ประวิติโดยย่อของอีเทอร์เน็ต
             ในราวปี ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และบ.ซีร็อกซ์ได้ท้าทายความสามารถด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายที่ตังอยู่บนพื้นฐานบนโทโพโลยีแบบบัส โดยใช้ชื่อว่า“อีเทอร์เน็ต (Ethernet)” ในความจริงอีเทอร์เน็ตได้พัฒนามาจากรากฐานบนเครือข่ายPacket Radio ที่ใช้โปรโตคอลอะโลฮ่า (Aloha) โดยในช่วงแรกเริ่ม อีเทอร์เน็ตได้ใช้สายเคเบิลเส้นเดียวเพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอหลาย ๆ เครื่อง และมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุด             รูปที่ 10. Robert Metcalfe
เพียง 3 Mbps ซึ่งจัดได้ว่าช้ามากเมื่อเทียบกับมาตรฐานในปัจจุบันโดย
Robert Metcalfe ได้ร่างแบบเครือข่ายอีเทอร์เน็ตขึ้นมาครั้งแรก


รูปที่ 11. ภาพร่างเครือข่ายอีเทอร์เน็ตโดย Robert Metcalfe

             จากนั้นเป็นต้นมา อีเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัทซีร็อกซ์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้พัฒนาอยู่ในรูปแบบของ In-House Technology จนกระทั่งปี ค.ศ.1979 บริษัทซีร็อกซ์จึงตัดสินใจประกาศหาผู้ร่วมลงทุน เพื่อช่วยโปรโมตเทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตนี้ให้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยได้มีผู้ร่วมลงทุนอย่างบริษัท Digital Equipment Corporation (DEC) และบริษัท Intel และต่อมาก็มีการประกาศใช้มาตรฐาน DIX (Digital-Intel-Xerox) ที่ทำงานอยู่บนสายโคแอกเชียล โดยมาตรฐาน DIX จะอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็ว 10 Mbps
             บ็อบ เม็ทคาลเฟ (Bob Metcalfe) ได้คิดค้นระบบอีเทอร์เน็ตในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์และสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ได้หลังจากนั้นอีเทอร์เน็ตได้ถูก พัฒนาต่อที่ PARC (Palo Alto Research Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยของบริษัทซีร็อก (Xerox) รูปที่ 11 เป็นโครงสร้างของอีเทอร์เน็ตที่เม็ทคาลเฟออกแบบไว้คอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยทรานสซีฟเวอร์ (Transceiver) และแชร์สายสัญญาณสําหรับการรับส่งข้อมูล
             จุดประสงค์ของการสร้างอีเทอร์เน็ตในตอนแรกนั้นเพื่อให้นักวิจัยสามารถแชร์ข้อมูลร่วม กันได้เท่าน้ันไม่ใช่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ในสมัยแรกจะใช้สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coax) เป็นสายสัญญาณในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้น ในตอนนั้นอีเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่หน้าทึ่งมากในการใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยน้ัน เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเมนเฟรมที่มีราคาแพงมากมีน้อยคนที่สามารถซื้อระบบเฟรมมาใช้ และคนส่วนใหญ่จะไม่รู้จักการใช้เมนเฟรมแต่มีการพัฒนาอีเทอร์เน็ตทําให้การใช้คอมพิวเตอร์แพร่หลายมากขึ้น
             เม็ทคาลเฟได้เขียนอธิบายระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนาจากเครือข่ายอโลฮา (Aloha) ซึ่งถูกพัฒนาที่มหาวิทยาลัยฮายวาย ในทศวรรษ 1960 โดยนอร์แมน แอ็บแรมสัน (Norman Abramson) และเพื่อนร่วมงาน โดยได้พัฒนาวิทยุสื่อสารระหว่างเกาะต่าง ๆ การพัฒนานี้เป็นการพัฒนาเพื่อระบบแชร์สื่อกลางการรับส่งข้อมูลในที่นี้คือ อากาศที่เป็นสื่อนําคลื่นวิทยุนั้นเอง
             ในช่วงแรกนั้นอีเทอร์เน็ตเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทซีร็อกซ์บริษัทเดียวเท่านั้น ต่อมามาตรฐาน อีเทอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps ได้ประกาศใช้เมื่อปี1980 โดยความร่วมมือของ 3 บริษัท คือ DEC– Intel-Xerox เรียกสั้นว่า DIX และในขณะเดียวกัน IEEE ก็ได้พัฒนามาเป็นอีเทอร์เน็ตเช่นกัน คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้พัฒนามาจากมาตรฐานอีเธอร์เน็ตของ DIX มาตรฐานของ IEEE ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1985 และต่อมา ISO (International Organization for Standardization) ก็ยอมรับ เอามาตรฐาน IEEE 802.3 นี้เป็นมาตรฐานอีเทอร์เน็ตนานาชาติ ทําให้บริษัทใดก็ได้สามารถผลิต อุปกรณ์อีเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องเสียลิขสิทธิ์ให้กับใคร หลังจากน้ันทําให้การใช้อีเทอร์เน็ตแพร่ไป ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นเครือข่ายเทคโนโลยียอดนิยมในปัจจุบัน หลังจากที่ IEEE ได้ตีพิมพ์มาตรฐานอีเทอร์เน็ตต้ังแต่ปี 1985 และได้มีการพัฒนามาตรฐาน มาเรื่อย ๆ มาตรฐานแรกนั้นจะใช้สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet) และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้สาย โคแอ็กซ์แบบบาง (Thinnet) หลังจากนั้นได้พัฒนาสายสัญญาณอื่น ๆ เช่น สายคู่เกลียวบิดและสาย ไฟเบอร์ เป็นต้น และได้มีการปรับปรุงความเร็วมาเป็น 100 Mbps และ 1,000 Mbps ปัจจุบันมาตร ฐานล่าสุดของอีเทอร์เน็ตอยู่ที่ 10 Gbps

Copyright © Chaiwat Chingkaew and Rawiwan Pantaneeya