Character ก็จะตรงข้ามกับด้านบน
คือตัวละครมีการพัฒนา
มีการเรียนรู้ มักจะคู่กันกับ Round Character
และก็เป็นตัวละครหลักซะส่วนใหญ่

ทีนี้เราลองมาดูที่ตัวอย่างดูบ้าง
จากบทที่แล้วที่ให้โครงเรื่องเจ้าชายเจ้าหญิงนั้น ก็จะเอามาใช้ต่อ
(เพราะขี้เกียจคิดใหม่) เนื่องจากตัวละครหลักต้องมีมิติและพัฒนา
ดังนั้นการออกแบบตัวละครก็มีดังนี้

ตัวเจ้าชายก็จะให้เป็นคนที่เจ้าชู้ ยังไม่อยากแต่งงาน หลีเค้าไปเรื่อยแต่ก็ไม่เอาจริง
เพราะว่าตั้งใจไว้ว่าจะแต่งกะคนที่ต้องรักจริงๆ
เท่านั้นโดยดูจากพ่อกะแม่ของตัวเองที่สวีต
ให้ลูกดูทุกวัน แต่ยังไงก็เพราะรูปหล่อ
พ่อรวย แถมมีตำแหน่ง สาวๆก็เลยมาติดเยอะ
ก็เลยกลายเป็นคนเจ้าชู้ไปโดยปริยาย

ตัวเจ้าหญิงก็แข็งแกร่ง ไม่ยอมแพ้ผู้ชาย และกะว่าจะอยู่เป็นโสด
เพราะว่าที่บ้านแม่หน่อมแน้มมาก
พ่อก็เจ้าชู้นิสัยไม่ดี ก็เลยรู้สึกว่าต้องเข้มแข็ง ต้องพึ่งตัวเอง
เพราะถ้าเพิ่งตัวเองไม่ได้ก็จะกลายเป็นแบบแม่
ส่วนผู้ชายที่เข้ามาในชีวิตก็ลูกผู้ดี เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ไม่ไหว
ก็เลยยิ่งต่อต้านเข้าไปใหญ่

ทีนี้การตั้งลักษณะนิสัยของตัวละครก็ต้องดูที่เนื้อเรื่องด้วย
ต้องเอาให้สมจริงว่าทำไม
ทั้งสองถึงมาชอบกันได้ทั้งๆที่ก็มีความคิดเดียวกันคือไม่อยากแต่งงาน
ก็คือสิ่งที่ทั้งสองต้องการก็อยู่ใน
ลักษณะของฝ่ายตรงข้าม ก็เลยไม่แปลกที่จะชอบกัน แต่เนื่องจากว่าเจ้านิสัยแบบนี้เนี่ยมันมีของแถมก็คือ
ทิฐิ ทำให้ปัญหาเริ่มขึ้น

ทีนี้ลองเพิ่มตัวละครตัวอื่นๆดูบ้างดีกว่า

พ่อแม่พระเอก น่าจะเป็นตัวละครที่แบนๆหน่อย
คือว่าก็ทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ที่ดีไป ดีไปเรื่อยๆจนจบ
ไม่ต้องมีอะไรมาก เพราะที่เขียนตัวละครนี้ขึ้นมา
ก็เพื่อให้รู้ว่าเจ้าช่ายไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่
แล้วก็ทำไมเจ้าชายถึงมีลักษณะความคิดแบบนี้

พ่อแม่นางเอก นี่ก็ต้องแบนเหมือนกัน จุดประสงค์เดียวกันกับพ่อแม่พระเอก

คนใช้พระเอก ก็อยู่ใกล้ๆพระเอก แล้วก็คงจะโผล่มาบ่อยๆ
น่าจะให้มันมีมิติเลยพัฒนาเรียนรู้ไปควบคู่กันกับเจ้าชายเลยก็ได้
หรืออาจจะเป็นคนที่เตือนให้
พระเอกได้คิดออกถึงทางแก้ปัญหาก็ได้ (แล้วแต่เรา)
แต่ในที่นี้รุ้งให้เป็นว่าเป็นบุคลิกทะเล้นๆหน่อยตามสไตล์
แต่ก็เป็นผู้ใหญ่เมื่อเผชิญปัญหา
แบบว่าผู้ใหญ่กว่าเจ้าชายเพราะเผชิญโลกมามากกว่า

คนใช้นางเอก ก็เป็นประมาณเดียวกันกับคนใช้พระเอก
แต่รุ้งจะไม่จับคู่ให้หรอก
เพราะว่าจะให้คนคนนี้เป็นคนที่มองปัญหาทะลุที่สุด
และชี้นำนางเอกให้ทำในสิ่งที่อยากทำ
คนๆนี้จึงสำคัญ รุ้งจึงให้ข้อมูลนิดหน่อยว่า
จริงๆคนนี้แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยด้วยการถูกจับแต่งงาน
ทีนี้ก็เลยต่อต้านสามีแบบเงียบๆ จนชีวิตแต่งงานไม่มีความสุข แล้วสามีก็ไปรบ
แล้วตาย เธอก็เพิ่งจะรู้สึกว่าจริงๆ
ความรักมันก็สามารถสร้างขึ้นได้ถ้าเรามีความรู้สึกดีๆให้กัน
และเปิดกว้างทางความคิด ไม่ยึดติดกับอะไรๆที่เราคิดว่าใช่
หรือพวกสเตริโอไทปความรักก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบหวือหวาแบบในนิทาน
แล้วก็เลยเข้าวังมาเป็นคนใช้นางเอก

นี่ก็เป็นสรุปตัวละคร ถ้าเรามีกรอบให้ตัวละคร มันก็จะไม่หลุดแก๊ปไปง่ายๆ
แล้วถ้าเราคิดอะไรได้เพิ่มเติม ก็ค่อยๆเพิ่มตัวละครและบุคลิกลงไปได้ และถ้าหากว่าตัวละครที่ตอนนี้คิดเอาไว้
ต่อๆไปมันไม่เข้ากะเรื่องก็สามารถเปลี่ยนได้ (แต่ต้องแก้ใหญ่เหมือนกันนะ)

ทีนี้คนอ่านก็น่าจะรู้ในสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
เพราะว่าในเรื่องจะไม่มีคนเขียนคนไหนบอกว่า
ที่ตัวละครเป็นแบบนี้เพราะอย่างนั้น แต่จะให้เพียงแค่ข้อมูลดิบๆ
แล้วก็ให้คนอ่านมาประมวลความคิดแล้วก็สรุปออกมาได้
เมื่อคนอ่านสรุปได้แล้วเนี่ย คนอ่านก็จะเข้าใจตัวละคร
และดีไม่ดีอาจจะรู้ในความคิดหลักที่คนเขียนเรียกมันว่า ธีมก็ได้


                        -- ฉาก องค์ประกอบแห่งน้ำหนัก --                        

             

ฉากเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้สำหรับการเขียนนิยาย
เพราะมันจะเป็นตัวเสริมอารมณ์ และน้ำหนักให้กับเรื่อง
ไม่ใช่ว่าตังละครจะยืนอยู่ในที่สีขาว ไม่มีตัวตน
และนอกจากนี้เราต้องทำคาวมเข้าใจให้ดีจน
แน่ใจว่าตัวละครจะไม่เดินผ่านในที่ที่เคยบอกว่าเป็นกำแพง
ในสองสามบทก่อนหน้านี้


เรื่อง Setting ก็สำคัญสำหรับนิยาย คือคำว่า Setting
ไม่ได้หมายความว่าเป็นเพียงแค่สถานที่เท่านั้นนะ เดี๋ยวลองดูรายละเอียดข้างล่างดูว่ามันมีอะไรบ้าง

1. เป็นการกำหนดสถานที่กว้างๆของเรื่อง
เช่น เรื่องนี้เกิดที่เมืองไทย นิวยอร์ก
หรือเมืองสมมติอื่นๆ ทีนี้ตรงนี้ก็สำคัญตรงที่ว่า
สถานที่จะต้องมีปัจจัยบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเรื่อง
เช่นถ้าเรื่องเกี่ยวกับความเหงาๆ ของคนที่จากบ้านเกิด
ก็อาจจะกำหนดสถานที่เป็นที่เมืองนอก หรือถ้าจะกำหนดในเมืองไทย

ก็ต้องมีตัวละครที่บุคลิก ความคิดเห็นที่เป็นไทย
หรืออาจจะเป็นตัวละครที่มีบุคลิกความคิดเห็นที่ต่างจากคนไทย
แล้วก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้ากับวัฒนธรรมแบบไทยไม่ได้ก็ได้
พูดง่ายๆว่า ถ้าเรากำหนด Setting ที่เด่นชัด
ก็ต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอนในการที่ใช้มันให้เป็นประโยชน์
แต่ถ้าสถานที่ในเรื่องเป็นที่สมมติล่ะ
ก็ต้องอธิบายให้ชัดเจนถึงสถานที่นั้นๆว่าเป็นยังไง ต้องอธิบายสิ่งที่เห็นว่ามีความจำเป็นในการเข้าใจเรื่องให้กับคนอ่าน แล้วคนอ่านก็ต้องอ่านข้อมูลพวกนี้ให้ดีเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องได้ง่ายขึ้น
2. อาจจะเป็นสถานที่ที่เกิดเรื่องขึ้น
เช่นตอนแรกเราบอกว่าเราอยู่ในกรุงเทพ แต่ตอนที่พระเอกนางเอกเจอกัน
อาจจะอยู่ที่หนองแขมก็ได้ เจ้าหนองแขมก็เป็น Setting
ในเรื่องด้วยเช่นกัน
3. เวลา ถ้าจำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่แน่นอนในเรื่อง
นี่ก็เป็น Setting เพราะว่าเวลาอาจจะบอกข้อมูลทางสังคมต่อๆไปได้
เช่นถ้าเรื่องเกิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
นี่ก็ถือว่าเป็นการกำหนด Setting ของเรื่องเช่นกัน
4. สภาพสังคม เช่นการปกครอง วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น
5. สภาพอากาศ ก็ถือว่าเป็น Setting เช่นเรื่องนี้เกิดขึ้นในฤดูร้อน
หรือว่าขับรถฝ่าพายุหิมะ เป็นต้น
6. บรรยากาศตอนเกิดเรื่อง เช่น ตอนที่ทะเลาะกัน
บรรยากาศก็คุกรุ่น เป็นต้น

จริงๆอาจจะมีอีก แต่นึกไม่ออกแล้ว
ทีนี้จะถามว่าทำไมเรื่องหนึ่งเรื่องต้องมี Setting
ไม่มีไม่ได้เหรอ ก็จะได้คำตอบว่า ต้องมีแน่นอน
ในรูปแบบที่กล่าวมาด้านบน ต้องมีซักรูปแบบ หรือหลายๆรูปแบบ
แล้วก็ที่ต้องมี Setting ก็เพื่อดึงคนอ่านให้ทำความเข้าใจกับเรื่องมากขึ้น
ให้คนอ่านจิตนาการออก ว่าอะไร เกิดขึ้นที่ไหน
ในช่วงเวลาไหน แล้วสิ่งแวดล้อมหรือ Setting มีผลยังไงกับเรื่องหรือตัวละคร

ลองเอาเจ้าเรื่องตัวอย่างมาใส่ Setting ดูซิว่าจะเป็นยังไง

เมืองเจ้าชายชื่อว่าเมืองกุ๊ก เมืองเจ้าหญิงชื่อเมืองก้าบ
เป็นเมืองที่ติดกัน เมืองกุ๊กกะเมืองก๊าบมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีการปกครอง
ประเพณีอะไรๆที่ใกล้กันทีเดียว
ทีนี้ทั้งสองประเทศต่างก็มีปัญหารการเมืองภายในทั้งคู่
คือทั้งสองประเทศนี้จับมือกันปกครองประเทศแบบอนุรักษ์นิยมอยู่
ไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามายุ่ง แต่ในทั้งสองเมืองก็มีกลุ่มคนที่ต่อต้านเรื่องนี้
เนื่องจากผลประโยชน์มหาศาลที่จะได้รับจากต่างชาติเมื่อเปิดประเทศ

ความที่ประเทศนี้หัวอนุรักษ์ ดังนั้นในครอบครัวหรือสังคม
ผู้ชายจะเป็นใหญ่
ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหล
เข้ามาจากทางชนชั้นสูงของสังคม
ก็เลยเริ่มมีความขัดแย้งทางสังคมเกิดขึ้นแบบเงียบๆ
ในชนชั้นสูงโดยเฉพาะเจ้าหญิง จะเป็นเฟมินิสต์พอสมควร

แล้ว Setting อื่นๆก็เช่น ตอนที่เจ้าหญิงเจ้าชายพบกับครั้งแรกที่ไหนดี
นึกไม่ออก ไว้ก่อนแล้วกัน


                               -- แก่นเรื่อง Theme --                            

             

จริงๆแล้ว ธีมเนี่ยเป็นสิ่งที่ควรจะพูดถึงตอนแรกเลยด้วยซ้ำ
แต่ว่าจะว่ามันพูดง่ายก็ พูดง่ายนะ แต่จะว่ามันพูดยากก็พูดยากเช่นกัน ธีมเนี่ยก็สิ่งใจความหลักๆที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อผ่านตัวเรื่องที่เขียนขึ้น
ตามปกติ ทุกๆเรื่องจะต้องมีธีม ทีนี้คนอ่านจะเซ้นส์ไม่เซ้นส์ก็ขึ้นอยู่
กับคนเขียนแล้วล่ะว่าจะสื่อตรงนี้ออกมาให้เห็นเด่นชัดแค่ไหน
บางเรื่องก็มีธีมหลายธีม บางเรื่องก็มีธีมเดียว แล้วแต่ความซับซ้อนของเรื่อง การที่คนเขียนรู้ธีมในการเขียนก็จะทำให้รู้ทิศทางในการเขียนง่ายขึ้น
ส่วนคนอ่านเมื่ออ่านจบก็ควรจะรับรู้ในสิ่งที่คนเขียนให้มา
เพราะการอ่านก็คือการรับสารอย่างหนึ่ง ถ้าผู้อ่านไม่เก็ตในสิ่งที่ผู้เขียนสื่อ
ก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือ คนเขียนเขียนไม่เก่ง
หรือคนอ่านอ่านไม่เก่ง ^^

มีบางเรื่องที่น้ำเน่ารักๆ
ไม่น่าจะมีธีม แต่จริงๆแล้วก็มี แต่มันโชว์ออกมาอย่างไม่เด่นชัด
หรือโผล่ออกมาเด่น แต่คนอ่านถูกอะไรในเรื่องดึงความสนใจออกไป
ทำให้ไม่สนใจในธีมของเรื่องนั่นเอง

ทีนี้ลองยกตัวอย่างดูดีกว่า เอาเรื่องเดิมอีก(ง่ายดี)
คือเรื่องเจ้าชายเจ้าหญิงนั่น เมื่อเราใส่รายละเอียด Setting ลงไปแล้ว
รุ้งก็คิดว่ามีการเมืองแบบเข้มข้นปนอยู่ด้วยก็ดีเหมือนกัน
คนใช้พระเอกนางเอกก็น่าจะเปลี่ยนเป็นลูกเสนาซัก
อย่างเพื่อนพระเอกนางเอกท่าจะเวิร์กกว่าแฮะ
(ตอนบทที่ 1 จะเห็นว่ามันเป็นเรื่องน้ำเน่าอยู่เลย
พอใส่นู่นใส่นี่เข้าไป เรื่องก็ดูน่าสนใจขึ้นเยอะ)
ทีนี้ธีมที่จะใส่ก็จะโชว์ออกมาจากทางไคล์แม็กซ์
ตอนที่เจ้าหญิงยอมรับว่ารักเจ้าชายนั่นอ่ะ
ยอมลดทิฐิ ต้องเลือกในสองสิ่งที่ไม่อยากเลือก
คือถ้าเลือกรับรักเจ้าชาย ก็จะขายหน้า ทิฐิที่มีมา
สิ่งที่เคยพูดปาวๆ ไว้ก็ต้องกลืนลงคอไปหมด
ยิ่งเป็นเจ้าหญิงด้วยแล้ว ตรงนี้ถือว่าสำคัญมาก
หรือว่าจะเลือกไม่รักเจ้าชาย แต่ก็เลือกอันนี้ก็เหมือนเชือดใจตัวเอง
นี่เรียกว่า Dilemma ประมาณว่าหนีเสือปะ
จระเข้ยังไงหยั่งงั้นเลย ที่พูดมาก็คือธีมหลัก

ทีนี้ธีมรองอาจจะเป็นว่าคนเราทะเยอทะยาน
ไม่ถูกทางออาจมีสิทธิ์ตายได้โดยไม่รู้ตัว
ทำดีไว้ดีกว่า อันนี้อาจจะดูจากตอนที่เสนาลิ่วล้อจะยึดอำนาจ
ฆ่าเจ้าชายเจ้าหญิงซะ
(ตอนนี้ถ้าคนอยากจะให้ตัวละครมีเวทย์มนท์อะไรก็ตามสบาย แล้วแต่เราจะดีไซน์อะไรเล็กๆน้อยๆลงไป)
แล้วก็สารพัดแล้วแต่เราจะบอกละกัน

นี่ก็เป็นวิธีคิดง่ายๆ (คืออยากจะบอกว่าไอ้เจ้าตัวอย่างเนี่ยคิดสดมาก ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะใส่อะไรเพิ่ม แล้วถ้ามันเสร็จสมบูรณ์
ก็กรุณาอย่าให้รุ้งเขียนเลย เขียนเรื่องยาวไม่เป็น)
สำหรับธีมนั่น บางทีคนเขียนอาจจะบอกว่า ไม่เคยคิดธีมตอนเขียน แต่จริงๆก็คือว่าเวลาเราเขียนแน่นอนว่า
ต้องมีจุดมุ่งหมายอาจจรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ได้ สิ่งนั้นใครจะเรียกว่าอะไรก็ได้ แต่สรุปสุดท้านมันก็คือสิ่งที่คนเขียนอยากจะบอกเรานั่นแหละ


                                 -- มุมมองของคนเขียน --                             

             
มุมมอง คือ วิธีการเล่าเรื่องของนักเขียนเวลาเขียนนิยาย โดยตัดสิน
จากการที่เขาสื่อเรื่องราวออกมาสู่ผู้อ่านอย่างไร มุมมองแบ่งออกได้
คร่าว ๆ ดังนี้

๑. มุมมองพระเจ้า
มุมมองพระเจ้าคือคนเขียนเป็นพระเจ้าของเรื่องที่ตัวเองเขียน คน
เขียนมีอำนาจหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในน้ำใจของตัวละคร และบาง
ครั้งอาจจะรู้มากกว่าตัวละครเอง เช่นบางทีตัวละครมันก็ไม่รู้หรอกว่า
เรื่องเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่คนเขียนรู้ และสามารถเล่าไว้ในเรื่อง
ได้เป็นตุเป็นตะ นอกจากนั้นบางทีก็ไปขุดคุ้ยเอาเรื่องในหัวใจส่วนลึก
ของตัวละคร หรือเรื่องที่นอกเหนือความเข้าใจของตัวละครมาบอกคน
อ่านได้
สำหรับเรื่องทำนองนี้ เราจะเห็นได้จากมุมมองเรื่องสามก๊ก คนเขียน
รู้ไปหมดสิ้นว่าใครยกทัพมาหาใครบ้าง ใครเอากำลังไปซุ่มไว้ตรงไหน
หยั่งรู้ถึงแผนการในใจตัวละครทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี และสามารถ
บอกผลของสงครามล่วงหน้าได้
เรื่องที่เขียนด้วยมุมมองพระเจ้า มักใช้สรรพนามบุรุษที่สาม เช่น เขา
เธอ มัน เรื่องส่วนใหญ่ที่ใช้มุมมองพระเจ้ามักเป็นเรื่องที่ยาวและมีตัว
ละครมาก โดยตัวละครมีบทบาทเท่า ๆ กัน หรือค่อนข้างเสมอกัน เนื่อง
จากวิธีการเขียนแบบนี้เป็นการเขียนที่ทำให้สามารถอธิบายทุกอย่างได้
ง่าย สะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้าถึงตัวละครได้ไม่มีขีดจำกัด
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้มุมมองพระเจ้าในเรื่องมีข้อพึงระวัง คือจะต้อง
ระวังว่าเราได้อธิบายทุกอย่างอย่างมีเหตุผลหรือไม่ และน้ำหนักของ
ตัวละครแต่ละตัวที่ให้นั้นเพียงพอหรือไม่ การทอดแหกว้างใหญ่ และพยา
ยามอธิบายตัวละครทุก ๆ ตัวไม่ใช่เรื่องดี รังแต่ทำให้คนอ่านและคน
เขียนเองสับสน จึงควรจัดวางระเบียบในเรื่องของตนให้ดีด้วย
มุมมองพระเจ้าแบ่งออกเป็นสองแบบได้แต่
- พระเจ้าผู้มีอำนาจเต็ม
พระเจ้าผู้มีอำนาจเต็มคือคนเขียนที่หยั่งรู้น้ำใจของตัวละครทุก ๆ คนใน
เรื่อง รู้ว่าฝนตกฟ้าร้อง หรือตัวร้ายมันเป็นใครมาจากไหน ทั้ง ๆ ที่
ตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องไม่ยักรู้
-พระเจ้าเหนือตัวละครตัวเดียว
พระเจ้าเหนือตัวละครตัวเดียว คือคนเขียนที่ยึดเอาตัวละครตัวใดตัว
หนึ่ง หรือตัวใดตัวหนึ่งในแต่ละฉากขึ้นเป็นตัวหลัก คนเขียนมีอำ
นาจที่จะหยั่งรู้ตัวละครตัวนั้น มีอำนาจเข้าออกตัวละครตัวนั้น รู้ทุก
อย่างเกี่ยวกับตัวละครตัวนั้น แต่เมื่อถึงเวลาที่จะตัวละครมีความสัม
พันธ์กับตัวละครอื่น ๆ หรือต่อโลก ผู้เขียนก็มีอำนาจเพียงมองผ่าน
ตัวละครที่ยึดไว้ ไม่มีอำนาจจะไปหยั่งรู้ตัวละครอื่น ๆ อีก
มุมมองพระเจ้าเป็นมุมมองที่ถือกันว่าง่าย เพราะไม่ต้องระมัดระวังอะ
ไรมากนัก และผู้เขียนมีสิทธิ์เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ มีสิทธิ์สั่งสอน
และมีสิทธิ์เสนอแนะ อย่างไรก็ตาม บางครั้งมุมมองพระเจ้าก็ไม่เหมาะ
สมกับบางเหตุการณ์โดยเฉพาะเรื่องขนาดสั้น เนื่องจากเรื่องสั้นส่วน
ใหญ่ต้องการการเดินเรื่องที่กระชับ และไม่มีเวลาทำความรู้จักกับตัว
ละครได้มากมายนัก ( กรณีนี้ยกเว้นมุมมองพระเจ้าเหนือตัวละครตัวเดียว
ซึ่งใช้ในเรื่องสั้นได้ ) เพราะอย่างนั้นจึงต้องประมาณการใช้ให้ดี
...
๒. มุมมอง "ฉัน"
ในมุมมองประเภทนี้ ผู้เขียนเล่าเรื่องผ่าน "ผู้เล่า" ในเรื่องที่เขียน ผู้
เล่าจะเรียกตัวเองด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง และทำประหนึ่งว่ากำลังเล่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาวะรับรู้ของตนให้ผู้อ่านได้รู้
เมื่อใช้มุมมอง "ฉัน" ผู้เขียนพึงรู้ว่าตนเองกำลังเป็น "ฉัน" อยู่ ดังนั้น
จึงไม่มีอำนาจที่จะเป็นอะไรนอกเหนือจากที่ตัวละครฉันเป็น ผู้เขียนไม่
มีอำนาจหยั่งรู้น้ำใจใคร และไม่มีพลังที่จะหยั่งลงในจิตใต้สำนึกของ
ตัวละครฉันที่ตัวละครนั้นเองยังไปไม่ถึง ไม่มีความสามารถจะรู้สิ่งที่ตัว
ละครไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังไม่ได้อ่าน เมื่อเล่าด้วยมุมมองฉัน ต้องคิดใน
กรอบของฉัน และต้องระมัดระวังตัวเอง
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเขียนเองนั้น คิดว่าคงเข้าใจ แต่สำหรับนัก
อ่านบางคน ขอให้ทราบว่า "ฉัน" ไม่ได้เป็นตัวผู้เขียนเสมอไป บางที
ผู้เขียนก็เขียนถึงฉันที่มีนิสัยและมีความคิดแตกต่างจากตนโดยสิ้นเชิง
ดังนั้นเราจึงไม่ควรอ้างอิงว่าคำของ"ฉัน" เป็นคำของนักเขียน หรือตำ
หนินักเขียนคนใดเพราะเขาเล่าสิ่งที่เราไม่พอใจผ่านคำว่า "ฉัน" ในนิยาย
ของเขา
เมื่อเล่าเรื่องด้วยมุมมอง "ฉัน" สายตาที่เราใช้จะแคบลงกว่ามุมมองพระ
เจ้า ทำให้บางครั้งเคลื่อนไหวไปมาในเรื่องไม่สะดวก ดังนั้นเมื่อใช้
มุมมองฉัน จึงต้องวางระยะและกำหนดเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ดี ต้อง
นึกอยู่ตลอดเวลาว่าฉันรู้อะไรและไม่รู้อะไร และจะทำให้ฉันรู้ได้อย่างไร
มุมมองฉันอาจจะทำให้รู้สึกอึดอัด แต่มีผลประโยชน์ในการสร้างความ
รู้สึกใกล้ชิดระหว่างผู้อ่านกับตัวละคร นอกจากนั้นยังเป็นการเว้นระยะ
ห่างออกจากเรื่องบางเรื่อง เช่นเมื่อตัวละครฉันกระทำสิ่งใดโดยที่ตน
ไม่รู้ และพูดถึงสิ่งใดที่ผิดทั้งที่คนอ่านรู้ว่าถูก จะทำให้คนอ่านสามารถ
ค้นพบเรื่องราวบางอย่างได้ด้วยการพิจารณาของตนเอง ไม่ใช่ด้วย
การชี้แนะตามแบบมุมมองพระเจ้า เท่ากับอนุญาตให้คนอ่านได้ใช้ความ
คิดตรึกตรองด้วยตนเอง
และโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว จะจดจำสิ่งที่ตนทำได้ด้วยตนเองดี
เป็นพิเศษ
...
๓. มุมมองกล้องโทรทัศน์
มุมมองที่เรียกว่า "กล้อง" นี้เป็นมุมมองที่ค่อนข้างใหม่ เป็นมุมมองที่
ใช้สรรพนามบุรุษที่สามเช่นเดียวกับมุมมองพระเจ้า แต่ขณะที่พระเจ้า
รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง กล้องทีวีซึ่งไม่มีชีวิตจะไม่รู้อะไรเลย
เมื่อผู้เขียนใช้มุมมองกล้อง ผู้เขียนจะทำตนเป็นกล้องทีวี คือบอก
แต่สิ่งที่เห็นและได้ยิน โดยไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ เด็ดขาด การ
ตัดสินใจว่าเหตุการณ์หรือคำพูดนั้น ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไม และ
อารมณ์ในขณะนั้นเป็นอย่างไร เป็นสิทธิ์ของผู้อ่านโดยตรง
มุมมองกล้องทีวีเป็นมุมมองที่ค่อนข้างเขียนยาก เพราะเป็นการถอย
ห่างออกมาเช่นเดียวกับการถ่ายหนัง มุมมองนี้ไม่เปิดโอกาสให้เกิด
ความใกล้ชิดมากนัก แต่เปิดโอกาสให้ใช้ความคิดและให้คนเขียนแสดง
ฝีมือมาก การกระทำบางอย่างที่ทำลงไปโดยไม่อธิบายสิ่งใดเลย
บางครั้งก็มีผลต่อคนอ่านรุนแรงกว่าการเขียนอธิบายต้นสายปลายเหตุ
และอารมณ์ความรู้สึกตลอดเวลา
เข้าใจกันว่าผู้ใช้มุมมองชนิดนี้เป็นคนแรก คือนักเขียนเออเนสต์ เฮมิงเวย์
...
เมื่อพูดถึงมุมมองพื้นฐานแล้ว ก็ขอให้ทราบว่า อันที่จริงไม่มีนิยาย
เรื่องใด ๆ เลยที่ใช้มุมมองเหล่านี้โดยบริสุทธิ์ไม่ปะปนกัน มุมมองพระ
เจ้าบางครั้งอาจเว้นระยะออกเป็นเวลาสั้น ๆ ด้วยมุมมองกล้อง เพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้อ่านลองคิดดูเอง และมุมมองฉันบางครั้งก็ถูกโกงเป็น
มุมมองพระเจ้า ด้วยการที่ให้ฉันเล่าย้อนเหตุการณ์ที่เห็น ด้วยสายตา
ที่เติบโตขึ้นกว่าตอนที่เกิดเหตุการณ์ และสามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ
ได้กระจ่างเกือบเท่าพระเจ้า
การประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนิยาย นิยายจะดี
หรือไม่มีปัจจัยส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์และการเลือกใช้วิธีการที่
เข้ากับเนื้อเรื่อง แต่ทั้งนี้ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ขอให้เลือก
ใช้มุมมองที่คิดว่าสื่อเรื่องของตนได้ดีที่สุดก็ถือว่าถูกต้องแล้ว เพราะ
การเขียนนิยายเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ใช่การติดยึดกับทฤษฎีใด ๆ
........................................

                    -- โครงเรื่องว่าด้วยการเขียนๆๆๆๆๆ --                    

             

โครงเรื่องกับเนื้อเรื่อง...
เมื่อพูดถึงโครงเรื่อง อย่างแรกพึงทราบเสียก่อนว่าโครงเรื่อง
ไม่ใช่เนื้อเรื่อง ของทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกัน และมีหน้าที่ใน
เวลาเขียนนิยายแตกต่างกัน
เมื่อเราจะเขียนนิยาย เราอาจจะคิดถึงเนื้อเรื่องขึ้นก่อน อาจจะ
แวบขึ้นเป็นความคิดเล็ก ๆ ในสมอง แต่เมื่อเราจะลงมือเขียน
จริง ๆ สิ่งที่จำเป็นคือสิ่งที่เรียกว่าโครงเรื่อง
เพื่อให้ง่ายเข้า จึงขอให้ทุกคนนึกถึงเรื่องประเภทย้อนเวลา
เช่นเริ่มเรื่องมาเป็นตาแก่ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้คิดจะเล่าเรื่อง
ตาแก่ แต่คิดจะให้ตาแก่รำลึกอดีตเพื่อนำเข้าสู่ "อดีต" ซึ่งเป็น
เนื้อเรื่องจริง ๆ
เมื่อเราเขียนโครงเรื่องของเรื่องนี้ เราอาจจะเขียนว่า
ตาแก่นั่งทำโน่นทำนี่ - ตาแก่ประสบเหตุ ก. ( จะเป็นอะไรก็ช่างมัน
เถอะ ) - เหตุ ก. ทำให้ตาแก่นึกถึงอดีต - นำเข้าสู่เรื่องจริงที่เป็น
อดีต
แต่ถ้าหากเราเขียนเนื้อเรื่องของเรื่องนี้ รูปแบบจะเป็นอีกอย่าง
หนึ่ง เช่น
ชายหนุ่ม ( ตาแก่ในอดีต ) มีหน้าตาผิวพรรณรูปร่างอย่างนี้ ๆ
รักกับหญิงสาวชื่อนี้ ๆ ครั้นแล้วก็ผิดหวังในความรัก เจอเรื่อง
ต่าง ๆ มากมาย ฯลฯ กระทั่งในที่สุดก็มาเป็นตาแก่และประสบ
เหตุ ก.
วิธีจำเนื้อเรื่องกับโครงเรื่องง่าย ๆ คือจำว่าโครงเรื่องนั้นได้
แก่โครงกระดูก ส่วนเนื้อเรื่องได้แก่เนื้อหนังมังสา ตับไตไส้
พุงอื่น ๆ ที่ห่อกระดูกนั้นเข้าไว้จนกระทั่งเกิดเป็นรูปคน
โครงเรื่องคือวิธีการเล่าเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องคือรายละเอียดที่
เราเสริมเข้าไปในโครงนั้น และทำให้เรื่องของเราแปลกแตกต่าง
จากเรื่องของคนอื่น ๆ
แน่นอน ในกรณีเช่นนี้ เนื้อย่อมเป็นของสำคัญ และบางที
อาจสำคัญยิ่งกว่ากระดูก เพราะมันทำให้คนเป็นคนขึ้น ไม่ใช่
ผีซี่โครง แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ต้องคิดด้วยว่ากระดูกเป็นรูป
พื้นฐานของคน เท่า ๆ กับที่โครงเรื่องเป็นรูปพื้นฐานของเรื่อง
เมื่อจะเขียนเรื่อง จึงพึงวางโครงเรื่องไว้ก่อนเป็นสำคัญ และ
พึงคิดโครงให้ตลอดในรูปกว้าง ๆ เพื่อที่เรื่องของเราจะได้มี
เค้าโครงที่แน่นอน และไม่หลุดเปิดเปิงไปจากที่ตั้งใจไว้
...
...หลักพื้นฐานของโครงเรื่อง...
ธรรมดาโครงเรื่องนี้ไม่ได้มีมากมายอย่างที่เราคิด ดูเหมือนจะ
มีโครงพื้น ๆ ธรรมดาอยู่ไม่กี่โครงเท่านั้น ซึ่งมักถูกแยกธาตุ
ปรับปรุง หรือผสมกันไปมาเสียใหม่เพื่อให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจขึ้น
ทว่าอย่างไรก็ตาม โครงเรื่องก็ยังคงมีลักษณะร่วมของมันอยู่
เสมอ คือมันย่อมประกอบด้วย
๑.การขึ้นต้น
๒.การดำเนินเรื่องสู่จุดสูงสุด
๓.การลงจบ
นี่เป็นเกณฑ์ทั่วไปซึ่งใช้กับเรื่องแต่งปรกติได้ทุกประเภท เว้น
แต่เรื่องที่ผู้แต่งจงใจแต่งขึ้นเพื่อแหกกฏข้อนี้เท่านั้น
ถ้าหากถามว่าทำไมโครงเรื่องจึงต้องเป็นเช่นนี้ คงได้แต่ตอบ
ว่าเป็นเพราะเรื่องทั้งหลายซึ่งเราเขียนกันนั้น อันที่จริงแล้วก็
คือการจำลองชีวิตของพวกเราเองมาไม่มากก็น้อย ในชีวิต
จริงของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มต้นด้วยปัญหา และจะคลี่
คลายออกเมื่อเราแก้ปัญหานั้นได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม การ
เรียนหนังสือก็ดี การคบหาสมาคมตลอดจนการตัดสินใจต่าง ๆ
ในชีวิตก็ดี ล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข มนุษย์เราเกิด
มาเพื่อแก้ปัญหา และเมื่อเราจำลองชีวิตของเราลงในหนังสือ
เรื่องราวต่าง ๆ ที่เราแต่งก็พลอยเต็มไปด้วยปัญหาเช่นกัน
เรื่องแต่งโดยทั่วไปจะมีปัญหาอยู่ในเรื่องเสมอ ถ้าหากเป็น
เรื่องสั้นอาจมีปมปัญหาเดียว ถ้าหากเป็นเรื่องยาวก็อาจมีหลาย
ปม หรือเป็นปมใหญ่ปมเดียวที่เกิดจากการทับซ้อนของปมเล็ก
จำนวนมาก เรื่องโดยทั่วไปจะมุ่งเสนอปัญหานั้น และเมื่อถึง
ขีดหนึ่งที่ปัญหาถึงจุดคลี่คลายแล้ว เรื่องก็จะจบลง
นี่เป็นลักษณะทั่วไปของโครงเรื่อง บทต่อไปจะพูดถึงการขึ้น
โครงโดยละเอียด
......................................

การเริ่มต้น

การเริ่มต้นเรื่อง หรือภาษาหนังสือเรียกว่าการจัดเข้าตัวบท หมายถึง
การเริ่มเหตุการณ์ทั้งหลายในนิยาย และดึงผู้อ่านจากโลกความจริงสู่
โลกแห่งจินตนาการ
สิ่งที่เรามักได้ยินกันในแง่ของการเปิดเรื่องคือ "เปิดให้น่าสนใจ" หมาย
ความว่าเราต้องดึงความสนใจของคนอ่านให้ได้ตั้งแต่บรรทัดแรกหรือ
วรรคแรกของเรื่อง และทำให้เขาอยากรู้ว่าต่อไปเป็นอย่างไร ถ้าหาก
เปิดเรื่องไม่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าเรื่องต่อไปภายหลังจะสนุก แต่คนอ่าน
จำนวนหนึ่งจะสิ้นความอยากรู้ไปเสียก่อน และจะเลิกอ่านต่อจนถึงตอน
ที่สนุกนั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย
การพิจารณาว่าเปิดเรื่องอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ขอยกให้แต่ละคนไปพิ
จารณาเอาเอง เพราะวิธีการเหล่านั้นเป็นวิธีเฉพาะตัว ไม่ใช่เรื่องควร
พูดถึง เนื่องจากจะทำให้ติดกรอบอึดอัด แต่ถ้าหากพูดถึงวิธีการที่
พบโดยทั่วไปแล้ว มักจะสร้างความน่าสนใจกันด้วยการสร้างปริศนา
เช่น จู่ ๆ ก็เปิดมากลางเรื่อง หรือจู่ ๆ ก็นำเสนอสถานการณ์เข้าสู่จุด
อับทันที ซึ่งมักทำให้คนอ่านตกใจเป็นอันมาก อยากติดตามต่ออย่าง
ช่วยไม่ได้ แต่เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง และไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว
ในตอนนี้ จะขอพูดอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญสำหรับการขึ้นต้นเท่า ๆ กับ
ความสนใจ คือการตอบคำถามและวิธีเปิดช่องเพื่อการตอบคำถาม

#คำถาม#
เมื่อขึ้นต้นเรื่อง หรือเมื่อส่งเรื่องเข้าสู่สถานการณ์ใหม่ ฉากใหม่ทุกครั้ง
เราต้องถามคำถามตนเองเป็นอย่างแรกว่า
ใคร
ที่ไหน
เมื่อไร
ซึ่งได้แก่การบอกฉากหรือสภาวะแวดล้อมให้คนอ่านได้รู้ สิ่งเหล่านี้ไม่
จำเป็นต้องบอกในทีเดียว สามารถขยักเอาไว้เพื่อสร้างความน่าสนใจ
ได้ แต่ตัวคนเขียนเองควรตอบคำถามได้ทุกข้อ และต้องมีวิธีนำให้
คนอ่านรู้ทุก ๆ ข้ออย่างแจ่มชัดด้วย เพราะการบรรยายสภาพแวดล้อม
ในเบื้องต้นอย่างละเอียดเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างจินตนาการและอารมณ์ร่วม
#การเปิดช่องเพื่อตอบคำถาม#
มีคนวิเคราะห์กลวิธีการตอบคำถามเรื่องสภาพแวดล้อมให้คนอ่านฟังอยู่
หลายประเภท เราเรียกว่าวิธีนี้ว่าการเปิดช่อง เพื่อให้เข้าใจว่ามันหมาย
ถึงการเปิดรูในเนื้อเรื่องเพื่อแทรกบทอธิบายลงไป ซึ่งพอจะสรุปมาได้
ดังนี้
๑. พบคนแปลกหน้า
วิธีการนี้เป็นการเปิดช่องสำหรับอธิบายตัวละคร หมายถึงการแนะนำตัว
ละครอย่างคนแปลกหน้า ก่อนที่จะค่อย ๆ อธิบายว่าเขาเป็นใคร ในที่นี้
ี้คิดว่าการยกตัวอย่างจะให้ภาพที่ชัดเจนกว่าการอธิบาย
ในเรื่องเซรีญา เมื่อตอนที่เปิดเรื่องจะเล่าว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งขี่ม้าขึ้น
ไปตามทางบนภูเขา คนอ่านไม่ทราบชื่อของผู้หญิงคนนั้น ไม่รู้ว่าเธอ
เป็นใครและมาทำอะไรที่นี่ จากนั้นเราจะค่อย ๆ แนะนำตัวละครให้คน
อ่านรู้จัก เหมือนกับการแนะนำเพื่อนใหม่ เราจะบอกว่า ผู้หญิงคนนี้
ผมดำตาดำ หน้าตาน่ารักแต่เคร่งเครียดนัก ครั้นแล้วก็บอกต่อไปว่า
เธอชื่อเซรี และกำลังเดินทางไกล นี่เป็นกระบวนการเปลี่ยน "ผู้หญิง
แปลกหน้า" ให้กลายเป็น "เซรี" อย่างค่อยเป็นค่อยไป และหลังจากนั้น
เราจะเรียกเธอว่าเซรีตลอดเวลาโดยที่ผู้อ่านมีภาพของเธออยู่ในใจแล้ว
๒.ผู้มาใหม่
วิธีการนี้เป็นการเปิดช่องสำหรับการอธิบายเรื่องราว หมายถึงการที่ตัว
ละครตัวใดตัวหนึ่งมีสถานะเป็น "ผู้มาใหม่" ไม่มีความรู้ใด ๆ ในสิ่งที่อยู่
รอบตัวขณะนั้น เมื่อเขาไม่รู้ สิ่งที่เขาทำคือการถาม หรือไม่เช่นนั้น
ก็มีผู้อื่นอธิบายให้เขาฟัง และพร้อม ๆ กับที่เขาเรียนรู้ คนอ่านก็จะได้
เรียนรู้ไปด้วย
การอธิบายทำนองนี้ อาจเกิดขึ้นโดยผู้มาใหม่เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมี
ผู้อยู่ก่อนสอนให้เขาเข้าใจ การอธิบายจะเพิ่มความเข้าใจของตัวละคร
ผู้มาใหม่ พร้อม ๆ กับที่ทำให้คนอ่านค่อย ๆ เข้าสู่เรื่องอย่างช้า ๆ บาง
ครั้งบางคราว จุดที่เรียนรู้ก็เป็นจุดดึงดูดของเรื่องด้วย
ขอยกตัวอย่างการ์ตูนเรื่องหนึ่งชื่อ "เจ้าหนูซูชิ" เรื่องนี้พระเอกเป็นมือ
ใหม่ในวงการซูชิ เขาเข้าทำงานในร้านและค่อย ๆ เรียนความรู้ต่าง ๆ ใน
โลกของซูชิมากขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้ของเขาเป็นปัจจับในการทำให้เขา
เป็นคนปั้นซูชิที่มีความสามารถ ( จุดมุ่งหมาย ) ในขณะเดียวกัน ก็เป็น
เงื่อนไขและปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่อง เช่น ขาดความรู้และไม่
สามารถทำงานให้เป็นที่พอใจของรุ่นพี่
ในเรื่องแบบอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวพันกับความรู้ประจำวงการอย่างลึกซึ้ง
เท่าตัวอย่างข้างต้น การอธิบายก็จะเป็นตัวช่วยในการทำให้ตัวละคร
( และคนอ่าน ) เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องฉากและปัญหารอบตัว เช่น
ในเรื่องเซรีญา เซรีไม่มีความรู้เรื่องดินแดนทางเหนือ และพระเอกคือ
เทรมิสเป็นผู้อธิบายให้เธอฟัง ( พร้อมกับที่คนอ่านก็ได้รับคำอธิบายไปด้วย )
และเมื่อถึงเวลาไปยังดินแดนทะเลทราย เทรมิสเองก็ไม่มีความรู้เรื่อง
ตำนานเผ่าทราย ดังนั้นจึงถึงคราวของเซรีเป็นคนเล่าบ้าง
๓.แอบฟัง
หมายถึงการเข้าถึงด้วยการส่งคนอ่านเข้าไปอยู่ตรงกลางสถานการณ์ใด
สถานการณ์หนึ่ง และทำประหนึ่งว่าเรากำลังแอบดูแอบฟังคนเหล่านั้น
ทำอะไรบางอย่าง ผู้เขียนจะค่อย ๆ อธิบายและไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ผ่านการสนทนา การกระทำของตัวละคร รวมทั้งแนะนำตัวละครผ่าน
วิธีการคิดและการแสดงออกของเขา วิธีการนี้มีความสัมพันธ์กับมุมมอง
กล้องโทรทัศน์พอสมควร นอกจากนั้นบางครั้งยังเป็นการสร้างความ
น่าสนใจที่ค่อนข้างได้ผล เพราะทำให้คนอ่านค่อย ๆ เก็บข้อมูลด้วยตน
เองทีละน้อย และค่อย ๆ เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม ขอให้จำไว้ และท่องไว้เสมอว่าคนอ่านไม่รู้อะไรเลย ไม่
รู้อะไรเลยจนอย่างเดียวเพราะสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงในสมองของเรา
ดังนั้นเราจึงต้องทำให้เขารู้ ให้เขาเข้าใจแจ่มแจ้งให้ได้ ไม่ใช่เปิดมา
กลางเหตุการณ์แล้วก็ปล่อยให้คลุมเครือ ไม่ให้ข้อมูล ไม่อธิบาย ซึ่งไม่
ได้มีผลดีอะไรต่อนิยายเลย เว้นแต่จะทำให้น่าเบื่อและถูกทิ้งไปในเวลา
อันรวดเร็วเท่านั้น
...
เมื่อถึงเวลาเปิดเรื่อง หรือเปิดสถานการณ์ใหม่ บางทีเราจะพบว่าวิธี
"พบคนแปลกหน้า" เป็นวิธีที่ดี เพราะเป็นวิธีที่ดึงความสนใจของคนอ่าน
ได้ง่าย แนะนำตัวละครเอกได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม การพบคนแปลกหน้าส่วนใหญ่จะใช้กับตัวละคร อาจมี
บางครั้งนำมาประยุกต์กับสถานที่ ( ที่สำคัญในท้องเรื่อง ) บ้าง แต่เมื่อ
จะพูดอธิบายเรื่อง เราก็ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธี "ผู้มาใหม่" หรือวิธี "แอบ
ฟัง"
โดยทั่วไปแล้ว เราจะพบว่าวิธีผู้มาใหม่เป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและใส่ข้อ
มูลได้มากเท่าที่ต้องการ ผู้เขียนมีอำนาจจะอธิบายอย่างละเอียดละออ
ไปจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้มาใหม่หรือคนอ่านจะเข้าใจแจ่มชัด ดังนั้นจึงเป็น
วิธีการที่ได้รับความนิยม ในขณะที่วิธีแอบฟังมักจะได้รับการยกย่องว่า
เป็นวิธีของคนมีฝีมือ ต้องใช้ศิลปะมาก และกระตุ้นความอยากสืบสวน
ให้รู้แจ้งของคนอ่านได้ดี
แต่ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหนก็ตาม ขอให้จำไว้ว่าสิ่งที่สำคัญประการแรกคือ
ต้องตอบคำถามให้ได้ และต้องตอบให้ได้อย่างละเอียดถึงขีดที่จะนำ
คนอ่านสู่เรื่องต่อ ๆ ไปได้ด้วย เพราะอันที่จริงแล้ว ถึงแม้การเริ่มต้น
เรื่องที่น่าสนใจจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่เนื้อเรื่องแท้ ๆ นั้นเป็นหัวใจของ
เรื่อง และสำคัญยิ่งกว่าหลายเท่านัก


                       -- เอ่อ จะเขียนเริ่มต้นอย่างไรดีนะ --                    

             

การเขียนเรื่องสักเรื่อง ไม่มีอะไรยากเท่าเปิด
เรื่อง ฉากเปิดเรื่องที่ดีเป็นอย่างไรกันนะ?
คำถามนี้ถามทั้งตัวเองและทุกคนที่อ่านด้วย
อืม…จะประมวลจากการเป็นนักอ่าน+
นักเขียน ก็มีลักษณะดังนี้

แนะนำตัวละครหลัก

ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะปกติของนิยาย
ทุกเรื่อง เพราะตัวละครเป็นคนดำเนินเรื่อง
การเปิดเรื่องย่อมเป็นการเปิดตัวละครหลักที่
จะมาเป็นคนเล่าเรื่องนี้ให้คนอ่าน บางครั้ง
อาจเป็นการแนะนำแนวของเรื่องคร่าวๆ
บางครั้งคนเขียนอาจใช้บทนำทำหน้าที่นี้

ชวนให้อ่านต่อ

ข้อนี้ยากนะจ๊ะ ชวนให้
อ่านต่อ ต้องเป็นน่าสนใจ
สุดๆ จึงทำให้ผู้อ่านสนใจ
ที่จะอ่านตั้งแต่ต้น การ
เริ่มต้นประโยคแรกจึงมี
ความสำคัญมาก
เพื่อไม่ให้มีปัญหาลิขสิทธิ์ เริ่มด้วยเรื่องของ
ตัวเองก็แล้วกัน

รถประจำทางปรับอากาศสีส้มแล่นมาอย่าง
ช้าๆก่อนที่จะจอดชิดขอบฟุตบาธเพื่อหยุด
ตรงป้ายรถเมล์ที่มีคนจำนวนมากกำลังยืนรอ
อยู่เพื่อจะรับส่งผู้โดยสาร หนึ่งในจำนวนคน
ที่ก้าวลงมาจากรถคันนั้นมีหญิงสาวผิวขาว
ผ่อง ผมยาวผู้สวมเสื้อยืดสีฟ้าคอกลมกับ
กางเกงยีนส์ฟอกสีจางตัวหลวมโครกสะพาย
เป้สีเลือดหมูใบโตจนน่าจะเกินตัวรวมอยู่ด้วย

ทันที่ทีก้าวลงถึงพื้นอย่างปลอดภัยแล้ว
ใบหน้าของหล่อนก็สัมผัสได้ถึงความร้อน
ของอากาศภายนอกรถ หากไม่ได้ทำให้
หล่อนแปลกใจมากไปกว่าภาพที่ปรากฏ
ตรงหน้าในขณะนี้
ถึงแม้ว่าหล่อนจะมาเที่ยวสยามสแควร์ทุก
ครั้งที่กลับมาบ้านเกิด หากทุกครั้งสยามส
แควร์ก็มักเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทาง
หนึ่งเสมอ เมื่อปีที่แล้วการก่อสร้างสถานี
รถไฟฟ้ายังไม่แล้วเสร็จจึงคลุมผ้าใบสีเขียว
ไปทั่วบริเวณเพื่อการป้องกันเศษวัสดุที่อาจ
ตกหล่อนลงมายังด้านล่างได้ แสงสว่างที่
ควรจะสาดส่องมายังถนนจึงมีน้อยจนต้อง
เปิดสปอร์ตไลท์สีส้มช่วย เมื่ออยู่ในยามฝน
ตก อากาศมืดครื้ม คนที่สัญจรไปมาจึง
พึ่งพาได้แต่แสงจากพลังงานไฟฟ้า ทำให้
เพื่อนร่วมทางคนหนึ่งถึงกับอุทาน

การเริ่มต้นด้วยการนำรถโดยสารเข้ามาก่อน
แล้วค่อยให้ตัวละครลงมาจากรถ สัมผัส
อากาศและความเปลี่ยนแปลง แฝงนัยถึง
การที่ตัวละครไม่ได้อยู่ประจำที่เมืองไทย
เออ…แล้วเป็นคนจากไหนกันนะ เป็นการใส่
ข้อมูลเบื้องต้นให้ตัวละครโดยไม่พยายาม
ยัดเยียดลงในประโยคใกล้เคียงกัน แต่
ทยอยเขียนไปเรื่อยๆ ให้ผู้อ่านได้ค่อยๆทำ
ความรู้จักกับตัวละคร ซึ่งต่อมาก็รู้ว่า ชื่อ
ไหม เป็นนางเอกของเรื่อง สำหรับเรื่องเส้น
ไหมใยรักนี้ พระเอกของเรื่องเปิดตัวในบทที่ ๓
ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะให้พระเอกนางเอกพบ
กันเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์มากกว่า
ถ้าเป็นเรื่องแนวอื่น อย่างเช่นแฟนตาซี ก็
อาจเป็นการพบกันของกลุ่มที่จะออกผจญ
ภัยก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ตัวละครหลักที่สุดของ
เรื่อง มักเปิดตัวในตอนแรก เพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยกับคนอ่าน
สำหรับเทคนิคนั้น การเปิดเรื่องไม่จำกัด
เทคนิค แบบใดก็ได้ ข้อสำคัญคือต้อง
น่าสนใจมากพอให้คนอ่านต้องการอ่านเรื่อง
ของเราต่อไป เพราะส่วนใหญ่คนที่หนังสือ
ส่วนใหญ่มักตัดสิน (อ่านหรือซื้อ) เบื้องต้น
จากบทแรกๆ เป็นหลัก

จำไว้ว่า มีเรื่องน้อยมากที่จะค่อยๆสนุกขึ้น
เรื่อยๆ จนสนู้กสนุกในตอนท้าย นอกจากว่า
จะได้รับการแนะนำมาอีกทีว่าควรอ่าน


                  -- ดำเนินเรื่องอย่างไรให้ผู้อ่านวางไม่ลง --                 

             

มาถึงตรงนี้ ทุกอย่างมีพร้อมแล้ว ก็เหลือแต่
2 เรื่องหลักที่ควรจำไว้
ว่าด้วยภาษาไทยที่ดี
ภาษาที่ดี ก็บอกยากว่าเป็นอย่างไร เพราะ
บางคนเขียนโล่งๆ อ่านง่ายๆ แต่ดีมากๆ ก็มี
ไม่ใช่ว่าเขียนบรรยายได้ยาวๆจะดีกว่าเสมอ
ไป ในส่วนนี้นักเขียนคงต้องฝึกฝนด้วยการ
เขียนให้มากๆ ประสบการณ์เท่านั้นที่เป็นครู
ที่ดีที่สุด
อีกส่วนหนึ่งก็คงเป็นเรื่องการระมัดระวังการ
ใช้ภาษาของตัวละคร นิยายมีส่วนคำ
บรรยายกับคำพูด ระวังการใช้ภาษาของตัว
ละครด้วย ไม่ใช่ให้แม่ค้าพูดภาษาผู้ดี ผู้ดี
พูดภาษาแม่ค้า (ยกเว้นได้ในกรณีที่แม่ค้า
เป็นผู้ดีเก่า หรือผู้ดีแต่จริงๆแล้วนิสัยไพร่ซ้า
ไม่มี)
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่
ที่นั่น
ถ้าเป้าหมายของเราอยู่ที่การเขียนเรื่องให้
สำเร็จ จงจำไว้ว่า อย่าให้อะไรเป็นอุปสรรค
ขัดขวาง ถ้าขี้เกียจจงสะบัดเจ้าตัวขี้เกียจ
ออกไปเสีย ถ้าไม่มีคอมฯ ก็พิมพ์ดีดหรือ
เขียน หรือเก็บเงินซื้อคอมฯมาเขียนให้จงได้
ฯลฯ ทุกคนมีวิธีแก้ไขปัญหาของตัวเองอยู่
แล้ว เลือกแบบนุ่มนวล บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้
ขุ่น และไม่เดือดร้อนใคร (นอกจากตัวเอง
แต่อย่าให้มากนัก)
สำหรับปิ่นแล้ว การสะบัดตัวขี้เกียจเป็นเรื่อง
ที่ยากที่สุด แต่เมื่อเจ้าตัวแรงบันดาลใจมา
สิงสู่ เจ้าตัวขี้เกียจก็มักจะรีบหนีไปก่อน แล้วค่อยวกกลับมาทีหลัง เพราะว่ารู้ว่าเจ้านาย
ปิ่นเขาชอบ (อิอิ)
จำไว้ว่า เราไม่ควรมีข้ออ้างในเรื่องไม่ควร
ถ้ายังมีแรง มีเวลาว่างพอโดยไม่เบียดบัง
เวลาอ่านหนังสือเรียน เวลางาน ซึ่งเป็น
หน้าที่หลัก ถ้ารักจะเป็นนักเขียน คุณต้อง
เขียนๆๆๆๆ เขียนเท่านั้น แล้วคุณถึงจะเป็น
นักเขียนได้







                                  -- เรื่องของผม -                                

             

สวัสดีครับ
ในที่สุดก็มีโอกาสมาเจอะเจอกันที่นี่นะครับ
ขอขอบคุณอย่างยิ่งเลยนะครับ
เท่า ที่คุณอ่าน Resume ผมว่าคุณคงจะ
รู้จักผมดีขึ้นมากแล้วนะครับ
สิ่งนี้จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป้นส่วนหนึ่งของชีวิตผม
เผื่อคุณจะรู้จักผมได้ดีขึ้น
ตามจริงก็เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเขียนหน้าใหม่นะครับ
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า กว่าผมจะมีผลงานออกมา
ลำบากยากเย็นเพียงไร
เอาไว้ค่อยคุยกันดีกว่านะครับ
เริ่มบรรเลงกันเลยนะครับ
แหล่งจินตนาการที่เป็นแรงบันดานใจให้กับเด็กผู้ชายตัวน้อยคนนี้
คงจะหนีไม่พ้นพวก ภาพยนตร์ และวรรณกรรมเรื่องต่างๆของโลกนี้ละนะครับ
ต่อมามาดูกันสิว่ามีผลงานเรื่องอะไรกันบ้าง
มาดูกันสิว่าผู้เขียนต้องเผชิญอะไรมาบ้าง
อันนี้ใครเข้ามาแล้วพลาดไม่ได้ครับ ต้องอ่านนะครับ(ย้ำ+)
กว่าจะมาเป็นเคปแลนด์
ต่อมาก็เป็น
เรื่องมันๆของนิยาย ทั้งแผนที่ และภาคผนวคบางส่วนครับ! สำหรับแฟนๆ


                                 -- แหล่งจินตนาการ -                                  

             

เอาเฉพาะวรรณกรรมอย่างเดียวก็แล้วกันนะครับ!
ปกติไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมไทยเท่าไรครับ เป้นเพราะอะไรไม่รู้
ค่านิยมหรือเปล่านะ...!?? เฮ่อ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า..

หนังสือมีเยอะแยะแต่ยังไม่ค่อยได้อ่านเท่าไรเลยครับ
แต่ที่อ่านแล้วก็มีเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นนิยายของเด็ก
หรือผู้ใหญ่แนวที่ไม่หนักสมองเกินไปนะครับ
แต่ก็ไม่ชอบอ่านเรื่องที่ไม่ค่อยมีเหตุผล หรือฐานเรื่องไม่ค่อยแน่น
และดำเนินเรื่องช้าเกินไป หรือไม่ค่อยให้สาระกับผู้อ่าน
และที่สำคัญคือใช้ภาษาต่ำๆ จะไม่ชอบมากๆ

ชอบงานเขียนของไอแซก อาซิมอฟอย่างมากครับ
แม้บางทีจะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร ตอนซื้อมาอ่านตอนแรกประมาณป.6
อ่านแล้วมึนไปเลยเรื่องสถาบันสถาปนา
เพราะพอเอากลับมาอ่านอีกครั้งตอนนี้(ม.3)แล้วรู้สึกว่าแต่งได้ดีมากทีเดียว
อ่านโลหะนครก็ชอบมากด้วย แสดงถึงสภาพสังคมในอนาคตได้ดี
ต้องยอมรับว่าอาซิมอฟมองสังคมในอนาคตได้ชัดเจนทีเดียว เป็นไซไฟแท้เลยครับ

เรื่องหัวใจหุ่นยนต์หรือ A Future toy..... อะไรนี่ละครับ
เป็นของไบรอัน อันดิส หรือคนเขียน AI นั่นแหละครับ
เรื่อง AI เป็นหนังที่ผมประทับใจมากทีเดียวเชียวละ
อัลดิสแต่งเรื่องออกจะสะท้อนสังคม และค่านิยมของมนุษย์
ออกจะไปทางศาสนาปรัชญาเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ใช้ได้ครับ

อยากอ่านไซไฟ เยอะๆจังเลย
แม้ว่าวิชาอังกิดผมจะได้คะแนนที่ถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ
แต่ความรู้แค่นี้ยังไม่พอสำหรับการซื้อนิยายนอกมาอ่านตรงๆ
อยากให้สำนักพิมพ์ของ
บ้านเราขยันแปลไซไฟมาอ่านกันมากๆหน่อยครับ+!+
ตามจริงชอบเรื่องที่เป็นไซไฟมากครับ
แต่บ้านเรารู้สึกว่าไซไฟจะมีน้อย ไม่ค่อยมีคนแปลกัน
งานเขียนของอาเทอร์ซีคล้ากก็น่าสนใจมากครับ
เป็นไซไฟทื่ไม่ไกลตัวนัก และมีความเป็นไปได้สูงในอนาคต

ไซไฟแฟนตาซีที่ชอบที่สุดเห้นจะไม่พ้น อาทิมิส ฟาวล์ ของโคลเฟอร์
เรื่องนี้คนเขียนใช้ภาษาสนุกน่าติดตาม
เรื่องแนวที่ชอบอีกก็คือเรื่องแนวผจญภัย เห็นจะเป็นห้าสหายผจญภัย
แต่ก็ไม่ถือว่าชอบมากครับ เพราะมันดูเหมือนหนังสือเด็กมากไปหน่อย
แต่ว่างๆอ่านแล้วก็เพลินไม่เบา

วรรณกรรมของอีบีไวท์ก็ประทับใจมากครับทุกเรื่อเลยครับ
ของโรอัลดาลห์ก็แต่งได้น่าประทับใจเหมือนกัน(ชาลี)
ชุดอยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้ายนี่ยังไงยังไงอยู่นะ แต่ก็แปลกไปอีกแบบหนึ่ง

ลอร์ด ออฟเดอะริง นี้ขอบอกตรงๆเลยว่าไม่ค่อยชอบ
เพราะดำเนินเรื่องเน้นรายละเอียดไปหน่อยแล้วเราก็ขี้เกียจอ่านในบางตอน
ยอมรับว่าหนักหัวไปหน่อยหากจะพยายามทำความเข้าใจ
เรื่องเกี่ยวกับตัวละคร เพราะมีเยอะจนมั่วไปหมด
แต่ชอบเหมือนกันนะ อ่านภาคผนวคแล้วสนุกด
ี เหมือนได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์เลย!

ไซโลก็น่าประทับใจเหมือนกัน แล้วเรื่องสุนัขร้านชำก็โอเคนะ วินน์-ดิ๊กซี่ นี่ละ แต่ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าผู้เขียนพยายามสื่ออะไรออกมา
หรือสื่อลางๆเกินไปก็ไม่รู้ แต่พอเจอชื่อเรื่องภาษาอังกิดก็พอเข้าใจแล้ว อ่านะ

ปกติไม่ค่อยชอบอ่านแนวหนักหมอง แต่ของดาเรน แซน
ต้องยกให้เลย มีอย่างนึงที่ถูกใจมากคือ ดำเนินเรื่องเร็ว
ภาษาลื่น ไม่ออกสยองขวัญมากนัก แต่สะเทือนอารมณ์
สุดท้ายน่าติดตามมากๆๆๆๆๆๆ ส่วนฮัลนิบาล ตื่นเต้นดี เดอะริงยังไม่อ่านทีครับ!

ว่ากันว่าไวท์โรดนั้นไซไฟแฟน แต่แท้จริงแล้วเท่าที่มีประสบการณ์ในการอ่านเรื่องไซไฟมาเยอะ ผมไม่เห็นความเป็นไซไฟในไวท์โรดเลยนะครับ มันเป็นแฟนตาซีบริสุทธ์มากกว่า เรื่องไวท์โรดบอกตามตรงเลยว่าผมไม่ค่อยติดใจเนื้อเรื่องเท่าไร เพราะไม่ค่อยแน่น แต่ใครจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับผู้เขียนผมก็ว่าเค้ามีความคิดทีดี และกล้าคิดกล้าทำทีเดียว ตอนแรกผมเองจะแต่งเรื่องที่ใช้ตัวละครชื่อภาษาอังกิดยังไม่ค่อยกล้าเลย! อิอิ

มาแนวแฟนตาซีบ้างนะครับ บ้านเราแฟนตาซีจะแปลมากกว่าไซไฟ ดังนั้นจึงได้อ่านเยอะเป็นพิเศษ แต่โดยรวมไม่ค่อยประทับใจเท่าไร อาจจะเพราะกระแสของแฮร์รี่ แต่แฮร์รี่นั้นเป็นออกแนวอื่นปนด้วย ถือว่าเป้นหนังสือที่ชอบที่สุดเลยก็ว่าได้ละมั้ง ไม่ใช่เพราะตามคนอื่นนะ
อ่านมาตั้งแต่พิมพ์ครั้งแรก แล้วก็ติดใจมาก
พูดง่ายๆคือเรื่องดี แนวดี ไม่หนัก แต่ก็ไม่พรุน มีครบทุกรส
ภาษาสุดยอด สะกดอารมณ์ผู้อ่าน แฮร์รี่พอตเตอร์ อันนี้แฟนพันแท้เลยละครับ! (เล่มหลังๆดูยืดเยื้อไปหน่อย)
ชุดนาเนียร์ก็แต่งได้สนุกดีครับ ชอบอ่านเหมือนกันครับ! ส่วนเรื่องอาบารัท ทึ่งกับตัวหนังสือที่มองกลับหลังได้
แต่ก็โอเคครับไม่ได้ติดใจอะไรมาก และเรื่องพ่อมดแห่งเอิทซีด้วย สองเรื่องนี้อ่านตอนนี้กำลังเอียนแฟนตาซีอยู่พอดีเลย
สุภาพบุรุษอัศวิน อันนี้ออกปรัชญาด้วย แฝงข้อคิดเฉียบคม นำเรื่องทั่วไปมาปั้นกลายเป็นการผจญภัยยิ่งใหญ
่เพื่อออกค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเองได้ นับถือ นับถือ!! แซนนารา อันนี้ยังอ่านไม่จบนะครับ แต่ก็โอเค

อันนี้เรื่องที่คนไทยแต่ง แต่ประทับใจมาก เรื่องของคณา คชา ที่แต่งได้แว่นแก้วที่หนึ่งอะครับ โลกใบนี้โคจรรอบ..... แฝงข้อคิดได้ดีมาก...ชอบบรรยากาศด้วย เรียบง่าย
แต่น่าทึ่ง เรื่องของคนไทย ของยาขอบ
หรือกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็มีอ่านด้วยนะ!?!
ของปราบดาหยุ่น วิน.... คุณชาติ กอบ... ก็มีบ้างครับ

ถ้าพูดถึงวรรณกรรมคลาสสิกอย่าง อลิซ หรือพ่อมดออซอันนี้ก็อานแล้ว
พูดถึงก็ดีนะครับ แต่ไม่ใช่แนวที่ผมจะพิศวาสสักเท่าไร

เดลโทร่าเควสก็โอเคครับ... ถ้าถามเรื่องกาตูนแล้วผมรู้สึกว่าจะไม่ค่อยชอบอ่านเหมือนเด็กคนอื่นๆเค้าเท่าไร แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมปรทับใจอย่างมากคือเรื่องโดราเอมอนครับ!

ผลงานของอีเนส บิต เขียนได้ดีเหมือนกันครับ
แต่ไม่ค่อยอ่านเท่าไร จินตนาการไม่รู้จบ (The Neverending Story) เทพนิยายกรีกก็มีอ่านเหมือนกันนะครับ
สนุกดีเหมือนกันเรื่องตำนานของเทพเจ้าต่างๆ
ทั้ง เฮอคิวลส คิวปิด....ฯลฯ เผลออ่านของจูดี้ บลูมไปเล่มหนึ่งครับ เรื่อง ของฟัดนั่นแหละครับ... (ไม่มีความเห้นครับ)เป็นเรื่องเกือบแรกๆด้วย (ไม่มีใครร้ายเท่าน้องเล็ก : The Tales of Fourth Grade Nothing )
ไปอ่านเจ้าชายน้อยมาเหมือนกันครับ
อ่านไปงงไป
อยากอ่านเจ้าหญิงน้อยจังเลย

บันทึกลับของแอนแฟรง ชอบมากเหมือนกันครับ!
เรื่องแนวโรแมนไม่ค่อยได้อ่านนะครับ อยากอ่านเหมือนกันครับ
ใครก็ได้ช่วยแนะนำที สงสัยว่าคงเป็นแนวสุดท้ายแล้วที่ยังไม่ค่อยได้อ่าน

ตามจริงที่อ่านมามีมากกว่านี้ครับ แต่บางทีลืมๆไปแล้วด้วย(เสียดาย!?!) บางเรื่องก็ไม่ค่อยประทับใจเท่าไร เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ

อยากให้คนไทย แปลแนวของทอม แคลนซี่ ออกมาบ้างจังน่าอ่าน

ถ้าพูเถึงเรื่องภาพยนตร์อันนี้ก็เป็น
แหล่งจินตนาการแหล่งหนึ่งที่ชอบมากเป็นพิเศษ
บอกตามตรงว่าเกลียดภาพยนตร์หนัก
แบบดูแล้วเหนื่อยเหงื่อไหลพรัก
เช่น อันเดอร์เวิล เมทริกสอง นิดๆ ไม่ค่อยมีมากหรอกครับ
ถ้าหากเนื้อเรื่องน่าสนใจ อย่างเช่นเมทริกส์ก็พอจะมาทดแทนความหนักได้

ชอบหนังที่น่าประทับใจ
(อะไรก็ประทับใจไปหมดละนะ)
ออกจะหายากนะ
บอกแนวที่ชอบหน่อยเลยนะครับ
ชอบ แนวเดียวกับหนังสือนันหละครับคือ
Sci-fi Fantasy Adventer และ Drama

มาหนังเรื่องแรกที่ชอบเลยนะครับ
ยกให้ AI นะครับ
เป็นไซไฟ-เอดเวนเจอร์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
(ออกจะชอบผลงานของ Haley อยู่แล้วด้วย)

The Lion king เพิ่งซื้อ ภาคพิเศษไปหมาดนี่เอง
ถือว่าเป็นกาตูนที่ยอดเยี่ยมจริงๆครับ
มีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่สุดยอดที่สุด

Star warS อันนี้ก็เกือบแฟนพันธ์แท้ครับ
ถือเป็นไซไฟ แฟนตาซีที่เยี่ยมที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาก็ว่าได้
หนังภาพยนตร์เรื่องสำคัญที่
เป็นแรงบันดาลใจให้กับผมในการเขียนนิายเรื่องหนึ่งละครับ
ซึ่งเท่าที่รู้ๆมา จอส ลูคัสนี่ก็เป็น
แรงบันดาลใจให้นักเขียนดังของโลกมาหลายคนแล้วด้วย หุหุ
สุดยอด จริงๆครับ
สังเกตได้จากภาพยนตร์ ดูไปแล้วเหมือนโดนครอบงำ ราวกับมีจริง มีจิตวิญญาณในเรื่อง
อีกเรื่องหนึ่งที่สุดยอดพอๆกันคือเรื่องของ
เจ อาอา โทลเคียน
สร้างโลกได้ยิ่งใหญ่พอๆกันเลยครับ
มิดเดินเอิธ กับ
หมู่ดาวในสหพันธ์
The Lord of the rings อันนี้เป็น
แฟนตาซีสุดอลังค์การ
หนังสือออกจะขี้เกียจอ่านในการบรรยายยืดยาว
แต่พอมาทำภาพยนตร์ สุดยอดจริงๆครับ
ถ้าเทียบกันแล้วกับแฮร์รี่พอตเตอร์
ของลอร์ดทำได้ดีกว่ามากครับ
ถึงแม้หนังสือจะมีขนาดไล่เลี่ยกันก็ตาม
อาจจะเป็นเพราะเนื้อเรื่องของลอร์ดมีการ
บรรยายสุดแสน......
เวลามาทำเป็นหนังไม่ต้องมีการตัดตอน
ส่วนแฮร์รี่มีแต่เนื้อ ทำให้ต้องตัดตอนไปในตอนทำภาพยนตร์
ทำไห้มันสู้หนังสือไม่ได้

เอาแค่นี้ก่อนละนะครับ
พอดีไม่ได้เอาลิสต์มา จำไม่ค่อยได้แล้วครับ


                             -- ผลงานที่ภาคภูมิใจ -                                  

             

ผมเป็นนักเขียนเยาวชนคนหนึ่งนะครับ แต่ก็ไม่ได้ถือว่า
เก่งอะไรมากมาย เพียงแต่
เมื่อผมทำสิ่งที่ผมรัก ผมจะทุ่มเทกับมันอย่างสุด
ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี กีฬา หรือศิลปะ
แต่สิ่งที่ผมตั้งใจากที่สุดในทั้งหมด ก็คือ
งานเขียนนี้
รู้สึกว่ามันจะ ผลาญเวลาผมไปมากที่เดียวในชีวิตช่วงม.ต้นของผม


ผลงานชิ้นแรก สำเร็จตอนปลายฤดูร้อนปี 2546
คืองานเขียนเรื่อง
CapelanD StorY : Power of FriendshipS I
ชิ้นที่สองเสร็จในเวลาไล่เลี่ยกันคือ
CapelanD StorY : Power of FriendshipS II
ส่วนภาคสุดท้ายชื่อว่า
CapelanD StorY : Power of FriendshipS III

ผลงานเรื่องต่อมา ซึ่งก็ไม่เชิงเป็นเรื่องใหม่
ก็คือ

AcrosS ThE StarS ภาค 1 บทนำ
• - - - • บทนำก่อนจะเริ่มปฎมบท
แห่งการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ • - - -
•

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่หนึ่ง วันสุดท้ายที่สถาบัน(1)
• - - - • ปฎมบทแห่งการผจญภัยสุดขอบกาแล็กซี่ครั้งยิ่งใหญ่ • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่หนึ่ง วันสุดท้ายที่สถาบัน(2)
• - - - • ปฎมบทแห่งการผจญภัยสุดขอบกาแล็กซี่ครั้งยิ่งใหญ่ • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่สอง พลังแห่งชีวิตที่เร้นลับ(1)
• - - - • ไรอันจะทำอย่างไรเพื่อให้
ผ่านการสอบวิชาพลังจิตที่สุดโหด • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่สอง พลังแห่งชีวิตที่เร้นลับ(2)
• - - - • ไรอันจะทำอย่างไรเพื่อให้ผ่านบท
ทดสองของศาสตราจารย์เฮเลนต์ • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่สอง พลังแห่งชีวิตที่เร้นลับ (3)
• - - - • ช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตของพวกเขาที่จะได้อยู่ในสถาบัน และบรรยากาศหลังการสอบ • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่สาม รุ่งอรุณใหม่ในเคปแลนด์(1)
• - - - • แสงแดดยามเช้าของหน้าร้อนสาดส่องไปทั่วเคปแลนด์ • - - - •

AcrosS ThE StarS P.1 บทที่สาม รุ่งอรุณใหม่ในเคปแลนด์(2)
• - - - • นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการถกเถียงกันข้ามโต๊ะอาหารของบ้านเลขที่... คฤหาสน์เคปแลนด์ • - - - •

และผลงานเรื่องสุดท้ายและไม่ท้ายที่สุด
เป็นบทความครับ

ความลับในใจของเด็กผู้ชายคนหนึ่ง

เนื้อเรื่องทั้งหมดมีความยาวเกือบ 500 หน้า
ซึ่งใช้เวลาเขียนทั้งหมด เกือบห้าเดือนเต็มๆที่
สละเวลาว่างๆจากการซ้อมดนตรี
และการนันทนาการต่างๆมานั่งเขียนตามความฝันของตนเอง

คุณสามารถจะดูรายละเอียดได้ในบทต่อไป
ว่าเส้นทางบนถนนนักเขียนของผมเป็นมาอย่างไร


                          -- กว่าจะมาเป็นเคปแลนด์ -                            

             

นี่เป็นหนึ่งในบทความที่ผมอยากให้ทุกท่านอ่านเป็นที่สุด
อ่านให้ได้นะครับ

สวัสดีครับ ทุกท่าน สงสัยสวัสดีมาเป็นร้อยๆรอบแล้วมั้งครับ
อีกครั้งหนึ่งจะเป็นอะไรไปเอาแบบนี้นะครับ
ผมเริ่มสนใจในเรื่องวรรณกรรมจินตนาการมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่
ตัวกะเปี้ยก ดูภาพยนตร์เรื่องแรกก็ไม่รู้ว่าอายุเท่าไร
รู้สึกว่าจะเป็น คุณนาย เดาฟ์ไฟ มั้งครับ ที่จำได้อีกก็คือ เดอะไลออน คิงส์
เอาแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ต่อมาก็ดูหนังในโรงบ้าง ตอนนั้นรู้สึกว่า ไอดีโฟจะมาแรงมาก
สลับกันกับเช่าเป็นวีดีโอวีซีดีมาดู เรื่องแรกคือ ET กับ Star warS
(ซึ่งเป็นภาคเก่าทั้งคู่ ก่อนที่จะมีคนเห็นคุณค่าแล้วนำมาทำใหม่ จนสร้างรายได้สะท้านวงการ)
จนคิดว่าดูมาน่าจะเกิน 500 เรื่องแล้วมั้งครับในชีวิตนี้ ทั้งเช่าเอง ซื้อเองก็มีเยอะแนะไป
รวมถึงหนังสือเช่นกันผมเป็นเด็กที่เรียกได้ว่า หนอนหนังสือมาตั้งแต่เด็กๆ
อ่านพวกความรู้รอบตัว ทั้งของ Go Genius และหนังสือ
เกี่ยวกับโลกของเราบ่อยมากประจวบกับการชอบดูสารคดีในยูบีซี
ทำให้เพื่อนชอบมาถามเรื่องเกี่ยวกับความรู้รอบตัวกับผมหลายหน
ตอนนี้ก็แก่แล้วจึงค่อยๆเลอะเลือนจางหายไปจากสมองมาก
ตอนนี้ก็พอมีดูสารคดีบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกภาพยนตร์ และบันเทิงอื่นๆมากกว่า
เรื่องของหนังสือก็เช่นกัน หลังจากศึกษาเรื่อง ยูเอฟโอ โลกของเรา อวกาศ
ไดโนเสาร์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ นิเวศวิทยา จนพอใจแล้ว
จึงเริ่มจับนวนิยายเรื่องแรกอ่าน และก็ด้วยความเป็นเด็กเกินไป หรือไม่ก็....
ทำให้อ่านนวนิยายสำหรับผู้ใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร
แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ความ ตั้งใจในการที่จะแต่งเรื่องราวของผมลดลงไปเลย
ช่วงประมาณป.3-ป.4 ช่วงนั้นผมยังจำได้ว่า
กำลังสนใจยูเอฟโออย่างรุนแรง แล้วก็เคยเห็นด้วยครั้งหนึ่ง(จริงๆนะ)
ตอนนั้นคิดอยู่เสมอว่า เอกภพของเรามี ดาวอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 20 ล้านล้านดวง
จะเป็นไปไม่ได้เลยหรือที่จะมีสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาเหมือนมนุษย์เจริญขึ้น และก่อตั้งอารยธรรมในดาวดวงอื่นๆที่ห่างไกลจากโลกเรา
และเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าเรามาก จึงส่งยานบินข้ามห้วงอวกาศมาสำรวจ
เหมือนที่เรากำลังค้นหามัน และนอกจากนั้นก็ยังมีความคิดแปลกประหลาด
จนที่ว่าต้องแปลกใจถึงปัจจุบันผมคิดว่าโลกเราเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองของพวกมนุษย์ต่างๆดาว
ที่กำลังเฝ้ามองเราอยู่คล้ายๆกับตอนนี้เราทุกคนกำลังยืนอยู๋บนโลกและกาแล็กซี่ที่อยู่ในแผ่นไสลด์ของ
พวกมนุษย์ต่างๆดาวอย่างไรอย่างนั้น น่าขนหัวลุกเหมือนกันนะครับ หากคิดว่าเมื่อไรมันเบื่อที่จะดูพวกเราแล้วก็ซัดแผ่นไสลด์นี่ไปให้พ้นๆ
นอกจากนี้ผมยังมีความคิด และจินตนาการที่แตกต่างจากเด็กๆคนอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด
พูดง่ายๆคือผมเป็นเด็กคนหนึ่งที่ชอบอยู่คนเดียว อันนี้เรื่องหนึ่งละ
อย่างที่สองคือ ผมมักจะมีความคิดเป็นของตัวเอง และมักจะขัดแย้งกับคนอื่นๆ
ซะด้วยสิ ซึ่งตรงกับที่หนังสือคู่มือนักเขียนหลายเล่มว่าไว้

ผมคิดว่าผมหลงไหลในโลกของจินตนาการอย่างลับๆ ผมเขียนเรื่องแรกของผมตอนป.3
เป็นเรื่องเกี่ยวกับยูเอฟโอ ซึ่งเพื่อนๆหลายคนคงจะรู้ เพราะผมเอามาแต่งส่งครูสายพิณตอนป.6
จนกระทั่งมาถึง ประมาณ ป.4 ปิดเทอมจะขึ้นป.5จึงตัดสินใจจะเขียนนิยายเรื่องแรกขึ้นมา
จนถึงบัดนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเอาแรงบันดาลใจมาจากไหนจนสำเร็จเป็นนิยายเรื่องแรก
ซึ่งไม่ถือว่าเป็นนิยายหรอกครับแต่มันเป็นเรื่องสั้นดีๆนี่เอง ความยาวประมาณ 20 หน้า
ภายในมีเรื่องสั้นหนึ่งเรื่องที่ไม่ขอเอ่ยนาม (ซึ่งแน่นอน เป็นเรื่องสั้นเชิงวิทยาศาสตร์)
บทเพลงจำนวน 3 เพลง บทความสองบทความ ที่เขียนเองทั้งหมด มีภาพประกอบด้วยนะครับ


<< ผลงานชิ้นนี้มีภาพประกอบด้วยนะครับ ส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง


<< อันนี้คือคำนำครับ


<< สารบัญครับ
(ปัจจุบันต้นฉบับยังสมบูรณ์ แต่ไฟล์ได้สาบสูญหายไปตามการเวลาแล้ว)

ผลงานเรื่องนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่พิสูจน์ถึงแรงบันดาลใจ และจินตนาการในสมัยเด็ก
และหากลองมาเทียบดูกับเรื่องปัจจุบันแล้ว ผมคิดว่าสนุกกว่าเรื่องที่แต่งตอนนี้เสียอีก
แม้ภาษาจะเทียบกันไม่ได้ก็ตาม มันจึงเป็นหนึ่งในผลงานที่ผมภาคภูมิใจมาถึงปัจจุบัน
ถึงแม้จะไม่เคยเอาให้ใครดูนอกจากเพื่อนอีกสองสามคนก็ตาม
มาถึงป.6 ตอนนี้รู้สึกว่าจะเข้าสังคมบ่อย และไม่ได้เป็นนักกีฬาโรงเรียนอีกต่อไป
จึงเอาใจใส่เรื่องศิลปะ และเรื่องการเรียน ชีวิตในตอนนี้สนุกสนานมาก
ถือเป็นช่วงหนึ่งที่เคยมีความสุขที่สุดในชีวิต ถึงแม้ว่าปัจจุบัน
เพื่อนๆที่เคยอยู่ด้วยกันในป.6 ก็ได้แยกย้ายหายหัวกันไปหมดแล้ว
แต่เวลาว่างเอามานั่งคิดถึงความหลัง แล้วก็ยังสนุกอยู่มิคลาย
จนกระทั่งจบชั้นป.6 ผมไม่ได้ตั้งใจจะไปสอบที่ใดจึงอยู่โรงเรียนเดิมเพราะ
ได้โควตา แต่ดันไม่เอาเพราะตอนแรกจะไปที่โรงเรียนอีกโรงเรียนหนึ่ง
สุดท้ายต้องมาสอบแต่ก็ได้ในที่สุด(ง่ายจริงๆ) ต่อมาในชั้นมัธยมต้น
รู้สึกว่าตอนนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรดีเท่าไร ออกจะแย่เสียด้วยซ้ำเพื่อนใหม่ก็มีดีๆอยู่ไม่มากเท่าไรหรอก
แต่ที่ดีๆมันก็มีบ้าง ผมเอาดีทางด้านดนตรีอย่าง เดียวในปีนี้ เริ่มต้นด้วยการ
สมัครเข้าวงโยฯ และเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฏีโน๊ตสากล เพียงแค่ปีเดียวแห่งความตั้งใจ
ปีที่สองก็สามารถเข้าเป็นนักดนตรีวงBigbandได้สำเร็จ
ต่อมาได้ข่าวจากสถานีวิทยุบีบีซีเรื่องเกี่ยวกับหนังสือแฮร์รี่พอตเตอร์
ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในอังกฤษ
โดยปกติก็เป็นคนที่จะเข้าร้านหนังสือเกือบจะทุกวันอยู่แล้ว
วันหนึ่งเห็นแฮร์รี่พอตเตอร์มาวางอยู่ในร้านฉบับภาษาไทย
จึงคว้าติดไม้ติดมือกลับไปบ้าน ..จ่ายเงินแล้วนะครับ หุหุ
และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการหันเข็มเข้าสู่โลกของนวนิยาย
ไปโดยปริยายปีนี้เริ่มต้นไปก็ดี ผมเริ่มหยิบหนังสือมาอ่านแนววรรณกรรมเยาวชน
มากขึ้นเรื่อยๆจากหนึ่งเล่มเป็นสองเล่ม-เกือบจะครบหนึ่งร้อยเล่มแล้ว
แต่ในช่วงนี้ความพยายามที่จะเป็นนักเขียนก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปตามกาลเวลาเลย
มันออกจะมากขึ้นด้วยซ้ำเมื่อก่อนผมคิดว่าการเขียนหนังสือเรื่องนึง อาศัยแค่จินตนาการเท่านั้น
แล้วสักวันผมจะมีจินตนาการแบบนั้น(มั้ง) ผมใช้เวลาที่เหลือจากการซ้อมดนตรี
และการเรียนไปกับการนั่งคิดโลกใหม่ของตัวเอง
แผนที่ดวงดาว สภาพความเป็นอยู่สังคมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อมที่กำลังโดนโจมตีจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
จิตใจของมนุษย์เมื่อความเจริญของอารยธรรมกำลังจะทะยานขึ้นจนถึงขีดสุด
ชีวิตจะเป็นอย่างไรบ้าง อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง


<<แผนที่ดวงดาว และจินตนาการเก่าๆ

ภาษาของตัวเองที่ใช้ในการเขียนไดอารี่ และจมปรักอยู่กับมัน
แล้วสักพักก็เบื่อมัน บางทีพออยากเขียนก็หยิบมันมานั่งต่อเติม
ไปเรื่อยๆโดยไม่มีจุดหมาย
ผมเคยเริ่มต้นหลายครั้ง แล้วก็ล้มเลิกไป
ช่วงที่ผ่านมานี้มันทำให้ผมได้รับรู้ว่างานเขียนที่ดีนั้นไม่ใช่อาศัยเพียงจินตนาการเพียงอย่างเดียว
มันต้องอาศัยความอุตสาหะ และความเพียรอย่างแรงกล้าที่จะได้ผลงานดีๆมาสักชิ้น
เขียนเรื่องมาสักเรื่องใครๆก็ทำได้ ใครก็เขียนมันออกมาได้แค่มีจินตนาการของตัวเอง
แต่การที่จะทำให้เรื่องออกมามีคนยอมรับ และให้ผุ้อ่านประทับใจได้นั้น
มันต้องอาศัยความพยายาม ควบคู่กับไปไม่มีใครมาเป็นเจ้านายคุณนี่
ไม่มีใครคอยมาไล่จี้คุณเวลาคุณเบื่อไม่มีใครมาให้กำลังใจเวลาคุณท้อ
มันเป็นงานที่อยู่กับตัวเองทำด้วยตัวเอง คิดและเขียนจากสมองของตนเอง
เมื่อมันสำเร็จทั้งหมดนั้นก็ไมได้มีอะไรไปมากกว่าความภาคภูมิใจของตนเอง
คุณจะเลิกมันเมื่อไรก็ได้ เพราะไม่มีใครมาง้อให้คุณเขียนต่อ
คุณเป็นคนเริ่มมันเองนี่ คุณแกว่งท้าหาภาระให้คุณเองนี่นา ดังนั้นโทษใครไม่ได้
หลายคนฝันที่จะมาเป้นนักเขียน แต่กี่คนเชียวที่ทำมันสำเร็จ ถึงห้าเปอร์เซ็นต์ไหม
งานนี้เป็นงานที่วัดความสามารถของคน และพิสูจน์คน
มันท้าทายความพยายาม ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครที่เป็นนักเขียนได้โดยขาดความเพียร
และมีนักเขียนน้อยคนนักที่หวังที่จะมีชื่อเสียงแล้วทำผลงานออกมาได้อย่างสำเร็จ
ไม่เชื่อคุณลองเขียนดูเองสิ คุณอาจจะเขียนได้ แต่จะประสบความสำเร็จมั้ยผมไม่รู้
นั่นขึ้นอยู่กับความตั้งใจของคุณเอง ตัวคุณเป้นคนตัดสิน
แต่ผมขอบอกไว้ก่อนว่าจินตนาการเป้นแค่องค์ประกอบเท่านั้น
จะเป้นนักเขียนได้ต้องอาศัยอะไรมากกว่านั้น
ช่วงจะขึ้นม.3 ผมใช้เวลาว่างปิดเทอมไปกับการท่องเว็บ หรือเล่นเกมส์
จนกระทั่งผมได้รู้จักคุณ Zeasonar Narry เพื่อนคนหนึ่งที่ชอบแฮร์รี่พอตเตอร์เหมือนกัน
จนวันหนึ่งเค้าแนะนำผมเกี่ยวกับเว็บใบหญ้าดอทตคอมโดยบังเอิญซึ่งทุกอย่างมันก็ดูเหมือนจะบังเอิญจริงๆ
ผมเห็นคนอื่นมีผลงานมากมาย อาจจะดีบ้างไม่ดีบ้างแล้วแต่นักเขียน
มันทำให้ผมรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วละที่ผมควรจะเริ่มต้นอย่างจริงจังบ้าง
ซึ่งตอนแรกกะจะเขียนเรื่องเรื่อยเปื่อย เพียงแต่ต้องการจะเขียนเท่านั้น
ต้องการเพียงจะทำตามความฝันและที่สำคัญ มันไม่มีการวางโครงเรื่องมาก่อนเลย
ผมคิดเพียงอย่างเดียวคืออยากจะเขียน และก็ต้องทำให้ได้
คิดแค่นั้น ดังนั้นจึงเปิด ไมโครซอฟ เวิร์ดขึ้นมาพิมพ์คำว่า

แดนนี่ สวินสันเด็กชายวัยสิบสี่ ตื่นนอน (ใครที่อ่านตอนแรกคงจะจำได้ดีนะครับ)

ด้วยความที่ไม่มีสิ่งใดในสมองนอกจากความมุ่งมั่นย่น จึงพิมพ์ต่อไปอย่างไร้จุดหมาย
หากแต่ไม่ใร้จุดหมายอย่างจริงๆเลยผมมีจุดหมายคือต้องพิมพ์ให้ได้ เขียนให้จบ ถึงแม้จะเริ่มจากความว่างเปล่าของหน้าคอคอมพิวเตอร์ คาวมคิดเก่าเกี่ยวกับโลกอนาคตที่เคยคิดมากลายมาเป็น Setting ของเรื่องได้อย่างดีเพราะมันเป็นแนวที่ผมชอบ เป็นแนวที่ผมอยากเขียน
และไม่อยากเขยีนแนวอื่นแล้วด้วย ผมทำไปตามหัวใจเรียกร้องไม่ได้ทำเพราะโดนสมองบังคับว่าต้องทำ
ผมจึงใช้เวลาปลายฤดูร้อนผลาญไปกับการนั่งพิมพ์ตามความคิด
ด้วยความที่ผมเป็นเด็กที่มีสปีดการเคาะคีบอร์ดเร็วพอควร ผมจึงสามารถเรียบเรียงจินตนาการทึ่พรุ่งพล่านในสมองไปไว้ในคอมพิวเตอร์ได้เกือบทั้งหมดก่อนที่มันจะวิ่งหายไป
เพราะยิ่งพิมพ์ยิ่งสนุกมีไอเดียเพิ่มตลอดเวลา หลังจากนั้นโครงเรื่องเริ่มที่จะขยายขึ้นจากเด็ก
คนหนึ่งที่จะไปเที่ยวชายทะเลก็กลายมาเป็นเรื่องราวที่ต้องไปชวนเพื่อนคนนั้นมา ผ่านนู่นผ่านนี่
จากสองตอน กลายเป็นสามตอน จากสามตอนรวมกับเป้นหนึ่งภาค จากหนึ่งจากกลายเป็นไตรภาค
ผมใช้เวลาทั้งหมดทั้งก่อนนอน ไปโรงเรียน นั่งรถ นั่งหน้าคอม นั่งคิดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สุดท้ายความคิดก็มาบรรจบที่ห้าภาคใหญ่ เกือบสองพันหน้า เป็นความคิดล้วนๆที่อยู่ในสมอง
โครงเรื่องทั้งหมดตอนนี้ยังวนเวียนในสมอง
เมื่อทำสิ่งที่รักมันรู้สึกสนุกรู้สึกว่าอยากเขยีนต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าผมทำสิ่งที่ผมไม่ชอบ แต่โดนบังคับผมก็จะไม่ทำมัน
ถึงมันจะดีอะไรนักหนาก็เถอะ ต่อให้เป็นพระราชา ถ้าผมไม่รักผมก็จะไม่ทำ(ตามจริงก็คงจะไม่มีใครบังคับทำอยู่แล้วละ)อดีตมันเจ็บปวด เราเลือกได้ที่จะวิ่งหนีไปจากมันหรือว่า จะเรียนรู้จากมัน ผมใช้ความผิดพลาด ผิดหวังในอดีตเป็นสิ่งที่ช่วยสอนให้เรียนรู้ถึงสิ่งผิดพลาดทำไมมันถึงทำไม่สำเร็จ
เพราะผมเอาแต่คิด แต่ไม่ลงมือทำอย่างนั้นหรือ หรือคิดได้ แต่ไม่เคยตั้งจุดหมายว่าจะเขียนให้มันจบ
ผมเขยีนเรื่องจนจบไปสองตอน และเอาลงใบหญ้าซึ่งก็ได้การตอบรับอย่างดีไม่น้อย
มันทำให้ผมมีกำลังใจที่จะเขียนต่อขึ้นมา(อาชีพนี้เป็นอาชีพหนึ่งที่กำลังใจต้องเกินร้อย!! หากใจไม่ถึงไปไม่ได้ไม่มีวันหรอก)
พอเปิดเทอมก็ดีนะ เพื่อนๆก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน หลายคนก็ช่วยแนะนำ ช่วยติชม อย่างดีมากทีเดียว
อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่อิสระ รักสันโดษก็จริงๆ แต่คงจะขาดคนอื่นๆไม่ได้
ผมเริ่มมานั่งทำตอนสาม แต่แล้วก็มีบางสิ่งบางอย่างที่ฉุดรั้งผมไม่ให้เอาเรื่องลงในใบหญ้า
คือ ความต้องการที่จะให้งานออกมาดูดีนั่นเอง(เรียกไม่ถูกเหมือนกันว่าเรียกว่าอย่างไร)
เอาเป็นว่าต้องการที่จะให้มันสุดยอดจริงๆ ผมเป็นคนที่ละเอียดอ่อนพอสมควร อย่างน้อยผมก็คิดว่าผมเป็นคนแบบนั้น ผมไม่ชอบความไม่เนี้ยบ ไม่ดูดี ดูไม่ดี สองคำนี้ก็คงเหมือนๆกันละนะ
ดังนั้นผมจึงใช้เวลาในการที่จะทำให้เรื่องเป็นนวนิยาย จริงๆ ที่มีองค์ประกอบครบจริงๆ นี่สิคือสิ่งที่ผมต้องการ
ผมจึงเริ่มศึกษาการเขียนอย่างจริงจัง ทำเหมือนที่ผมเริ่มศึกษาโน้ตแต่ละตัว โด เร มี ฟา ซอล...... หรือการวาดรูป ค่าน้ำหนักของแสงเงา ที่ผมเคยศึกษามาก่อนหน้านี้ ถ้าผมรักอะไรผมจะทุ่มให้กับมันเต็มที่ (เคล็ดลับในความสำเร็จละ อิอิ) และไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่ก็เปนสิ่งที่ผมรักอีกอย่างหนึ่ง ผมเริ่มศึกษาตจากทั้งหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยว่าด้วยเรื่องของ วรรณกรรม .... จากเว็บ ทฤษฎีต่างๆ การเขียนเรื่อง ความแตกต่างระหว่างนิยาย เรื่องสั้น องค์ประกอบของนวนิยาย นอกจากนี้ยังมานั่งเปิดนิยายที่ได้รับการชมเชย ว่าเขียนได้ดี ดูวิธีการเขียนจองนักเขียนแต่ละคน ดูการใช้ภาษาการใช้คำ พูดได้ว่าผมศึกษาละเอียดกว่าเรื่องที่เรียนเสียอีก ผมไม่ได้มานั่งท่องสูตรคณิตศาสาตร์อย่างนี้หรอก สิ่งนี้ทำให้ผมเกือบจะสมองไหม้เอา .... .มันเป็นงานที่หนักจริงๆ แต่ก็อีกนั่นแหละ ไม่มีใครบังคับให้เรามาทำแบบนี้นี่นา เป็นอะไรจะบ่นกับใคร ใครเค้าจะรับฟัง ถ้าเป็นเรื่องเรียนอาจจะปรึกษาครูได้ แต่ผมก็ไม่เคยหรอก หุหุ แต่นี่ .... มันเป็นความสมัครใจในการที่จะหาภาระใส่ตัวเอง แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่มีอยู๋มันก็ทำให้ผมผ่านสิ่งนี้ไปอย่างไม่ยากย็นนัก(บ้าสิ ยากจะตาย!) วรรณกรรมมีมาตั้งแต่เทพนิยายสมัยกรีก เรื่อยมาทั้งพงศาวดาร ทั้งคัมภีร์ใบเบิล...... จนมาถึงนวนิยายสมัยปัจจุบัน แค่นี้ก็มั่วพอแล้วยังมีนู่นมีนี่มาอีกมากมาย จับจุดไม่ถูก แต่อย่างน้อยผมก็ได้อะไรมามากมายทีเดียวละ
ถึงเวลาแล้วๆๆๆ ประโยคที่พูดกันบ่อยๆในไลอ้อนคิง แน่นอนมันถึงเวลาแล้ว!
ผมเริ่มเขียนอีกครั้งในตอนนี้มรสุมกิจกรรมกำลังโหมกระหน่ำ เสียงบ่นโอดครวญดังมาเป็นแถบๆ ทั้งโครงงาน รายงานอะไรพันหัวเสียยุ่งเหยิงไปหมด ทำให้ต้องล้มเลิกไปชั่วคราว แต่เวลาว่างผมก็ยังพยายามศึกษา และนั่งคิดถึงความฝันตัวเองตลอดเวลา จนเมื่อโอกาสเปิดกว้างมันก็มาใกล้สอบเข้าแล้วสิ ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เป็นไงเป็นกัน แต่หลังสอบดีกว่านะ เด็กเรียนอย่างเรา เฮ่อ ... ผลการสอบก็ถือว่าเลวร้ายใช่ย่อย ถ้าเทียบกับเมื่อก่อน
อาจจะเป้นเพราะผมไม่ได้สนใจที่ครูสอนเท่าที่ควรละมั้ง แต่มันก็พอรับได้น่ะ หลังสอบเริ่มลุยกันอีกครั้ง
จนสำเร็จเป็นงานเขียน Across The StarS ที่ดัดแปลงมาจาก Capeland นั่นเอง
ปรับให้มันดีขึ้นดีกว่าเก่า มันมีภาผนวคที่ครอบคลุม ภูมิศาสตร์ เศษรฐกิจ สภาพสังคม แผน และข้อมูลอ้างอิงถึงสิ่งต่าง รวมทั้งประวิติศาตร์อีกด้วย



<<ภาคผนวคที่เสียเวลานั่งทำกว่าสองเดือน


<<ภาษาใหม่สามภาษา


<<ภาคผนวคทั้งหมดรวมแผนที่ กว่าจะเสร็จ เฮ่อ ความพยามอยู่ที่ไหนความพยายามอยู่นั่น


<<การแก้ไขที่สุดแสนทรหด เพื่อนิยายที่ดี คุณอาจจะต้องแก้ไขนับสิบๆรอบ เพื่อผลงานที่ดีที่สุด

โดยปกติผมก็สนใจวิทยาศาสตร์มากมายอยู่แล้ว แต่เมื่อมีนิยายวิทยาศาสตร์เข้ามาก็ทำให้ยิ่งต้องเร่งศึกษาไปอีก
เพราะเขียนทั้งทีต้องให้สมจริงต้องให้ดีๆจริงๆ ต้องพิถีพิถันทุกขึ้นตอนนี่ละผมละ ผมเริ่มศึกษาทั้งเรื่องอวกาศ ตัวหลักเลย ทฤษฎีของไอสไตย์ อันนี้เล่นเอาหัวหมุนสำหรับเด็กม.3 อย่างผม แต่อย่างน้อยก็พอเข้าใจละหน่า ศึกษาเรื่องพันธ์กรรม เทคโนโลยีต่างๆในอนาคต ความเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังต้องคอยติดตามข่าวเทคโน และสารคดีอยู่บ่อย ด้วยความที่มุ่งมั่นสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอะไรก็ไม่รู้แล้วทำให้เป็นการง่ายที่จะเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ในที่สุดก็ถึงเวลาลงมือ ผมยอมรับเลยาม.3 เป็นช่วงมรสุมไม่เหมาะสำหรับการภายเรือเก็บประสบกรณ์หรือทำงานอื่ๆนเลย เพราะคุณจะเล่นไมได้แล้ว เรียนก็จะหนักกว่าเดิมมาก อันนี้ปัญหาใหญ่ของผม พ่อแม่ต้องการให้ผมเอาเรื่องเรียนเป็นหลักหากแต่ผมเอาสิ่งที่รักเป้นหลัก เฮ่อ พูดยากอะครับ นั้นก้อย่าพูดซะเลยนะครับ ไม่ใช่ว่าผมจะไม่สนใจเรื่องเรียน แต่ผมรักในสิ่งที่ผมทำ ...... เอาละ เมื่อเผชิญปํญหาแบบนี้หัวใจที่เต็มร้อยก็ยากที่จะยืนหยัดไหว แน่นอน ไม่มีใครคอยไล่จี้คุณเวลาล้ม ไม่มีใครคอยให้กำลังใจคุณเวลาท้อ นี่คือนักเขียน คุณหาเรื่องเอง ฮ่าๆ มันเลวร้ายจริงๆ ผมเกือยจะเลิกไปหลายครั้งด้วยความที่ว่า ไม่ไหวจริงๆ จากภาระทั้งด้านการเรียน และกิจกรรมที่ผมต้องทำให้โรงเรียนทุกๆปี ทั้งดนตรีกีฬา ใครจะปรับไหว ผมจึงบอกกับตัวเองลึกๆ ว่า เอาละ ถึงเวลาแล้วละ (ประโยคสุดฮิต) ที่จะต้องวางมือ ไม่ใช่เพราะนายเขียนไม่ได้ แต่นี่เป้นงานของผู้ใหญ่เค้า ไม่ใช่งานของเด็กอย่างพวกเราทำ(ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ผิดอย่างเต็มๆ) สักวันนายจะทำได้เอง ตอนนี้นายยังไม่พร้อม ไม่มีเวลา ภาระมากเกินไปเกินกว่าเด็กน้อยตาดำๆคนหนึ่งจะรับไหว (อันนี้ก็เป็นอีกประโยคสุดฮิตสำหรับคนที่ต้องการจะเลี่ยงภาระนี้ ไม่มีเวลา ขอให้มันจริงเหอะ มันก็จริงนั่นแหละ แต่หากคุณรักอะไรแล้วคุณจะหาเวลาให้กับมันไม่ได้เทียวหรือ) ตามจริงผมก็หาได้อะนะ แต่มันไม่ไหว เพื่อนๆที่อ่านก็คงรู้ยิ่งอยู่ห้องเดียวกับด้วย คุณรู้ว่างานมันมากแค่ไหน ยิ่งเด็กของคิงอย่างเรากิจดรรมไม่เข้าใครออกใคร ผมมีภาระทั้ง โยธวาทิต ศิลปะ ส่วนกีฬาทิ้งไปแล้ว โรงเรียนเค้าเตะทิ้งจากนักกีฬาโรงเรียนมาตั้งนานแล้ว โทษฐานไม่ได้เรื่อง ไม่ยอมซ้อม เอาแต่มาทำอย่างอื่น ตอนนี้หันมาไดฟ์ก็อฟ เพราะมันสะใจดี คิดถึงหน้าใครก็ ฟาดเข้าไปให้มันจบๆ(พูดเล่นนะครับ)ผมคิดไปเองที่อาจจะจริงด้วยว่าผมเป้นคนหนึ่งละที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าคนอื่นๆในห้อง รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้พูดให้เห็นใจ แต่อยากให้เข้าใจความรู้สึกกันบ้าง คุณไม่เคยลอง ไม่เคยรู้สึก คุณไม่รู้หรอกว่ามันเป้นอย่างไร
แต่เสียใจด้วยนะ อุปสรรคทั้งหลาย ผมไม่มีวันยอมแพ้คุณหรอก (ประโยคยอดฮิตสำหรับชัยชนะที่ไม่ไกลเกินเอื้อม) เอาซี่ ผมมันก็ไม่ชินอยู่แล้วด้วยสำหรับความผิดหวัง ผมทำอะไรส่วนมากมักจะโอเค แล้วเมื่อผิดหวังมันก็รับยากเสียด้วยสินี่ละข้อเสียของพวกที่ชอบหาเรื่องใส่ตัว ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่ผมรักผมก็จะทำ ได้โปรดอย่ามาขัดขวาง คำว่าไม่ได้ ไม่มีอยู่ในหัวเสียหรอก ทุลักทุกเลทำอยู่อย่างนั้นละ มันเป็นความฝันที่ต้องพิชิต มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของชีวิตที่จะเอาชนะตัวเอง อยู่ที่ใจว่ามันจะเข้มแข็งสักเพียงไร ....คุณคงเข้าใจแล้วว่ากว่าจะได้มาถึงที่นี่ได้ผมต้องผ่านอะไรมาบ้าง นิยายเรื่องเดียวอาจจะทำให้คุณบ้าตายได้ ถ้าคุณอยากจะทำให้มันดีจริงๆนะ
ขอบอกไว้ก่อนว่า มันต้องอาศัยใจรัก อย่าฝืนทำเพราะอยากจะเด่ง อยากจะดัง คุณไม่มีทางไปถึงฝันได้หรอก
ไอ้เด็กอย่างผมเองที่คิดว่าตัวเองทำได้ ก็ยังจะบ้าตายกับมัน ไม่ได้บอกว่าผมเก่งอะไรหรอกนะ แค่อยากเปรียบเทียบให้ดู เขียนธรรมดาใครๆก็ทำได้ละ แต่เขียนให้ดีจริงๆคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักหรอก คุณลองไปอ่านคำแนะนำสำหรับนักเขยีนมือใหม่ที่เขียนเองดูสิ นั่นละคือสิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อมจะเผชิญ การเป็นนักเขียนมันคล้ายๆกับการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง หากคุณเตรียมพร้อมดีๆ แล้วก็ออกเดินทางด้วยความมั่นใจ หัวใจที่เต็มเปี่ยม และความพยายามอย่างหาที่เปรียบมิได้ คุณก็จะถึงฝันได้เองไม่นานเกินรอ ยิ่งทุ่มเทให้ มันเท่าไรผลกลับมาก็มากเท่านั้นเหมือนกันลงทุนซื้อยานไปมาก แต่กลับไปไหนไม่ได้ หรือไปได้ครึ่งทางก็เสียซะเนี่ย แต่เมื่อไปได้แล้ว บางทีมันก็ยากที่จะกลับ บางทีคุณเขียน จนรวมแล้วแต่มันยังไม่จบคุณอยากจะเลิก แต่ใครเค้าจะให้คุณเลิกเสียดื้อๆละ แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นคงอีกยาวไกล ผมต้องผ่านอะไรอีกมาก ชีวิตมันไม่ได้มีแค่นี้ มีอีกหลายสิ่งที่ผมต้องเรียนรู้และตัดสินใจที่จะก้าวต่อไป ทางเดินมีให้เลือกมากมาย คุณจะก้าวไปทางไหน แต่อย่าลืมว่าเวลาหวนหลับไปได้ บางทีคุณต้องลืมอดีตที่เจ็บช้ำไปหากก้าวผิด และเริ่มต้นใหม่โดยเรียนรู้จากมันไปเรื่อย ไม่มีอะไรที่จะไกลเกเอื้ม หากคุณมีความพยายามที่มากจริงๆ สักวันคุณจะได้เป็นดังฝัน เพราะโลกนี้ไม่เคยมีอะไรได้มาง่ายๆ หากแต่อย่าลืมว่าไม่มีสิ่งใดที่มันไกลเกินมนุษย์อย่างเราจะไขว่คว้า เขาทำได้ เราก็ต้องทำได้ เพราะเราคือมนุษย์เหมือนกัน อยู่บนโลกที่แสนจะสวยงามเหมือนกัน หากแต่อย่าให้มีความอิจฉาอยู่ในหัวใจก็พอ คุณอาจจะไม่ได้วันนี้ แต่พรุ่งนี้ก็ยังมี ดวงอาทิตย์ยังขึ้นที่ทิศตะวันออกตลอดเวลา คุณก็จะสามารถเริ่มชิวิตใหม่ได้ตลอดเวลา หากลืมความเจ็บปวดละทิ้งความเกลียดชัง ความอิจฉา และเริ่มใหม่ไปเริ่มใหม่ไปเรื่อยๆ ก็เป็นชีวิตที่มีรสชาติเหมือนกันนะ เอาเลย มุ่งหน้าไป เดินไปตามทาง.... (อย่าหลงทางละ) ก้าวไปอย่าช้า แต่มั่นใจ ดีกว่าการรีบร้อนก้าว แล้วสะดุดครั้งใหญ่ อย่ากลัวอุปสรรคที่มาขวางกั้น ยิ่งผ่านได้มากเท่าไรเราก็ยิ่งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
เอาละครับ ทั้งหมดนี้ก็เป้นความเป็นมาทั้งหมดของผมที่กว่าจะมาเป็นเคปแลนด์ได้ก็เล่นเอาเหงื่อตก บางทีชีวิตก็ต้องละทิ้งบางอย่าง เพื่อจะให้ได้กับอีกบางอบ่าง ก็เหมือนกันผมอาจจะต้องสูญเสียบางอย่างไปบ้าง แต่อย่างน้อยก็ได้รับผมตอบแทนที่คุ้มค่า มันคือประสบการณ์ชีวิตอย่างหนึ่ง คงมีเด็กไม่มากหรอกที่มาได้ไกลเหมือนผม และหากมาได้ก็คงรู้ดีถึงความลำบากลำบนที่ผมเขียนมาเป็นอย่างดี ผมรู้ว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่อยากจะเป็นนักเขียน
จงจำไว้ว่า พยายามเข้าไว้ แล้วก็จะสำเร็จเอง ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์เราทำไม่ได้หรอก หุหุ เอาละครับผมสัญญาว่าเราคงจะใช้คำนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้วนะครับ เพราะเราต้องจากกันแล้ว อย่าลืม ถึงเวลาแล้ว ที่คุณต้องเลือกที่จะก้าวต่อไป ไม่ใช่ผม ผมได้เพียงชี้ทาง คุณมีหน้าที่เดินไปตามทางที่คุณฝัน ไม่แน่น่ะครับ เราอาจจะได้เจอกันก็ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ โชคดีครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลาอ่านน่ะครับ


                             -- ดนตรีเพื่อชีวิต --                          

             
ทางเว็บมีความยินดีที่จะเสนอบทเพลง
ที่แสนเอร็ดอร่อยให้ท่านได้ลิ้มลอง
เพลง Jurassic Park Theme ครับ
ความยาวทั้งหมด 7.56 นาที


คำแนะนำ

  • ในกรณีที่คุณต้องการจะฟังเพลงนี้ กรุณากดหยุดเพลง
    (Stop ไม่ใช่ Pause )ที่หน้าอื่น
    หรือโปรแกรมใดก็ตามที่จะส่งผลต่อ sperker ด้วยนะครับ
    เช่น Window Media Player เป็นต้นครับ
    มิเช่นนั้นแล้วจะไม่ได้ยินเสียงดนตรีครับ
  • หากไม่ต้องการก็กด Stop นะครับ
    อย่ากด Pause จะทำให้ Sperker คุณไม่ทำงานครับ


              







    comments this site
    คุณผู้เยี่ยมชมคนที่
    ของเว็บเรา

    requirement เงื่อนไข
    Internet Explorer 5+
    Best view : 1024x768 pixels
    Text Size : Medium or Larger
    Encording : Thai (window)

    Copyright 2002 - 2003 | All right reserved | Jimmysnitcher

    TARAD.com
    YES! Magazine
    ???????????? ??????????????????




    OZONE Publishing

    69 ROOM



    ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบ
    Thailand Web Directory

    จุดนัดพบของนักอ่าน นักเขียน ทุกเพศทุกวัย
    ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบ


    ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบ

    ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบ

    ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการไม่รู้จบ

                                   

    บริการแลกลิ้งครับ
    ใครที่ต้องการแลกลิ้งค์
    สามารถก็อป
    ข้อความจากด้านบน
    ไปใส่ในเว็บเพจตัวเอง
    ได้เลยครับ
    อันไหนก็ได้นะครับ
    แต่ไม่แนะนำอันสุดท้าย
    เพราะไฟล์ใหญ่ครับ
    เมื่อเสร็จแล้วติดต่อ
    มาหาผมได้เลยนะครับ
    คลิ้กที่นี่เลยครับ
    ขอบคุณมากครับ

     

     








    Hosted by www.Geocities.ws

    1