<< หน้าแรก  |  ประวัติ |    การจัดหน่วย  |  ผู้บังคับหน่วย อากาศยาน |  นิรภัยการบิน  |  Links  >>

 

    แอลกอฮอล์กับการบิน 
โดย พันเอก บุญมา  ต๊ะวิชัย

<<
อ่านเรื่องต่อไป >>

วารสาร FLIGHT FLAX ฉบับประจำ 23 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยศูนย์นิรภัย ทบ. สหรัฐ ฟอร์ตรัดเกอร์ รัฐอลาบามา รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุทางอากาศ ได้จัดทำภาพยนต์สารคดีเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง “ แอลกอฮอล์,นักบินและอุบัติเหตุปัญหาว่าด้วยท่าบิน ( ALCOHOL, AVIATION ,AND  ACCIDENTS – A PROBLEM OF ATTITUDE ) เป็นภาพยนต์หมายเลข TF. ( VT. ) 46 – 6296 ใช้เวลาในการฉาย 23 นาที 13 วินาที

การถ่ายทำภาพยนต์เรื่องนี้ กระทำโดยอาศัยประวัติหลักฐาน ของศูนย์นิรภัย ทบ. และเน้นให้เห็นถึงผลของการเมาค้าง ( ALCOHOL HANGOVER ) ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่การบินหย่อนประสิทธิภาพทางจิตและร่างกาย อันเป็นผลมาจากความบกพร่องของการทำงานที่ซับซ้อน เช่น การตอบสนองของขบวนการไซโคมอเตอร์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบิน

นักบิน ทบ. อเมริกันส่วนมากเชื่อในกฎ 12 ชั่วโมง “ จากขวดถึงทร็อดเติล “ ( 12 hour Bottle – to – Throttle rule ) ซึ่งหมายความว่า เมื่อดื่มแก้วหลังสุดแล้วนับไปอีก 12 ชั่วโมงจะสามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย แต่ จากการวิเคราะห์
ของผู้เชี่ยวชาญซึ่งปรากฏในภาพยนต์นี้ชี้ว่า เวลา 12 ชั่วโมง ไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หมดไปจากร่างกายของมนุษย์
และแน่นอนที่สุดย่อมไม่เพียงพอในการที่จะขจัดอาการ แฮงโอเวอร์ ให้หมดไปได้ด้วย

ด้วยเหตุผลนี้ ความเชื่อที่มีต่อกฎ 12 ชั่วโมง จึงเป็นการเข้าใจผิดอย่างมหันต์ เพราะจากผลของการศึกษาวิจัย พบว่า การที่จะขจัดเชื้อ แอลกอฮอล์ 1 ออนซ์ ออกจากระบบของร่างกาย ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นักบินจึงควรเลิกเชื่อหลักเกณฑ์หยุดดื่ม 12 ชั่วโมง ก่อนบินเสียทีและหันมาเชื่อว่า การพักผ่อนเพื่อให้หายจากอาการเมาค้างย่อมใช้เวลานานกว่าแน่นอน เพราะกฎนี้ตั้งไว้สำหรับการดื่มจุ๊บจิ๊บ เพื่อการสังคมเท่านั้น ไม่ใช่การดื่ม เป็นขวด ๆ จน “ หัก “ หรือ “ ฟิวส์ขาด “

เมื่อได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านนิรภัยการบินจึงได้เสนอแนะว่า ถ้าดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้ว ให้บวกเวลาอีก 1 ชั่วโมงเข้ากับ 12 ชั่วโมง ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าดื่ม 4 แก้ว ก็ต้องรอนาน 16 ชั่วโมง จึงจะขึ้นบินได้ เป็นต้น

ตอนหนึ่งของภาพยนต์นี้ เป็นฉากเกี่ยวกับการบินของนักบินคนหนึ่ง ซึ่งบินในระยะต่ำ แต่ใช้ความเร็วสูง ผู้บังคับกองพันซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่งของนักบินผู้ช่วย แทนที่จะแก้ปัญหาหรือเข้าบังคับอากาศยานเสียเอง กลับปล่อยให้บินจนเกิดอุบัติเหตุ ผลการสอบสวนซึ่งมีแพทย์เวชศาสตร์การบินร่วมด้วย ปรากฏว่า ในคืนก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุนั้น ผบ.พัน ไม่เพียงแต่จะปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจัดงานเลี้ยงซึ่งมีการดื่มอย่างแหลกลาญเท่านั้น แต่ตัวเองยังได้เข้าร่วม เสวนาด้วยทั้ง ๆ ที่รู้ว่า วันรุ่งขึ้นมีภารกิจบิน

อุบัติเหตุครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งเกิดจากอาการ แฮงโอเวอร์ Flight flax เสนอว่า ภาพยนต์เรื่องนี้มีประโยชน์มาก ผบ.หน่วยบิน ทบ. และนายทหารนิรภัยการบิน ควรจะได้ขวนขวาย หามาฉายให้นักบินและเจ้าหน้าที่การบินของตนดูให้จงได้

 

              ที่มาข้อมูล :ข่าวสารนิรภัยและซ่อมบำรุงอากาศยาน ศูนย์การบินทหารบก ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธุ์ 2527      

<<<<  ย้อนกลับ >> <<  เรื่องต่อไป >>>>

[Click for top]


[ Home ]  [ History ]  [ Organization ]  [ Commander ]  [ Aircraft ]  [  Flying Safety  ]


Suggestions: mailto:[email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1