<< หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links  >>

 

๑๗๘ นาทีในสภาพอากาศปิด

     
 

 

  ๑๗๘ นาทีในสภาพอากาศปิด

   


นักบินที่ไม่เคยได้รับการฝึกบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมาก่อนเลย จะสามารถทำการบินในลักษณะสภาพอากาศปิด และมองไม่เห็นพื้นดินเลย ได้นานเท่าไร 

คำตอบนี้ทางสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยอิลลอนอยส์ได้ทำการทดลอง โดยให้นักบินที่ไม่เคยฝึกบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมาก่อนเลย จำนวน ๒๐ นาย ทำการบินด้วยอากาศยานจำลองและสมมุติสถานการณ์ให้บินในสภาพอากาศปิด ผลปรากฏออกมาว่า ไม่มีใคร่ที่จะสามารถทำการบินไปได้ตลอด อากาศยานพุ่งลงชนพื้นดินทั้งหมด ผู้ที่บินได้ดีที่สุดและนานที่สุด บินได้นานถึง ๘ นาที หรือ ๔๘๐ วินาที ส่วนนักบินที่บินอยู่ได้ในเวลาที่สั้นที่สุด เพียง ๒๐ วินาที่เท่านั้น และสรุปผลเวลาเฉลี่ย ได้นาน ๑๗๘ วินาที หรือเกือบ ๓ นาทีเท่านั้น

สถานการณ์ที่สมมุติให้ทำการทดลองเป็นดังนี้ ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมโดยทั้วไป ทัศนะวิสัยจำกัด และตามที่นักบินได้รับรายงานจากหอบังคับการบิน แจ้งว่า ทัศนะวิสัยประมาณ ๕ ไมล์ แต่อันที่จริงดูแล้วน่าจะเป็นเพียง ๒ ไมล์ เท่านั้น ท่านไม่ทราบว่า ความสูงยอดเมฆที่อากาศแจ่มใสเป็นเท่าใด

ขณะที่เครื่องวัดความสูงชี้ที่ ๑,๕๐๐ และท่านรู้ว่าภูมิประเทศข้างล่างสูง ๑,๒๐๐ ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล โดยดูจากแผนที่ และก็ไม่แน่ใจว่าจะมีพวกเสาวิทยุ เสาอากาศสูงๆ อยู่ด้วยหรือไม่ อีกอย่างหนึ่ง ท่านก็รู้ตำแหน่งที่อยู่ของท่านโดยประมาณเท่านั้น อาจจะตกซ้ายหรือขวานิดหน่อยก็ได้ทั้งนี้เพราะท่านไม่เคยสนใจใช้เทคนิคการเดินอากาศโดยการใช้วิทยุช่วยในการเดินอากาศรักษาเส้นทางบินเลย แต่ไม่เป็นไร อากาศเลวยิ่งกว่านี้ ก็เคยบินมาแล้ว เมฆหรือฝนเป็นหย่อมๆ ทำให้มองไปข้างหน้าไม่ดีเดี๋ยวเห็นเดี๋ยวไม่เห็น
ความรู้สึกใต้สำนึกจะทำให้ท่านดึงคันบังคับมาข้างหลังเล็กน้อย เพื่อให้พ้นสิ่งกีดขวาง เช่น พวกเสาวิทยุต่างๆ และแล้วท่านก็หลุดเข้าไปในเมฆโดยไม่ทันรู้ตัว มองเห็นแต่เมฆขาวไปหมดรอบด้าน ท่านเริ่มรู้สึกตื่นกลัวเล็กน้อย แต่ก็ยังมีความหวังว่า อีกประเดี๋ยวก็คงจะพ้นน่ะ ในขณะเดียวกัน ก็รู้สึกเหมือนกับว่า เจอของจริงแล้ว
ขณะนี้ท่านจะมีเวลาเหลืออยู่เพียง ๑๗๘ นาที อากาศยานของท่านอยู่ในอากาศที่ดี แล้วท่านสังเกตเห็นเข็มทิศค่อย ๆ หมุนไปอย่างข้าๆ แสดงว่าหัวเครื่องเริ่มเลี้ยวไป ท่านก็แก้มันให้หยุดเลี้ยวโดยอาศัยการดูเครื่องวัดๆประกอบ แต่ทว่ามันฝืน ๆ กับความรู้สึกอย่างไรชอบกล เอาละมันหยุดหมุนแล้ว และท่านก็คืนคันบังคับให้อยู่ในตำแหน่งปกติเป็นบินตรงบินระดับต่อไป  แต่เข็มทิศมันเริ่มหมุนอีกแล้ว หมุนเร็วกว่าเดิมด้วยซ้ำ และความเร็วในเครื่องวัดๆ เพิ่มกว่าปกติเล็กน้อย ท่านกวาดสายตาตรวจดูเครื่องวัดๆทั่วๆไป เพื่อหวังอาศัยมันเป็นหลัก แต่ในขณะนี้มันกลับดูแปลกผิดหูผิดตาไปหมด เพราะความไม่เคยชิน ถึงอย่างไรก็ตามท่านก็ยังมีความมั่นใจอยู่ว่าท่านจะสามารถทำการบินต่อไปได้อีกหลายนาทีจนกว่าจะพื้นเมฆกลุ่มนี้  ท่านคิดผิดเสียแล้ว  ขณะนี้ท่านยังมีเวลาเหลืออยู่อีก  ๑๐๐ วินาที ท่านดูที่เครื่องวัดความสูงและต้องตกใจที่เห็นมันกำลังลดลงอยู่เรื่อย ๆ และชี้ที่  ๑,๒๐๐ ฟุต ซึ่งเท่ากับความสูงของภูมิประเทศพอดี  ด้วยสัญชาติญาณ ท่านก็ดึงคันบังคับมาข้างหลัง เพื่อให้อากาศยานได้สูงขึ้น แต่เข็มในเครื่องวัดความสูงมันกลับลดลงไปอีก หูท่านได้ยินเสียงรอบเครื่องยนต์ มันดังแรงขึ้น เข็มวัดความเร็วชี้เกือบถึงขีดแดงอยู่แล้ว
ขณะนี้ท่านยังมีเวลาเหลืออยู่อีก ๕๐  วินาที  ท่านรู้สึกว่าเหงื่อกาฬไหลออกมาท่วมตัว ไม่รู้ว่าจะบังคับเครื่องได้อย่างไรแล้ว ตั้งใจจะให้หลุดการเสียความสูง มันกลับกลายเป็นทำให้เข็มชี้ความเร็วชี้เกินขีดแดงไปเสียอีกหูของท่านเริ่มอื้อแล้วได้ยินแต่เสียงลมแรงที่พัดผ่านไปอย่างรวดเร็ว

ขณะนี้ท่านมีเวลาเหลืออีกเพียง  ๑๐ วินาที ทันใดนั้นท่านหลุดออกมาจากสภาพอากาศปิด เห็นพื้นเต็มหน้า ยอดต้นไม้วิ่งเข้ามาอย่างรวดเร็ว  และมองเห็นแนวขอบฟ้า แต่ทว่าอากาศยานของท่านอยู่ในอาการที่แก้ไม่ทันเสียแล้ว สิ่งที่ทำได้ในขณะนี้คือรอความตาย

ขณะนี้ท่านหมดเวลาเสียแล้ว ช้าไปเสียแล้ว ........ 

ที่มาข้อมูล :  พันเอก กรีฑา กูรมสุวรรณ

 ข่าวสารนิรภัยและซ่อมบำรุงอากาศยาน 

ศูนย์การบินทหารบก ฉบับที่ 40  เดือน พ.ย. 2527   

  <<<<  ย้อนกลับ   >>>> <<<<<<  เรื่องต่อไป  >>>>>>>>

[Click for top]


[ หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links ]


Suggestions: mailto:[email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1