อีเทอร์เน็ต หรือ IEEE 802.3
             ปัจจุบันมาตรฐาน IEEE 802.3 ได้เข้ามาแทนที่มาตรฐานดั้งเดิมของอีเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แล้วกล่าวคือ คำว่าอีเทอร์เน็ตจะอ้างอิงถึงเครือข่ายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐาน IEEE 802.3 แต่ในบางครั้งอาจกล่าวได้ว่า IEEE 802.3 และอีเทอร์เน็ตมิใช่สิ่งเดียวกันซึ่งในเชิงเทคนิคแล้วคำตอยนี้ถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใดโดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อีเทอร์เน็ตเป็นมาตรฐานดั้งเดิมของบริษัทซีร็อกซ์ แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ทาง IEEE ก็ได้เริ่มพัฒนาโครงการ 802 ขึ้นมา และได้มีการประกาศนำมาตรฐาน 802.3 ออกมาใช้ซึ่งเดิมมาตรฐาน IEEE 802.3 นั้นมีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยในด้านรายละเอียดเมื่อเทียบกับมาตรฐานอีเทอร์เน็ตเดิมจากบริษัทซีร็อกซ์ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมักมีการใช้คำว่าอีเทอร์เน็ตและ IEEE 802.3 ร่วมกัน ซึ่ง หมายถึงเป็นคำที่สามารถใช้แทนความหมายเดียวกันได้ กล่าวคืออีเทอร์เน็ตจะอ้างถึงมาตรฐานของ IEEE 802.3 นั่นเอง
             มาตรฐาน IEEE 802.3 ออกแบบมาสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณแบบ CSMA/CD ต้นกำเนิดของมาตรฐานนี้มาจากระบบอะโลฮ่า (Aloha) ซึ่งได้รับการเพิ่มขีดความสามารถโดยบริษัท Xerox ได้รับการตั้งชื่อว่า “อีเธอร์เน็ต (Eternet)”
             การนำระบบอีเธอร์เน็ตมาใช้งานนั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก บริษัท Xerox , DEC (Digital Equipment Corporation, Ltd. ) และ intel Corp ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานสำหรับอีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps ซึ่งเป็นพื้นฐานของ 802.3 ข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ได้กำหนดไว้ สำหรับการสื่อสารแบบ CSMA/CD ทำงานที่ความเร็ว 1 ถึง 10 Mbps บนสายสื่อสารชนิดต่างๆ เช่น กำหนดค่าตัวแปรไว้สำหรับสื่อสารที่ความเร็ว 10 Mbps บนสายโคแอกซ์ (Coaxial ) ขนาด 50 โอ์ห์มเท่านั้น ค่าตัวแปรสำหรับตัวเลือกอื่น ๆ ได้รับการกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
             เครือข่ายแบบ IEEE 802.3 หรือที่เรียกกันว่า เครือข่ายแบบ Ethernet ซึ่งมีหน้าที่หลักพื้นฐานของเครือข่ายเป็น 3 ประเภท คือ 10 BaseT, 10 Base2 และ 10Base5 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 10 Base T (Unshielded Twisted Pair (UTP)) 10 Base 2 (Thin coax) 10 Base 5 (Thick coax) เมื่อ 10 หมายถึง ความเร็วข้อมูลในสายเคเบิล 10 Mbps Base หมายถึง เคเบิลใช้กับเน็ตเวิร์ก แบบ Baseband T ใน 10 BaseT หมายถึง มาจาก "twisted" คือสาย Twisted Pair 2 ใน 10 Base2 หมายถึง มาจาก 200 เมตร หรือ 185 เมตร โดยประมาณซึ่งเป็นความยาวสูง สุดของ 10Base2 5 ใน 10 Base5 หมายถึง ความยาวสูงสุดของเคเบิลเหลืองในเซกเมนต์คือ 500 เมตร เครือข่ายแบบ Ethernet เป็นระบบเครือข่ายตามมาตราฐาน IEEE 802.3 โดยจะส่งเป็นกลุ่มข้อมูลสื่อสารของเฟรม ลักษณะข้อมูลที่จะส่งจะเป็นแบบเบสแบนด์ใช้โปรโตคอลแบบ CSMA/CD และ Topology เป็นแบบบัส สายส่งข้อมูลหรือสายสื่อสารในระบบเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายโคแอดเซีบลได้ 2 แบบคือแบบหนา หรือที่เรียกว่า Backbone Ethernet (RG-11, 50 โอห์ม) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ในเซกเมนต์หรือความยาวถึง 500 เมตร และจะสามารถเพิ่มความยาวในการส่งข้อมูลของสายโคแอดเชียลออกไปได้อีกถึง 300 เมตร หากใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ตัวทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater) สายโคแอกเชียลแบบหนาในระบบจะใช้ต่อ transceiver ได้สูงสุดถึง 100 ตัว และสามารถใช้งานได้ไกลกว่าสายโคแอกเชียลแบบาง ข้อควรระวังคือ ระยะห่างระหว่างโหนดหรือสถานีต้องห่างกันพอสมควรไม่ควรใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดการรบกวนกันเองของสัญญาณ สถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสายโคแอกเชีpลแบบหนา โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า transceiver ซึ่งระยะห่างระหว่างแต่ละ transceiver ต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และจะใช้สายที่เรียกว่าสาย "AUI" (Attachment Unit Interface) เชื่อมต่อจาก transceiver ไปยังสถานีกับสายโคแอกเชียลแบบบางได้ด้วย และหากมีการใช้ตัวทวนซ้ำสัญญาณเข้ากับสายโคแอกเชียลโดยผ่าน transceiverแต่จำนวนตัวทวนซ้ำสัญญาณจะต้องไม่เกิน 2 ตัว (หรือ 4 ตัว ถ้าใช้ร่วมกับเซกเมนต์ของเครือข่ายแบบ Inter-Repeater-Link) ระหว่างสถานีใดๆ ส่วนอีกแบบคือสายโคแอกเชียล แบบบาง (RG-58, 50 โอห์ม) ใช้กับเซกเมนต์ที่มีความยาวไม่เกิน 185 เมตร ในการใช้สายโอแอกเชียลแบบบางจะต่อสถานีได้สูงสุด 30 สถานีอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสายโคแอกเชียลบางแบบจะมีการใช้อุปกรณ์ BNC T-cennector ร่วมด้วยและเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกันเอง ดังนั้นแต่ละสถานีจะต้องห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และปลายทางเซกเมนต์จะต้องปิดด้วยตัวเทอร์มิเนเตอร์ BNC แบบ 50 โอห์ม หากมีการใช้ตัวทวนซ้ำสัญญาณแบบหลายช่องทาง (Multiport Repeaters) กับสายโคแอกเชียลแบบบางจะสามารถต่อตัวทวนซ้ำสัญญาณแบบหลายช่องทาง (Multiport Repeaters)ได้ถึง 8 เซกเมนต์ใน Topology แบบดาว หลักการพื้นฐานของระบบเครือข่าย Ethernet หากข้อมูลเกิดการชนกันขึ้นทุกสถานีในระบบจะทราบถึงการชนกันนั้น ดังนั้นโหนดที่ส่งข้อมูลไปแล้วเกิดการชนกันของข้อมูลมันก็จะรอ (ช่วงเวลาที่รอจะเป็นแบบสุ่ม) แล้วพยายามส่งข้อมูลใหม่
Copyright © Chaiwat Chingkaew and Rawiwan Pantaneeya