Graphic ComScience

บทที่ 6

การใช้งานฟอร์มกับ PHP

 

ฟอร์มทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารหรือโต้ตอบกับผู้ใช้เว็บไซต์ในลักษณะการรับส่งข้อมูล  เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลในฟอร์มและคลิกปุ่มส่งข้อมูล  ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกส่งไปประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์    ฟอร์มจะประกอบไปด้วยอ็อบเจ็คต์ต่างๆ ซึ่งแต่ละอ็อบเจ็คต์ก็มีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้แตกต่างกันไป  รายละเอียดการทำงานแต่ละอ็อบเจ็คต์จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป      นอกจากนั้นภายในแท็กฟอร์มยังมีพารามิเตอร์ที่เราสามารถกำหนดค่าเป็นการระบุให้ส่งค่าไปยังไฟล์สคริปต์บนเซิร์ฟเวอร์หรือโปรแกรมอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ถูกส่งมากับฟอร์มได้อีกด้วย

รูปแสดงการทำงานของฟอร์ม

วิธีการทำงานของฟอร์ม

จากรูปด้านบน  แสดงวิธีการทำงานของฟอร์มดังนี้

1)       เริ่มต้นเมื่อผู้ใช้กรอกแบบฟอร์มบนเว็บเพจและคลิกปุ่มส่งข้อมูลมาที่เว็บเซิร์ฟเวอร์

2)       ข้อมูลจากฟอร์มจะถูกประมวลผลที่ไฟล์ PHP, ASP หรือไฟล์ CGI อื่นๆบนเว็บเซิร์ฟเวอร์

3)       เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว  ผลลัพธ์จะถูกส่งกลับไปให้ผู้ใช้ในรูปแบบเอกสาร HTML เพื่อให้เว็บเบราเซอร์แสดงผล

การสร้างและใช้งานฟอร์มกับ PHP

ขั้นตอนการสร้างฟอร์ม:

1.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   หลังจากนั้นคลิกปุ่ม  Create  บันทึกเป็นไฟล์  form.php

2.        ที่หน้าจอของเว็บเพจ  ให้คลิกเพื่อวางเคอร์เซอร์ในตำแหน่งที่ต้องการสร้างฟอร์ม  หลังจากนั้นคลิกที่เมนู
Insert > Form > Form    ฟอร์มจะถูกแทรกลงในเว็บเพจ  หากอยู่ใน  Design View  จะเห็นขอบเขตของฟอร์มแสดงเป็นเส้นประสีแดง  (หากไม่มีเส้นประสีแสดงขึ้นมา  ให้คลิกที่เมนู  View > Visual Aids > Invisible Elements)

 

รูปแสดงเว็บเพจที่แทรกฟอร์ม

3.        คลิกวางตำแหน่งเคอร์เซอร์ลงภายในขอบเขตของฟอร์ม  หลังจากนั้นให้คลิกเลือกแท็ก  <form>  จาก Tag Selector  บริเวณขอบล่างซ้ายของเว็บเพจ     เมื่อปรากฏไดอะล็อก Properties  ช่อง Form Name  ให้กำหนดชื่อของฟอร์ม เท่ากับ  fmProcess  ชื่อของฟอร์มนี้จะถูกใช้เพื่ออ้างอิงในสคริปต์  PHP

 

รูปแสดง Property ของฟอร์ม

4.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Action  ให้กำหนดชื่อไฟล์ หรือ URL ของสคริปต์ที่จะใช้ในการประมวลผลฟอร์ม เท่ากับ  formprocess.php    (หากต้องการระบุเป็น URL  ให้พิมพ์เป็น   http://localhost/phpweb/formprocess.php)

 

5.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Method  ให้เลือกรูปแบบการส่งข้อมูลจากฟอร์มไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งมีให้เลือก 3 รูปแบบ คือ

การทำงานของ METHOD:

·        POST      ส่งข้อมูลโดยส่งข้อมูลส่งไปกับ HTTP Request 

·        GET        ส่งข้อมูลโดยการแปะค่าเป็น URL Parameter (Query String) ไปกับ URL (ข้อมูลที่ส่งจะแสดงอยู่บน URL ของเว็บเบราเซอร์)

·        DEFAULT             ส่งข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับค่า default ของเว็บเบราเซอร์  โดยปกติจะเป็นแบบ GET

 

NOTE: วิธีการส่งข้อมูลแบบ  GET  ไม่ควรใช้กับฟอร์มที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมาก  รวมทั้งไม่ควรใช้ในการส่งข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น  username,  password  หรือเลขที่บัตรเครดิต  เป็นต้น  เนื่องจากวิธีการส่งแบบ GET นี้  ข้อมูลที่เราส่งจะถูกแสดงบน URL  เช่น  http://localhost/phpweb/detail.php?empid=01020489

 

6.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Enctype  ให้ระบุชนิดของการเข้ารหัสข้อมูล    โดยค่า default  ของ Enctype  จะเป็น  application/x-www-form-urlencode  ซึ่งจะถูกใช้ร่วมกับ method แบบ POST    หากใช้ฟอร์มในการอัปโหลดไฟล์  ให้เลือก Enctype เป็นแบบ  multipart/form-data 

7.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Target  ให้พิมพ์ชื่อหน้าจอของเว็บเบราเซอร์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ของฟอร์มหรือเลือกจากรายการที่กำหนดไว้ให้  หากเว็บเบราเซอร์ยังไม่มีชื่อหน้าจอที่ระบุ  เว็บเบราเซอร์จะสร้างหน้าจอชื่อที่ระบุขึ้นมาใหม่   ตัวเลือกที่กำหนดไว้ให้ในช่อง Target

การทำงานของ TARGET:

·        _blank           ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่

·        _parent          ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก (parent) ของหน้าจอเว็บเบราเซอร์ขณะนั้น

·        _self              ผลลัพธ์จะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์เดียวกับฟอร์ม

·        _top               ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก  ในกรณีที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์แบ่งเป็นหลายเฟรม

8.        คลิกปุ่ม Code View   *   เพื่อเขียนโค้ด HTML ดังรูปด้านล่าง  หลังจากนั้นบันทึกไฟล์  form.php

 

<html>

<body>

<form action="formprocess.php" method="POST" name="fmProcess">

  ชื่อ: <input name="firstname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>

  นามสกุล: <input name="lastname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>

  <input name="btnSubmit" type="submit" value="บันทึก">

  <input name="btnReset" type="reset" value="ยกเลิก"

</form>

</body>

</html>

รูปแสดงโค้ดไฟล์ form.php

9.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   คลิกปุ่ม  Create        หลังจากนั้นให้เพื่อเขียนโค้ด PHP  ดังรูปด้านล่าง  บันทึกเป็นไฟล์  formprocess.php

<html>

<body>

 

<?php

echo "ชื่อ: " . $_POST['firstname'] . "<br>";

echo "นามสกุล: " . $_POST['lastname'] . "<br>";

?>

 

</body>

</html>

รูปแสดงโค้ดไฟล์ formprocess.php

10.     ทดสอบการทำงานของฟอร์ม  โดยเปิด Dreamweaver MX ไปที่หน้าจอไฟล์  form.php  หลังจากนั้นกดปุ่ม  F12   จะปรากฏหน้าจอ Internet Explorer เป็นแบบฟอร์มกรอกข้อมูล  ให้กรอกข้อมูล แล้วคลิกปุ่ม "บันทึก"   ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ form.php

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ formprocess.php

11.     เปลี่ยน METHOD ของฟอร์มในไฟล์  form.php  จาก   METHOD="POST"  เป็น  METHOD="GET" 

12.     เปลี่ยนชื่อตัวแปรในไฟล์  formprocess.php  จาก  $_POST['firstname’]  เป็น  $_GET['firstname']  
และ  
$_POST['lastname']  เป็น  $_GET['lastname']

13.     ทดสอบการทำงานของฟอร์มใหม่อีกครั้ง   ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ

 


 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ของฟอร์มชนิดต่างๆ

 

 

อ็อบเจ็คต์ คือส่วนของฟอร์มที่ใช้ในการรับข้อมูลจากผู้ใช้  ก่อนที่จะแทรกอ็อบเจ็คต์ลงบนเว็บเพจ  ต้องมีการสร้างหรือแทรกฟอร์มลงในเว็บเพจก่อนเสมอ     หากมีการแทรกอ็อบเจ็คต์ลงในส่วนที่ไม่มีฟอร์ม      Dreamweaver  จะถามโดยปรากฏไดอะล็อก “Add form tags?”  ให้เลือก  Yes  เพื่อให้  Dreamweaver  สร้างแท็กฟอร์มสำหรับอ็อบเจ็คต์นั้น

 

รูปแสดงฟอร์มและอ็อบเจ็คต์บน Insert Bar

 

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Text Field

อ็อบเจ็คต์ชนิด Text Field  จะมีหน้าที่ในการรับค่าข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลหรือส่งค่าบางอย่างที่ต้องการค้นหา  เช่น  ใช้ในการค้นหาข้อมูล (Search Engine)  เป็นต้น   

วิธีการสร้าง Text Field  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Text Field       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Text Field  โดยให้คลิกเลือกที่  Text Field  ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Text Field แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Text Field แบบ Single line

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Text Field:

·        TextField                                กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Text Field

·        Char Width             กำหนดความกว้างของ Text Field

·        Max Chars              กำหนดจำนวนตัวอักษรสูงสุดที่กรอกข้อมูลได้ของ Text Field

·        Type                       กำหนดชนิดของ Text Field  มี 3 ลักษณะ คือ

o       Single Line     กำหนดให้แสดงเป็นแบบบรรทัด (Textarea)

o       Multi Line       กำหนดให้แสดงเป็นแบบหลายบรรทัด 

o       Password        กำหนดให้แสดงแบบรหัสผ่าน

·        Init Val                    กำหนดค่าเริ่มต้น

 

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Text Field

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Textarea

อ็อบเจ็คต์ชนิด Textarea  จะมีหน้าที่ในการรับค่าข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เช่น ที่อยู่ เป็นต้น   

วิธีการสร้าง Text Field  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Textarea       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Textarea  โดยให้คลิกเลือกที่  Textarea  ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Textarea  แสดงในไดอะล็อก Properties

 

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Textarea

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Textarea:

·        TextField                                กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Textarea

·        Char Width             กำหนดความกว้างของ Textarea

·        Max Chars              กำหนดจำนวนตัวอักษรสูงสุดที่กรอกข้อมูลได้ของ Textarea

·        Type                       กำหนดชนิดของ Textarea  คือ Multi Line

·        Init Val                    กำหนดค่าเริ่มต้น

 

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Textarea

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Button

อ็อบเจ็คต์ชนิด Button มักถูกนำมาใช้เพื่อทำหน้าที่ในการยืนยันการเพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูล การลบข้อมูล หรือยกเลิกการใช้งาน

วิธีการสร้าง Button  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Button       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Button   โดยให้คลิกเลือกที่  Button ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Button แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Button

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Button:

·        Button name           กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Button

·        Label                      กำหนดข้อความที่จะแสดงบนปุ่ม Button

·        Action                     กำหนดชนิดของ Action มี 3 ลักษณะ คือ

o       Submit Form                   กำหนดให้ใช้สำหรับส่งฟอร์มไปประมวลผล

o       Reset Form                     กำหนดให้ใช้สำหรับยกเลิกการกรอกข้อมูลในฟอร์ม 

o       None                               กำหนดให้เป็นปุ่มที่คลิกแล้วไม่ทำงานใดๆ

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Button

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Check Box

อ็อบเจ็คต์ชนิด Check Box ทำหน้าที่เพื่อแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้ได้เลือกตัวเลือกที่กำหนดให้  ซึ่งสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก 

วิธีการสร้าง Check Box  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Check Box     เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Check Box   โดยให้คลิกเลือกที่  Check Box ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Check Box แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Check Box

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Check Box:

·        CheckBox               กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Check Box

·        Checked Value      กำหนดค่าให้ Check Box

·        Initial State             กำหนดสถานะเริ่มต้นเมื่อแสดงบนเว็บเพจ  มี 2 ลักษณะ คือ

o       Checked         กำหนดให้เริ่มต้นโดยให้สถานะเป็นถูกเลือกไว้

o       Unchecked     กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะไม่ให้ถูกเลือก

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Check Box

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Radio Button

อ็อบเจ็คต์ชนิด Radio Button ทำหน้าที่เพื่อแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้ได้เลือกตัวเลือกที่กำหนดให้  ซึ่งสามารถเลือกได้เพียง  1 ตัวเลือกเท่านั้น  เช่น  การเลือกระบุเพศ  ชาย หรือ หญิง  จะเป็นการเลือกเพศใดเพศหนึ่งเพียงเพศเดียวเท่านั้น

วิธีการสร้าง Radio Button ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Radio Button       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Radio Button  โดยให้คลิกเลือกที่  Radio Button ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Radio Button แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Radio button

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Radio Button:

·        RadioButton            กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Radio Button  หากเป็นการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตัวเลือกตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป  จะต้องกำหนดชื่อของ Radio Button ทุกตัวให้ชื่อเหมือนกัน  มิฉะนั้น การทำงานของ Radio Button จะไม่ถูกต้อง

·        Checked Value      กำหนดค่าให้ Radio Button

·        Initial State             กำหนดสถานะเริ่มต้นเมื่อแสดงบนเว็บเพจ  มี 2 ลักษณะ คือ

o       Checked         กำหนดให้เริ่มต้นโดยให้สถานะเป็นถูกเลือกไว้

o       Unchecked     กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะไม่ให้ถูกเลือก

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Radio Button

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ List/Menu

อ็อบเจ็คต์ชนิด List/Menu  ทำหน้าที่เพื่อกำหนดค่าโดยที่ใช้ไม่ต้องพิมพ์ตัวเลือกที่ต้องการลงไป  เพียงแค่คลิกเลือกรายการต่างๆ ที่ไดกำหนดไว้ให้แล้วเท่านั้น  สามารถเลือกได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น   

วิธีการสร้าง List/Menu  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > List/Menu         เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ List/Menu    โดยให้คลิกเลือกที่  List/Menu  ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ List/Menu  แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดงการกำหนด Property ของอ็อบเจ็คต์ List/Menu

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ List/Menu:

·        List/Menu                               กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ List/Menu

·        Type                                       เลือกการทำงานเป็นแบบ Menu หรือ List

·        Initially Selected    แสดงค่าตัวเลือกที่กำหนดมาจาก List Values

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ List/Menu

 

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ File Field

อ็อบเจ็คต์ชนิด File Field นี้  ทำหน้าที่ในการแสดงรายชื่อไฟล์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเลือกไฟล์เหล่านั้นขึ้นมาใช้งาน  เช่น  การอัปโหลดไฟล์  เป็นต้น         

วิธีการสร้าง File Field ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > File Field       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ File Field   โดยให้คลิกเลือกที่  File Field  ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ File Field  แสดงในไดอะล็อก Properties

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ File Field

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ File Field:

·        FileField                กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ File Field

·        Char Width             กำหนดความกว้างของ File Field

·        Max Chars              กำหนดจำนวนตัวอักษรสูงสุด

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ File Field

 

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Hidden Field

อ็อบเจ็คต์ชนิด Hidden Field นี้  จะทำงานในลักษณะล่องหน  กล่าวคือ  มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูล ที่ได้รับจากการใช้งานฟอร์มต่างๆ  ซึ่งฟิลด์แบบ Hidden Field นี้  จะไม่มีการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งานฟอร์ม แต่อย่างใด  รวมทั้งไม่มีการแสดงผลบนหน้าเว็บเพจด้วย    

วิธีการสร้าง Hidden Field ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Hidden Field       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ Hidden Field  โดยให้คลิกเลือกที่  Hidden Field  ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Hidden Field แสดงในไดอะล็อก Hidden Field

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Hidden Field

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Hidden Field:

·        HiddenField            กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Hidden Field

·        Value                      กำหนดค่าเริ่มต้นสำหรับ Hidden Field

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Hidden Field

 

การใช้งานอ็อบเจ็คต์ Image Field

อ็อบเจ็คต์ชนิด Image Field นี้  เราสามารถใส่รูปลงในฟอร์มเพื่อทำให้เว็บเพจนั้นดูมีสีสันดูสวยงามขึ้นยิ่งขึ้น หรืออาจใช้ประโยชน์ในการใช้แทนปุ่ม Button ก็ได้    

วิธีการสร้าง Image Field  ทำได้โดยการคลิกเมนู  Insert > Form > Image Field       เสร็จแล้วให้กำหนดคุณสมบัติของ List/Menu    โดยให้คลิกเลือกที่  Image Field ในเว็บเพจ  หลังจากนั้นให้ไปที่เมนู  Window > Properties  จะปรากฏคุณสมบัติของ Image Field แสดงในไดอะล็อก Image Field

รูปแสดง Property ของอ็อบเจ็คต์ Image Field

คุณสมบัติของอ็อบเจ็คต์ Image Field:

·        ImageField             กำหนดชื่อของอ็อบเจ็คต์ Image Field

·        W                            กำหนดค่าความกว้างของ Image Field ที่แสดง

·        H                             กำหนดค่าความสูงของ Image Field ที่แสดง

·        Src                          ชื่อไฟล์รูปภาพของ Image Field ที่แสดง

·        Alt                           กำหนดข้อควาที่จะใช้แสดงแทน ในกรณีที่ไม่พบไฟล์รูปภาพ

·        Align                       กำหนดตำแหน่งการแสดง Image Field

 

รูปแสดงการใช้งานอ็อบเจ็คต์ Image Field

Exercise:

 

1.       สร้างฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลพนักงาน บันทึกเป็นไฟล์  htmlform.htm  ดังรูปด้านล่าง

Hint:

-          ประยุกต์การใช้งานแท็ก  <TABLE>  <IMG>  <A>  และ  <FORM>

-          Backgroung Image ใช้ไฟล์  PHPWEB\images\bkg_insert.gif

-          Title  ใช้ไฟล์  PHPWEB\images\title_insert.gif

 

 

About Us | Privacy Policy | Contact Us | ©2006 ComputerGraphs

Hosted by www.Geocities.ws

1