<< หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links  >>

 

   การบินด้วยอุดมการณ์ที่ปลอดภัย

คน  เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุ สถิติอากาศยานอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากคนปรากฏว่ามีมากกว่าสิ่งอื่น ดังนั้นเราควรที่จะรีบปลูกฝังจิตใจให้มีอุดมการณ์ที่มีความปลอดภัยต่อการบิน เสียแต่แรกเริ่ม

นักบิน เป็นมนุษย์ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ที่มีจิตใจสำนึกเหมือนบุคคลทั่วไป แต่งานอาชีพเท่านั้นที่ผิดแปลกไปจากบุคคลอื่น ที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายอยู่เสมอทุกขณะที่ทำการบิน ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้อยู่บนพื้น อันเป็นสภาวะที่มนุษย์โลก
อยู่ด้วยอากาศปกติ สัญชาติญาณของมนุษย์เมื่อมีสิ่งผิดปกติมาเป็นตัวคอยกระตุ้น ที่ผิดไปจากธรรมดา ก็จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มีชีวิตในโลกมีสัญชาติญาณอันหนึ่งที่เหมือนกันนั้นคือการักตัวกลัวตายไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์

อุดมการณ์ที่จะปลูกฝังให้แก่นักบิน สามารถจัดให้อยู่ในรูปของการให้สิ่งหนึ่งต่อจิตสำนึกของนักบินผู้นั้น โดยอาศัยสิ่งนำทางคือ การกระตุ้นต่อสัญชาติญาณที่มีอยู่แล้ว จากการสอบถาม นักบินโดยเฉลี่ยภายในฝูงบิน ประมาณการได้ว่า ไม่มีนักบินคนใดที่ต้องการจะให้อากาศยานของตนเองเสีย หรือพบวิกฤติการณ์ในขณะที่ทำการบินอยู่ แต่เมื่อมีเหตุสุดวิสัย เช่นเครื่องยนต์กลไกขัดข้อง นักบินอยู่นั้นเขาจะใช้ความสามารถและความพยายามอย่างที่สุดเท่าที่จะมีอยู่ บังคับอากาศยานนั้นลงสัมผัสพื้นด้วยความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาชีวิตตนเองเป็นอันดับแรก

อุดมการณ์การบินที่ปลอดภัยนักบินสามารถจะรับไว้จากหลายด้าน เช่น

จากเพื่อนักบินด้วยกัน เล่าสู่กันฟังในเรื่องประสพการณ์การบินที่ผ่านมา , จากนักบินอาวุโส
จากการศึกษาหาความรู้ในคู่มือการบิน , จากการแถลงย่อก่อบิน ,จากข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเทคนิคการบิน 
จากการทบทวนเหตุการณ์ฉุกเฉิน และผลที่ได้รับจากเหตุการณ์นั้น
จากคำติชมจากผู้บังคับบัญชา

สามประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สองประการแรกจะเป็นแบบธรรมดา ที่การกระตุ้นมีน้ำตาน้อยกว่าประการสุดท้าย การกระตุ้นให้แก่สัญชาติญาณ เมื่อเกิดอุดมการณ์ในด้านการบินดังสามประการที่กล่าวมาจะให้ค่าทางบวกมากกว่าทางลบ เหตุผลก็คือ เป็นการกระตุ้นที่ตรงเป้าหมายต่อสัญชาติญาณของผู้ที่ทำการบินอย่างที่สุด

คำยกย่องชมเชยนี้อาจจะออกมาในรูปของการยกย่องว่าสมควรเป็นนักบินตัวอย่างในการปฏิบัติการกิจของแต่ละครั้ง อาจจะได้รับการปรบมือเพื่อเป็นเกียรติ เป็นกำลังใจในความสามารถของเขาที่แก้ไขเหตุการณ์ วิกฤติการณ์ของอากาศยานไม่ผ่านพ้นไปด้วยดี หรืออาจเป็นคำชมเชยเป็นลายลักษณ์ เป็นการภายในของแต่ละกองบิน ฯลฯ

โดยเฉพาะคำชมเชยที่เป็นการให้กำลังใจ เช่น นักบินผู้นั้นสามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ที่เกิดแก่อากาศยานที่ตนเองบังคับอยู่ จากภาวะที่เลวร้ายน่าสะพึงกลัวให้กลับเข้าสู่ท่าปกติและนำลงพื้นโดยปลอดภัย คำชมเชยนี้จะมีอิทธิพลต่อจิตใจมาก ยิ่งท่าได้รับจากผู้บังคับบัญชาและนักบินอาวุโส

นักบินที่ได้รับคำยกย่องนี้ ได้รับอุดมการณ์สิ่งหนึ่งจากผู้บังคับบัญชา โดยที่ไม่รู้ตัวซึ่งผู้บังคับบัญชาสอดแทรกเข้าไปในรูปการยกย่องชมเชย คำยกย่องชมเชยนี้จะให้ประโยชน์ต่ออีก 3 ประการคือ

ในทางน้ำใจ นักบินผู้นั้นจะมีความรู้สึกว่ามีผู้บังคับบัญชาคอยให้ความสนใจต่องานที่ปฏิบัติ เกิดความอบอุ่น มีขวัญดี และร่วมทุกข์กับสุขด้วยกัน ผู้บังคับบัญชาจะคอยรับฟังผลการปฏิบัติของตนตลอดเวลา เกิดความสัมผัสทางด้านจิตใจช่องว่างระหว่างบ่าวและนายจะหมดไป

ให้ทางพลังบังคับ นักบินที่ได้รับคำชมจะถูกบังคับโดยทางอ้อม โดยที่ว่าตนทำดีจนได้รับคำยกย่องแล้ว อย่างน้อยการปฏิบัติงานต่อ ๆ ไป จะต้องได้ดีเท่าทีทำมา เพราะว่าถ้าเกิดพลาดเสียหายขึ้น นอกจากจะอับอายเพื่อนฝูงแล้ว ตนเองจะเกิดปมด้อยที่ว่าไม่สามารถรักษาความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาได้

ให้ดุลย์ต่อการพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด ทำให้เกิดความเฉียบขาดในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างเช่น “ ถ้าทำดีผมยกย่อง แต่ถ้าผิดพลาดผมทำตามระเบียบ “

จะเห็นได้ว่า เมื่อท่านบินดีแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่เคยผิดวินัยการบิน จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา จนได้รับคำยกย่องชมเชย นักบินผู้นั้นก็จะรักษาระดับนี้ตลอดการบินหรือเกิดความประมาท ทั้งนี้เพื่อรักษา
สถานภาพของตนไว้ อุดมการณ์นักบินที่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ยากที่จะปลูกฝังให้แก่นักบินภายใน หน่วยบินของท่าน ถ้าท่านรู้จักช่วงระยะเวลาที่รีบหยิบยกให้แก่นักบินของท่าน

                            ที่มาข้อมูล :  

<<  ย้อนกลับ >> 

[Click for top]


[ Home ]  [ History ]  [ Organization ]  [ Commander ]  [ Aircraft ]  [  Flying Safety  ]


Suggestions: mailto:[email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1